วันจันทร์ที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

งานพืชสวนโลก

     
งานมหกรรมพืชสวนโลกเฉลิมพระเกียรติฯ ราชพฤกษ์ 2549 กำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน 2549- 31 มกราคม 2550 นี้ ณ ศูนย์วิจัยเกษตรหลวง ต.แม่เหียะ จ.เชียงใหม่ บนพื้นที่ 470 ไร่ เป็นงานที่รวบรวมสุดยอดความมหัศจรรย์แห่งพรรณไม้ ในพื้นที่เขตร้อนชื้นที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่มีความหลากหลายมากที่สุดของพรรณไม้กว่า 2,200 ชนิด กว่า 2.5 ล้านต้น

งานพืชสวนโลก ้ยังเป็นการประกาศศักยภาพการผลิตพืชผลทางการเกษตรของไทยด้าน พรรณไม้ดอกไม้ประดับ ไม้สมุนไพร พืชสวนครัว ไม้แปลกหายาก และ พืชผลทางการเกษตร สู่เวทีตลาดการค้าโลก ซึ่งงานครั้งนี้จัดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเฉลิมพระเกียรติ ฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในวโรกาสที่พระองค์ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี และฉลองพระชนมายุ 80 พรรษา เพื่อแสดงศักยภาพในการเพาะปลูกพันธุ์ไม้เขตร้อน และเทคโนโลยีนวัตกรรมด้านการเกษตรของประเทศไทย เพื่อส่งเสริมการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และเทคโนโลยีก้านพรรณไม้เขตร้อนทั่วโลก และเพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว กระตุ้นภาคเศรษฐกิจ สังคม และพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีด้านกาเกษตร ภายใต้ Theme ของงาน

“เพื่อนำความรักสู่มนุษยชาติ” (To Express the Love for Humanity)



การจัดงานสำคัญครั้งประวัติศาสตร์ในครั้งนี้ได้รับการรับรองในการจัดงานในระดับ A1 อย่างเป็นทางการจากสำนักงานมหกรรมโลก ( Bureau of International Exposition – BIE ) สมาคมพืชสวนระหว่างประเทศ ( Association of Horticulture Producers – AIPH )

และภายใต้การสนับสนุนจาก สมาพันธ์ดอกไม้โลก ( World Flower Council – WFS ) และสมาคมพืชสวนนานาชาติ ( International Society for Horticultural Science – ISHS ) ซึ่งแสดงให้เห็นถึงศักยภาพของความพร้อมในการเป็นเจ้าภาพในการจัดงานของประเทศไทยทุก ๆ ด้าน โดยเฉพาะความพร้อมนด้านขนาดพื้นที่ ระยะเวลาการจัดงาน สาระนำเสนอในระดับสากล และความหลากหลายของพืชพรรณไม้ที่นำมาจัดแสดง
 
ภายใน งานพืชสวนโลก ประกอบด้วยไฮไลท์หลัก 7 ส่วน ได้แก่


1. หอคำหลวง (Royal Pavillion)
หอคำหลวง คือพื้นที่จัดแสดงส่วนกลางที่โดดเด่นที่สุดของงาน ตั้งอยู่บนเนินดิน

เนื้อที่ประมาณ 3,000 ตารางเมตร บริเวณถนนทางเข้าตกแต่งด้วยซุ้มเฉลิมพระเกียรติ ฯ 30 ซุ้ม แต่ละซุ้มมีกรอบภาพพระบรมฉายาลักษณ์สี่ด้านติดกัน นำเสนอพระราชกรณียกิจและพระบรมราโชวาท ขนาบด้วยต้นราชพฤกษ์ตลอดสองข้างทาง ส้วนตัวอาคารเป็นเรือนไม้ครึ่งตึก 2 ชั้น ที่มีความงามสง่าและสวยงามด้วยสถาปัตยกรรมแบบล้านนา



คำว่า “หอคำ” หมายถึง พระตำหนักของกษัตริย์ในอาณาจักรล้านนา ส่วนคำว่า “หลวง” นั้นก็หมายถึง ใหญ่ นั่นเอง

2. สวนเฉลิมพระเกียรติ

แบ่งเป็น 2 ส่วน ได้แก่ นิทรรศการสวนนานาชาติ ซึ่งเป็นพื้นที่การจัดแสดงสวนของประเทศต่างๆ

ในนามของประมุข รัฐบาล และประชาชนของประเทศนั้นๆ การจัดสวนของแต่ละประเทศแสดงถึง

ความงดงามทางวัฒนธรรม และความสัมพันธ์อันดีระหว่างสองประเทศ โดยขณะนี้มีประเทศที่ตอบรับ

เข้าร่วมงานอย่างเป็นทางการ 33 ประเทศ จาก 5 ทวีปทั่วโลก

ส่วนที่ 2 คือ สวนเฉลิมพระเกียรติฯ ประเภทองค์กร ได้แก่ สวนเฉลิมพระเกียรติฯ จากองค์กรต่าง ๆ ในประเทศ ทั้งภาครัฐ และเอกชน เป็นการนำทฤษฎีการเกษตรของในหลวง มาเป็นแนวคิดการจัดสวน

3. นิทรรศการในอาคารและการประกวด (อาคารศูนย์การเรียนรู้ - Indoor Exhibition)

จัดแสดงนิทรรศการพรรณไม้ เทคโนโลยี และการประกวดพรรณไม้ ตลอดระยะเวลาการจัดงาน ได้แก่ นิทรรศการดอกไม้นานาชาติ, นิทรรศการอลังการจักรวาลดอกไม้, นิทรรศการไม้น้ำและบัว นิทรรศการพรรณไม้แปลกหายากและพันธุ์ใหม่ เป็นต้น

4. นิทรรศการและประกวดกล้วยไม้ (Orchid Pavilion)
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ร่วมมือกับสมาคมพืชสวน แห่งประเทศไทยและ สมาคม/ชมรมกล้วยไม้ต่างๆ รวมถึงหน่ายงานราชการ สถาบันการศึกษาที่เกี่ยวข้อง จัดสร้าง Orchid Pavilionขึ้น เพื่อจัดแสดงนิทรรศการและประกวดกล้วยไม้ บนพื้นที่ 4 ไร่

ภายใต้แนวคิด “Orchids of the World” เป็นครั้งแรกของประเทศไทยที่มีการจัดแสดงนิทรรศการ และการประกวดกล้วยไม้ที่ยิ่งใหญ่ และมีระยะเวลาการจัดงานที่ยาวนานที่สุดถึง 92 วัน

5. สวนพรรณไม้เขตร้อนชื้น(Fruit Hub)
เป็นพื้นที่จัดแสดงพันธุ์ไม้เขตร้อนชื้นที่มีความหลากหลาย และใหญ่ที่สุดในโลก ด้วยจำนวนพันธุ์ไม้มากกว่า 2,200 ชนิด รวมแล้วกว่า 2.5 ล้านต้น มาจัดแสดง เช่น ไม้ผล ผัก ไม้ทะเลทราย ไม้ในวรรณคดี ไม้พุทธประวัติ ไม้ในร่ม ไม้เลื้อย ไม้สะสม (กล้วยไม้, โป๊ยเซียน, โกสน, บอนไซ เป็นต้น)

6. ส่วนการแสดงพิเศษ
• สวนสมุนไพร เป็นส่วนจัดแสดงความหลากหลายของสมุนไพรไทยและการนำมาใช้ประโยชน์ ที่นำเสนอในรูปแบบของการจัดสวน ที่เน้นการจัดกลุ่มสมุนไพรตามลักษณะการใช้ประโยชน์ และการประชุม เป็นต้น

• การแสดงศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีทั้งในและต่างประเทศ เป็นการเปิดโอกาสให้ประเทศต่าง ๆ ได้แสดงถึงวัฒนธรรม ประเพณีอันงดงามเพื่อร่วมเฉลิมฉลอง ในช่วงระยะเวลา 92 วันของการจัดงาน ซึ่งการแสดงต่างๆ นั้นจะเกิดขึ้นใน 4 บริเวณ

ได้แก่ เวทีใหญ่ (Main Amphitheatre) เวทีในสวน (Mini Amphitheatre) เรือนไทย 4 ภาค (Thai Regional Houses) ถนนหน้าหอคำหลวง

• เรือนไทย 4 ภาคและอาคารชานพักเรือนไทย ลักษณะโดยรวมของอาคารเป็นเรือนหมู่เครื่องสับ (เรือนไม้) และมีเรือนเครื่องผูก (ใช้ไม้ไผ่และวัสดุในท้องถิ่น) โดยเนื้อหาของการจัดแสดงเป็นเรื่องเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรม การตั้งถิ่นฐาน ขนบธรรมเนียม

ประเพณี งานสถาปัตยกรรม ศิลปกรรมดนตรี นาฏศิลป์ การละเล่นและภูมิปัญญาท้องถิ่น

• ศูนย์การเรียนรู้โลกแมลง (Bug World) เป็นโลกแมลงเต็มรูปแบบในห้องปฏิบัติการมีชีวิตขนาดใหญ่ ด้วยแนวคิด “แมลงมีค่าล้ำ นำธรรมชาติสมดุล”

• กลุ่มอาคารเรือนกระจก เป็นอาคารเรือนกระจกควบคุมอุณหภูมิที่จัดแสดงด้านการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อที่ทันสมัย และนำเสนอเทคโนโลยีที่มีการคิดค้นขึ้นเอง

• หอความรู้ (หอเกียรติยศ) เป็นอาคารสดุดีบุคคลหรือองค์ที่มีส่วนพัฒนาพืชสวนไทยให้เป็นที่ยอมรับของนานาชาติ โดยมีวัตถุประสงค์แสดงความเป็นหนึ่งด้านพืชสวนในด้านศักยภาพพืชสวนไทยในระดับนานานาชาติ และเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านพืชสวนของบุคคลทั่วไป

7. การจัดประชุมวิชาการนานาชาติและสัมมนาเชิงปฏิบัติการนานาชาติ รายละเอียด...

นอกจากจะเป็นการจัดแสดงพันธุ์ไม้เขตร้อนที่ดีที่สุดในโลกงานหนึ่งแล้ว ยังได้จัดการเผยแพร่ความรู้วิชาการด้านพืชสวนเขตร้อน และเทคโนโลยีทางการเกษตรที่นักวิชาการของไทยมีความรู้ความสามารถในระดับนานาชาติ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น