วันพุธที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2554

สิ่งแรกในประเทศไทย

1.การใช้พ.ศ.



การใช้พุทธศักราช (พ.ศ.) แทน รัตนโกสินทร์ศก (ร.ศ.) เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 6


2. ผู้ใหญ่บ้านหญิง


ผู้ใหญ่บ้านหญิงคนแรกของไทยคือ นางสมทรง สุวพันธ์ ได้รับคัดเลือกให้เป็นผู้ใหญ่บ้านหมู่ 6 ต.บางนกแขวก อ.บางคณฑี จ.สุทรสงคราม เมื่อ 23 กันยายน พ.ศ.2525


3.รถเมลล์คันแรก


รถเมล์ขาวเป็นรถโดยสารประจำทางคันแรกของไทย ซึ่งเป็นของนายเลิด หรือ พระยาภักดีนรเศรษฐ์


4. สถานีโทรทัศน์


สถานีโทรทัศน์ช่องแรกของไทยคือ ทีวีช่อง 4 อยู่ที่บางขุนพรหม กรุงเทพฯ ตั้งเมื่อ 24 มิถุนายน พ.ศ.2498


5.แผนพัฒนาเศรษฐกิจ


แผนพัฒนาเศรษฐกิจฉบับแรกของไทยประกาศใช้เมื่อปี พ.ศ.2504 - พ.ศ.2509 สมัย จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นนายกรัฐมนตรีของประเทศไทย


6.แสตมป์


การพิมพ์แสตมป์ใช้ในประเทศไทยมีขึ้นครั้งแรกสมัยจอมพ ล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งตรงกับ พ.ศ.2484 ในสมัยรัชการที่ 8


7. สส.หญิงคนแรก


สมาชิกสภาผู้แทนราษฏรหญิงคนแรกของไทยคือ นางอรพินท์ ไชยกาล


8. นางสาวไทย


นางสาวไทยคนแรกของประเทศไทย ได้แก่ นางสาวกันยา เทียนสว่าง ได้เป็นนางสาวไทยจากการประกวด ในงานวันฉลองรัฐธรรมนูญ เมื่อ พ.ศ. 2477 ในสมัยรัชการที่ 8


9. ธนาคารออมสิน


ธนาคารออมสิน ซึ่งเป็นธนาคารของรัฐบาล ตั้งขึ้นครั้งแรก ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชการที่ 6


10. นายกรัฐมนตรีคนแรก


นายกรัฐมนตรีคนแรกสุดของประเทศไทย คือ พระยามโนปกรณ์นิติธาดา เป็นเมื่อปี พ.ศ.2475 สมัยรัชการที่ 7


11. ประธานสภาคนแรก


ประธานสภาราษฏรคนแรกสุดของไทยคือ เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี เป็นเมื่อวันที่ 2 เมษายน พ.ศ.2476 สมัยรัชการที่ 7


12. รถไฟไทย


รถไฟไทยมีใช้ครั้งแรก ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 โดยสายแรก มีการเดินทางจาก กรุงเทพฯ ไปยัง ปากน้ำ จ.สมุทรปราการ


13. สหกรณ์


สหกรณ์แห่งแรกของไทย คือ สหกรณ์วัดจันทร์ไม่จำกัดสินใช้ จ.พิษณุโลก สร้างขึ้นในสมัยรัชการที่ 6


14. วิทยุโทรเลข


วิทยุโทรเลขในประเทศไทยมีการเปิดใช้บริการเมื่อวันที ่ 1 มิถุนายน พ.ศ.2461 ในสมัยรัชการที่ 6


15. รถลาก


รถลาก นำมาใช้ในประเทศไทยครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2417 โดยนายฮองเซียง เป็นผู้สั่งเข้ามาใช้ในสมัยรัชการที่ 5


16. โทรศัพท์


การใช้โทรศัพท์ในประเทศไทย มีขึ้นครั้งแรก ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชการที่ 5 ในปี พ.ศ.2419


17. ธงชาติไทย


ธงชาติไทย มีครั้งแรกสมัย พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชการที่ 2 ซึ่งจะเรียกว่าธง "ช้าง" ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 6 ทรงเปลี่ยนเป็นธงไตรรงค์ ซึ่งใช้มาจนถึงทุกวันนี้


18. ธนาคารไทย


ธนาคารไทยพานิชย์เป็นธนาคารแห่งแรกในประเทศไทย เดิมชื่อ แบงค์สยามกัมมาจล สร้างในสมัยรัชการที่ 5


19. โรงพยาบาล


โรงพยาบาลแห่งแรกของประเทศไทยคือ โรงพยาบาลวังหลัง สร้างในสมัยรัชการที่ 5 ปัจจุบันคือโรงพยาบาลศิริราช


20. ธนบัตรไทย


การใช้ธนบัตรในการชำระหนี้มีในสมัยรัชการที่ 5 เป็นครั้งแรก


21.โรงแรมแห่งแรก


โรงแรมแห่งแรกของไทย คือโรงแรมโอเรียลเต็ล ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ.2440 ในสมัยรัชการที่ 5


22. หนังสือเล่มแรก


หนังสือเล่มแรกของไทยคือ หนังสือจินดามณี มีมาตั้งแต่สมัยพระนารายณ์มหาราช เป็นพระมหากษัตริย์ของไทย


23.ผู้คิดเครื่องแบบข้าราชการที่เรียกว่า "ราชปะแตน" ขึ้นใช้เป็นครั้งแรก


เจ้าพระยาภาณุวงศ์มหาโกษาธิบดี ( ท้วม บุนนาค)


24.นักมวยไทยคนแรกที่ได้ครองแชมป์โลก


โผน กิ่งเพชร ( นาย มานะ สีดอกบวบ)


25.ผู้ที่ริเริ่มใช้คำว่า "สวัสดี"


พระยาอุปกิต ศิลปสาร


26.มหาวิทยาลัยแห่งแรกของไทย


จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


27.กษัตริย์ไทยพระองค์แรก


พ่อขุนศรีอินทราทิตย์


28.อธิบดีหญิงคนแรกของไทย


คุณหญิงอัมพร มีศุข อธิบดีกรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ


29.ผู้คิดประดิษฐ์อักษรไทยคนแรก


พ่อขุนรามคำแหง


30.ผู้เริ่มใช้กระแสไฟฟ้าเป็นคนแรกของไทย


จอมพล เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสงชูโต)


31.ผู้ประดิษฐ์รถสามล้อขึ้นใช้ในประเทศไทยเป็นคนแร ก


นายเลื่อน พงษ์โสภณ


32.เรือกลไฟลำแรกของประเทศไทย


เรือสยามอรสุมพล


33.โรงเรียนอนุบาลแห่งแรกของไทย


โรงเรียนอนุบาลที่โรงเลี้ยงเด็ก ซึ่งพระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ พระอัครชายาใน รัชกาลที่ 5เป็นผู้ให้กำเนิด


33.ภาพยนตร์เรื่องแรกที่ออกฉายให้ประชาชนชมครั้งแรกเรื่อง


นางสาวสุวรรณ เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2466


34. โรงพิมพ์แห่งแรกของประเทศไทย


โรงพิมพ์ของหมอบรัดเลย์ ตั้งอยู่ที่ธนบุรี


35.หนังสือไทยเล่มแรก


หนังสือไตรภูมิพระร่วง


36.โรงเรียนหลวงสำหรับราษฎรแห่งแรก


โรงเรียนวัดมหรรณพาราม


37.หนังสือพิมพ์ฉบับแรกของไทย


หนังสือพิมพ์บางกอกรีคอดเดอร์ เมื่อปี พ.ศ.2387





12 วิธีการดูแลสุขภาพ


ศาสตร์แพทย์แผนจีนเป็นภูมิปัญญาที่มีการปฏิบัติและสืบทอดมาอย่างยาวนาน มีข้อสรุปของแพทย์จีนที่มีชื่อเสียง รวมถึงคำสอนที่ต่อเนื่องกันมาเป็นหลักปฏิบัติตัวง่าย ๆ ลองนำไปใช้กันนะ



เคล็ดลับการดูแลสุขภาพพื้นฐาน ๑๒ ข้อ



๑. ต้องหวีผมบ่อย ๆ



อาจใช้นิ้วทั้ง ๑๐ หรือหวี ทำการหวีผมบ่อย ๆ จะช่วยทำให้ตาสว่าง ทำให้รากผมแข็งแรง



๒. ต้องถูใบหน้าบ่อย ๆ



ใช่ฝ่ามือ ๒ ข้างถูหน้าบ่อย ๆ ให้เลือดมาเลี้ยงใบหน้า ทำให้ใบหน้าเปล่งปลั่ง ลบริ้วรอยเหี่ยวย่น



๓. ต้องเคลื่อนไหวดวงตาบ่อย ๆ



บริเวณดวงตา เคลื่อนไหว มองไกล-มองใกล้ มองข้าง มองเข้าใน มองบน มองล่าง



๔. ต้องดึงหู ดีดหู บีบหู ถูใบหูบ่อย ๆ



เป็นการกระตุ้นการไหลเวียเลือดบริเวณใบหู ช่วยป้องกันการเกิดเสียงดังในหู หูตึง เวียนศีรษะ รวมทั้งเป็นการบำรุงตานเถียน ตำแหน่งที่เก็บพลังของร่างกายใต้สะดือ สัมพันธ์กับไตซึ่งเปิดทวารที่หู



๕. ต้องหมั่นขบฟันเสมอ



ขบเบา ๆ วันละหลายสิบครั้ง ช่วยทำให้ฟันแข็งแรง กระตุ้นการหลั่งน้ำย่อย



๖. ดันเพดานปากด้านบนด้วยลิ้นบ่อย ๆ



การใช้ปลายลิ้นกระตุ้นเพดานบนด้านหน้า เป็นการกระตุ้นจะดฝังเข็ม เพื่อเชื่อมพลังของเส้นลมปราณตู๋และเยิ่น (ซึ่งเป็นเส้นลมปราณควบคุมแนวกลางลำตัวส่วนหลัง และส่วนหน้าของร่างกาย) และเป็นการกระตุ้นการหลั่งสารน้ำ น้ำลาย



๗. ต้องกลืนน้ำลายบ่อย ๆ



ควรฝึกกลืนน้ำลายบ่อย ๆ นอกจากเป็นการเคลื่อนไหวพลังบริเวณคอหอย แล้วยังช่วยกระตุ้นการย่อยอาหารด้วย



๘. ของเสียต้องหมั่นขับทิ้ง



อุจจาระ และปัสสาวะ ต้องหมั่นขับทิ้ง ไม่ควรเก็บสะสมไว้ในร่างกายนานเกินไป เพราะจะทำให้เกิดโรคของลำไส้ และโรคทางเดินปัสสวะ (การตกค้างของของเสียสัมพันธ์กับการดูดซึมสารพิษกลับสู่ร่างกายอันเป็นสาเหตุของการเกิดโรคหลายระบบรวมถึงมะเร็ง)



๙. ต้องถูหรือนวดท้องบ่อย ๆ



ให้นวดท้องตามเข็มนาฬิกา ช่วยทำให้การขับถ่ายของเสียดีขึ้น ลดไขมันหน้าท้อง เสริมความแข็งแรงกล้ามเนื้อหน้าท้อง ป้องกันกระเพาะอาหารหย่อนยาน



๑๐. ขมิบก้นบ่อย ๆ



แต่ละวันควรจะต้องขมิบก้นวันละหลายครั้ง สามารถทำได้ทุกเวลา แม้ขณะทำงาน ยืน นั่ง นอน เป็นการป้องกันริดสีดวงทวารและป้องกันอาการท้องผูกได้



“ร่างกายคนถ้าอยู่ในท่าใดท่าหนึ่งนาน ๆ โดยไม่เคลื่อนไหว หรืออยู่ในท่าที่ข้อใดข้อหนึ่งหยุดนิ่งนาน ๆ จะทำให้เกิดโรคได้ง่าย”



๑๑. ต้องเคลื่อนไหวข้อทุกข้อ



ร่างกายคนถ้าอยู่ในท่าใดท่าหนึ่งนาน ๆ โดยไม่เคลื่อนไหว หรืออยู่ในท่าที่ข้อใดข้อหนึ่งหยุดนิ่งนาน ๆ จะทำให้เกิดโรคได้ง่าย เกิดการหดตัวของกล้ามเนื้อผิดปกติ ขาดความยึดหยุ่น ทำให้เกิดอาการบาดเจ็บได้ง่าย จึงต้องสร้างสมดุลของกล้ามเนื้อที่ทำหน้าที่ตรงข้ามกันโดยการเคลื่อนไหวข้อต่าง ๆ (โบราณใช้วิชาชี่กง ฝึกไท้เก้ก หรือฝึกโยคะ นั่นเอง)



๑๒. ถูผิวหนังบ่อย ๆ



ใช้ฝ่ามือถูตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย (เหมือนกับถูตัวเวลาอาบน้ำ) ช่วยทำให้เลือดและพลังไหลเวียนกล้ามเนื้อ ผิวหนัง มีความยึดหยุ่น มีความเปล่งปลั่ง

วันจันทร์ที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2554

การดูแลผิวหน้า

แก้หน้ายับยามตื่น (modernmom)



ได้นอนพักผ่อนทั้งที ตื่นเช้ามาแทนที่หน้าตาจะสดใส แต่ไหงกลับเป็นรอยยับย่น ยู่ยี่จากหมอนกดทับอย่างนี้ ทรมานใจสาวอย่างเต่าน้อยจริง ๆ ค่ะ จากการศึกษาเก็บข้อมูลของเต่าน้อยเลยเก็บมาฝากว่า ถ้าไม่อยากหน้ายับหน้าย่นก็ต้อง

เปลี่ยนปลอกหมอนมาใช้ที่ทำจากผ้าไหมหรือผ้าซาติน เพราะความลื่นของผ้าชนิดนี้จะช่วยลดการเกิดรอยย่นได้ดียิ่งนัก

เลิกนอนทับหน้าตัวเอง ควรนอนหงาย แต่ไม่ควรนอนด้วยหมอนสูง เพราะแทนที่จะเป็นคุณ กลับจะได้โทษจากแรงโน้มถ่วงของโลกที่ทำให้หน้าคุณหย่อนยานได้ง่าย

ถ้าลืมตาตื่นมาก็หน้าย่นไปซะแล้ว ให้หาผ้าขนหนูชุบน้ำอุ่นจัด ๆ ประคบหน้า แล้วรอให้เย็นจึงเอาออก รอยยับก็จะจางลงเร็วขึ้น


พฤติกรรมต้องห้าม สำหรับผิวแต่ละประเภท




สภาพผิวที่แตกต่างล้วนต้องการการดูแลที่แตกต่างกัน สาว ๆ จึงต้องพิถีพิถันกับการดูแลผิว และสรรหาสารพัดวิธีมาปรนนิบัติให้ดีที่สุด ซึ่งหลายคนก็สามารถดูแลผิวได้อย่างถูกวิธี และสามารถแก้ปัญหาผิวที่ต้นเหตุได้ แต่ก็ยังมีอีกหลายคน ที่ยังดูแลผิวอย่างผิด ๆ กันอยู่ และมักจะแก้ปัญหาผิวที่ปลายเหตุ ซึ่งนั่นจะก่อให้เกิดปัญหาในระยะยาวได้ วันนี้ กระปุกดอทคอมก็เลยขอหยิบยกพฤติกรรมทำร้ายผิวแต่ละประเภท ที่สาว ๆ มักจะทำกันอย่างแพร่หลายมาฝากกัน ว่าแต่จะมีอะไรบ้างนั้น ไปดูกันเลยค่ะ


1. สาวผิวบอบบาง แพ้ง่าย

มีสาว ๆ ไม่น้อยที่คิดว่า ผิวที่บอบบาง แพ้ง่าย จำเป็นต้องได้รับการบำรุงจากผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย เพื่อปกป้องและบำรุงผิวให้มากกว่าคนปกติ ก็เลยใช้ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหลายตัว ตั้งแต่คลีนเซอร์ โทนเนอร์ เซรั่ม ไปจนถึงครีมบำรุงผิวต่าง ๆ และยังไม่พอแค่นั้น สาว ๆ หลายคนยังเพิ่มวิตามินเอ วิตามินซี และอื่น ๆ อีกมากมายเข้าไป ด้วยความเชื่อที่ว่ามันจะทำให้ผิวของคุณดีขึ้นหลาย ๆ ด้าน แต่นั่นเป็นพฤติกรรมที่ผิดและส่งผลร้ายต่อผิวคุณมากมายเลยล่ะค่ะ เพราะผิวบอบบางนั้น ไม่เหมาะสมที่จะใช้ครีมหรือตัวยาต่าง ๆ เข้าไปหลาย ๆ ตัว เนื่องจากมันจะทำให้ผิวคุณระคายเคืองและเกิดปัญหาต่าง ๆ ได้ง่าย และอาจทำให้ไวต่อแดดและบอบบางมากกว่าเดิมอีก ดังนั้น สาว ๆ ผิวบอบบางจึงควรเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ไม่เกิน 2 ตัวในการบำรุงผิว และต้องเป็นสูตรอ่อนโยนด้วย เพื่อไม่ให้ผิวถูกทำลายได้ง่าย



2. สาวผิวแห้ง

วิธีบำรุงผิวที่สาวผิวแห้งนิยมทำกันมาก คือ การใช้มอยซ์เจอไรเซอร์กับผิวทุก ๆ วัน เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับผิว ซึ่งนั่นเป็นวิธีที่ดีมาก ๆ แล้วค่ะ แต่สาวผิวแห้งรู้หรือไม่ว่า ปัญหาผิวที่สาวผิวแห้งจะเจอก่อนใครเพื่อน ก็คือผิวร่วงโรย และริ้วรอยแห่งวัยที่อาจจะมาเร็วกว่าคนอื่น ดังนั้น อีกสิ่งหนึ่งที่ไม่ควรละเลย และสำคัญมาก ๆ ในการบำรุงผิว คือ ผลิตภัณฑ์ชะลอริ้วรอยแห่งวัย ซึ่งควรที่จะเริ่มใช้ตั้งแต่อายุ 20 ต้น ๆ เลยทีเดียว เพราะการป้องกันริ้วรอยแห่งวัยก่อนที่จะเกิดริ้วรอยนั้น ย่อมดีกว่าการบำรุงเอาตอนเกิดริ้วรอยแล้วนั่นเอง


3. สาวผิวมัน

สาวผิวมันหลายคน ชอบล้างหน้าบ่อยครั้ง เพราะเชื่อว่าจะเป็นการชะล้างน้ำมันส่วนเกินออกจากผิว ซึ่งนั่นเป็นพฤติกรรมที่ไม่ควรทำอย่างยิ่ง เพราะทุกครั้งที่คุณล้างหน้า มันจะไปกระตุ้นให้ผิวผลิตน้ำมันออกมามากขึ้น จนคุณต้องคอยล้างหน้าบ่อย ๆ อยู่อย่างนั้น รวมถึงการซับหน้าบ่อย ๆ และการคอยทาแป้งให้หน้าหายมันก็เช่นกัน พฤติกรรมดังกล่าวล้วนแล้วแต่ทำให้ผิวมันมากขึ้น และทำให้เกิดสิวได้ง่ายขึ้นทั้งนั้น ส่วนการดูแลปรนนิบัติผิวมันให้ถูกวิธีนั้น คือการปล่อยให้หน้ามันตามธรรมชาติ และให้ความสำคัญกับผลิตภัณฑ์ล้างหน้าและครีมที่ใช้ ซึ่งควรเลือกใช้ที่ลดความมัน และควบคุมความมันค่ะ


4. สาวผิวธรรมดา

ถือว่าเป็นสภาพผิวที่ดีที่สุดเลยทีเดียว เพราะไม่ต้องมาเตรียมรับมือกับผิวหน้าแห้ง มัน สิว หรือปัญหาผิวต่าง ๆ ก็เลยไม่แปลกที่สาวผิวธรรมดาจะละเลยการดูแลผิวหลาย ๆ อย่างไป เพราะไม่มีปัญหาผิวหน้าหรือมีก็มีน้อย แต่ความจริงนั้น ผิวที่คุณว่าดีแล้ว สามารถดูแลและบำรุงให้ดีขึ้นได้อีกค่ะ ด้วยการใช้มอยซ์เจอไรเซอร์เพิ่มความชุ่มชื้น และสครับใบหน้าสัปดาห์ละ 2 ครั้ง เพื่อคงความอ่อนเยาว์เอาไว้ให้นานที่สุด และที่สำคัญ อย่าลืมใช้ครีมกันแดดป้องกันกระและฝ้าที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตด้วยค่ะ

และนั่นก็คือพฤติกรรมผิด ๆ ที่สาวผิวแตกต่างมักจะทำกัน เพราะเชื่อว่ามันจะทำให้ผิวดีขึ้นและเป็นวิธีการดูแลผิวที่ถูกต้องแล้ว ดังนั้น หากสาว ๆ อยากจะมีสุขภาพผิวที่ดี และคงความอ่อนเยาว์ไปนานเท่านาน ก็ควรเลิกพฤติกรรมที่ทำร้ายผิวโดยไม่รู้ตัวไปซะตั้งแต่ตอนนี้ แล้วมาเริ่มดูแลผิวให้ถูกวิธีพร้อม ๆ กันดีกว่า

ประเพณีสงกรานต์

สงกรานต์ เป็นประเพณีปีใหม่ของประเทศไทย ลาว กัมพูชา พม่า ชนกลุ่มน้อยชาวไตแถบเวียดนามและมณฑลยูนนานของจีน ศรีลังกาและทางตะวันออกของประเทศอินเดีย สงกรานต์เป็นคำสันสกฤต หมายถึงการเคลื่อนย้าย ซึ่งเป็นการอุปมาถึงการเคลื่อนย้ายของการประทับในจักรราศี หรือคือการเคลื่อนขึ้นปีใหม่ในความเชื่อของไทยและบางประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ชาวต่างประเทศเรียกว่า "สงครามน้ำ"


สงกรานต์ เป็นประเพณีเก่าแก่ของไทยซึ่งสืบทอดมาแต่โบราณคู่มากับประเพณีตรุษ จึงมีการเรียกรวมกันว่า ประเพณีตรุษสงกรานต์ หมายถึงประเพณีส่งท้ายปีเก่า และต้อนรับปีใหม่ คำว่าตรุษเป็นภาษาทมิฬ แปลว่าการสิ้นปี

พิธีสงกรานต์ เป็นพิธีกรรมที่เกิดขึ้นในสมาชิกในครอบครัว หรือชุมชนบ้านใกล้เรือนเคียง แต่ปัจจุบันได้เปลี่ยนไปสู่สังคมในวงกว้าง และมีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนทัศนคติ และความเชื่อไป ในความเชื่อดั้งเดิมใช้สัญลักษณ์เป็นองค์ประกอบหลักในพิธี ได้แก่ การใช้น้ำเป็นตัวแทน แก้กันกับความหมายของฤดูร้อน ช่วงเวลาที่พระอาทิตย์เคลื่อนเข้าสู่ราศีเมษ ใช้น้ำรดให้แก่กันเพื่อความชุ่มชื่น มีการขอพรจากผู้ใหญ่ การรำลึกและกตัญญูต่อบรรพบุรุษที่ล่วงลับ ในชีวิตสมัยใหม่ของสังคมไทยเกิดประเพณีกลับบ้านในเทศกาลสงกรานต์ นับวันสงกรานต์เป็นวันครอบครัว ในพิธีเดิมมีการสรงน้ำพระที่นำสิริมงคล เพื่อให้เป็นการเริ่มต้นปีใหม่ที่มีความสุข ปัจจุบันมีพัฒนาการและมีแนวโน้มว่าได้มีการเสริมจนคลาดเคลื่อนบิดเบือนไป เกิดการประชาสัมพันธ์ในเชิงการท่องเที่ยวว่าเป็น ‘Water Festival’ เป็นภาพของการใช้น้ำเพื่อแสดงความหมายเพียงประเพณีการเล่นน้ำ

การที่สังคมเปลี่ยนไป มีการเคลื่อนย้ายที่อยู่เข้าสู่เมืองใหญ่ และถือวันสงกรานต์เป็นวัน "กลับบ้าน" ทำให้การจราจรคับคั่งในช่วงวันก่อนสงกรานต์ วันแรกของเทศกาล และวันสุดท้ายของเทศกาล เกิดอุบัติเหตุทางถนนสูง นับเป็นปรากฏการณ์ทางสังคมที่เกิดขึ้นตามการเปลี่ยนแปลงหลายด้านของสังคม นอกจากนี้ เทศกาลสงกรานต์ยังถูกใช้ในการส่งเสริมการท่องเที่ยว ทั้งต่อคนไทย และต่อนักท่องเที่ยวต่างประเทศ

ตำนานนางสงกรานต์

ตามจารึกที่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม[1] กล่าวตามพระบาลีฝ่ายรามัญว่า ครั้งหนึ่งนานมาแล้ว มีเศรษฐีคนหนึ่ง รวยทรัพย์แต่อาภัพบุตร ตั้งบ้านอยู่ใกล้กับนักเลงสุราที่มีบุตรสองคน วันหนึ่งนักเลงสุราต่อว่าเศรษฐีจนกระทั่งเศรษฐีน้อยใจ จึงได้บวงสรวงพระอาทิตย์ พระจันทร์ ตั้งจิตอธิษฐานอยู่กว่าสามปี ก็ไร้วี่แววที่จะมีบุตร อยู่มาวันหนึ่งพอถึงช่วงที่พระอาทิตย์ยกขึ้นสู่ราศีเมษ เศรษฐีได้พาบริวารไปยังต้นไทรริมน้ำ พอถึงก็ได้เอาข้าวสารลงล้างในน้ำเจ็ดครั้ง แล้วหุงบูชาอธิษฐานขอบุตรกับรุกขเทวดาในต้นไทรนั้น รุกขเทวดาเห็นใจเศรษฐี จึงเหาะไปเฝ้าพระอินทร์ ไม่ช้าพระอินทร์ก็มีเมตตาประทานให้เทพบุตรองค์หนึ่งนาม "ธรรมบาล" ลงไปปฏิสนธิในครรภ์ภรรยาเศรษฐี ไม่ช้าก็คลอดออกมา เศรษฐีตั้งชื่อให้กุมารน้อยนี้ว่า ธรรมบาลกุมาร และได้ปลูกปราสาทไว้ใต้ต้นไทรให้กุมารนี้อยู่อาศัย



    ต่อมาเมื่อธรรมบาลกุมารโตขึ้น ก็ได้เรียนรู้ซึ่งภาษานก และเรียนไตรเภทจบเมื่ออายุได้เจ็ดขวบ เขาได้เป็นอาจารย์บอกมงคลต่าง ๆ แก่คนทั้งหลาย อยู่มาวันหนึ่ง ท้าวกบิลพรหม ได้ลงมาถามปัญหากับธรรมบาลกุมาร 3 ข้อ ถ้าธรรมบาลกุมารตอบได้ก็จะตัดเศียรบูชา แต่ถ้าตอบไม่ได้จะตัดศีรษะธรรมบาลกุมารเสีย ท้าวกบิลพรหมถามธรรมบาลกุมารว่า ตอนเช้าศรีอยู่ที่ไหน ตอนเที่ยงศรีอยู่ที่ไหน และตอนค่ำศรีอยู่ที่ไหน ทันใดนั้นธรรมบาลกุมารจึงขอผัดผ่อนกับท้าวกบิลพรหมเป็นเวลา 7 วัน

     ทางธรรมบาลกุมารก็พยายามคิดค้นหาคำตอบ ล่วงเข้าวันที่ 6 ธรรมบาลกุมารก็ลงจาก ปราสาทมานอนอยู่ใต้ต้นตาล เขาคิดว่า ขอตายในที่ลับยังดีกว่าไปตายด้วยอาญาท้าวกบิลพรหม บังเอิญบนต้นไม้มีนกอินทรี 2 ตัวผัวเมียเกาะทำรังอยู่ นางนกอินทรีถามสามีว่า พรุ่งนี้เราจะไปหาอาหารแห่งใด สามีตอบนางนกว่า เราจะไปกินศพธรรมบาลกุมาร ซึ่งท้าวกบิลพรหมจะฆ่าเสีย ด้วยแก้ปัญหาไม่ได้ นางนกจึงถามว่า คำถามที่ท้าวกบิลพรหมถามคืออะไร สามีก็เล่าให้ฟัง ซึ่งนางนกก็ไม่สามารถตอบได้ สามีจึงเฉลยว่า ตอนเช้า ศรีจะอยู่ที่หน้า คนจึงต้องล้างหน้าทุก ๆ เช้า ตอนเที่ยง ศรีจะอยู่ที่อก คนจึงเอาเครื่องหอมประพรมที่อก ส่วนตอนเย็น ศรีจะอยู่ที่เท้า คนจึงต้องล้างเท้าก่อนเข้านอน ธรรมบาลกุมารก็ได้ทราบเรื่องที่นกอินทรีคุยกันตลอด จึงจดจำไว้



ครั้นรุ่งขึ้น ท้าวกบิลพรหมก็มาตามสัญญาที่ให้ไว้ทุกประการ ธรรมบาลกุมารจึงนำคำตอบที่ได้ยินจากนกไปตอบกับท้าวกบิลพรหม ท้าวกบิลพรหมจึงตรัสเรียกธิดาทั้งเจ็ดอันเป็นบาทบาจาริกาพระอินทร์มาประชุมพร้อมกัน แล้วบอกว่า เราจะตัดเศียรบูชาธรรมบาลกุมาร ถ้าจะตั้งไว้ยังแผ่นดิน ไฟก็จะไหม้โลก ถ้าจะโยนขึ้นไปบนอากาศ ฝนก็จะแล้ง ถ้าจะทิ้งในมหาสมุทร น้ำก็จะแห้ง จึงให้ธิดาทั้งเจ็ดนำพานมารองรับ แล้วก็ตัดเศียรให้นางทุงษะ ผู้เป็นธิดาองค์โต จากนั้นนางทุงษะก็อัญเชิญพระเศียรท้าวกบิลพรหมเวียนขวารอบเขาพระสุเมรุ 60 นาที แล้วเก็บรักษาไว้ในถ้ำคันธุลี ในเขาไกรลาศ



จากนั้นมาทุก ๆ 1 ปี ธิดาของท้าวกบิลพรหมทั้ง 7 ก็จะผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนมาทำหน้าที่อัญเชิญพระเศียรท้าวกบิลพรหมแห่ไปรอบเขาพระสุเมรุ เป็นเวลา 60 นาที แล้วประดิษฐานตามเดิม ในแต่ละปีนางสงกรานต์แต่ละนางจะทำหน้าที่ผลัดเปลี่ยนกันตามวันมหาสงกรานต์ ดังนี้



1.ถ้าวันอาทิตย์เป็นวันมหาสงกรานต์ นางสงกรานต์นาม ทุงษะเทวี ทรงพาหุรัดทัดดอกทับทิม อาภรณ์แก้วปัทมราช ภักษาหารอุทุมพร (ผลมะเดื่อ) พระหัตถ์ขวาทรงจักร พระหัตถ์ซ้ายทรงสังข์ เสด็จมาบนหลังครุฑ

2.ถ้าวันจันทร์เป็นวันมหาสงกรานต์ นางสงกรานต์นาม โคราคะเทวี ทรงพาหุรัดทัดดอกปีบ อาภรณ์แก้วมุกดา ภักษาหารเตลัง (น้ำมัน) พระหัตถ์ขวาทรงขรรค์ พระหัตถ์ซ้ายทรงไม้เท้า เสด็จมาบนหลังพยัคฆ์ (เสือ)

3.ถ้าวันอังคารเป็นวันมหาสงกรานต์ นางสงกรานต์นาม รากษสเทวี ทรงพาหุรัดทัดดอกบัวหลวง อาภรณ์แก้วโมรา ภักษาหารโลหิต พระหัตถ์ขวาทรงตรีศูล พระหัตถ์ซ้ายทรงธนู เสด็จมาบนหลังวราหะ (หมู)

4.ถ้าวันพุธเป็นวันมหาสงกรานต์ นางสงกรานต์นาม มณฑาเทวี ทรงพาหุรัดทัดดอกจำปา อาภรณ์แก้วไพฑูรย์ ภักษาหารนมเนย พระหัตถ์ขวาทรงเข็ม พระหัตถ์ซ้ายทรงไม้เท้า เสด็จมาบนหลังคัทรภะ (ลา)

5.ถ้าวันพฤหัสบดีเป็นวันมหาสงกรานต์ นางสงกรานต์นาม กิริณีเทวี ทรงพาหุรัดทัดดอกมณฑา อาภรณ์แก้วมรกต ภักษาหารถั่วงา พระหัตถ์ขวาทรงขอช้าง พระหัตถ์ซ้ายทรงปืน เสด็จมาบนหลังคชสาร (ช้าง)

6.ถ้าวันศุกร์เป็นวันมหาสงกรานต์ นางสงกรานต์นาม กิมิทาเทวี ทรงพาหุรัดทัดดอกจงกลนี อาภรณ์แก้วบุษราคัม ภักษาหารกล้วยน้ำ พระหัตถ์ขวาทรงขรรค์ พระหัตถ์ซ้ายทรงพิณ เสด็จมาบนหลังมหิงสา (ควาย)

7.ถ้าวันเสาร์เป็นวันมหาสงกรานต์ นางสงกรานต์นาม มโหธรเทวี ทรงพาหุรัดทัดดอกสามหาว อาภรณ์แก้วนิลรัตน์ ภักษาหารเนื้อทราย พระหัตถ์ขวาทรงจักร พระหัตถ์ซ้ายทรงตรีศูล เสด็จมาบนหลังมยุรา (นกยูง)

สำหรับความเชื่อทางล้านนานั้นจะมีว่า



1.วันอาทิตย์ ชื่อ นางแพงศรี

2.วันจันทร์ ชื่อ นางมโนรา

3.วันอังคาร ชื่อ นางรากษสเทวี

4.วันพุธ ชื่อ นางมันทะ

5.วันพฤหัส ชื่อ นากัญญาเทพ

6.วันศุกร์ ชื่อ นางริญโท

7.วันเสาร์ ชื่อ นางสามาเทวี




The Songkran festival (Thai: สงกรานต์, from Sanskrit saṃkrānti,[1] "astrological passage") is celebrated in Thailand as the traditional New Year's Day from 13 to 15 April. It coincides with the New Year of many calendars of South and Southeast Asia.


The date of the festival was originally set by astrological calculation, but it is now fixed.[2] If these days fall on a weekend, the missed days off are taken on the weekdays immediately following. If they fall in the middle of the week, many Thai take off from the previous Friday until the following Monday. Songkran falls in the hottest time of the year in Thailand, at the end of the dry season. Until 1888 the Thai New Year was the beginning of the year in Thailand; thereafter 1 April was used until 1940. 1 January is now the beginning of the year. The traditional Thai New Year has been a national holiday since then.

Songkran has traditionally been celebrated as the New Year for many centuries, and is believed to have been adapted from an Indian festival. It is now observed nationwide, even in the far south. However, the most famous Songkran celebrations are still in the northern city of Chiang Mai, where it continues for six days and even longer. It has also become a party for foreigners and an additional reason for many to visit Thailand for immersion in another culture.