วันพุธที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2554
12 วิธีการดูแลสุขภาพ
ศาสตร์แพทย์แผนจีนเป็นภูมิปัญญาที่มีการปฏิบัติและสืบทอดมาอย่างยาวนาน มีข้อสรุปของแพทย์จีนที่มีชื่อเสียง รวมถึงคำสอนที่ต่อเนื่องกันมาเป็นหลักปฏิบัติตัวง่าย ๆ ลองนำไปใช้กันนะ
เคล็ดลับการดูแลสุขภาพพื้นฐาน ๑๒ ข้อ
๑. ต้องหวีผมบ่อย ๆ
อาจใช้นิ้วทั้ง ๑๐ หรือหวี ทำการหวีผมบ่อย ๆ จะช่วยทำให้ตาสว่าง ทำให้รากผมแข็งแรง
๒. ต้องถูใบหน้าบ่อย ๆ
ใช่ฝ่ามือ ๒ ข้างถูหน้าบ่อย ๆ ให้เลือดมาเลี้ยงใบหน้า ทำให้ใบหน้าเปล่งปลั่ง ลบริ้วรอยเหี่ยวย่น
๓. ต้องเคลื่อนไหวดวงตาบ่อย ๆ
บริเวณดวงตา เคลื่อนไหว มองไกล-มองใกล้ มองข้าง มองเข้าใน มองบน มองล่าง
๔. ต้องดึงหู ดีดหู บีบหู ถูใบหูบ่อย ๆ
เป็นการกระตุ้นการไหลเวียเลือดบริเวณใบหู ช่วยป้องกันการเกิดเสียงดังในหู หูตึง เวียนศีรษะ รวมทั้งเป็นการบำรุงตานเถียน ตำแหน่งที่เก็บพลังของร่างกายใต้สะดือ สัมพันธ์กับไตซึ่งเปิดทวารที่หู
๕. ต้องหมั่นขบฟันเสมอ
ขบเบา ๆ วันละหลายสิบครั้ง ช่วยทำให้ฟันแข็งแรง กระตุ้นการหลั่งน้ำย่อย
๖. ดันเพดานปากด้านบนด้วยลิ้นบ่อย ๆ
การใช้ปลายลิ้นกระตุ้นเพดานบนด้านหน้า เป็นการกระตุ้นจะดฝังเข็ม เพื่อเชื่อมพลังของเส้นลมปราณตู๋และเยิ่น (ซึ่งเป็นเส้นลมปราณควบคุมแนวกลางลำตัวส่วนหลัง และส่วนหน้าของร่างกาย) และเป็นการกระตุ้นการหลั่งสารน้ำ น้ำลาย
๗. ต้องกลืนน้ำลายบ่อย ๆ
ควรฝึกกลืนน้ำลายบ่อย ๆ นอกจากเป็นการเคลื่อนไหวพลังบริเวณคอหอย แล้วยังช่วยกระตุ้นการย่อยอาหารด้วย
๘. ของเสียต้องหมั่นขับทิ้ง
อุจจาระ และปัสสาวะ ต้องหมั่นขับทิ้ง ไม่ควรเก็บสะสมไว้ในร่างกายนานเกินไป เพราะจะทำให้เกิดโรคของลำไส้ และโรคทางเดินปัสสวะ (การตกค้างของของเสียสัมพันธ์กับการดูดซึมสารพิษกลับสู่ร่างกายอันเป็นสาเหตุของการเกิดโรคหลายระบบรวมถึงมะเร็ง)
๙. ต้องถูหรือนวดท้องบ่อย ๆ
ให้นวดท้องตามเข็มนาฬิกา ช่วยทำให้การขับถ่ายของเสียดีขึ้น ลดไขมันหน้าท้อง เสริมความแข็งแรงกล้ามเนื้อหน้าท้อง ป้องกันกระเพาะอาหารหย่อนยาน
๑๐. ขมิบก้นบ่อย ๆ
แต่ละวันควรจะต้องขมิบก้นวันละหลายครั้ง สามารถทำได้ทุกเวลา แม้ขณะทำงาน ยืน นั่ง นอน เป็นการป้องกันริดสีดวงทวารและป้องกันอาการท้องผูกได้
“ร่างกายคนถ้าอยู่ในท่าใดท่าหนึ่งนาน ๆ โดยไม่เคลื่อนไหว หรืออยู่ในท่าที่ข้อใดข้อหนึ่งหยุดนิ่งนาน ๆ จะทำให้เกิดโรคได้ง่าย”
๑๑. ต้องเคลื่อนไหวข้อทุกข้อ
ร่างกายคนถ้าอยู่ในท่าใดท่าหนึ่งนาน ๆ โดยไม่เคลื่อนไหว หรืออยู่ในท่าที่ข้อใดข้อหนึ่งหยุดนิ่งนาน ๆ จะทำให้เกิดโรคได้ง่าย เกิดการหดตัวของกล้ามเนื้อผิดปกติ ขาดความยึดหยุ่น ทำให้เกิดอาการบาดเจ็บได้ง่าย จึงต้องสร้างสมดุลของกล้ามเนื้อที่ทำหน้าที่ตรงข้ามกันโดยการเคลื่อนไหวข้อต่าง ๆ (โบราณใช้วิชาชี่กง ฝึกไท้เก้ก หรือฝึกโยคะ นั่นเอง)
๑๒. ถูผิวหนังบ่อย ๆ
ใช้ฝ่ามือถูตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย (เหมือนกับถูตัวเวลาอาบน้ำ) ช่วยทำให้เลือดและพลังไหลเวียนกล้ามเนื้อ ผิวหนัง มีความยึดหยุ่น มีความเปล่งปลั่ง
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น