วันอังคารที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2554

โครงการหลวงด้านสิ่งแวดล้อม


"เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม"
พระปฐมบรมราชโองการในพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานเนื่องในโอกาสวันพระราชพิธีบรมราชาภิเษกเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2493 ยังคงตราตรึงอยู่ในหัวใจของพสกนิกรชาวไทยทุกคนอยู่เสมอ ถึงแม้เวลาจะผ่านมาเนิ่นนานเพียงใดก็ตาม พระเมตตาที่พระองค์ทรงมีต่อประชาชนนั้นยิ่งใหญ่เกินกว่าจะ บรรยายได้



นับตั้งแต่ทรงขึ้นเถลิงถวัลย์ราชสมบัติ ชาวไทยทุกคนต่างซาบซึ้งอย่างถ่องแท้ถึงพระมหากรุณาธิคุณที่ เปี่ยมด้วยความรักความ ผูกพันในพสกนิกรและแผ่นดินไทย ทรงร่วมทุกข์ร่วมสุขกับชาวไทยทั่วทั้งประเทศดุจดังทุกข์ ของแผ่นดินคือทุกข์ของพระองค์ พระจริยวัตรที่ทรงปฏิบัติเป็นประจำก็คือการเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมราษฎรทั่วทุกภูมิภาคอย่างใกล้ชิดด้วยมี พระราชประสงค์มุ่งแก้ไขปัญหาให้ประชาชนอยู่ดีกินดีขึ้น โดยใช้หลักการพัฒนาแบบเรียบง่ายประหยัด และสอดคล้องกับวิถีชีวิตดั้งเดิมของท้องถิ่นนั้น ๆ



การบริหารจัดการลุ่มน้ำเพื่อแก้ไขปัญหาดินเปรี้ยวและการป้องกันน้ำท่วมในเขตพื้นที่ภาคใต้ คือหนึ่งในโครงการอันเนื่องมาจาก พระราชดำริ ซึ่งล้วนก่อเกิดขึ้นจากน้ำพระราชหฤทัยที่ทรงทุ่งเทพระวรกาย ด้วยทรงต้องการเห็นสภาพชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของราษฎร



พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงตระหนักถึงปัญหาและความทุกข์ยากของประชาชน โดยเฉพาะเขตภาคใต้ที่ขาดแคลนพื้นที่เกษตรกรรม

โครงการขุดสระเก็บกักน้ำตามทฤษฎีใหม่


โครงการขุดสระเก็บกักน้ำตามทฤษฎีใหม่ ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ




เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2535 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระราชดำริ ให้พิจารณาจัดหาน้ำเพื่อสนับสนุนการเพาะปลูกของราษฎร โดยการดำเนินงานขุดสระเก็บกักน้ำตามทฤษฎีใหม่ ในบริเวณพื้นที่ที่ราษฎรน้อมเกล้าฯ ถวายจำนวน 13 ไร่ 3 งาน อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์ เมื่อวันที่ 30

พฤศจิกายน 2536 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีเสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรโครงการที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานพระราชดำริไว้ดังกล่าว ได้พระราชทานพระราชดำริให้ขยายผลการดำเนินงานของโครงการไปสู่ราษฎรในบริเวณใกล้ เคียงด้วย อีกทั้งต่อมา สมเด็จ

พระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จทอดพระเนตรโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ และเยี่ยมราษฎรในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้พระราชทานพระราชดำริ ให้พิจารณาช่วยเหลือราษฎรที่ประสบปัญหาขาดแคลนน้ำ โดยขุดสระเก็บกักน้ำประจำไร่นาตามทฤษฎีใหม่



หลังจากที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระราชดำริแล้ว สำนักงานกปร. ได้ประสานหน่วยงานราชการต่างๆ ร่วมกันดำเนินการพัฒนาพื้นที่ จำนวน 13ไร่ 3 งาน บ้านแดนสามัคคี ตำบลคุ้มเก่า อำเภอเขาวงจังหวัดกาฬสินธุ์เพื่อพัฒนาพื้นที่การเกษตรที่แห้งแล้งและขาดแคลนน้ำให้มีน้ำสำหรับใช้ทำการเกษตรได้อย่างเพียงพอตลอดปี โดยดำเนินงานในรูปแบทฤษฏีใหม่ ดังนี้



•ขุดสระเก็บกักน้ำประจำไร่นาตามทฤษฎีใหม่ จำนวน 3 ไร่ สามารถเก็บกักน้ำได้ประมาณ 12,000 ลูกบาศก์เมตร

•พื้นที่ทำนา ประมาณ 3 ไร่ มีการศึกษาทดลองปลูกข้าว และพืชไร่หลังนา

•พื้นที่ปลูกไม้ผล พืชไร่ และพืชผัก ประมาณ 6 ไร่

•พื้นที่อยู่อาศัย ถนนและสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ประมาณ 1 ไร่ 3 งาน

•บริเวณขอบสระทำโรงเลี้ยงหมูเหมยซาน และในสระน้ำมีการเลี้ยงปลา

จากการดำเนินงานการเกษตรตามแนวทางทฤษฎีใหม่ในพื้นที่ดังกล่าว ได้ผลงานแยกเป็นประเภทต่างๆ ดังนี้



•ข้าว : โดยวิธีหว่าน และปักดำได้ผลผลิตไว้สำหรับการบริโภค และเหลือขายบ้างบางส่วน



•พืชหลังนา : โดยหลังเก็บเกี่ยวข้าวในช่วงปลายเดือนพฤศจิกายนแล้ว ได้ทำการปลูกข้าวโพดหวานพิเศษ และพืชจำพวกถั่ว เพื่อไว้บริโภคและเหลือขาย รวมทั้ง เป็นการปรับปรุงบำรุงดินด้วย



•พืชสวนครัว : ได้มีการปลูกข่า ตะไคร้ กระเพา พริก ฯลฯ โดยอาศัยน้ำจากสระได้เจริญงอกงามมีผลผลิตดี สามารถเก็บขายได้เงินเป็นรายได้



•ไม้ดอก : ได้มีการปลูกมะลิ เยอบีร่า บานไม่รู้โรย ฯลฯ โดยอาศัยน้ำจากสระ ได้ผลผลิตที่สามารถเก็บขายได้ราคา

•ไม้ผล : ได้มีการปลูกไม้ผลพันธุ์ดี ได้แก่ กระท้อน ขนุน มะม่วง ละมุดน้อยหน่า ส้มโอ มะละกอ ฝรั่ง ฯลฯ โดยอาศัยน้ำจากสระได้เจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว และไม้ผลบางประเภท เช่น ฝรั่ง ละมุด มะละกอสามารถให้ผลผลิตเก็บขายเป็นรายได้ดี



•การเลี้ยงหมู : ได้เลี้ยงหมูเหมยซานเพศเมีย 2 ตัว โดยสร้างคอกบนขอบสระเก็บน้ำ สามารถตกลูกปีละ 2 คอก ๆ ละ 10-12 ตัว



•การเลี้ยงปลา : ได้ปล่อยปลานิล ปลาตะเพียนขาว ปลายี่สกเทศ และปลานวลจันทร์เทศ ลงในสระเก็บน้ำจำนวน 25,000 ตัว จะสามารถจับเป็นอาหารและขายเป็นรายได้ได้เงิน4,150 บาท

ประโยชน์ที่ราษฎรได้รับ

ราษฎรมีสระเก็บกักน้ำไว้ใช้เป็นของตนเอง และต่างให้ความสนใจในการพัฒนาการเกษตรและมีการใช้ประโยชน์จากพื้นที่มากขึ้น บริเวณขอบสระจะปลูกพืชผักสวนครัว ไม้ดอก ไม้ประดับ และ เลี้ยงปลาในสระน้ำ นอกจากนี้ ยังมีการสร้างคอกสัตว์แบบง่ายๆ เพื่อเลี้ยงสัตว์และในช่วงที่เกิดภาวะฝนทิ้งช่วงหรือฤดูแล้ง ราษฎรสามารถอาศัยน้ำจากสระที่เก็บสำรองไว้มาใช้เพาะปลูกกล้า หรือหล่อเลี้ยงต้นไม้ที่ปลูกไว้ได้ ราษฎรเจ้าของสระน้ำจะมีรายได้ที่มั่นคงและเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด เมื่อเทียบกับก่อนขุดสระ เก็บกักน้ำ สภาพชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้นมีงานทำตลอดปี และราษฎรในพื้นที่ต่างๆ ให้ความสนใจเป็นอย่างมากซึ่งสามารถพิสูจน์พระราชดำริเกี่ยวกับทฤษฎีใหม่ว่ามีความเหมาะสมสำหรับพื้นที่ ที่ขาดแคลนแหล่งน้ำในการเกษตรได้เป็นอย่างดี

เตยหอม


เตยหอม ชื่อวิทยาศาสตร์: Pandanus amaryllifolius เป็นไม้ยืนต้นพุ่มเล็ก ขึ้นเป็นกอ ลำต้นอยู่ใต้ดิน ใบเป็นใบเดี่ยว เรียงสลับเวียนเป็นเกลียวขึ้นไปจนถึงยอด ใบเป็นทางยาว สีเข้ม ค่อนข้างแข็ง เป็นมัน ขอบใบเรียบ ในใบมีกลิ่นหอมจากน้ำมันหอมระเหย Fragrant Screw Pine สีเขียวจากใบเป็นสีของคลอโรฟิลล์ ใช้แต่งสีขนมได้

วงศ์ PANDANACEAE


ชื่ออื่นๆ ภาคกลาง : เตยหอมใหญ่ (Toei-hom-yai) เตยหอมเล็ก (Toei-hom-lek)

มลายู : ปาแนะวองิง (Pa-nae-wo-nging)

ถิ่นกำเนิด ไทย มาเลเซีย

รูปลักษณะ ไม้น้ำ ต้นเล็กใบยาวแยกออกจากโคนต้น ใบเขียวเกลี้ยงไม่มีหนามริมใบ มีกลิ่นหอมมันๆ ต้นแก่มีรากอากาศขึ้นอยู่ตามชายคลองที่น้ำขี้นลงถึง



สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา

ต้นและราก-ใช้เป็นยาขับปัสสาวะกระษัย

ใบสด-ตำพอกรักษาโรคหัด โรคผิวหนัง ใช้เป็นยาบำรุงหัวใจให้ชุ่มชื้น โดยใช้น้ำใบเตยผสมอาหาร แต่งกลิ่น แต่งสีขนม




Pandanus amaryllifolius is a tropical plant in the screwpine genus which is known commonly as pandan and is used widely in Southeast Asian cooking as a flavoring. The plant is rare in the wild but is widely cultivated. It is an upright green plant with fan-shaped sprays of long, narrow, bladelike leaves and woody aerial roots. The plant is sterile, flowers only very rarely, and is propagated by cuttings.
Culinary useIn Bangladesh it is called Ketaki, along with the other variety of pandan there (Pandanus fascicularis), and is used to enhance the flavor of pulao, biryani and sweet coconut rice pudding, payesh. It is called pandan wangi in Indonesian, soon-mhway in Burmese, bai tooey in Thai, rampe in Sinhala, and lá dứa in Vietnamese.




The leaves are used either fresh or wilted, and are commercially available in frozen form in Asian grocery stores in nations where the plant does not grow. They have a nutty, botanical fragrance which enhances the flavor of Indonesian, Singaporean, Filipino, Malaysian, Thai, Bangladeshi, Vietnamese, Chinese, Sri Lankan, and Burmese foods, especially rice dishes and cakes.





Biriyanikaitha in Kerala, IndiaThe leaves are sometimes steeped in coconut milk, which is then added to the dish. They may be tied in a bunch and cooked with the food. They may also be woven into a basket which is used as a pot for cooking rice. Pandan chicken, or gai ob bai toey, is a Thai dish with chicken wrapped in pandan leaves and fried. The leaves are also used as a flavoring for desserts such as pandan cake and sweet beverages. Other than that, Filipinos use pandan as a flavoring in buko pandan salad.[1]



The characteristic aroma of pandan is caused by the aroma compound 2-acetyl-1-pyrroline which also gives white bread, jasmine rice and basmati rice (as well as Bread Flowers Vallaris glabra) their typical smell.[2] Bottled pandan extract is also available in shops, but often contains artificial green food coloring. The leaves also have a repellent effect on cockroaches

วันศุกร์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

แม่น้ำบางปะกง (The winter.)


ลำน้ำบางปะกงมีต้นกำเนิดจากทิวเขาสันกำแพงบนที่ราบสูงโคราช ไหลผ่านจังหวัดปราจีนบุรี (เรียกว่าแม่น้ำปราจีนบุรี) ผ่านอำเภอบางน้ำเปรี้ยว (เรียกว่าแม่น้ำแปดริ้ว) ผ่านอำเภอบางคล้า อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา และออกสู่อ่าวไทยที่อำเภอบางปะกง ระยะทาง 230 กิโลเมตร การท่องเที่ยวทางเรือในลำน้ำบางปะกง เริ่มจากตัวเมืองฉะเชิงเทราเพื่อชมธรรมชาติ สองฝั่งน้ำชมบ้านเรือน ซึ่งยังคงสภาพความเป็นอยู่อย่างไทย ผ่านสถานที่น่าสนใจ เช่น อาคารตำหนักกรมขุนมรุพงษ์ศิริวัฒน์ ป้อมและกำแพงเมืองโบราณ อาคารศาลากลางหลังเก่า กลุ่มเรือนแพสมัยเก่า วัดวาอาราม ทั้งวัดไทย จีน ฝรั่ง เช่น วัดเมือง วัดสัมปทวน วัดแหลมใต้ วัดสายชล วัดเซ็นต์ปอล ไปขึ้นฝั่งที่วัดโพธิ์บางคล้า เพื่อชมค้างคาวแม่ไก่ ระยะทางประมาณ 25 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทาง 3 ชั่วโมง สามารถติดต่อเช่าเรือได้ที่ท่าน้ำวัดโสธรวรารามวรวิหาร หรือที่ท่าน้ำหน้าตลาดในตัวเมือง


The winter
Winter river originates from hills of Chiang Mai on the Korat Plateau. Through Prachinburi. (Also known as River City) Bangnampreaw district. (Called the river wanted) Bangkhla district. Muang Chachoengsao. And into the Gulf of Thailand, the district plan within 230 kilometers of river boat cruises in the winter. From Chachoengsao town to enjoy the nature. Both sides of a house visit. This remains as one of Thailand. Through attractions such as Tower, Palace of Khun Pong Mru Sirivat. Fort and the ancient city walls. The Old Capitol Building. The houseboat and old temples such as Wat Thai Temple in Chinese, repeated measurements of the signal at the Cape, South St. Paul's to measure hydraulics line ashore at Wat Pho Bangkhla. To watch the bats hens. Distance of 25 km trip takes 3 hours to contact the boat at Pier Sothon Ram third. Or at the waterfront in the downtown market.



ดอกเลา คำเปรียบเทียบคนล้านนา


ดอกเลา คำเปรียบเทียบคนล้านนา ผะหญาการสังเกตดอกไม้ธรรมชาติ

สีผมของคนเรามันเปลี่ยนแปรไปตามธรรมชาติจากสีดำดกเข้มขำ หลายๆคนเปลี่ยนไปเป็นสีดอกเลา ดอกเลามันเป็นอย่างไร เด็กๆสมัยนี้เคยเห็นเคยรู้กันบ้างไหม หรือแม้แต่ผู้หย่งผู้ใหญ่บางคนยังไม่เคยเห็นดอกเลาแต่ก็ว่าตามเขาได้สบายปาก แถมผมบนหัวตัวเองยังเปลี่ยนจากสีดำเป็นสีดอกเลาให้เขาได้เห็น

วันนี้ได้นำกล้องถ่ายภาพคู่ชีพออกจากบ้านไปเที่ยวตามลำน้ำ เห็นวิถีชีวิตของผู้คนในลุ่มน้ำปิงอย่างหลากหลาย บ้างทอดแห บ้างขุดทรายจากพื้นน้ำขึ้นใส่ในลำเรือ แต่ที่แน่ๆ สองฟากฝั่งมีดอกเลาสีขาวเต็มไปหมด ทำให้นึกถึงคำกล่าวของคนล้านนาที่ว่า "ผมขาวเหมือนดอกเลา"

ลุงอิ่นแสง ที่เป็นชาวสวนใกล้ลำน้ำปิงได้เล่าว่า "ต้นอ้อ ต้นแขม หรือต้นเลามันขึ้นมากมายตามฝั่งลำน้ำแม่ปิง ที่จริงไม้พวกนี้มันมีประโยชน์มากมายต่อฝั่งน้ำ เพราะมันมีรากเหง้าที่ลึกและดกหนา แผ่กระจายไปกว้างจับเกาะตามหน้าดินซึ่งเป็นฝั่งน้ำให้เนื้อดินติดกันแน่น ไม่พังไปกับสายน้ำได้ง่ายๆ"

พูดถึงดอกเลาหรือดอกแขมมักจะออกดอกให้ผู้คนได้เห็นเมื่อยามเข้าสู่หน้าหนาว ขณะที่กระแสน้ำปิงเริ่มลดลาฝั่ง ยามที่ลมหนาวโชยกระแสพาเอาความหนาวเย็นมาสู่ผู้คน ดอกเลาเริ่มแทงยอดอวดสีขาวบริสุทธิ์ให้ผู้คนได้รับรู้ว่าฤดูกาลทำสวนริมฝั่งน้ำเริ่มต้นได้แล้ว

เมื่อเห็นดอกเลา ชาวสวนสองฝั่งปิงจะลงมือถากถางขุดแต่งพื้นดินให้เป็นร่องเป็นแปลงเพื่อปลูกพืชสวนตามปกติ ในยามนี้เองเราจะเห็นกลุ่มควันที่เผาไหม้จากกอหญ้า กอพืชที่ไม่ต้องการลอยเคว้งคว้างผ่านปลายยอดดอกเลาดูสวยงามยิ่งนัก ในขณะที่มองไปบนท้องฟ้าเห็นสีครามกว้างไกล

บางครั้งสายลมหนาวพลิ้วพัดจอยพาความเย็นมาสัมผัสผิวกายทำให้เกิดความสุขอย่างสมบูรณ์อารมณ์ในขณะที่อยู่ริมสายน้ำ สายลมพลิ้วคราวครั้งหนึ่งอาจพัดเอาละอองเกสร กลีบดอกเลาปลิวไปตามสายลมพลัดพรากจากถิ่นที่เคยอยู่ไปตกหล่นพลัดถิ่นในที่ไกล แต่ดอกเลายังคงสีขาวซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของมันอย่างเข้มข้นทำให้ผู้คนต่างใช้ความสังเกตสีของดอกเลาเอามาเปรียบเทียบกับสีของเส้นผมจากสีดำเป็นสีขาวตามอายุขัยวัยที่แปรเปลี่ยนเช่นกัน

ผมสีดอกเลาจึงเป็นเสมือนเครื่องเตือนผู้คนให้พิจารณาตนเอง พิจารณาสังขาร วัยอันเปลี่ยนไปตามธรรมชาติที่ไม่สามารถยับยั้งไว้ได้ ดังคำกล่าวที่ว่า อันที่อยากให้มันหยุดมันก็ไม่หยุด นั่นเอง



Grayish metaphor Lanna. For permission to observe the course of natural flowers.


It's changing hair color, natural color and black and really dark. Many people turn to a grayish color. It is grayish. Kids these days do not know what to do. Even some adults who have not seen Hieg grayish, but that he was comfortable with her. I was on my head also turns from black to grayish, he has seen.

This is the indispensable camera out of the house to the river. The lifestyle of people in a variety of Ping River Basin, some sand casting some of the ground water in the hull sides, but certainly filled with a grayish white. Makes me think of a million words in it. "I like a grayish-white."

He was a farmer near the river of light that Ping has said, "I was at the meeting it แkm or more of the Mae Ping River. This actually is not that there are many benefits to the water. It has deep roots and thick head. Spread wide, the island soil, the soil adjacent to the water-tight. Not simply fall to the river. "

To grayish or flowers are blooming แkm people see when entering the winter. While the reduction in the Ping river. When the wind gently brought the cold to the people. The bet's off grayish white people do not realize that the season has already started the waterfront.



When you see the grayish Ping will begin cutting along both sides of gardeners digging the ground a groove is converted to a regular garden soil. This is when we see the smoke from burning grass clump. Gore does not want to drift aimlessly through the plant's flowers are very beautiful property. While looking at the sky to see the blue range.

Sometimes the wind blows cold flutter touch the cold I'll make my body feel perfectly at the edge of the river. Flutter wind may blow it this time pollen. Petals blown by the wind, lost property of residents who are displaced far to fall. Grayish-white, but still a strong identity of its people to take notice of a grayish color with the color of my hair from black to white by changing his life as well.

Grayish hair is warning people to consider their own virtual machines. The body. It changes according to their nature, can not stop them. As the saying. I want to make it stop it stop it.

วันพุธที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

แม่น้ำท่าจีน (Tha Chin)


Tha Chin est une rivière qui s'est séparée de la rivière Chao Phraya à Tambon Tha Sung du district d'Uthai Thani province sur le côté ouest de la Chante district Wat. Chai Nat. Flux à travers la province de Chai Nat. Province de Suphan Buri. Province de Nakhon Pathom. Threads. Avant qu'il ne se jette dans le golfe de Thaïlande à Tambon Bang Phraek Ya. District Est. Threads. Il ya environ 325 kilomètres de long, la rivière Tha Chin est appelé plusieurs noms comme il traverse la province de Chai Nat. «Mon Old Man River" à la province de Suphan Buri, appelé «fleuve de Suphan" lorsqu'il est appelé par l'intermédiaire de Nakorn Pathom. «Le long de la rivière" qui traverse la province de l'Est et se jette dans le golfe de Thaïlande connue. "Tha Chin."

แม่น้ำท่าจีน เป็นแม่น้ำที่แยกตัวออกจากแม่น้ำเจ้าพระยาที่ตำบลท่าซุง อำเภอเมือง จังหวัดอุทัยธานี กับ ฝั่งตะวันตกที่อำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท ไหลผ่านจังหวัดชัยนาท จังหวัดสุพรรณบุรี จังหวัดนครปฐม จังหวัดสมุทรสาคร ก่อนจะไหลออกสู่อ่าวไทยที่ตำบลบางหญ้าแพรก อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร มีความยาวทั้งสิ้นประมาณ 325 กิโลเมตร แม่น้ำท่าจีนมีชื่อเรียกหลายชื่อ ดังนี้ ตอนที่ไหลผ่านจังหวัดชัยนาทเรียกว่า "แม่น้ำมะขามเฒ่า" ตอนที่ผ่านจังหวัดสุพรรณบุรี เรียกว่า "แม่น้ำสุพรรณบุรี" ตอนที่ผ่านจังหวัดนครปฐมเรียกว่า "แม่น้ำนครชัยศรี" ส่วนตอนที่ไหลผ่านจังหวัดสมุทรสาครและไหลลงสู่อ่าวไทยเรียกว่า "แม่น้ำท่าจีน"



ลำน้ำสาขาจังหวัดสมุทรสาคร

คลองพิทยาลงกรณ์ หรือ คลองสรรพสามิต เป็นคลองเชื่อมกับแม่น้ำเจ้าพระยา ปากคลองจะอยู่บริเวณฝั่งตะวันออกของแม่น้ำท่าจีนที่ตำบลบางหญ้าแพรก อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร ไหลผ่านเขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร ออกสู่แม่น้ำเจ้าพระยาที่อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ

คลองมหาชัย หรือ คลองสนามชัย ปากคลองจะอยู่บริเวณฝั่้งตะวันออกของแม่น้ำท่าจีนที่ตำบลมหาชัย อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร ไหลผ่านเขตบางขุนเทียน ออกสู่คลองด่าน (คลองบางหลวงน้อย) ที่เขตจอมทอง กรุงเทพมหานคร เชื่อมแม่น้ำเจ้าพระยา

คลองสุนัขหอน หรือ คลองแม่กลอง ปากคลองจะอยู่บริเวณฝั่งตะวันตกของแม่น้ำท่าจีนที่ตำบลท่าจีน อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร ไหลผ่านอำเภอบ้านแพ้ว ออกสู่แม่น้ำแม่กลองที่อำเภอเมืองสมุทรสงคราม จังหวัดสมุทรสงคราม

คลองดำเนินสะดวก ปากคลองจะอยู่บริเวณฝั่งตะวันตกของแม่น้ำท่าจีนที่อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร ไหลผ่านอำเภอบ้านแพ้ว อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี ก่อนเชื่อมแม่น้ำแม่กลองที่ประตูน้ำบางนกแขวก อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม

คลองบางยาง ปากคลองจะอยู่บริเวณฝั่งตะวันตกของแม่น้ำท่าจีนที่อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร ก่อนเชื่อมคลองดำเนินสะดวกที่ อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร

คลองภาษีเจริญ ปากคลองจะอยู่บริเวณฝั่งตะวันออกของแม่น้ำท่าจีนที่ตำบลดอนไก่ดี อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร ไหลผ่านอำเภอกระทุ่มแบน เขตหนองแขม เขตบางแค เขตภาษีเจริญ ออกสู่คลองบางกอกใหญ่ และคลองบางขุนศรี ที่เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร เชื่อมแม่น้ำเจ้าพระยา

จังหวัดนครปฐม
คลองบางแก้ว เป็นคลองธรรมชาติ อยู่ทางฝั่งซ้ายของแม่น้ำนครชัยศรี มีสองสาขาคือ แยกซ้ายไปเชื่อมกับห้วยหลายสายจนถึงแม่น้ำแม่กลอง มีลำรางสระอ้อ เป็นทางเชื่อม ต่อมจากนั้นจึงเป็นคลองบางระกำ และต่อกับลำห้วยต่างๆ จนถึงแม่น้ำแม่กลอง ส่วนแยกขวาไปรวมกับคลองเจดีย์บูชา

คลองมหาสวัสดิ์ อยู่ทางฝั่งขวาของแม่น้ำนครชัยศรี เป็นคลองที่ขุดในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เชื่อมแม่น้ำนครชัยศรี กับคลองบางกอกน้อย ที่บริเวณวัดชัยพฤกษ์มาลา เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร มีความยาว 30 กิโลเมตร กว้าง 10 วา ขนานไปกับทางรถไฟสายใต้

คลองเจดีย์บูชา อยู่ทางฝั่งซ้ายของแม่น้ำนครชัยศรี เป็นคลองขุดในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ปากคลองอยู่เหนือตลาดท่านาเล็กน้อย ยาวประมาณ 12 กิโลเมตร จากอำเภอนครชัยศรี ถึงอำเภอเมืองนครปฐม ขนานกับทางรถไฟสายใต้ คลองบางช่วงมีลำรางอยู่ก่อนแก้ว มีคลองบางแก้วมาบรรจบช่วงใกล้ถึงองค์พระปฐมเจดีย์

คลองบางพระ อยู่ทางฝั่งซ้ายของแม่น้ำนครชัยศรี เป็นคลองธรรมชาติ ไหลผ่านหลายตำบล เชื่อมต่อแม่น้ำแม่กลองกับแม่น้ำนครชัยศรี เดิมปากคลองบางพระจะไหลไปบรรจบแม่น้ำแม่กลอง ที่บริเวณอำเภอท่าเรือ จังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งเป็นเส้นทางสัญจรที่สำคัญในสมัยโบราณ แต่ปัจจุบันปากคลองถูกตัดขาด และเปิดให้รับน้ำจากคลองประปาที่ไหลมาจากเขื่อนวชิราลงกรณ์

คลองพิสมัย อยู่ทางฝั่งขวาของแม่น้ำนครชัยศรี ระหว่างตำบลบางหลวง อำเภอนครชัยศรี กับอำเภอบางเลน เป็นคลองขุดยาวประมาณ 4 กิโลเมตร พระองค์เจ้าพิสมัยทรงริเริ่มให้ขุด ใช้ประโยชน์ในทางการเกษตร

คลองทวีวัฒนา หรือคลองนราภิรมย์ อยู่ฝั่งขวาของแม่น้ำนครชัยศรี ปากคลองอยู่ที่ตำบลนราภิรมย์ อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม ไหลผ่านฝั่งซ้ายอำเภอบางเลน และอำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม กับฝั่งขวาที่อำเภอไทรน้อย อำเภอบางใหญ่ และอำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี เข้าเขตกรุงเทพมหานครที่เขตทวีวัฒนา ก่อนออกสู่คลองภาษีเจริญที่เขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร

คลองท่าสาร-บางปลา เป็นคลองธรรมชาติ อยู่ทางฝั่งซ้ายของแม่น้ำนครชัยศรี บริเวณหน้าวัดบางปลา หมู่ที่ 6 ตำบลบางปลา อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม ผ่านอำเภอดอนตูม อำเภอกำแพงแสน เข้าเขตจังหวัดกาญจนบุรี ก่อนจะออกสู่แม่น้ำแม่กลองที่อ่าวท่าสาร บริเวณบ้านท่าเรือตำบลตะคร้ำเอน อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี คาดว่ามีมาตั้งแต่สมัยทวาราวดี ชาวบ้านใช้ลำคลองเป็นเส้นทางสัญจรทางน้ำ เป็นเส้นทางการรบในอดีต และเป็นแหล่งน้ำสำหรับการดำเนินชีวิตของชาวชุมชนทั้งบอุปโภค-บริโภคและประกอบอาชีพเกษตกรรมเป็นหลัก ทั้งนี้ เมื่อคลองทอดผ่านหมู่บ้านใดนักเรียกชื่อตามหมู่บ้านนั้น เช่น จากอ่าวท่าสารมาเป็นคลองท่าสาร เมื่อมาถึงบ้านหมอสอเรียกว่า ลำหมอสอ ถึงบ้านห้วยปลากดเรียกว่า ห้วยปลากด ถึงบ้านรางเกตุเรียกว่า รางตาบุญ บ้านบ้านยางขาคีมเรียกว่าห้วยยาง ผ่านบ้านยางเรียกว่า คลองบ้านยาง ผ่านแหลมกระเจาเรียกว่า คลองแหลมกะเจา ผ่านลาดสะแกและบ้านเกาะแรดเรียกว่า คลองลาดสะแก

คลองบางภาษี อยู่ฝั่งขวาของแม่น้ำท่าจีน บริเวณวัดบางภาษี ตำบลคลองนกกระทุง อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม ซึ่งเดิมเป็นเขตตำบลบางภาษี อำเภอบางปลา ก่อนแบ่งออกเป็นสองตำบล และเปลี่ยนจากอำเภอบางปลาเป็นอำเภอบางเลนในปัจจุบัน ก่อนจะขนานไปกับเส้นแบ่งเขตการปกครองระหว่างฝั่งซ้าย อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม กับฝั่งขวา อำเภอไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี และอำเภอลาดบัวหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ก่อนจะออกสู่คลองพระยาบันลือ

คลองพระพิมลราชา เป็นคลองชลประทาน อยู่ฝั่งขวาของแม่น้ำท่าจีน ปากคลองอยู่ที่ประตูน้ำพระพิมล ตำบลบางเลน อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม ผ่านคลองบางภาษี เข้าเขตจังหวัดนนทบุรีที่ตำบลขุนศรี อำเภอไทรน้อย ก่อนจะออกสู่คลองบางบัวทองที่ประตูน้ำบางบัวทอง ตำบลบางบัวทอง อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี ซึ่งฝั่งขวาของคลองจะออกสู่แม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณรอยต่อระหว่างตำบลท่าอิฐและตำบลอ้อมเกร็ด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี

จังหวัดสุพรรณบุรี

คลองพระยาบันลือ เป็นคลองชลประทาน อยู่ฝั่งขวาของแม่น้ำสุพรรณบุรี ปากคลองอยู่ที่ประตูระบายน้ำพระยาบรรลือ ตำบลบางตาเถร อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี บางช่วงขนานไปกับฝั่งทิศเหนือ ตำบลหลักชัย อำเภอลาดบัวหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา กับฝั่งทิศใต้อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม ซึ่งเป็นเส้นแบ่งเขตการปกครอง ก่อนจะเข้าเขตจังหวัดพระนครศรีอยุธยาโดยตรงที่ปากคลองบางภาษี ตำบลสามเมือง และออกสู่แม่น้ำเจ้าพระยาที่ประตูน้ำสิงหนาถ ตำบลไม้ตรา อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

[แก้] การนำน้ำผลิตน้ำประปาแม่น้ำท่าจีนเป็นแหล่งผลิตน้ำประปาสำคัญของบริษัท น้ำประปาไทย จำกัด (มหาชน) ซึ่งจำหน่ายน้ำประปาให้กับการประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.) ในพื้นที่อำเภอนครชัยศรี อำเภอสามพราน และอำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม กับอำเภอเมืองสมุทรสาคร และอำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร โดยใช้แหล่งน้ำดิบบริเวณที่ตั้งของโรงผลิตน้ำประปาบางเลน หมู่ที่ 9 ตำบลบางระกำ อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม ก่อนจะส่งจ่ายน้ำประปาที่ผ่านการผลิตไปยังสถานีจ่ายน้ำพุทธมณฑล ตำบลไร่ขิง อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม และสถานีจ่ายน้ำมหาชัย ตำบลนาดี อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร ก่อนจะจ่ายน้ำไปยังผู้ใช้ต่อไป

น้ำในแม่น้ำท่าจีนไม่ได้นำมาใช้ผลิตน้ำประปาสำหรับใช้ในเขตกรุงเทพมหานคร แต่การประปานครหลวงได้ก่อสร้างคลองประปาตะวันตก หรือคลองส่งน้ำดิบฝั่งตะวันตก เพื่อผันน้ำจากแม่น้ำแม่กลอง บริเวณเขื่อนวชิราลงกรณ์ อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี ไปยังโรงงานผลิตน้ำมหาสวัสดิ์ อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี ระยะทาง 106 กิโลเมตร ซึ่งช่วงก่อนถึงแม่น้ำท่าจีนได้ก่อสร้างเป็นอุโมงค์ลอดแม่น้ำเพื่อไม่ให้คุณภาพน้ำจากจุดรับน้ำดิบเปลี่ยนแปลง ก่อนจะเข้าสู่สถานีสูบน้ำดิบบางเลน ตำบลบางเลน อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม ไปยังโรงงานผลิตน้ำมหาสวัสดิ์ต่อไป



สะพานข้อมูลบางส่วนตั้งแต่จังหวัดสมุทรสาคร ถึงจังหวัดนครปฐม (เรียงจากปากแม่น้ำท่าจีน)

สะพานท่าจีน 1 ถนนพระรามที่ 2 ตำบลท่าจีน อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร เปิดใช้เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2516 พร้อมทางหลวงสายธนบุรี-ปากท่อ

สะพานท่าจีน 3 ทางหลวงชนบท สค.4019 ตำบลบ้านเกาะ อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร เปิดใช้เมื่อปี พ.ศ. 2540

สะพานพุทธมณฑลสาคร ต่อทางหลวงชนบท สค.4016-บ้านอำแพง ตำบลอำแพง อำเภอบ้านแพ้ว และตำบลท่าเสา อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร เปิดใช้เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2554

สะพานท่าจีน 2 ถนนสุคนธวิท และทางหลวงชนบท สค.4011 ตำบลสวนส้ม อำเภอบ้านแพ้ว และ ตำบลตลาดกระทุ่มแบน อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร เปิดใช้เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2534

สะพานบางยางรุ่งสินพัฒนา ตำบลบางยาง อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร เปิดใช้เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

สะพานท่าจีน 4 ทางหลวงชนบท สค.4014 (ซอยวิรุณราษฎร์) ตำบลหนองนกไข่ และตำบลท่าเสา อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร เปิดใช้เมื่อปี พ.ศ.2542

สะพานบุญรัฐประชานุวัฒน์ ตำบลสามพรานและตำบลท่าข้าม อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม เปิดใช้เมื่อวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2547

สะพานโพธิ์แก้ว ถนนเพชรเกษม ตำบลโพธิ์แก้ว อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม

สะพานมงคลรัฐประชานุกูล (วัดไร่ขิง) ตำบลไร่ขิง อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม เปิดใช้เมื่อปี 2545

สะพานหลังวัดทรงคนอง ตำบลทรงคนอง อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม

สะพานข้ามแม่น้ำท่าจีน ถนนบรมราชชนนี ตำบลหอมเกร็ด อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม

สะพานหลวงพ่อย้อยอนุสรณ์ ตำบลขุนแก้ว และตำบลไทยาวาส อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม

สะพานข้ามแม่น้ำท่าจีน ทางหลวงชนบท นฐ.4047 ตำบลนครชัยศรีและตำบลไทยาวาส อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม

สะพานรวมเมฆ ทางหลวงชนบท นฐ.4006 (ถนนนครชัยศรี-ศาลายา) ตำบลนครชัยศรี อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม เปิดใช้เมื่อปี 2532

สะพานเสาวภา ทางรถไฟสายใต้ ตำบลวัดแค และตำบลไทยาวาส อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม

สะพานสำโรง-ลานตากฟ้า ประชาร่วมใจ ตำบลวัดสำโรง และตำบลลานตากฟ้า อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม เปิดใช้เมื่อปี พ.ศ. 2550

สะพานข้ามแม่น้ำท่าจีน (วัดห้วยพลู) ตำบลห้วยพลู อำเภอนครชัยศรี จ.นครปฐม

สะพานหลวงพ่อเปิ่น ทางหลวงชนบท นฐ.4014 ตำบลบางพระ อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม

สะพานอุดมประชานารถวัฒนา ตำบลบางระกำ อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม เปิดใช้เมื่อปี พ.ศ.2542

สะพานแขวนข้ามแม่น้ำท่าจีน ตำบลลำพญา อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม

สะพานบางเลน ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 346 ตำบลบางเลน อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม

สะพานข้ามแม่น้ำท่าจีน ตำบลบางหลวง อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม

สะพานข้ามแม่น้ำท่าจีน ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3422 ตำบลบางตาเถร อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี

แม่น้ำตาปี


แม่น้ำตาปี ช่วงที่ไหลผ่านเมืองสุราษฎร์ธานีแม่น้ำตาปี เป็นแม่น้ำสายใหญ่ที่สุดในภาคใต้ของประเทศไทย มีต้นน้ำอยู่ที่เทือกเขาหลวง จังหวัดนครศรีธรรมราช และไหลสู่อ่าวไทยที่อ่าวบ้านดอน อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี ปโตเลมี นักปราชญ์ชาวกรีก ได้กล่าวถึง แม่น้ำอัตตาบาส์ หมายถึง แม่น้ำตาปี


ประวัติแม่น้ำตาปีเป็นชื่อที่ พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทาน เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2458 และได้กระทำคำสั่งประกาศเป็นทางการโดยมี มหาอำมาตย์โท พระยามหาอำมาตยาธิบดี เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ลงนามในประกาศ ณ วันที่ 29 สิงหาคม 2458



เดิมแม่น้ำตาปี มีชื่อว่า " แม่น้ำหลวง" เพราะต้นกำเนิดของแม่น้ำสายที่อยู่ที่ภูเขาหลวงซึ่งเป็นยอดเขาที่สูงที่สุดของทิวเขานครศรีธรรมราช อยู่ในเขตพื้นที่ อำเภอพิปูน จังหวัดนครศรีธรรมราช ไหลผ่านอำเภอฉวาง อำเภอทุ่งใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช ผ่านอำเภอพระแสง อำเภอบ้านนาสาร อำเภอเคียนซา อำเภอพุนพิน และไหลออกสู่อ่าวไทยที่อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นแม่น้ำสายยาวที่สุดของภาคใต้



เนื่องจากแม่น้ำหลวง มีความยาวมาก ชาวพื้นเมือง จึงเรียกชื่อแม่น้ำสายนี้ต่างกันออกไปตามตำบลที่ไหลผ่าน เช่น เมื่อผ่านอำเภอพุนพิน เรียกแม่น้ำท่าข้าม ประกอบกับแม่น้ำสายนี้เป็นแม่น้ำที่ใหญ่กว่าแม่น้ำใด ๆ ในพระราชอาณาจักรมณฑลปักษ์ใต้ ท่องที่ลุ่มแม่น้ำสายนี้เป็นพื้นที่อุดม มีความสำคัญแก่การเพาะปลูก มีความสำคัญทั้งแก่การเพาะปลูก และค้าขาย นับเป็นแม่น้ำสำคัญมากสายหนึ่งของอาณาจักรสยาม ด้วยเหตุที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินไปประทับที่พระตำหนักสวนสราญรมย์ ที่ตำบลท่าข้าม จังหวัดสุราษฎร์ธานี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าพระราชทานชื่อเมืองไชยาใหม่ (ที่บ้านดอน) เป็นเมืองสุราษฎร์ธานี เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2458 จึงมีพระราชดำรับว่า เห็นสมควรจะให้มีชื่อไว้เป็นหลักฐานตลอดทั้งลำน้ำ เพื่อให้เป็นการสะดวก แก่ประชาชน และวิชาภูมิศาสตร์สืบไป จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯพระราชทานชื่อแม่น้ำสายนี้ว่าแม่น้ำตาปีโดยนับตั้งแต่ปากน้ำออกทะเล ถึงเกาะปราบ ขึ้นไปถึงเมืองสุราษฎร์ธานี ถึงปากแม่น้ำพุมดวง (ที่อำเภอพุนพิน ตรงบริเวณตอนเหนือของสะพานรถไฟพระจุลจอมเกล้าไปเล็กน้อย) แต่ปากแม่น้ำพุมดวงขึ้นไปถึงปากคลองสินปุน ตั้ง ตั้งแต่ปากคลองสินปุนไปถึงคลองกะเปียด ตั้งแต่คลองกะเปียดขึ้นไปถึงสำนักบันได สามขั้นบนสันเขาหลวงซึ่งเป็นต้นน้ำ



การตั้งชื่อเมือง และแม่น้ำนี้ คล้ายกับชื่อแม่น้ำ ตาปติ และเมือง สุรัฎฐ (สุราษฎร์) ในประเทศอินเดีย ซึ่งแม่น้ำตาปติตั้งต้นจากภูเขาสัตตปุระ ไหลลงสู่มหาสมุทรอินเดียทางอ่าวแคมเบย์ และริมฝั่งซ้ายของปากแม่น้ำนี้มีเมืองชื่อว่า สุรัฎฐ์ ตั้งอยู่ สภาพของเมืองทั้งสองคล้ายคลึงกัน ประกอบกับทรงทราบว่า ชาวเมืองสุราษฎร์เป็นผู้มีคุณธรรม ยึดมั่นในหลักพระพุทธศาสนาสอดคล้องกับ ความหมายของสุราษฎร์ธานี พร้อมกันนี้ ได้ทรงพระราชทานนามพระตำหนักที่ชาวเมืองสร้างถวายเป็นที่ประทับบนควนท่าข้ามว่า สวนสราญรมย์ ซึ่งปัจจุบัน เป็นที่ตั้งของโรงพยาบาล



คลองสาขาแม่น้ำตาปี เกิดจากเทือกเขาหลวงในอำเภอพิปูน จังหวัดนครศรีธรรมราชไหลผ่านอำเภอฉวาง อำเภอทุ่งใหญ่ ไหลผ่านอำเภอบ้านนาสาร อำเภอเวียงสระ อำเภอพระแสง อำเภอพุนพิน และอำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี ไหลออกสู่ทะเลที่อ่าวบ้านดอน แม่น้ำตาปี ยาวประมาณ 232 กิโลเมตร มีคลองสาขาที่สำคัญ 6 สาย ได้แก่



คลองสินปุน ต้นน้ำอยู่ในเขตจังหวัดกระบี่ ไหลมารวมกับแม่น้ำตาปี ทางฝั่งซ้ายในตำบลสินปุน อำเภอพระแสง

คลองอิปัน ตันน้ำมาจากกอำเภอทับปุด จังหวัดพังงา ไหลมารวมกับแม่น้ำตาปีทางฝั่งซ้ายในตำบลสินปุน อำเภอพระแสง

คลองพุนพิน แยกจากฝั่งซ้ายของแม่น้ำตาปี ใกล้สะพานรถไฟพระจุลจอมเกล้า ตำบลท่าข้าม อำเภอพุนพิน ไปออกทะเลที่อ่าวบ้านดอน

คลองท่ากูบ ต้นน้ำมาจากบ้านขุนทะเล ไหลมารวมกับแม่น้ำตาปีทางฝั่งขวา

คลองมะขามเตี้ย ต้นน้ำมากจากบึงขุนทะเล ไหลมารวมกับแม่น้ำตาปี ทางฝั่งขวาใกล้ตลาดบ้านดอน อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี

คลองขวาง แยกจากฝั่งซ้ายตรงกันข้ามกับหน้าตลาดบ้านดอน อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี ไปบรรจบกับคลองพุนพิน ที่ตำบลลิเล็ด อำเภอพุนพิน

นอกจากนี้ ยังมีคลองอื่น ๆ เช่น คลองศก ซึ่งมีต้นกำเนิดมาจากอุทยานแห่งชาติเขาสก คลองยัน ซึ่งมีต้นกำเนิดจากพื้นที่อุทยานแห่งชาติแก่งกรุง และคลองพุมดวง เป็นต้น



ความสำคัญทางประวัติศาสตร์ใน ราว ค.ศ. 100 - ราว ค.ศ. 178 ปโตเลมี นักปราชญ์ชาวกรีก ได้กล่าวถึง แม่น้ำอัตตาบาส์ หมายถึง แม่น้ำตาปี เป็นเส้นทางเดินทางและเมืองท่าสำคัญ ในหนังสือดาราศาสตร์และภูมิศาสตร์



จากคลองสาขาที่มาจากจังหวัดกระบี่ และจังหวัดพังงา เป็นเส้นทางสำคัญในยุคอาณาจักรศรีวิชัย ที่ชาวต่างชาติใช้เป็นเส้นทางในการลำเลียงสินค้าจากทะเลอันดามัน มหาสมุทรอินเดีย ขึ้นฝั่งยังบริเวณอำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา มาสู่อ่าวไทยที่บริเวณปากแม่น้ำพุมเรียง อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยมีเส้นทางที่สำคัญอย่างน้อย 4 เส้นทาง คือ



1.จากทุ่งตึกผ่านทางคลองเหล ผ่านมาทางเขาสก เข้าคลองพุมดวง เข้าแม่น้ำตาปี และมาออกที่อ่าวบ้านดอน

2.จากคณะมะรุ่ยผ่านทางคลองชะอุ่น คลองสก คลองพุมดวง แม่น้ำตาปี แล้วออกทางอ่าวบ้านดอน

3.จากคลองปกาสัย ผ่านคลองโตรม คลองอิปัน ออกแม่น้ำตาปี แล้วต่อมาออกอ่าวบ้านดอน

4.จากคลองท่อมผ่านคลองสินปุน ออกแม่น้ำตาปี และอ่าวบ้านดอน

 การใช้ประโยชน์ปัจจุบัน แม่น้ำตาปี ได้ถูกนำมาใช้ประโยชน์ในหลายด้าน ทั้งการอุปโภค บริโภค และการนันทนาการท่องเที่ยว



เขื่อนรัชชประภา

เป็นเขื่อนผลิตพลังงานไฟฟ้า กั้นแม่น้ำตาปีบริเวณต้นน้ำคลองศก ระดับน้ำในเขื่อนสูงสุดที่ 100 เมตร นำน้ำที่เก็บไว้สำหรับการผลิตไฟฟ้า และการชลประทานสำหรับพื้นที่อำเภอพนม และอำเภอคีรีรัฐนิคม



ล่องแก่งคลองยัน-คลองศก

ในอุทยานแห่งชาติแก่งกรุง ได้จัดกิจกรรมล่องแก่งชมธรรมชาติสองข้างทางของคลองยันที่ไหลผ่านบริเวณพื้นที่อุทยาน และในบริเวณอุทยานแห่งชาติเขาสก มีเอกชนจ้ดกิจกรรมล่องห่วงยางไปตามลำน้ำคลองสก เป็นกิจกรรมนันทนาการท่องเที่ยวในพื้นที่



การอุปโภคบริโภค

โดยนำน้ำจากแม่น้ำตาปี เป็นแหล่งน้ำดิบสำหรับผลิตน้ำประปา นอกจากนี้ยังมีโรงงานที่ตั้งขึ้นสองฝั่งแม่น้ำที่ใช้น้ำจากแม่น้ำตาปี ในการอุปโภคและบริโภคจำนวนมาก



Tapi River,


Waterfront in Surat ThaniThe Tapi (or Tapee) river (Thai: แม่น้ำตาปี, RTGS: Maenam Tapi, Thai pronunciation: [mɛ̂ːnáːm tāːpīː]) is the longest river in southern Thailand. The river originates at the Khao Luang, and has a wide estuary into the Gulf of Thailand at Bandon Bay near the town of Surat Thani. It has a length of 230 km.


The river drains an area of 5460 km² and in 1997 had an annual discharge of 135.4 m³/s or 4.3 km³ per year. The Phum Duang River (or Khiri Rat River), which drains another 6,125 km² west of the Tapi watershed, joins the estuary 15 km west of Surat Thani in Amphoe Phunphin.


The river was named in August 1915 after the river Tapi in India, shortly after the town of Surat Thani was named after the town Surat.


The island of Ko Lamphu (เกาะลำพู) is located in the Tapi River, about 9 km from its mouth, right by the Surat Thani town center.


In 1975 an area of 29.6 km² of swamp land on the east bank of the river in the district Khian Sa was declared the Nong Thung Thong non-hunting area.




ประชากรโลก

สหประชาชาติ 12 มี.ค. – รายงานสหประชาชาติประเมินว่า จำนวนประชากรโลกจะเพิ่มขึ้นเป็น 7,000 ล้านคนในต้นปี 2555 และจะถึง 9,000 ล้านคนในปี 2593 โดยส่วนใหญ่เป็นการเพิ่มขึ้นของประชากรในประเทศกำลังพัฒนาแถบเอเชียและแอฟริกา




รายงานระบุว่า การประเมินตัวเลขประชากรโลกล่าสุดนี้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากจากเมื่อปี 2549 แต่ยังมีการคาดหมายเช่นเดิมว่า ในปี 2593 ประชากรโลกจะเพิ่มขึ้นเป็น 9,100 ล้านคน ตัวเลขดังกล่าวมาจากสมมติฐานที่ว่าอัตราการเจริญพันธุ์ของโลกจะลดลงจากในปัจจุบัน คือ จากจำนวนเด็ก 2.56 คนต่อสตรี 1 คน มาเป็นจำนวนเด็ก 2.02 คนต่อสตรี 1 คน แต่ถ้าอัตราการเจริญพันธุ์ยังคงเท่าปัจจุบันต่อไป จำนวนประชากรโลก จะเพิ่มขึ้นเป็น 10,500 ล้านคน ในปี 2593



รายงานระบุด้วยว่า การขยายตัวของประชากรโลกจะยังคงหนาแน่นในประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลก โดยครึ่งหนึ่งของประชากรที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นอยู่ใน 9 ประเทศ ได้แก่ อินเดีย ปากีสถาน ไนจีเรีย เอธิโอเปีย สหรัฐ คองโก แทนซาเนีย จีน และบังกลาเทศ ส่วนประเทศที่คาดว่าจะมีประชากรลดลงอย่างน้อยร้อยละ 10 มีถึง 45 ประเทศ/ภูมิภาค ได้แก่ ญี่ปุ่น อิตาลี และอีกหลายประเทศที่เคยเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพโซเวียต รายงานระบุว่า สหรัฐจะมีผู้อพยพเข้าเมืองมากที่สุด โดยมีจำนวนปีละ 1.1 ล้านคน ในช่วงระหว่างปี 2553-2593.

วันอาทิตย์ที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2554

จามบ่อย ๆ เสี่ยงเป็นโรคไหมนะ




หากคุณไม่ได้เป็นหวัด แต่จามบ่อย ๆ คุณอาจจะเป็นเพราะภูมิแพ้ ซึ่งอาจจะเป็นการแพ้สัตว์เลี้ยง เชื้อรา หรือไรฝุ่นที่อาศัยอยู่ในที่นอนและผ้าม่าน ลองพยายามจดบันทึกรายละเอียดของอาการที่เกิด รวมถึงเวลาและสถานที่เกิดไว้เป็นประจำ เพื่อวิเคราะห์ถึงตัวกระตุ้นของอาการ

หากคุณจามทันทีที่ตื่นนอนในตอนเช้า ก็น่าจะเป็นเพราะไรฝุ่น ซึ่งแก้ไขได้โดยการซักผ้าห่ม ผ้าปูที่นอน และปลอกหมอนด้วยน้ำร้อน เช็ดทำความสะอาดบ้านและเครื่องเรือนต่าง ๆ ด้วยผ้าชุบน้ำ แทนที่จะแค่กวาดหรือปัดฝุ่น หรือดูดฝุ่นเป็นประจำ

แต่ถ้าคุณยังจามอย่างต่อเนื่องนานเกิน 2 สัปดาห์ หรือหากอาการที่เกิดรบกวนการดำเนินชีวิตตามปกติของคุณ แพทย์จะช่วยวินิจฉัยว่ามีสาเหตุอื่นแอบแฝงหรือไม่ และสั่งยาพ่นสเตียรอยด์เพื่อลดอาการอักเสบที่อาจมี


Souvent, le risque est pas mal.

Si vous n'avez pas un mauvais rhume, mais souvent c'est parce que vous pouvez être allergique. Quels peuvent être allergiques aux animaux, les moisissures ou les acariens qui vivent dans la literie et les rideaux. Essayez d'écrire les détails de ces symptômes. L'heure et le lieu de naissance, lieu sur une base régulière. Pour analyser le catalyseur des symptômes.


Si vous éternuez quand vous vous réveillez le matin. C'est parce que les acariens. Cela a été résolu par lavage à l'eau chaude, des couvertures, des draps et taies d'oreiller. Nettoyage de la maison et des meubles avec un chiffon humide. Au lieu de simplement balayer ou épousseter. Ou passer l'aspirateur régulièrement.

Mais si vous éternuez sans interruption pendant plus de deux semaines ou si les symptômes interfèrent avec votre style de vie normal. Votre médecin vous aidera à décider si oui ou non il ya d'autres causes de la latence. Et de prescrire un spray de stéroïdes pour réduire l'inflammation qui peut être.


Often, risk is not bad.


If you do not have a bad cold, but often it is because you may be allergic. What may be allergic to animals, mold or dust mites that live in bedding and curtains. Try to write the details of these symptoms. The time and place of birth, place on a regular basis. To analyze the catalyst of the symptoms.

If you sneeze when you wake up in the morning. This is because the mites. This was solved by washing with hot water, blankets, sheets and pillowcases. Cleaning the house and furniture with a damp cloth. Instead of just sweeping or dusting. Or vacuum regularly.

But if you sneeze continuously for more than two weeks or if symptoms interfere with your normal lifestyle. Your doctor will help you decide whether or not there are other causes of latency. And prescribe a steroid spray to reduce inflammation that can be.

วันจันทร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2554

สตรอเบอร์รี่ (Strawberry)


สรรพคุณ และ ประโยชน์ของสตรอเบอรี่


"สตรอเบอร์รี่" อีกหนึ่งผลไม้เมืองหนาวที่มีประโยชน์รวมถึงสรรพคุณที่จัดว่ายาได้ทีเดียวค่ะ สำหรับประโยชน์ของสตรอเบอร์รี่นั้นมีมากมายโดยเฉพาะสาว ๆ ด้วยนิยมรับประทาน สตรอเบอร์รี่ กันมากเลยทีเดียวค่ะ ประโยชน์ของสตรอเบอร์รี่ นอกจากจะดูแลในเรื่องผิวพรรณแล้ว ประโยชน์ของสตรอเบอร์รี่ ยังมักจะนำไปทำอาหารต่าง ๆ ที่แสนอร่อยอีกด้วย อาทิเช่น ไอศกรีม ขนมอบแห้ง เค้ก ฯลฯ และ สรรพของสตรอเบอร์รี่ ก็ยังช่วยรักษาโรคทำให้เราสุขภาพดีได้อีกด้วยค่ะ นั้นเรามาดู สรรพของสตรอเบอร์รี่ และ ประโยชน์ของสตรอเบอร์รี่





สรรพคุณ / ประโยชน์ของสตรอเบอร์รี่

- ดูแลสายตา

ปัญหาเกี่ยวกับดวงตาส่วนใหญ่จะเกิดจากอนุมูลอิสระและการขาดสารอาหารบางชนิด และเมื่อเราอายุมากขึ้นดวงตาของเรายิ่งถูกทำร้ายได้ง่าย ซ้ำร้ายความแก่ชราจะทำให้กล้ามเนื้อดวงตาเสื่อมสภาพ แต่สตรอเบอร์รี่มีสารต้านอนุมูลอิสระอย่างวิตามินซี ฟลาโวนอยด์ กรดฟีโนลิก และกรดเอลลาจิก ซึ่งช่วยชะลอกระบวนการดังกล่าว แถมยังมีโพแทสเซียมซึ่งช่วยปรับความดันในตาให้เป็นปกติอีกด้วย


- ป้องกันโรคข้ออักเสบและโรคเกาต์

เมื่อกล้ามเนื้อถูกใช้งานนาน ๆ เข้า กล้ามเนื้อของเราก็มีแต่จะถดถอยของเหลวบริเวณข้อต่อกระดูก็จะเหือดแห้งลงไปเรื่อย ๆ และร่างกายก็สะสมสารพิษอย่างกรดยูริกเอาไว้มากขึ้น ๆ ทำให้โรคข้ออักเสบและโรคเกาต์ถามหา แต่อย่าห่วงไปเพราะเราสามารถขับไล่โรคทั้งสองได้ด้วยสารต้านอนุมูลอิสระและสรรพคุณล้างพิษของสตรอเบอร์รี่

- กำราบโรคมะเร็ง

กินสตรอเบอร์รี่ทุกวันสิคะเซลล์มะเร็งและเนื้องอกต้องชิดซ้ายหลีกทางให้แก่สารต้านอนุมูลอิสระอย่างวิตามินซี โฟเลต และแอนโธไชยานินส์ที่มีอยู่มากมายในสตรอเบอร์รี่ค่ะ

- ส่งเสริมการทำงานของสมอง

ยิ่งแก่ยิ่งขี้หลงขี้ลืมเพราะเนื้อเยื่อและเส้นประสาทในสมองเสื่อมสภาพจากอนุมูลอิสระตัวร้าย ซึ่งสตรอเบอร์รี่ช่วยได้เพราะมีวิตามินซี และไฟโตนิวเทรียนต์ ที่ทำให้อนุมูลอิสระหมดฤทธิ์ และคืนความอ่อนเยาว์ให้แก่ระบบประสาทแถมยังมีไอโอดีนที่ทำให้สมองและระบบประสาททำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพอีก ด้วย

- ลดความดันโลหิต

หากโซเดียมเป็นตัวการทำให้เกิดความดันโลหิตสูง สตรอเบอร์รี่ก็มีโพแทสเซียมและแมกนีเซียมที่ช่วยปรับความดันให้เป็นปกติค่ะ


- ปราบโรคหัวใจ

ใยอาหาร โฟเลต และสารต้านอนุมูลอิสระมากมายจะช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในร่างกาย แถมวิตามินบีบางชนิดที่พบได้ในสตรอเบอร์รี่จะเสริมสร้างกล้ามเนื้อหัวใจให้แข็งแรงอีกด้วย


Properties and benefits of strawberries, LTD.


"Strawberry," a winter fruit that have beneficial properties that include a drug that was it. For the benefit of the strawberries are great, especially with the girls eat strawberries very well here. The benefits of strawberries. In addition to the care of your skin. The benefits of strawberries. Also often used to cook various delicious pastries as well as dry cake, ice cream, etc., and all of the strawberries. It also allows us to treat them with good health, we see all of the benefits of strawberries and strawberry.


Properties / benefits of strawberries.

- Vision Care.

Most eye problems are caused by free radicals, and the lack of certain nutrients. As we age, our eyes will be hurt more easily. Moreover the aging eye muscles to deteriorate. The strawberries are antioxidants like vitamin C, FLAVONOIDS Boyd acids and phenolic acids, Ella logic. This helps slow the process. It also has potassium, which reduces the pressure in the eye as well.

- Prevention of arthritis and gout
When the muscle was active long into the muscles, there is regression of fluid around the joint action, it will dry up and so on, and the body has accumulated toxins like uric acid into the causes arthritis and Gout ask for. But do not worry because we are able to expel the disease, with both antioxidant and detoxification properties of strawberries.

- Vanquish cancer.

Eat strawberries every day, I have cancer and tumors must be left aside for the antioxidants vitamin C, folate, and Anthony Chaiya New Orleans has a lot of my strawberries.

- Promote the work of the brain.

Particularly to the dotty because the nerves in the brain tissue and degeneration of radical evil. The strawberries have Vitamin C can help. And fire vehicles in New Trier. The radicals have no effect. And rejuvenation of the nervous system to get the iodine, the brain and nervous system function more effectively as well.

- Reduces blood pressure.

If sodium is a cause of high blood pressure. Strawberry also has potassium and magnesium, which reduces the pressure to be normal here.

- Suppression of heart disease.

Dietary fiber, folate, and antioxidants and can reduce cholesterol levels in the body. But some of the B vitamins found in strawberries, will strengthen the heart muscle cells as well.

วันเสาร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2554

จังหวัดสงขลา


ที่มาของชื่อ "สงขลา"มีตำนานและเรื่องเล่าหลายเรื่องทั้งที่เป็นบันทึกและจากคำบอกเล่าถึงชื่อของเมืองสงขลาหลายประการด้วยกัน ซึ่งพอจะแจกแจงตามเอกสารที่มาได้ดังนี้

       ชื่อเมืองสงขลาได้ปรากฏชื่อในพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 แห่งกรุงศรีอยุธยาเมื่อ พ.ศ. 1893 ว่าเป็นเมืองประเทศราชในจำนวน 16 หัวเมือง และในเอกสารที่บันทึกโดยคนไทยอีกหลายฉบับที่ศึกษาเกี่ยวกับเรื่องเมืองสงขลาได้บันทึกประวัติของชื่อเมืองสงขลาว่า มาจากบันทึกของพ่อค้า และนักเดินเรือชาวอาหรับเปอร์เซีย ระหว่างปี พ.ศ. 1993-2093 ในนามของเมือง "ซิงกูร์" หรือ "ซิงกอรา" แต่ในหนังสือประวัติศาสตร์และการเมืองแห่งราชอาณาจักรสยามของนายนิโกลาส แซร์แวส เรียกชื่อเมืองสงขลาว่า "เมืองสิงขร"  โดยได้สันนิษฐานว่าคำว่าสงขลาในปัจจุบันน่าจะเพี้ยนมาจากคำว่า "สิงหลา" หรือ "สิงขร" แปลว่าเมืองสิงห์ เนื่องมาจากการที่พ่อค้าชาวเปอร์เซียอินเดีย ตามที่ได้กล่าวมาข้างต้น ได้แล่นเรือผ่านมาค้าขายและแลเห็นเกาะหนู-เกาะแมว ซึ่งเมื่อมองจากทะเลเข้าหาฝั่งในระยะไกล ๆ จะเห็นปรากฏเป็นภาพคล้ายสิงห์สองตัวหมอบเฝ้าปากทางเข้าเมืองสงขลา ชาวอินเดียจึงเรียกเมืองสงขลาในสมัยนั้นว่า "เมืองสิงหลา" ส่วนคนไทยเรียกว่า "เมืองสทิง" เมื่อแขกมลายูเข้ามาค้าขายกับเมืองสิงหลา ก็จะออกเสียงเพี้ยนเป็น "เซ็งคอรา" เมื่อฝรั่งเข้ามาค้าขายก็เรียกตามมลายูแต่เสียงเพี้ยนเป็นสำเนียงฝรั่งคือ "ซิงกอรา" (Singora) จากนั้นคนไทยพื้นถิ่นเองก็ได้เรียกตามเสียงมลายูและฝรั่งเพี้ยนเป็นคำว่า "สงขลา" ดังปัจจุบัน
         นอกเหนือจากนี้ เอกสารชิ้นนี้ยังอธิบายต่อถึงความเป็นไปได้อีกสาเหตุหนึ่งว่า คำว่าสงขลาน่าจะเป็นการเรียกเพี้ยนมาจากคำว่า "สิงขร" ที่แปลว่าภูเขา เนื่องจากเมืองสงขลาในยุคดั้งเดิมตั้งอยู่เชิงเขา และต่อมาเจ้าเมืองคนแรกยังได้รับพระราชทานนามว่า "วิเชียรคีรี" ซึ่งสอดคล้องกับเมืองที่อยู่แถบภูเขา สอดคล้องกับสุภาวดี เชื้อพรามณ์ ที่ได้บันทึกว่าสงขลาเพี้ยนมาจากภาษาสันสกฤตหรือภาษาบาลี เนื่องจากชาวอินเดียล่องเรืออ้อมแหลมมลายูมาสู่ฝั่งตะวันออก เมื่อมองจากทะเลเข้าสู่ฝั่งสงขลาแลเห็นภูเขาเป็นปราการธรรมชาติ จึงเรียกว่า สิงขระ หรือ สิงขร ซึ่งคำไทยสิงขร หมายถึง ภูเขา ต่อมาชาวตะวันตกจึงเรียกตาม และเพี้ยนเป็นคำว่า ซิงโกรา หรือ ซิงกอรา เช่นเดียวกันกับที่กล่าวมาข้างต้น
         เหตุผลสุดท้ายที่เอกสารในเอกสารการศึกษาความเป็นไปได้ก็คือ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีพระราชวินิจฉัยไว้ว่า "สงขลา" เดิมชื่อสิงหนคร (สิง-หะ-นะ-คอน) แต่แขกชาวมลายูพูดเร็วและออกเสียงเพี้ยนกลายเป็น สิง-คะ-รา แต่ออกเสียงเป็น ซิงคะรา หรือ สิงโครา จนมีการเรียกเป็น ซิงกอรา
        ในส่วนเอกสารของชาวตะวันตกที่กล่าวถึงสงขลาในช่วงเวลาต้น ๆ ซึ่งสามารถค้นย้อนหลังไปได้ถึงสามร้อยปีในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชโดยปรากฏชื่อเมืองสงขลาในแผนที่ของประเทศสยามที่ทำโดยนายเชอวาลีเย เดอ โชมอง ราชทูตของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศสที่เข้ามาเมืองไทยระหว่าง พ.ศ. 2228
       นับตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 5-6 การปรากฏตัวของเมืองท่า และแหล่งโบราณคดีที่แสดงว่า มีผู้คนจากต่างแดนเข้ามาปะทะสัมพันธ์ น่าจะมีเหตุผลจาก การแสวงหาโชคลาภและโภคทรัพย์ของผู้คนทางตะวันตกดั่งเช่น กรีซ และ โรมัน จึงทำให้ช่วงเวลาดังกล่าว เป็นช่วงเวลาของการค้นพบเส้นทางการค้าทางทะเลที่เกิดขึ้นใหม่ คู่ขนานและเชื่อมโครงข่ายกับเส้นทางการค้าทางบก
       ต่อมาเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 8 ได้เกิดอุปสรรคทางภูมิศาสตร์และความปลอดภัย ในการใช้เส้นทางบกระหว่างดินแดนทางตะวันตกและตะวันออก โดยเฉพาะพวกโรมันและรัฐในกลุ่มเอเชียกลาง จึงหันมาใช้เส้นทางทะเลแทน เพื่อใช้ค้าขายติดต่อกับอินเดีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และจีน โดยการเดินทางเชื่อมระหว่างสองทวีปในระยะแรกๆนี้ ไม่ใช่เป็นการเดินทางแบบรวดเดียวถึงกันตลอด แต่ต้องมีจุดหยุดพักเป็นระยะๆ โดยอาศัยเมืองท่า และสถานีพักสินค้า เพื่อถ่ายสินค้า เพิ่มเติมน้ำจืดและอาหาร รวมไปถึงการซ่อมแซมเรือจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง
        ทั้งนี้หากย้อนกลับมาพิจารณาจากทำเลที่ตั้งของภาคใต้ของประเทศไทย ที่เป็นคาบสมุทรตั้งอยู่ระหว่างประเทศที่เป็นอู่อารยะธรรม คือ ประเทศจีน ประเทศอินเดีย ประเทศแถบอาหรับเปอร์เซีย และประเทศแถบชวา-มลายู จะพบว่า ดินแดนทางภาคใต้ของประเทศไทย เป็นดินแดนที่อยู่ในตำแหน่งเส้นทางการค้าขายทางทะเล รวมถึงเป็นดินแดนที่พ่อค้าชาวแขกมัวร์ ใช้เส้นทางนี้เดินทางค้าขายทางเรือ โดยอาศัยลมสินค้าในสมัยโบราณที่จำกัดโดยสภาพภูมิศาสตร์ และเทคโนโลยีการต่อเรือ รวมถึงการเดินเรือซึ่งในสมัยนั้น ต้องอาศัยทิศทางและกำลังลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ เพื่อเดินทางจากอินเดียไปยังจีน และอาศัยลมมรสุมจากตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อเดินทางจากจีนไปยังอินเดีย และบริเวณเหนือเส้นศูนย์สูตรไปถึงเส้นห้าองศาเหนือ เป็นพื้นที่อันตรายเพราะเป็นเขตจุดเริ่มต้นของลมสินค้า ลมจะสงบนิ่ง (ไร้กระแสลม เรียกว่าโดลดรัม Doldrums) เมื่อลมเบาบางจนทำให้เรือสินค้าเคลื่อนที่ไม่ได้ ที่เรียกว่า "ตกโลก"[9] ก็เป็นการบังคับให้พ่อค้าต้องแวะตามเมืองท่าชายฝั่งภาคใต้ของไทย ซึ่งอยู่ทางตอนเหนือของเส้นศูนย์สูตรเพื่อจอดซ่อมแซมเรือ เติมน้ำจืดและอาหาร รวมถึงขนถ่ายสินค้าข้ามคาบสมุทรกลางทางในรอบปี โดยการขนถ่าย แลกเปลี่ยนสินค้านี่เอง ทำให้เมืองท่าต่าง ๆ ในคาบสมุทรทางภาคใต้ของไทยในสมัยที่มีการเดินเรือทะเล มีความเจริญรุดหน้า จากการค้าขายเป็นอันมาก นอกจากนั้น สินค้าที่สำคัญที่ผลักดันให้ชาวตะวันตกต้องแสวงหาและเดินทางมายังเมืองท่าในคาบสมุทรมลายูคือ เครื่องเทศ เช่น ว่าน กระวาน ขิง ข่า ขมิ้น กระชาย พริกไทย กานพลู อบเชย ดีปลี จันทน์เทศ ทำให้เส้นทางการเดินเรือดังกล่าว ได้ชื่อว่าเป็นเส้นทางเครื่องเทศ

ตราและสัญลักษณ์ประจำจังหวัดหลักเมือง



ดอกไม้ประจำจังหวัด: เฟื่องฟ้า (Bougainvillea spp.)

ต้นไม้ประจำจังหวัด: สะเดาเทียม (Azadirachta excelsa)

คำขวัญคำขวัญประจำจังหวัดของจังหวัดสงขลา

"นกน้ำเพลินตา สมิหลาเพลินใจ เมืองใหญ่สองทะเล เสน่ห์สะพานป๋า ศูนย์การค้าแดนใต้" ซึ่งเปลี่ยนมาจากคำขวัญเมื่อจังหวัดสงขลาเป็นเจ้าภาพกีฬาแห่งชาติ คือ "นกน้ำเพลินตา สมิหลาเพลินใจ เมืองใหญ่สองทะเล เสน่ห์สะพานป๋า เฟื่องฟ้าสุดสวย" และคำขวัญท่องเที่ยวครั้งแรกเมื่อการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยออกแคมเปญ Visit Thailand คือ "นกน้ำเพลินตา สมิหลาเพลินใจ เมืองใหญ่สองทะเล เสน่ห์สะพานติณ ถิ่นธุรกิจแดนใต้
แหล่งท่องเที่ยว[แก้] แหลมสมิหลาแหลมสมิหลาอยู่ในเขตเทศบาลนครสงขลา ห่างจากตลาดสดเทศบาลประมาณ 3 กิโลเมตร มีหาดทรายขาวสะอาดและทิวสนอันร่มรื่น มีร้านขายอาหารอยู่มาก การเดินทางจากหาดใหญ่ใช้รถประจำทางสายหาดใหญ่-สงขลา แต่หากอยู่ในตัวเมืองสงขลาก็มีรถสองแถว บริการจากตัวเมืองไปยังชายหาดในราคาไม่แพงนัก


แหล่งท่องเที่ยว
แหลมสนอ่อน


    แหลมสนอ่อน ติดกับแหลมสมิหลาไปทางตะวันตกเฉียงเหนือ ด้านทิศตะวันตกของแหลมสนอ่อนเป็นทะเลสาบสงขลา บริเวณรอบ ๆ แหลมสนอ่อนมีถนน สามารถชมทิวทัศน์ได้ทั้งทะเลหลวงและทะเลสาบ นอกจากนี้ยังมีสวนสนซึ่งเหมาะแก่การพักผ่อนและนั่งพักรับประทานอาหาร


 เขาตังกวน


    อยู่ทางทิศตะวันออกของเขาน้อย มีบันไดทางขึ้นอยู่ใกล้วัดแหลมทราย (สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 2,000 ฟุต) บนยอดเขามีเจดีย์และตำหนักซึ่งสร้างในสมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อขึ้นไปบนยอดเขาตังกวนแล้ว สามารถมองเห็นทิวทัศน์ของเมืองสงขลาและทะเลสาบสงขลาได้อย่างชัดเจน


เก้าเส้ง

     อยู่ทางทิศใต้ของหาดสมิหลาประมาณ 3 กิโลเมตร มีถนนแยกจากถนนไทรบุรี ตรงสามแยกสำโรง (โรงพยาบาลประสาท) เป็นหาดที่สวยงามแห่งหนึ่งของสงขลา มีโขดหินระเกะระกะอยู่ริมทะเล และมีอยู่ก้อนหนึ่งตั้งเด่นอยู่เหนือโขดหิน ซึ่งชาวบ้านเรียกหินก้อนนี้ว่า "หัวนายแรง"

เกาะหนู-เกาะแมว
    
    เกาะหนู-เกาะแมวเป็นเกาะใกล้ชายฝั่งขนาดเล็ก อยู่นอกแหลมสมิหลา มีหินสวยงามเหมาะสำหรับตกปลา

ทะเลสาบสงขลา

      ทะเลสาบสงขลาเป็นทะเลสาบแห่งเดียวในประเทศไทย มีความยาวจากปากน้ำไปทางทิศเหนือประมาณ 80 กิโลเมตร ส่วนกว้างไม่แน่นอน บางตอนแคบ บางตอนกว้างมาก ส่วนที่กว้างที่สุดประมาณ 20-25 กิโลเมตร ทะเลสาบสงขลาเป็นทะเลสาบน้ำจืด แต่จะกร่อยในช่วงที่ติดกับทะเล ตรงปากอ่าวในทะเลสาบมีเกาะอยู่หลายเกาะ ที่สำคัญได้แก่ เกาะใหญ่ เกาะสี่ เกาะห้า เกาะแก้ว เกาะหมาก เกาะราย และเกาะยอ นักท่องเที่ยวสามารถหาเรือท่องเที่ยวในทะเลสาบได้บริเวณท่าเรืออยู่หลังที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข หรือบริเวณตลาดสด จะมีเรือหางยาวรับส่งตลอดวัน

สวนสัตว์สงขลา

     สวนสัตว์เปิดริมถนนสงขลา-นาทวี ตำบลเขารูปช้าง มีเนื้อที่ 911 ไร่ มีวัตถุประสงค์เพื่ออนุรักษ์และขยายพันธุ์สัตว์ป่าของไทยคืนสู่ธรรมชาติ พื้นที่เป็นภูเขาเล็ก ๆ หลายลูก มีถนนลาดยางโดยรอบและแยกชนิดสัตว์ไว้เป็นหมวดหมู่ มีสัตว์มากมายหลายชนิด ทั้งที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศและต่างประเทศ เช่น อูฐ นกชนิดต่าง ๆ วัวแดง เสือ จระเข้ ฯลฯ นอกเหนือจากสัตว์ป่าชนิดต่าง ๆ อันควรค่าแก่การศึกษา สวนสัตว์สงขลายังมีจุดเด่นที่นักท่องเที่ยวไม่ควรพลาดคือ จุดชมทิวทัศน์ซึ่งสามารถมองเห็นทัศนียภาพของเมืองสงขลา บริเวณนั้นมีร้านอาหารไว้คอยบริการนักท่องเที่ยว






วันพฤหัสบดีที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2554

วันแม่แห่งชาติ


 วันแม่แห่งชาติ (ประเทศไทย)


      ในประเทศไทย เดิมมีการจัดงานวันแม่ โดยสำนักวัฒนธรรมฝ่ายหญิง สภาวัฒนธรรมแห่งชาติ ตรงกับวันที่ 15 เมษายน ของทุกปี ตั้งแต่ พ.ศ. 2493 ตามมติคณะรัฐมนตรี ลงวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2493 ในคณะรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ต่อมาในปี พ.ศ. 2519 ได้เปลี่ยนมาเป็นวันที่ 12 สิงหาคม ตรงกับวันเฉลิมพระชนมพรรษาในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พร้อมกับได้กำหนดให้ดอกมะลิเป็นดอกไม้สัญลักษณ์แทนวันแม่ เนื่องจากเป็นดอกไม้ที่มีสีขาว มีกลิ่นหอมและออกดอกได้ตลอดทั้งปี เปรียบได้กับความรักอันบริสุทธิ์ของแม่ที่มีต่อลูก

      วันแม่แห่งชาติ หรือที่คนไทยทั่วไปนิยมเรียกกันสั้น ๆ ว่า "วันแม่" ทุกคนรับทราบและซาบซึ้งกันดี เนื่องจากวันสำคัญนี้ตรงกับวันเฉลิมพระชนมพรรษาของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถคือ วันที่ 12 สิงหาคม อันเป็นวันคล้ายวันเสด็จพระราชสมภพและถือว่าเป็นวันแม่ของชาติด้วย

      แต่เดิมนั้น วันแม่ของชาติได้กำหนดเอาไว้วันที่ 15 เมษายนของทุก ๆ ปี ทั้งนี้เป็นไปตามมติของคณะรัฐมนตรีประกาศรับรอง เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2493 ซึ่งได้พิจารณาเห็นว่าการจัดงานวันแม่ของสำนักวัฒนธรรมฝ่ายหญิง สภาวัฒนธรรมแห่งชาติผู้รับมอบหมายให้จัดงาน วันแม่ มาตั้งแต่วันที่ 15 เมษายน พ.ศ.2493 เป็นครั้งแรกเป็นต้นมานั้นได้รับความสำเร็จด้วยดี ด้วยประชาชนให้การสนับสนุนจนสามารถขยายขอบข่ายของงานให้กว้างขวางออกไป มีการจัดพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา การประกวดคำขวัญวันแม่ การประกวดแม่ของชาติ เพื่อให้เกียรติและตระหนักในความสำคัญของแม่ และเพื่อเพิ่มความสำคัญของวันแม่ให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป ด้วยเหตุนี้งานวันแม่จึงเป็นวันแม่ประจำปีของชาติตามประกาศของรัฐบาลฯพณฯ จอมพล ป.พิบูลสงคราม แต่โดยทั่วไปเรียกกันว่าวันแม่ของชาติ
       ต่อมาถึง พ.ศ.2519 ทางราชการได้เปลี่ยนใหม่ให้ถือเอาวันเสด็จพระราชสมภพของสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ คือ วันที่ 12 สิงหาคม เป็นวันแม่แห่งชาติ เริ่มในปี พ.ศ.2519 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน
วันแม่แห่งชาติ เป็นวันที่ทางราชการกำหนดในวันที่ 12 สิงหาคม ของทุกปี และถือว่าเป็นวันสำคัญยิ่งของปวงชนชาวไทย โดยกำหนดให้ถือว่า "ดอกมะลิ" สีขาวบริสุทธิ์เป็นสัญลักษณ์ของความดีงามของแม่ผู้ให้กำเนิดแก่เรา

กิจกรรมต่าง ๆ ที่ควรปฏิบัติในวันแม่แห่งชาติ

1.ประดับธงชาติตามอาคารบ้านเรือน

2. จัดกิจกรรมต่าง ๆ เกี่ยวกับวันแม่ เช่น การจัดนิทรรศการ

3.จัดกิจกรรมเกี่ยวกับการบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ ทำบุญใส่บาตรอุทิศส่วนกุศล เพื่อรำลึกถึงพระคุณของแม่

4.นำพวงมาลัยดอกมะลิไปกราบขอพรจากแม่



คำขวัญวันแม่ ประจำปี 2554


สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานคำขวัญวันแม่แห่งชาติ ปี 2553 ความว่า

"เพลงชาติไทยเตือนไทยไว้เช้าค่ำ ให้จดจำจารึกใจไว้ทุกส่วน จะดำรงคงไทยได้ทั้งมวล ด้วยไทยล้วนหมายรักสามัคคี"

"Thai Love Thai warning early evening. I remember writing the most. Will serve the whole of Thailand. Thailand's unity with all means. "





วันพฤหัสบดีที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2554

นางบุษบา

ประวัตินางในวรรณคดี

นางบุษบา จากเรื่อง อิเหนา

นางบุษบาเป็นธิดาของท้าวดาหาและประไหมสุหรีดาหราวาตี แห่งกรุงดาหา เมื่อตอนประสูติมีเหตุอัศจรรย์คือ มีกลิ่นหอมตลบอบอวลไปทั่วทั้งวัง ดนตรี แตรสังข์ก็ดังขึ้นเองโดยไม่มีผู้บรรเลง ประสูติได้ไม่นาน ท้าวกุเรปันก็ขอตุนาหงันให้กับอิเหนา

บุษบาเป็นหญิงที่งามล้ำเลิศกว่านางใดในแผ่นดินชวากิริยามารยาทเรียบร้อย คารมคมคาย เฉลียวฉลาดทันคนใจกว้างและมีเหตุผล จึงผูกใจให้อิเหนารักใคร่ใหลหลงนางยิ่งกว่าหญิงอื่น

นอกจากนั้นบุษบายังเป็นลูกที่ดีอยู่ในโอวาทของพระบิดา พระมารดา ยอมแต่งงานกับระตูจรกา แม้ว่าจะไม่พอใจในความขี้ริ้วขี้เหร่ของระตูจรกาก็ตาม

นางถูกเทวดาบรรพบุรุษ ของวงค์อสัญแดหวาคือ องค์ปะตาระกาหลาบันดาลให้ลมพายุหอบไป ทำให้นางต้องพลัดพรากจากอิเหนา และพระบิดาพระมารดาเป็นเวลาหลายปี กว่าจะได้พบอิเหนาและวิวาห์กัน โดยนางได้ตำแหน่งเป็นประไหมสุหรีฝ่ายซ้าย

ลักษณะนิสัย

1. บุษบาเป็นหญิงที่มาแบบฉบับของลูกที่ดีอยู่ในโอวาทของพ่อแม่ แม้ว่านางจะไม่พอใจในรูปร่างของจรกา แต่นางก็ยอมที่จะไม่ทำตามใจตนเองเพื่อรักษาชื่อเสียงของวงศ์ตระกูล

2. เป็นคนไม่เจ้ายศเจ้าอย่างหรือถือว่าตนสูงศักดิ์กว่านางจินตะหรา เห็นได้จากตอนที่จินตะหราได้ให้นางสการะวาตีและนางมาหยารัศมีมาเฝ้า บุษบาก็ให้การต้อนรับเป็นอย่างดี

3. เป็นคนไม่เหลาะแหละ รู้จักโต้เถียงแสดงความฉลาดรู้ทันอิเหนาและรักษาเกียรติของตนเองไม่ยอม หลงเชื่ออย่างง่ายๆ ในตอนที่อิเหนาพูดว่า

" อันนางจินตะหราวาตี ใช่พี่จะมุ่งมาดปรารถนา

หากเขาก่อก่อนอ่อนมา ใจพี่พาลาก็งวยงง……"

จากที่อิเหนาพูดนี้ก็ทำให้นางบุษบารู้ว่าอิเหนาเจรจาเข้าข้างตัวเอง นางก็โต้ตอบว่าอย่ามาแกล้งพูดเลยว่าจะไม่เลี้ยงนางจินตะหราวาตี เพราะมีลายลักษณ์อักษรและใครๆก็รู้กันทั่วว่าอิเหนาไม่ต้องการนาง นางจึงโต้ตอบ เมื่ออิเหนาแก้ตัวว่าที่ลักนางมาก็ด้วยความรักว่า

" จะให้เชื่อพจมานหวานถ้อย จะได้ไปเป็นน้อยชาวหมันหยา

เขาจะเชิดชื่อฤาชา ว่ารักสามีท่านกว่าความอาย

อันความอัปยศอดสู จะติดตัวชั่วอยู่ไม่รู้หาย

ร้อนใจอะไรเล่าเจ้าเป็นชาย ไม่เจ็บอายขายหน้าก็ว่าไป "

และตอนที่ นางบวชเป็นแอหนัง (ชี ) แลัวถูกปันหยีขโมยกริชไป นางก็คร่ำครวญต่อว่าพี่เลี้ยงด้วยความรักเกียรติสตรีว่า

" พี่แกล้งเป็นใจด้วยปันหยี เห็นคนอื่นดียิ่งกว่าข้า

ในถ้อยคำที่ร่ำพรรณนา ว่าแสนเสน่หาอิเหนานัก

เป็นไฉนจึงยกน้องให้ แก่ชาวไพร่ต่ำช้าบรรดาศักดิ์

กระนี้ฤาพี่เรียกว่ารัก พึ่งจะประจักษ์ในน้ำใจ

สู้ตายชายอื่นมิให้ต้อง อันจะมีผัวสองอย่าสงสัย 

ถึงมาตรแม้นชีวันจะบรรลัย จะตายในความซื่อสัตยา"

4. เป็นคนที่มีความเป็นตัวของตัวเองแม้ว่านางจะตกอยู่ในสภาพที่ถูกบังคับ โดยนางไม่ยอมทำตามผู้ใหญ่ ดังตอนที่ท้าวดาหามีดำรัสให้ขึ้นมาเข้าเฝ้าอิเหนา นางรู้ว่าจะให้ไปไหว้จึงเข้าไปนอนด้วยความเคืองไม่เข้าเฝ้าตามรับสั่ง จนเดือดร้อนถึงมะเดหวีต้องมาจัดการ แต่นางก็ไม่ออกมาโดยดีๆ ต้องผลักไสกัน

5. มีความซื่อสัตย์ ได้รักษาตัวไว้รอคอยอิเหนา ดังกลอนว่า

" ถึงมาตรสู้ตายชายอื่นมิให้ต้อง อันจะมีผัวสองอย่าสงสัย  แม้นชีวันจะบรรลัย จะตายในความซื่อสัตยา"

6. ไม่มีจริตแง่งอน เมื่ออิเหนาลักพานางไปไว้ในถ้ำ ก็ยินยอมแต่โดยดี

7. เมื่อเป็นชาย คือ มิสาอุณากรรณ ก็ปฏิบัติตนกับระตูประมอตันอย่างบิดาของตน

8. มีความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณ เช่น ระตูประมอตัน

9. มีความกล้าหาญจนมีระตูมาขอเป็นเมืองขึ้นหลายเมือง

10. ไม่มีความริษยาถือโกรธผู้ใด มีน้ำใจ เมื่อมารดาให้ไหว้นางจินตะหรา บุษบาก็ยอมตาม ดังที่นางกล่าวกับอิเหนาว่า

" แม้นน้องรักทักท้วงหวงหึง พระองค์จึงห้ำหั่นเกศา  เป็นถ้อยยำคำมั่นน้องสัญญา เชิญเสด็จเชษฐารีบคลาไคล" และนางยอมให้อิเหนายกจินตะหราเป็นประไหมสุหรีฝ่ายขวาแต่โดยดี ด้วยเห็นว่านางจินตะหราเป็นผู้มาก่อน แม้ว่าจินตะหราจะไม่ใช่วงศ์เทวัญฯ ข้อนี้ยากที่จะหาหญิงใดเสมอเหมือน นับว่าบุษบาเป็นหญิงไทยในวรรณคดีที่สมบูรณ์ด้วยคุณสมบัติคนหนึ่ง

วันศุกร์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

มัทนะพาธา

มัทนะพาธา เป็นบทละครพูดคำฉันท์ 5 องค์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์ขึ้น เมื่อ พ.ศ. 2466 เล่าเรื่องว่าด้วยตำนานเกี่ยวกับดอกกุหลาบ


เนื้อเรื่องย่อ

         จอมเทพสุเทษณ์เป็นเทพผู้ใหญ่บนสรวงสวรรค์ เป็นทุกข์อยู่ด้วยความลุ่มหลงเทพธิดามัทนา แม้จิตระรถผู้สารถีคู่บารมีจะนำรูปของเทพเทวีผู้เลอโฉมหลายต่อหลายองค์มาถวายให้เลือกชม สุเทษณ์ก็มิสนใจไยดี จิตระรถจึงนำมายาวินวิทยาธรมาเฝ้า สุเทษณ์ให้มายาวินใช้เวทมนตร์เรียกนางมัทนามาหา เมื่อมาแล้วนางมัทนาก็เหม่อลอยมิมีสติสมบูรณ์เพราะตกอยู่ในฤทธิ์มนตรา สุเทษณ์มิต้องการได้นางด้วยวิธีเยี่ยงนั้น จึงให้มายาวินคลายมนตร์ แต่ครั้นได้สติแล้ว นางมัทนาก็ปฏิเสธว่ามิมีจิตเสน่หาตอบด้วยมิว่าสุเทษณ์จะเกี้ยวพาและรำพันรักอย่างไร สุเทษณ์โกรธนักจึงจะสาปมัทนาให้ไปเกิดในโลกมนุษย์


          มัทนาขอให้นางได้ไปเกิดเป็นดอกไม้มีกลิ่นหอมเพื่อให้มีประโยชน์บ้าง สุเทษณ์จึงสาปมัทนาให้ไปเกิดเป็นดอกกุหลาบที่งามทั้งกลิ่นทั้งรูป และมีแต่เฉพาะบนสวรรค์ยังไม่เคยมีบนโลกมนุษย์ โดยที่ในทุกๆ 1 เดือน นางมัทนาจะกลายร่างเป็นคนได้ชั่ว 1 วัน 1 คืน ในเฉพาะวันเพ็ญของแต่ละเดือนเท่านั้น และถ้านางมีความรักเมื่อใด นางก็จะมิต้องคืนรูปเป็นกุหลาบอีก แต่นางจะได้รับความทุกข์ทรมานเพราะความรักจนมิอาจทนอยู่ได้ และเมือนั้นถ้านางอ้อนวอนขอความช่วยเหลือ ตนจึงจะงดโทษทัณฑ์นี้ให้แก่นาง

            นางมัทนาไปจุติเป็นกุหลาบงามอยู่ในป่าหิมะวัน บรรดาศิษย์ของฤษีนามกาละทรรศินมาพบเข้าจึงนำความไปบอกพระอาจารย์ กาละทรรศินจึงให้ขุดไปปลูกในบริเวณอาศรมของตน ในขณะที่จะทำการขุดก็มีเสียงผู้หญิงร้อง กาละทรรศินเล็งญาณดูก็รู้ว่าเป็นเทพธิดามาจุติ จึงได้เอ่ยเชิญและสัญญาว่าจะคอยดูแลปกป้องสืบไป เมื่อนั้นการจึงสำเร็จด้วยดี
            วันเพ็ญในเดือนหนึ่งท้าวชัยเสนกษัตริย์แห่งหัสตินาปุระได้เสด็จออกล่าสัตว์ในป่าหิมะวันและได้แวะมาพักที่อาศรมพระฤๅษี ครั้นได้เห็นนางมัทนาในโฉมของนารีผู้งดงามก็ถึงกับตะลึงและตกหลุมรัก จนถึงกับรับสั่งให้มหาดเล็กปลูกพลับพลาพักแรมไว้ใกล้อาศรมนั้นทันที

            ท้าวชัยเสนรำพันถึงความรักลึกซึ้งที่มีต่อนางมัทนา ครั้นเมื่อนางมัทนาออกมาที่ลานหน้าอาศรมก็มิเห็นผู้ใด ด้วยเพราะท้าวชัยเสนหลบไปแฝงอยู่หลังกอไม้ นางมัทนาได้พรรณาถึงความรักที่เกิดขึ้นในใจอย่างท่วมท้น ท้าวชัยเสนได้สดับฟังทุกถ้อยความจึงเผยตัวออกมาทั้งสองจึงกล่าวถึงความรู้สึกอันล้ำลึกในใจที่ตรงกันจนเข้าใจในรักที่มีต่อกัน จากค่ำคืนถึงยามรุ่งอรุณ ท้าวชัยเสนจึงทรงประกาศหมั้นและคำสัญญารัก ณ ริมฝั่งลำธารใกล้อาศรมนั้น
           เมื่อมีความรักแล้ว นางมัทนาก็ยังคงรูปเป็นนารีผู้งดงาม มิต้องกลายรูปเป็นกุหลาบอีก ท้าวชัยเสนได้ทูลขอนางมัทนา พระฤษีก็ยกให้โดยให้จัดพิธีบูชาทวยเทพและพิธีวิวาหมงคลในป่านั้นเสียก่อน

           ท้าวชัยเสนเสด็จกลับวังหลายเพลาแล้วแต่ก็มิได้เสด็จไปยังพระตำหนักข้างในด้วยว่ายังทรงประทับอยู่แต่ในอุทยาน พระนางจัณฑี มเหสีให้นางกำนัลมาสืบดูจนรู้ว่าพระสวามีนำสาวชาวป่ามาด้วย จึงตามมาพบท้าวชัยเสนกำลังอยู่กับนางมัทนาพอดี เมื่อพระนางจัณฑีเจรจาค่อนขอดดูหมิ่นนางมัทนา ท้าวชัยเสนก็กริ้วและทรงดุด่าว่าเป็นมเหสีผู้ริษยา
           พระนางจัณฑีแค้นใจนัก ให้คนไปทูลฟ้องพระบิดาผู้เป็นเจ้าแห่งมคธนครให้ยกทัพมาทำศึกกับท้าวชัยเสน จากนั้นก็คบคิดกับนางค่อมอราลีและวิทูรพราหมณ์หมอเสน่ห์ ทำอุบายกลั่นแกล้งนางมัทนาโดยส่งหนังสือไปทูลท้าวชัยเสนว่านางมัทนาป่วย ครั้นเมื่อท้าวชัยเสนรีบเสด็จกลับมาเยี่ยมนางมัทนา ก็กลับพบหมอพราหมณ์กำลังทำพิธีอยู่ใกล้ๆต้นกุหลาบ วิทูรกับนางเกศินีข้าหลวงของนางจัณฑีจึงทูลใส่ความว่านางมัทนาให้ทำเสน่ห์เพื่อให้ได้ร่วมชื่นชูสมสู่กับศุภางค์ ท้าวชัยเสนกริ้วนัก รับสั่งให้ศุภางค์ประหารนางมัทนาแต่ศุภางค์ไม่ยอม ท้าวชัยเสนจึงสั่งประหารทั้งคู่
          พระนางจัณฑีได้ช่องรีบเข้ามาทูลว่าตนจะอาสาออกไปห้ามศึกพระบิดาซึ่งคงเข้าใจผิดว่านางกับท้าวชัยเสนนั้นบาดหมางกัน แต่ท้าวชัยเสนตรัสว่าทรงรู้ทันอุบายของนางที่คิดก่อศึกแล้วจะห้ามศึกเอง พระองค์จะขอออกทำศึกอีกคราแล้วตัดหัวกษัตริย์มคธพ่อตาเอามาให้นางผู้ขบถต่อสวามีตนเอง
          ขณะตั้งค่ายรบอยู่ที่นอกเมือง วิทูรพรหมณ์เฒ่าได้มาขอเข้าเฝ้าท้าวชัยเสนเพื่อสารภาพความทั้งปวงว่าพระนางจัณฑีเป็นผู้วางแผนการร้าย ซึ่งในที่สุดแล้วตนสำนึกผิดและละอายต่อบาปที่เป้นเหตุให้คนบริสุทธิ์ต้องได้รับโทษประหาร ท้าวชัยเสนทราบความจริงแล้วคั่งแค้นจนดำริจะแทงตนเองให้ตาย แต่อำมาตย์นันทิวรรธนะเข้าห้ามไว้ทันและสารภาพว่าในคืนเกิดเหตุนั้นตนละเมิดคำสั่ง มิได้ประหารศุภางค์และนางมัทนา หากแต่ได้ปล่อยเข้าป่าไป ซึ่งนางมัทนานั้นได้โสมะทัตศิษญ์เอกของฤษีกาละทรรศินนำพากลับสู่อาศรมเดิม แต่ศุภางค์นั้นแฝงกลับเข้าไปร่วมกับกองทัพแล้วออกต่อสู้กับข้าสึกจนตัวตาย ท้าวชัยเสนจึงรับสั่งให้ประหารท้าวมคธที่ถูกจับมาเป็นเชลยไว้ก่อนหน้านั้นแล้ว ส่วนพระนางจัณฑีมเหสีนั้นทรงให้เนรเทศออกนอกพระนคร ด้วยทรงเห็นว่าอันนารีผู้มีใจมุ่งร้ายต่อผู้เป็นสามีก็คงต้องแพ้ภัยตนเอง มิอาจอยู่เป็นสุขได้นานแน่


          ฝ่ายนางมัทนานั้นได้ทำพิธีบูชาเทพและวอนขอร้องให้สุเทษณ์จอมเทพช่วยนางด้วย สุเทษณ์นั้นก็ยินดีจะแก้คำสาปและรับนางเป็นมเหสี แต่นางมัทนาก็ยังคงปฏิเสธและว่าอันนารีจะมีสองสามีได้อย่างไร สุเทษณ์เห็นว่านางมัทนายังคงปฏิเสธความรักของตนจึงกริ้วนักสาปส่งให้นางมัทนาเป็นดอกกุหลาบไปตลอดกาล มิอาจกลายร่างเป็นมนุษย์ได้อีกต่อไป
เมื่อท้าวชัยเสนตามมาถึงในป่า นางปริยัมวะทาที่ตามมาปรนนิบัติดูแลนางมัทนาด้วยก็ทูลเล่าความทั้งสิ้นให้ทรงทราบ ท้าวชัยเสนจึงร้องร่ำให้ด้วยความอาลัยรักแล้วขอให้พระฤษีช่วย โดยใช้มนตราและกล่าวเชิญนางมัทนาให้ยินยอมกลับเข้าไปยังเวียงวังกับตนอีกครา
เมื่อพระฤษีทำพิธีแล้ว ท้าวชัยเสนก็รำพันถึงความหลงผิดและความรักที่มีต่อนางมัทนาให้ต้นกุหลาบได้รับรู้ จากนั้นจึงสามารถขุดต้นกุหลาบได้สำเร็จ ท้าวชัยเสนได้นำต้นกุหลาบขึ้นวอทองเพื่อนำกลับไปปลูกในอุทยาน และขอให้ฤๅษีกาละทรรศินให้พรวิเศษว่ากุหลาบจะยังคงงดงามมิโรยราตราบจนกว่าตัวพระองค์เองจะสิ้นอายุขัย พระฤษีก็อวยพรให้ดังใจ และประสิทธิประสาทพรให้กุหลาบนั้นดำรงอยู่คู่โลกนี้มิมีสูญพันธ์ อีกทั้งยังเป็นไม้ดอกที่กลิ่นอันหอมหวานสามารถช่วยดับทุกข์ในใจคนและดลบันดาลให้จิตใจเบิกบานเป็นสุขได้ ชาย-หญิงเมื่อมีรักก็จักใช้ดอกกุหลาบเป็นสัญญลักษณ์แห่งความรักแท้สืบต่อไป

วันภาษาไทยแห่งชาติ

วันภาษาไทยแห่งชาติ ตรงกับวันที่ ๒๙ กรกฎาคม ของทุกปี เพื่อระลึกถึงเหตุการณ์ในวันที่ ๒๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๐๕ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดำเนินไปทรงอภิปรายเรื่อง “ปัญหาการใช้คำไทย” ร่วมกับผู้ทรงคุณวุฒิที่ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


ที่มาและความสำคัญ
       ๒๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๐๕ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเป็นประธานและทรงอภิปรายเรื่อง “ ปัญหาการใช้คำไทย ” ร่วมกับผู้ทรงคุณวุฒิในการประชุมทางวิชาการของชุมนุมภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งทรงแสดงพระปรีชาสามารถและความสนพระราชหฤทัยห่วงใยในภาษาไทย จนเป็นที่ประทับใจผู้ร่วมประชุมครั้งนั้นเป็นอย่างยิ่ง   พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสตอนหนึ่งความว่า


" เรามีโชคดีที่มีภาษาของตนเองแต่โบราณกาล จึงสมควรอย่างยิ่งที่จะรักษาไว้ ปัญหาเฉพาะในด้านรักษาภาษานี้ก็มีหลายประการ อย่างหนึ่งต้องรักษาให้บริสุทธิ์ในทางออกเสียง คือ ให้ออกเสียงให้ถูกต้องชัดเจน อีกอย่างหนึ่งต้องรักษาให้บริสุทธิ์ในวิธีใช้ หมายความว่า วิธีใช้คำมาประกอบประโยค นับเป็นปัญหาที่สำคัญ ปัญหาที่สาม คือ ความร่ำรวยในคำของภาษาไทย ซึ่งพวกเรานึกว่าไม่ร่ำรวยพอ จึงต้องมีการบัญญัติศัพท์ใหม่มาใช้...สำหรับคำใหม่ที่ตั้งขึ้นมีความจำเป็นในทางวิชาการไม่น้อย แต่บางคำที่ง่ายๆก็ควรจะมี ควรจะใช้คำเก่าๆที่เรามีอยู่แล้ว ไม่ควรจะมาตั้งศัพท์ใหม่ให้ยุ่งยาก "

รัฐบาลได้ประกาศให้วันนี้เป็นวันสำคัญ ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๔๒

วัตถุประสงค์

คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันอังคารที่ ๑๓ กรกฎาคม ๒๕๔๒ เห็นชอบให้วันที่ ๒๙ กรกฎาคม ของทุกปีเป็นวันภาษาไทยแห่งชาติ โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้ [3]




๑. เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ผู้ทรงเป็นนักปราชญ์ และนักภาษาไทย รวมทั้งเพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ที่ได้ทรงแสดงความห่วงใย และพระราชทานแนวคิดต่างๆ เกี่ยวกับการใช้ภาษาไทย



๒. เพื่อร่วมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในมหามงคลสมัยเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ในวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๒



๓. เพื่อกระตุ้นและปลุกจิตสำนึกของคนไทยทั้งชาติให้ตระหนักถึงความสำคัญและคุณค่าของภาษาไทย ตลอดจนร่วมมือร่วมใจกันทำนุบำรุงส่งเสริม และอนุรักษ์ภาษาไทย ซึ่งเป็นเอกลักษณ์และเป็นสมบัติวัฒนธรรมอันล้ำค่าของชาติให้คงอยู่คู่ชาติไทยตลอดไป



๔. เพื่อเพิ่มพูนประสิทธิภาพในการใช้ภาษาไทย ทั้งในวงวิชาการและวิชาชีพ รวมทั้งเพื่อยกมาตรฐานการเรียนการสอนภาษาไทยในสถานศึกษาทุกระดับให้สัมฤทธิผลยิ่งขึ้น



๕. เพื่อเปิดโอกาสให้หน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐบาลและเอกชนทั่วประเทศมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมที่หลากหลาย เพื่อเผยแพร่ความรู้ภาษาไทยในรูปแบบต่างๆ ไปสู่สาธารณชนทั้งในฐานะที่เป็นภาษาประจำชาติ และในฐานะที่เป็นภาษาเพื่อการสื่อสารของทุกคนในชาติ