เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2535 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระราชดำริ ให้พิจารณาจัดหาน้ำเพื่อสนับสนุนการเพาะปลูกของราษฎร โดยการดำเนินงานขุดสระเก็บกักน้ำตามทฤษฎีใหม่ ในบริเวณพื้นที่ที่ราษฎรน้อมเกล้าฯ ถวายจำนวน 13 ไร่ 3 งาน อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์ เมื่อวันที่ 30
พฤศจิกายน 2536 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีเสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรโครงการที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานพระราชดำริไว้ดังกล่าว ได้พระราชทานพระราชดำริให้ขยายผลการดำเนินงานของโครงการไปสู่ราษฎรในบริเวณใกล้ เคียงด้วย อีกทั้งต่อมา สมเด็จ
พระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จทอดพระเนตรโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ และเยี่ยมราษฎรในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้พระราชทานพระราชดำริ ให้พิจารณาช่วยเหลือราษฎรที่ประสบปัญหาขาดแคลนน้ำ โดยขุดสระเก็บกักน้ำประจำไร่นาตามทฤษฎีใหม่
หลังจากที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระราชดำริแล้ว สำนักงานกปร. ได้ประสานหน่วยงานราชการต่างๆ ร่วมกันดำเนินการพัฒนาพื้นที่ จำนวน 13ไร่ 3 งาน บ้านแดนสามัคคี ตำบลคุ้มเก่า อำเภอเขาวงจังหวัดกาฬสินธุ์เพื่อพัฒนาพื้นที่การเกษตรที่แห้งแล้งและขาดแคลนน้ำให้มีน้ำสำหรับใช้ทำการเกษตรได้อย่างเพียงพอตลอดปี โดยดำเนินงานในรูปแบทฤษฏีใหม่ ดังนี้
•ขุดสระเก็บกักน้ำประจำไร่นาตามทฤษฎีใหม่ จำนวน 3 ไร่ สามารถเก็บกักน้ำได้ประมาณ 12,000 ลูกบาศก์เมตร
•พื้นที่ทำนา ประมาณ 3 ไร่ มีการศึกษาทดลองปลูกข้าว และพืชไร่หลังนา
•พื้นที่ปลูกไม้ผล พืชไร่ และพืชผัก ประมาณ 6 ไร่
•พื้นที่อยู่อาศัย ถนนและสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ประมาณ 1 ไร่ 3 งาน
•บริเวณขอบสระทำโรงเลี้ยงหมูเหมยซาน และในสระน้ำมีการเลี้ยงปลา
จากการดำเนินงานการเกษตรตามแนวทางทฤษฎีใหม่ในพื้นที่ดังกล่าว ได้ผลงานแยกเป็นประเภทต่างๆ ดังนี้
•ข้าว : โดยวิธีหว่าน และปักดำได้ผลผลิตไว้สำหรับการบริโภค และเหลือขายบ้างบางส่วน
•พืชหลังนา : โดยหลังเก็บเกี่ยวข้าวในช่วงปลายเดือนพฤศจิกายนแล้ว ได้ทำการปลูกข้าวโพดหวานพิเศษ และพืชจำพวกถั่ว เพื่อไว้บริโภคและเหลือขาย รวมทั้ง เป็นการปรับปรุงบำรุงดินด้วย
•พืชสวนครัว : ได้มีการปลูกข่า ตะไคร้ กระเพา พริก ฯลฯ โดยอาศัยน้ำจากสระได้เจริญงอกงามมีผลผลิตดี สามารถเก็บขายได้เงินเป็นรายได้
•ไม้ดอก : ได้มีการปลูกมะลิ เยอบีร่า บานไม่รู้โรย ฯลฯ โดยอาศัยน้ำจากสระ ได้ผลผลิตที่สามารถเก็บขายได้ราคา
•ไม้ผล : ได้มีการปลูกไม้ผลพันธุ์ดี ได้แก่ กระท้อน ขนุน มะม่วง ละมุดน้อยหน่า ส้มโอ มะละกอ ฝรั่ง ฯลฯ โดยอาศัยน้ำจากสระได้เจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว และไม้ผลบางประเภท เช่น ฝรั่ง ละมุด มะละกอสามารถให้ผลผลิตเก็บขายเป็นรายได้ดี
•การเลี้ยงหมู : ได้เลี้ยงหมูเหมยซานเพศเมีย 2 ตัว โดยสร้างคอกบนขอบสระเก็บน้ำ สามารถตกลูกปีละ 2 คอก ๆ ละ 10-12 ตัว
•การเลี้ยงปลา : ได้ปล่อยปลานิล ปลาตะเพียนขาว ปลายี่สกเทศ และปลานวลจันทร์เทศ ลงในสระเก็บน้ำจำนวน 25,000 ตัว จะสามารถจับเป็นอาหารและขายเป็นรายได้ได้เงิน4,150 บาท
ประโยชน์ที่ราษฎรได้รับ
ราษฎรมีสระเก็บกักน้ำไว้ใช้เป็นของตนเอง และต่างให้ความสนใจในการพัฒนาการเกษตรและมีการใช้ประโยชน์จากพื้นที่มากขึ้น บริเวณขอบสระจะปลูกพืชผักสวนครัว ไม้ดอก ไม้ประดับ และ เลี้ยงปลาในสระน้ำ นอกจากนี้ ยังมีการสร้างคอกสัตว์แบบง่ายๆ เพื่อเลี้ยงสัตว์และในช่วงที่เกิดภาวะฝนทิ้งช่วงหรือฤดูแล้ง ราษฎรสามารถอาศัยน้ำจากสระที่เก็บสำรองไว้มาใช้เพาะปลูกกล้า หรือหล่อเลี้ยงต้นไม้ที่ปลูกไว้ได้ ราษฎรเจ้าของสระน้ำจะมีรายได้ที่มั่นคงและเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด เมื่อเทียบกับก่อนขุดสระ เก็บกักน้ำ สภาพชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้นมีงานทำตลอดปี และราษฎรในพื้นที่ต่างๆ ให้ความสนใจเป็นอย่างมากซึ่งสามารถพิสูจน์พระราชดำริเกี่ยวกับทฤษฎีใหม่ว่ามีความเหมาะสมสำหรับพื้นที่ ที่ขาดแคลนแหล่งน้ำในการเกษตรได้เป็นอย่างดี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น