วันศุกร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2554

สถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดประจวบคีรีขันธ์

         
         อ่าวมะนาว เป็นสถานที่ท่องเที่ยวแห่งหนึ่งใน อำเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ อยู่ห่างจากตัวเมืองประจวบคีรีขันธ์ไปทางทิศใต้ประมาณ 5 กิโลเมตร บริเวณอ่าวมะนาวมีทิวทัศน์สวยงาม ประชาชนทั่วไปสามารถเข้าไปพักผ่อนหย่อนใจได้ และมีบริการบ้านพักสำหรับนักท่องเที่ยว อ่าวมะนาวอยู่ในการควบคุมดูแลของกองบิน 5 และเคยเป็นยุทธภูมิในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2



เขาตาม่องล่าย


       เขาตาม่องล่ายถูกจัดให้เป็น วนอุทยาน เขตป่าสงวนแห่งชาติ ถึงจะมีพื้นที่ไม่กว้างขวางมากนัก แต่ก็มีเอกลักษณ์เหมาะสำหรับท่องเที่ยวผจญภัย เพราะเป็นภูเขามีหน้าผาสูงชัน

สัตว์ป่า ที่พบเห็นบริเวณวนอุทยานเขาตาม่องล่าย

1.เลียงผา

2.หมูป่า

3.กระจง

4.อีเห็น

5.เสือปลา

6.ไก่ป่า



        หว้ากอ เป็นชื่อหมู่บ้าน ในตำบลคลองวาฬ อำเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ห่างจากตัวเมืองประจวบคีรีขันธ์ประมาณ 10 กิโลเมตร สถานที่มีความสำคัญทางด้านประวัติศาสตร์ของวงการวิทยาศาสตร์ของไทย เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงคำนวณไว้ล่วงหน้าว่าจะมองเห็นสุริยุปราคา เต็มดวงที่หว้ากอแห่งนี้ และได้เสด็จทอดพระเนตรพร้อมด้วยนักวิทยาศาสตร์ และทูตานทูตชาวต่างประเทศ เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2411 จากตัวเมืองเดินทางมาทางทิศใต้ 12 กิโลเมตร ตามถนนเพชรเกษมถึง กม.ที่ 335-336 จะมีทางแยกเข้าหว้ากอทางด้านซ้ายมือ

วันพุธที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2554

น้ำตกพลิ้ว


อุทยานแห่ง ชาติน้ำตกพลิ้ว มีพื้นที่ครอบคลุมท้องที่อำเภอเมือง อำเภอแหลมสิงห์ อำเภอขลุง และอำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี ประกอบด้วยป่าที่สมบูรณ์ เทือกเขาสูงสลับซับซ้อนเป็นแหล่งต้นน้ำลำธารหลายสาย และมีเอกลักษณ์ทางธรรมชาติ คือ น้ำตกพลิ้วที่สวยงาม มีน้ำตกตลอดปี เป็นที่รู้จักของประชาชนทั่วไป ซึ่งอยู่ห่างจากจังหวัดจันทบุรีประมาณ 14 กิโลเมตร ถนนลาดยางตลอดสายทำให้สะดวกสบายในการไปเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจ มีเนื้อที่ประมาณ 134.50 ตารางกิโลเมตร หรือ 84,062.50 ไร่

ความเป็นมา : ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2502 ให้กำหนดป่าเขาสระบาป จังหวัดจันทบุรี และป่าอื่นๆ ในท้องที่จังหวัดต่างๆ รวม 14 ป่า เป็นอุทยานแห่งชาติ ในขั้นแรกกรมป่าไม้ได้กำหนดพื้นที่ที่ดินป่าน้ำตกพลิ้ว-เขาสระบาป ให้เป็นป่าสงวนแห่งชาติในปี พ.ศ. 2505 ออกตามพระราชบัญญัติคุ้มครองและสงวนป่า พุทธศักราช 2481 ลงวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2504 และในปี พ.ศ. 2515 ได้ดำเนินการพัฒนาและปรับปรุงบริเวณน้ำตกพลิ้ว จัดตั้งเป็นวนอุทยานน้ำตกพลิ้ว อยู่ในความควบคุมดูแลของสำนักงานป่าไม้จังหวัดจันทบุรี

ในคราวประชุมคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ ครั้งที่ 1/2517 เมื่อวันที่ 22 มกราคม 2517 ได้มีมติให้รีบดำเนินการประกาศพื้นที่ป่าที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2502 เป็นอุทยานแห่งชาติโดยเร็ว และจังหวัดจันทบุรีได้มีหนังสือด่วนมาก ที่ จบ.09/1401 ลงวันที่ 31 มกราคม 2517 ขอให้กรมป่าไม้ส่งเจ้าหน้าที่ไปประจำวนอุทยานน้ำตกพลิ้ว เพื่อปรับปรุงให้เป็นไปตามหลักการจัดการวนอุทยาน ประกอบกับในปี 2517 กองอุทยานแห่งชาติมีแผนงานจัดบริเวณดังกล่าวเป็นอุทยานแห่งชาติ ดังนั้นในเดือนมีนาคม 2517 กรมป่าไม้จึงมีคำสั่งที่ 360/2517 ลงวันที่ 28 มีนาคม 2517 ให้นายสินไชย บูรณะเรข นักวิชาการป่าไม้ตรี และนายประชุม ตัณยะบุตร พนักงานโครงการชั้น 2 ไปทำการสำรวจหาข้อมูลบริเวณป่าน้ำตกพลิ้ว เขาสระบาป ในท้องที่จังหวัดจันทบุรี ปรากฏว่า บริเวณดังกล่าวประกอบด้วยเทือกเขาสลับซับซ้อน เป็นต้นน้ำลำธาร เช่น น้ำตก หน้าผา ถ้ำ ตามหนังสือรายงานผลการสำรวจ ที่ กส 0708(อส)/7 ลงวันที่ 28 มิถุนายน 2517

กรมป่าไม้ได้นำเสนอคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ ซึ่งมีมติในคราวประชุมครั้งที่ 6/2517 เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2517 เห็นชอบให้กำหนดที่ดินบริเวณดังกล่าวเป็นอุทยานแห่งชาติ โดยได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าน้ำตกพลิ้ว-เขาสระบาป ในท้องที่ตำบลพลับพลา ตำบลคลองนารายณ์ ตำบลคมบาง อำเภอเมืองจันทบุรี ตำบลพลิ้ว อำเภอแหลมสิงห์ ตำบลมะขาม อำเภอมะขาม และตำบลมาบไพ ตำบลวังสรรพรส ตำบลตรอกนอง ตำบลซึ้ง ตำบลตะปอน ตำบลเกวียนหัก อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 92 ตอนที่ 87 ลงวันที่ 2 พฤษภาคม 2518 เป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 11 ของประเทศไทย โดยใช้ชื่อว่า " อุทยานแห่งชาติเขาสระบาป "

ต่อมานายผจญ ธนมิตรามณี หัวหน้าอุทยานแห่งชาติเขาสระบาป ได้มีหนังสือ ที่ กษ 0708 (สบ)/พิเศษ ลงวันที่ 1 มีนาคม 2525 ขอเปลี่ยนชื่ออุทยานแห่งชาติเขาสระบาปเป็นอุทยานแห่งชาติน้ำตกพลิ้ว เนื่องจากน้ำตกพลิ้วเป็นน้ำตกที่มีความสวยงามตามธรรมชาติเป็นจุดเด่นของ อุทยานแห่งชาติ เป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวและประชาชนโดยทั่วไปเป็นเวลานานแล้ว ซึ่งคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติได้มีมติในคราวประชุมครั้งที่ 3/2525 เมื่อวันที่ 29 กันยายน 2525 เห็นชอบให้เปลี่ยนชื่อเป็น " อุทยานแห่งชาติน้ำตกพลิ้ว " 






 ลักษณะภูมิประเทศ

สภาพ ทั่วไปเป็นเทือกเขาสูง มียอดเขาสลับซับซ้อนสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางตั้งแต่ 20-924 เมตร ค่อยๆ ลาดลงทางทิศใต้ มีที่ราบแคบๆ ทั่วไปบริเวณไหล่เขา พื้นที่มีความลาดชันสูง จุดสูงสุดของพื้นที่อยู่ที่ยอดเขามาบหว้ากรอก มีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 924 เมตร ลักษณะทางธรณีวิทยาส่วนใหญ่เป็นหินอัคนีประเภทหินแกรนิต ในบริเวณตอนกลางของพื้นที่ที่มีลักษณะเป็นเทือกเขาสูงชันสลับซับซ้อนที่ ประกอบไปด้วยป่าดงดิบที่สมบูรณ์ ทำให้บริเวณนี้กลายเป็นแหล่งต้นน้ำลำธารหลายสาย เช่น ห้วยตาโบ คลองโป่งแรด คลองนารายณ์ คลองสระบาป คลองคมบาง คลองนาป่า คลองพลิ้ว คลองน้ำแห้ง คลองหนองเสม็ด คลองตะปอนน้อย คลองตะปอนใหญ่ คลองขลุง คลองเคล คลองตรอกนอง และคลองมะกอก กระจายอยู่รอบพื้นที่


 ลักษณะภูมิอากาศ

สภาพ อากาศระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ - เมษายน อากาศจะค่อนข้างร้อน ระหว่างเดือนพฤษภาคม-ตุลาคม จะมีฝนตกชุกปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยปีละ 3,000 มม./ปี และระหว่างเดือนพฤศจิกายน- กุมภาพันธ์ อากาศจะเย็นสบายที่สุด อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปีประมาณ 26 องศาเซลเซียส



 พืชพรรณและสัตว์ป่า

สภาพ ป่าทั่วไปเป็นป่าดงดิบชื้นที่สมบูรณ์ จัดอยู่ในเขตพฤกษศาสตร์อินโดไชน่าเนื่องจากอิทธิพลของทะเล มีพันธุ์ไม้ที่สำคัญได้แก่ พุงทะลาย เคี่ยมคะนอง กระบกกรัง พนอง ตะเคียนหิน ยางแดง กฤษณา ตาเสือ พะวา ชะมวง จิกดง ปออีเก้ง และขนุนป่า ฯลฯ พืชพื้นล่างขึ้นปกคลุมพื้นป่าอีกหลายชนิด เช่น หัสคุณ ฆ้อนตีหมา แก้มขาว หวายลิง กะพ้อ ระกำ เต่าร้าง ไผ่ซี้ เร่วป่า ปุดใหญ่ และกระทือ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีพืชอิงอาศัยหลายชนิดเกาะอยู่ตามลำต้นและกิ่งก้าน ได้แก่ ชายผ้าสีดา กระแตไต่ไม้ ข้าหลวงหลังลาย เกล็ดนาคราช และกล้วยไม้นานาชนิด เช่น กะเรกะร่อน เหลืองจันทบูร และเอื้องมัจฉา ไม้เถาเลื้อยที่พบ ได้แก่ พญาปล้องทอง เถาคัน พญาเท้าเอว แสลงพันเถา หวายกำพวน หวายขริง และหวายเล็ก ฯลฯ

เนื่องจากสภาพป่าของอุทยานแห่งชาติน้ำตกพลิ้วมีลักษณะเป็นผืนป่าธรรมชาติโดด เดี่ยวคล้ายป่าเกาะที่ถูกล้อมรอบด้วยพื้นที่เกษตรกรรมและชุมชนที่อยู่อาศัย ไม่มีผืนป่าธรรมชาติแห่งอื่นที่ต่อเนื่องหรือใกล้เคียง ประกอบกับพื้นที่มีขนาดไม่มากนัก ความหลากหลายของสัตว์ป่าในพื้นที่จึงมีน้อย ที่พบโดยทั่วไป ได้แก่ เลียงผา หมูป่า อีเห็นข้างลาย ลิงกัง ชะนีมงกุฎ ลิ่นชวา อีเห็นข้างลาย กระแตเหนือ กระรอกแดง ค้างคาวเล็บกุด ค้างคาวปีกถุงต่อมคาง หนูฟานเหลือง เป็ดแดง ไก่ป่า นกหกเล็กปากแดง นกกระปูดใหญ่ นกเด้าลมหลังเทา นกเฉี่ยวดงหางสีน้ำตาล นกขมิ้นน้อยสวน นกเขียวคราม นกปรอดทอง นกแซงแซวหางปลา นกกินแมลงอกเหลือง นกกระจิบสวน นกกางเขนดง นกกินปลีคอแดง นกสีชมพูสวน ตุ๊กแกป่าตะวันออก จิ้งจกหางแบน กิ้งก่าบินปีกสีส้ม จิ้งเหลนหลากหลาย ตะกวด งูลายสาบเขียวขวั้นดำ งูเขียวหัวจิ้งจกป่า คางคกบ้าน กบอ่อง เขียดตะปาด และอึ่งอ่างบ้านฯลฯ นอกจากนี้ยังมีปลาชนิดต่างๆ เช่น ปลาสร้อยขาว ปลากดหิน ปลาค้อ ปลาจิ้งจก ปลาพลวงหิน ปลากระทิง ปลาสร้อยลูกกล้วย เป็นต้น

โอเอซิส ซีเวิลด์ จันทบุรี (Oasis Sea World)

โอเอซิส ซีเวิลด์ จันทบุรี (Oasis Sea World)

 

โอเอซีสซีเวิลด์ บน พื้นที่กว่า 68 ไร่ เป็นสถานที่เพาะพันธุ์และอนุรักษ์ปลาโลมาในน่านน้ำจันทบุรีซึ่งมีอยู่ 2 พันธุ์คือ พันธุ์หัวบาตร และพันธุ์หัวขวด มีสวนผีเสื้อที่มีอยู่หลากหลายชนิด โดยมีวงจรชีวิตในสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติที่ให้นักท่องเที่ยวได้สัมผัสอย่าง ใกล้ชิด และยังมีที่พักบริการให้แก่นักท่องเที่ยวอีกด้วย
การแสดงของ ปลาโลมามีให้ชมทุกวันวันละประมาณ 5 รอบ วันธรรมดามีรอบ 9.00, 11.00. 13.00, 15,00 และ 17,00 น. วันเสาร์-อาทิตย์ เพิ่มรอบเวลา 7.00 น.
อัตราค่าเข้าชม
เด็ก 50 บาท ผู้ใหญ่ 90 บาท
ชาวต่างประเทศ 180 บาท
นอกจากนี้ยังมีแพสำราญท่องนที ที่บริการนำนักท่องเที่ยวชมทัศนียภาพบริเวณปากแม่น้ำแหลมสิงห์ ซึ่งมีบริการอาหารและเครื่องดื่มบนแพด้วย
สอบถามรายละเอียดที่ โทร. (039) 399-015, (039) 363-238-9 หรือ http://www.oasisseaworld.net
ข้อมูลเพื่อการเดินทางไปโอเอซีส ซี เวิลด์
โอเอซีส ซี เวิลด์ ตั้งอยู่ที่ตำบลปากน้ำ ห่างจากตัวเมืองจันทบุรี 25 กิโลเมตร


วันพฤหัสบดีที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2554

ตรุษจีน

ตรุษจีน หรือ เทศกาลฤดูใบไม้ผลิ  พินอิน: Chūnjíe ชุนเจี๋ย) หรือ ขึ้นปีเพาะปลูกใหม่พินอิน: Nónglì Xīnnián หนงลี่ ซินเหนียน) และยังรู้จักกันในนาม วันขึ้นปีใหม่ทางจันทรคติ เป็นวันขึ้นปีใหม่ตามประเพณีของชาวจีนในจีนแผ่นดินใหญ่และชาวจีนโพ้นทะเลทั่วโลก เทศกาลนี้เริ่มต้นในวันที่ 1 เดือน 1 ของปีตามจันทรคติ ( พินอิน: zhèng yuè เจิ้งเยฺว่) และสิ้นสุดในวันที่ 15 ซึ่งจะเป็นเทศกาลประดับโคมไฟ ( พินอิน: yuán xiāo jié หยวนเซียวเจี๋ย)


คืนก่อนวันตรุษจีน ตามภาษาจีนกลางเรียกว่า  (พินอิน: Chúxì ฉูซี่) หมายถึงการผลัดเปลี่ยนยามค่ำคืน

ในวันตรุษจีนจะมีการเฉลิมฉลองทั่วโลกโดยเฉพาะชุมชนเชื้อสายจีนขนาดใหญ่ และตรุษจีนถือเป็นวันหยุดที่สำคัญมากช่วงหนึ่งของชาวจีน และยังแผ่อิทธิพลไปถึงการฉลองปีใหม่ของชนชาติที่อยู่รายรอบ เช่น ญี่ปุ่น เกาหลี เมี่ยน ม้ง มองโกเลีย เวียดนาม ทิเบต เนปาล และภูฐาน สำหรับชาวจีนที่อาศัยอยู่ต่างถิ่นกันก็จะมีประเพณีเฉลิมฉลองต่างกันไป ในประเทศไทย


ตรุษจีนในประเทศไทย


ชาวไทยเชื้อสายจีนจะถือประเพณีปฏิบัติอยู่ 3 วัน คือวันจ่าย วันไหว้ และวันเที่ยว

วันจ่าย คือวันก่อนวันสิ้นปี เป็นวันที่ชาวไทยเชื้อสายจีนจะต้องไปซื้ออาหารผลไม้และเครื่องเซ่นไหว้ต่างๆ ก่อนที่ร้านค้าทั้งหลายจะปิดร้านหยุดพักผ่อนยาว ในตอนค่ำจะมีการจุดธูปอัญเชิญเจ้าที่ ( ตี่จู้เอี๊ย) ให้ลงมาจากสวรรค์เพื่อรับการสักการบูชาของเจ้าบ้าน หลังจากที่ได้ไหว้อัญเชิญขึ้นสวรรค์เมื่อ 4 วันที่แล้ว


ตอนเช้ามืดจะไหว้ "ป้ายเล่าเอี๊ย"  เป็นการไหว้เทพเจ้าต่างๆ เครื่องไหว้คือ เนื้อสัตว์สามอย่าง (ซาแซ ซำเช้ง) ได้แก่ หมู เป็ด ไก่ หรือเพิ่มตับ ปลา เป็นเนื้อสัตว์ห้าอย่าง (โหงวแซ) เหล้า น้ำชา และกระดาษเงินกระดาษทอง

ตอนสาย จะไหว้ "ป้ายแป๋บ้อ"  คือการไหว้บรรพบุรุษ พ่อแม่ญาติพี่น้องที่ถึงแก่กรรมไปแล้ว เป็นการแสดงความกตัญญูตามคติจีน การไหว้ครั้งนี้จะไหว้ไม่เ

กินเที่ยง เครื่องไหว้จะประกอบด้วย ซาแซ อาหารคาวหวาน (ส่วนมากจะทำตามที่ผู้ที่ล่วงลับเคยชอบ) รวมทั้งการเผากระดาษเงินกระดาษทอง เสื้อผ้ากระดาษเพื่ออุทิศแก่ผู้ล่วงลับ หลังจากนั้น ญาติพี่น้องจะมารวมกันรับประทานอาหารที่ได้เซ่นไหว้ไปเป็นสิริมงคล และถือเป็นเวลาที่ครอบครัวหรือวงศ์ตระกูลจะรวมตัวกันได้มากที่สุด จะแลกเปลี่ยนอั่งเปาหลังจากรับประทานอาหารร่วมกันแล้ว


ตอนบ่าย จะไหว้ "ป้ายฮ่อเฮียตี๋"  เป็นการไหว้ผีพี่น้องที่ล่วงลับไปแล้ว เครื่องไหว้จะเป็นพวกขนมเข่ง ขนมเทียน เผือกเชื่อมน้ำตาล กระดาษเงินกระดาษทอง พร้อมทั้งมีการจุดประทัดเพื่อไล่สิ่งชั่วร้ายและเพื่อเป็นสิริมงคล

วันเที่ยว หรือ วันถือ คือวันขึ้นปีใหม่ เป็นวันที่หนึ่ง ( ชิวอิก) ของเดือนที่หนึ่งของปี วันนี้ชาวจีนจะถือธรรมเนียมโบราณที่ยังปฏิบัติสืบต่อกันมาถึงปัจจุบันคือ "ป้ายเจีย" เป็นการไหว้ขอพรและอวยพรจากญาติผู้ใหญ่และผู้ที่เคารพรัก โดยนำส้มสีทองไปมอบให้ เหตุที่ให้ส้มก็เพราะส้มออกเสียงภาษาแต้จิ๋วว่า "กิก" หรือ ภาษาฮกเกี้ยน "ก้าม" ซึ่งไปพ้องกับคำว่าความสุขหรือโชคลาภ  เพราะฉะนั้นการให้ส้มจึงเหมือนนำความสุขหรือโชคลาภไปให้ จะมอบส้มจำนวน 4 ผล ห่อด้วยผ้าเช็ดหน้าของผู้ชาย เหตุที่เรียกวันนี้ว่าวันถือคือ เป็นวันที่ชาวจีนถือว่าเป็นสิริมงคล งดการทำบาป จะมีคติถือบางอย่าง เช่น ไม่พูดจาไม่ดีต่อกัน ไม่ทวงหนี้กัน ไม่จับไม้กวาด และจะแต่งกายด้วยเสื้อผ้าใหม่แล้วออกเยี่ยมอวยพรและพักผ่อนนอกบ้าน เป็นต้น


ตรุษจีนในภูเก็ต

ชาวภูเก็ตเชื้อสายจีน โดยส่วนมากเป็นชาวจีนฮกเกี้ยนบ้าบ๋า จะมีระยะวันตรุษจีนทั้งสิ้นรวม 9 วันนับตั้งแต่ขึ้นปีใหม่จะต่างกับชาวจีนแต้จิ๋ว ซึ่งวันตรุษจีนจะสิ้นสุดลงในวันที่ 7 โดยวันตรุษจีนของชาวภูเก็ตจะสิ้นสุดลงเมื่อหลังเที่ยงคืนของวันที่ 9 หรือ วันป่ายทีก้องไหว้เทวดา และ จะถือประเพณีปฏิบัติไหว้อยู่ 6 วัน ได้แก่ก่อนตรุษจีนไหว้ 2 วัน และ หลังตรุษจีนไหว้ 4 วัน คือ



วันส่งเทพเจ้าเตาไฟขึ้นสวรรค์

ในวันที่ 24 ค่ำ เดือน 12 จ้าวฮุ่นกงเสด็จขึ้นสวรรค์เพื่อเข้าเฝ้าหยกอ๋องซ่งเต้ เพื่อกราบทูลเรื่องราวต่างๆภายในหนึ่งปีของเจ้าบ้านทั้งดีและชั่วจามบัญชีที่ได้จดบันทึก

ภาคเช้า เจ้าบ้านเตรียมผลไม้ 3 -7 อย่าง เพื่อสักการะเทพเจ้าทั้งสามแห่งโดยเฉพาะหน้าเตาไฟในครัวเรือนจ้าวฮุ่นกง

วันไหว้บรรพชน

คือวันสุดท้ายของเดือน 12 บางตำนานกล่าวว่าเทพเจ้าทั้งปวงจะเสด็จลงมายังโลกมนุษย์ในช่วง วันที่ 28 -30 จะจัดเครื่องเซ่นไหว้ตามจุดดังนี่

ทีก้อง หรือ หยกอ๋องซ่งเต้ และเทพเจ้าทั้งบ้าน บ้านของคนจีนฮกเกี้ยนภูเก็ต จะมีป้ายและที่ปักธูปเทียนอยู่ทางซ้ายมือของหน้าบ้าน

เทพเจ้าประจำบ้าน หรือ เทพเจ้าประจำตระกูล ส่วนใหญ่จะอยู่ตรงห้องโถ่งของหน้าบ้าน เป็นเทพเจ้าประจำบ้านที่นับถือกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ

บรรพชน จ้อกง จ้อม่า จ้อกงโป๋ บรพพบุรุษที่ล่วงลับ

จ้าวอ๋อง หรือ จ้าวฮุ่นก้อง คือเ เทพเจ้าครัวหรือ เทพเจ้าเตาไฟ

โฮ่วเหี่ยวเต่ คือ ไหว้บรรดาวิญญาณผีไม่มีญาติ

หมึงสิน คือ ไหว้เทพเจ้าประจำประตูบ้าน หรือ ทวารบาล บ้าน

ช่วงเวลาจะเซ่นไหว้ มี 3 เวลาคือ

เวลาเช้า ประมาณ 7 - 8 นาฬิกา ไหว้ทีก้อง เทพเจ้าบ้าน และจ้าวฮุ่นก้อง

เวลา ประมาณ 11 นาฬิกา ถึง ก่อนเทียงวัน ไหว้บรรพบุรุษ จ้อกง จ้อม่า และบรรพชน

เวลา ประมาณ 15 -16 นาฬิกา ไหว้โฮ่งเฮี่ยวเต่ บรรดาผีไม่มีญาติ

เครื่องเซ่นไหว้ตามแบบของชาวจีนฮกเกี้ยน

เวลาเช้าไหว้ทั้ง 3 แห่งดั้งนี้

ทีก้อง *(นิยมไหว้ในค่ำคืน โช่ยแปะก่อนที่จะเข้าวันโช่ยเก้า)

หมูต้ม 1 ชิ้น

หมี่เหลืองดิบ

ปูต้ม

กุ้งต้ม

หมึกแห้ง

สุราขาวจีน

เทียนก้องกิม(กระดาษทองฮกเกี้ยนแผ่นใหญ่)

เทพเจ้าประจำบ้าน หรือ ประจำตระกูล

หัวหมู 1 หัว

หมี่เหลืองดิบ

ปูต้ม

กุ้งต้ม

หมึกแห้ง

สุราขาวจีน

ไก่ต้มมีหัว

เทพเจ้าเตาไฟ หรือ จ้าวฮุ่นก้อง

หมี่เหลืองดิบ

ปูต้ม

กุ้งต้ม

หมึกแห้ง

สุราขาวจีน

อาหารที่ไหว้เสร็จจากช่วงเช้าทุกชนิดนำไปประกอบอาหารเพื่อนไหว้ในช่วง บ่าย และเย็นต่อไป

เวลาบ่ายไหว้ จ้อกง จ้อม่า บรรพชน

ผลไม้ 3 - 7 ชนิด

องุ่น (ภาษาฮกเกี้ยน โป่โต๋)

แอปเปิล (ภาษาฮกเกี้ยน เป่งโก้)

สับปะรด (ภาษาฮกเกี้ยน อ่องหลาย)

ส้ม (ภาษาฮกเกี้ยน ก้าม)

เงาะ (ภาษาฮกเกี้ยน มอต่าน)

ลำไย (ภาษาฮกเกี้ยน เหล้งเต๋)

ขนมหวาน

ตี่โก้ย (ขนมเข่ง )

ฮวดโก้ย (ขนมถ้วยฟู)

อั้งกู้โก้ย (ขนมเต่า)

บีโก้ (ข้าวเหนียวดำกวน)

แป๊ะทงโก๊

ก่าวเตี่ยนโก้ย (ขนมชั้น)

อาหารคาว

ผัดบังกวน (ผัดมันแกว)

โอต้าว (หอยทอดฮกเกี้ยน หารับประทานได้ที่ภูเก็ต)

ผัดบีฮุยะ (ข้าวเหนียวผัดกับเลือดหมูและกุ้ยช่าย)

ปลาทดมีหัวมีหาง 1 ตัว

ต้าวอิ่วบ๊ะ (หมูผัดซีอิ๋ว)

ทึ่งบะกู๊ดเกี่ยมฉ่าย (ต้มจืดผักกาดดองซี่โคร่งหมู)

แกงเผ็ดไก้ใส่มันฝรั่ง

ผัดผัก ประกอบด้วย ซวนน่า กะหล่ำปลี ก่าเป๊ก

โปเปี๊ยะสด

โลบะ พร้อมน้ำจิ้ม

ซำเซ่ง;หง่อเซ่ง (เนื้อสัตว์ 3-5 ชนิด)

ข้าวสวย 5 ถ้วย พร้อมตะเกียบ

เต๋ (น้ำชา) 5 จอก

จุ๊ย (น้ำเปล่า) 1 แก้ว

สุราขาว 5 จอก

เวลาเย็นไหว้ โฮ่วเฮี่ยวเต่



องุ่น (ภาษาฮกเกี้ยน โป่โต๋)

แอปเปิล (ภาษาฮกเกี้ยน เป่งโก้)

สับปะรด (ภาษาฮกเกี้ยน อ่องหลาย)

ของไหว้จากช่วงเช้าแล้วแต่เจ้าบ้านจะนำไปทำเป็นอะไร

ไหว้วันขึ้นปีใหม่

วันที่ 1 ค่ำ เดือน 1 เป็นวันขึ้นปีใหม่ ช่วงเช้าเรียกว่า ป้ายเฉ่งเต๋ ด้วยการนำผลไม่มาไหว้เทพเจ้าประจำบ้าน

วันรับเสด็จจ้าวฮุ่นก้องเทพเจ้าเตาไฟ

ในที่ 4 ค่ำ เดือน 1 จะทำการ เชี้ยสิน เชิญพระจ้าวฮุ่นก้องกลับมาอยู่ยังบ้านในครัวเช่นเดิม โดยไหว้ตอนเช้า ของเซ่นไหว้ดังนี่

ผลไม้

เต่เหลี่ยว (จันอับ ของฮกเกี้ยนกับแต้จิ๋วจะมีเครื่องประกอบไม่เหมือนกัน)

โอต้าว (เพื่อเป็นกาวติดเงินติดทองที่จ้าวฮุ่นก้องนำมาให้จากสวรรค์)

น้ำชา

กระดาษไหว้เจ้า

วันป้ายจ่ายสินเอี๋ย หรือ วันไหว้เทพเจ้าไฉสิ่งเอี้ย

วันที่ 5 ค่ำ เดือน 1 เทพเจ้าแห่งโชคลาภจะเสด็จจากสวรรค์ตามฤกษ์ยามของแต่ละปี เพื่อลงมาประทานโชคลาภ

วันป้ายทีก้องแซ ไหว้เทวดา วันปรสูติหยกอ๋องซ่งเต้

วันไหว้เทวดา ซึ่งเป็นวันที่สืบเนื่องต่อจากวันตรุษจีนเพียง 8 วัน หรือที่ชาวจีนเรียกว่า เก้าโหง็ย-โช่ยเก้า ถี่ก้งแซ้ซ่ง ซึ่งชาวจีนถือว่าเป็นวันเกิดของ หยกอ๋องซ่งเต้ เทพผู้เป็นใหญ่บนสรวงสวรรค์ที่ชาวจีนให้ความเคารพบูชาซึ่งมีความสำคัญไม่แพ้ กัน โดยในวันไหว้เทวดาของชาวจีนจะนิยมถือปฏิบัติกันในวันขึ้น 9 ค่ำ และสิ่งที่ขาดมิได้ในวันนั้น คือเครื่องเซ่นไหว้ที่นำมาประกอบในพิธีบูชาเทวดา หยกอ๋องซ่งเต้ ซึ่งมีหลายรายการด้วยกันดังรายละเอียดต่อไปนี้



ประเพณีปฏิบัติ

สัญลักษณ์อย่างหนึ่งของตรุษจีน คือ อั่งเปา (ซองแดง) คือ ซองใส่เงินที่ผู้ใหญ่แล้วจะมอบให้ผู้น้อย และมีการแลกเปลี่ยนกันเอง หรือ หรือจะใช้คำว่า แต๊ะเอีย (ผูกเอว) ที่มาคือในสมัยก่อน เหรียญจะมีรูตรงกลาง ผู้ใหญ่จะร้อยด้วยเชือกสีแดงเป็นพวงๆ และนำมามอบให้เด็ก ๆ ซึ่งจะนำมาผูกเก็บไว้ที่เอว

โป๊ยเซียน

โป๊ยเซียนเป็นต้นไม้มงคลที่มีถิ่นกำเนิดอยูในประเทศจีน คำว่า “โป๊ยเซียน” ในภาษาจีนมี ความหมายถึงเทพเจ้าหรือผู้วิเศษ 8 องค์ที่คอยคุ้มครองโลกมนุษย์ ซึ่งเทพเจ้าทั้ง 8 องค์ ก็ได้แก่




1. เซียนพิการ (หลีทิก๊วย) -ขอพรเพื่อใหัหายจากโรคภัยไข้เจ็บทั้งปวง 2. เซียนห้องสมุด (ฮั่นเจ็งลี้) -ขอพรใพ้มีความกล้าหาญ เข้มแข็ง เอาชนะศัตรูได้ 3. เซิยนอาจารย์ (ลื่อท่งปิน) -ขอพรค้าขายร่ำรวย เป็นมหาเศรษฐี 4. เซียนค้างคาวเผือก (เตียกั๊วเล่า) -ขอพรให้มีเสน่ห์ เป็นที่นิยมรักใคร่ของคนทั้งหลาย 5. เซียนวณิพก (น่าไชฮั้ว) - ขอพรให้เป็นศิลปินที่มีคนนิยม 6. เซียนสาวสวย (ฮ้อเซียนโกว) -ขอพรให้อายุยืน รูปร่างสวยงาม สติปัญญาดี 7. เซียนกวี (ฮั้นเจียงจือ) -ขอพรให้เป็นนักประพันธ์ กวีที่มีชื่อเสียง 8. เซียนถ้ำ (เช่าก๊กกู๋) - ขอพรมิให้ภูตผีภัยพาลมารบกวน



ตามความเชื่อของชาวจีน เทพเจ้าทั้ง 8 องค์นี้จะอยู่ด้วยกันเสมอ ขาดองค์ใดองค์หนึ่ง ไม่ได้ เพราะเป็นเทพที่มีหน้าที่คุ้มครองและช่วยเหลือมนุษย์ที่ตกทุกข์ได้ยาก



โป๊ยเซียนเข้ามาในเมืองไทยโดยชาวจีนตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา และกลายเป็นไม้ที่นิยม ปลูกในบ้านเพราะเชื่อว่าช่วยคุ้มครองคนในบ้านใหอยู่เย็นเป็นสุข



คุณสมบัติและลักษณะเด่นของโป๊ยเซียน เป็นไม้ที่มีอายุหลายปี มีชื่อ เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “มงกุฎหนาม” เพราะลักษณะลำต้นมีหนามอยู่รอบ มีชื่อดอกอยูบนยอดหรือปลายกิ่งเสมือนเปันมงกุฎ ลำต้นสีเทาหรือเขียวเข้มจัด ภายในมีน้ำยางสีขาว สูงได้ถึง 2 เมตร มีใบเดี่ยว รูปขอบขนานถึงรูปไข่ ปลายใบแหลมขอบใบเรียบ ดอกออกเป็นช่อตามยอดหรือปลายกิ่ง มีหลายสี เช่น เหลือง ชมพู ขาว เขียวแดง ส้ม แสด เป็นต้น กลีบดอกลดรูปไปส่วนกลีบที่เห็นคือส่วนของเกสรเพศผู้ที่เปลี่ยนรูปเป็นกลีบที่ดูคล้ายกลีบดอกรูปไต 1 คู่ แต่เดิมโป๊ยเซียนที่ปลูกในประเทศไทยมีขนาดดอกเล็กแค่ 1 - 2 เซนติเมตรเท่านั้น แต่ปัจจุบันคนไทยสามารถพัฒนาสายพันธุ์ให้ดอกใหญ่กว่า 6 เซนติเมตรและมีหลากสีหลายพันธุ์ อาจกล่าวได้ว่าโป๊ยเซียนของไทยเป็นโป๊ยเซียนที่ดีและสวยที่สุดในโลก



วิธีการปลูกและดูแลรักษา ควรปลูกโป็ยเซียนในดินผสมพิเศษหรือดินร่วนซุยที่ระบายน้ำได้ดี ต้องการแสงแดด ครึ่งวันจนถึงตลอดวัน ไม่ชอบดินแฉะ ทนต่อความแห้งแล้งและศัตรูพืชได้ดี สามารถปลูกใน กระถางทางสูงหรือในแปลงปลูกได้ ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด ปักชำ และเสียบยอด



ประโยชน์และเกร็ดความรู้เกี่ยวกับโป๊ยเซียน โป๊ยเซียนถือเป็นไม้มงคลและ้เป็นไม้เสี่ยงทายชนิดหนื่ง ในประเทศจีนสมัยโบราณ นับพันปีมาแล้ว ผู้ปลูกโป๊ยเซียนต้องเป็นฮ่องเต้หรือพระราชวงศ์ ขุนนางชั้นผู้ใหญ่เท่านั้น โดย ปลูกเพื่อใช้เสี่ยงทายทำนายดูโชคชะตาวาสนาว่าผู้ปลูกจะมียศอำนาจ วาสนายืนยาวสักปานใด ถ้า ผู้ปลูกปลูกแล้วเจริญงอกงาม ให้ดอก 8 - 32 ดอกก็จะเบ่งบอกว่าผู้ปลูกมีบุญบารมี วาสนา เจริญ รุ่งเรือง แต่ถ้าปลูกแล้วต้นโป๊ยเซียนเหี่ยวเฉาไม่ออกดอก หรือออกดอกน้อย แสดงว่าผูปลูก จะตกต่ำ ชีวิตอับเฉาปัจจบันการปลูกโป๊ยเซียนได้ขยาย แพร่หลายไปทั่วโลก นอกจากเป็นไม้ที่ปลูกเพื่อความสวยงามแล้ว บางคนยังถือเป็นไม้เสี่ยงทายถ้าใครปลูกโป๊ยเซียนให้ออกดอกได้ 8 ดอกขึ้นไปถือว่ามีเทพเจ้าครบ 8 องค์ จะทำให้คนผู้นั้นมีโชคลาภ