ตรุษจีน หรือ เทศกาลฤดูใบไม้ผลิ พินอิน: Chūnjíe ชุนเจี๋ย) หรือ ขึ้นปีเพาะปลูกใหม่พินอิน: Nónglì Xīnnián หนงลี่ ซินเหนียน) และยังรู้จักกันในนาม วันขึ้นปีใหม่ทางจันทรคติ เป็นวันขึ้นปีใหม่ตามประเพณีของชาวจีนในจีนแผ่นดินใหญ่และชาวจีนโพ้นทะเลทั่วโลก เทศกาลนี้เริ่มต้นในวันที่ 1 เดือน 1 ของปีตามจันทรคติ ( พินอิน: zhèng yuè เจิ้งเยฺว่) และสิ้นสุดในวันที่ 15 ซึ่งจะเป็นเทศกาลประดับโคมไฟ ( พินอิน: yuán xiāo jié หยวนเซียวเจี๋ย)
คืนก่อนวันตรุษจีน ตามภาษาจีนกลางเรียกว่า (พินอิน: Chúxì ฉูซี่) หมายถึงการผลัดเปลี่ยนยามค่ำคืน
ในวันตรุษจีนจะมีการเฉลิมฉลองทั่วโลกโดยเฉพาะชุมชนเชื้อสายจีนขนาดใหญ่ และตรุษจีนถือเป็นวันหยุดที่สำคัญมากช่วงหนึ่งของชาวจีน และยังแผ่อิทธิพลไปถึงการฉลองปีใหม่ของชนชาติที่อยู่รายรอบ เช่น ญี่ปุ่น เกาหลี เมี่ยน ม้ง มองโกเลีย เวียดนาม ทิเบต เนปาล และภูฐาน สำหรับชาวจีนที่อาศัยอยู่ต่างถิ่นกันก็จะมีประเพณีเฉลิมฉลองต่างกันไป ในประเทศไทย
ตรุษจีนในประเทศไทย
ชาวไทยเชื้อสายจีนจะถือประเพณีปฏิบัติอยู่ 3 วัน คือวันจ่าย วันไหว้ และวันเที่ยว
วันจ่าย คือวันก่อนวันสิ้นปี เป็นวันที่ชาวไทยเชื้อสายจีนจะต้องไปซื้ออาหารผลไม้และเครื่องเซ่นไหว้ต่างๆ ก่อนที่ร้านค้าทั้งหลายจะปิดร้านหยุดพักผ่อนยาว ในตอนค่ำจะมีการจุดธูปอัญเชิญเจ้าที่ ( ตี่จู้เอี๊ย) ให้ลงมาจากสวรรค์เพื่อรับการสักการบูชาของเจ้าบ้าน หลังจากที่ได้ไหว้อัญเชิญขึ้นสวรรค์เมื่อ 4 วันที่แล้ว
ตอนเช้ามืดจะไหว้ "ป้ายเล่าเอี๊ย" เป็นการไหว้เทพเจ้าต่างๆ เครื่องไหว้คือ เนื้อสัตว์สามอย่าง (ซาแซ ซำเช้ง) ได้แก่ หมู เป็ด ไก่ หรือเพิ่มตับ ปลา เป็นเนื้อสัตว์ห้าอย่าง (โหงวแซ) เหล้า น้ำชา และกระดาษเงินกระดาษทอง
ตอนสาย จะไหว้ "ป้ายแป๋บ้อ" คือการไหว้บรรพบุรุษ พ่อแม่ญาติพี่น้องที่ถึงแก่กรรมไปแล้ว เป็นการแสดงความกตัญญูตามคติจีน การไหว้ครั้งนี้จะไหว้ไม่เ
กินเที่ยง เครื่องไหว้จะประกอบด้วย ซาแซ อาหารคาวหวาน (ส่วนมากจะทำตามที่ผู้ที่ล่วงลับเคยชอบ) รวมทั้งการเผากระดาษเงินกระดาษทอง เสื้อผ้ากระดาษเพื่ออุทิศแก่ผู้ล่วงลับ หลังจากนั้น ญาติพี่น้องจะมารวมกันรับประทานอาหารที่ได้เซ่นไหว้ไปเป็นสิริมงคล และถือเป็นเวลาที่ครอบครัวหรือวงศ์ตระกูลจะรวมตัวกันได้มากที่สุด จะแลกเปลี่ยนอั่งเปาหลังจากรับประทานอาหารร่วมกันแล้ว
ตอนบ่าย จะไหว้ "ป้ายฮ่อเฮียตี๋" เป็นการไหว้ผีพี่น้องที่ล่วงลับไปแล้ว เครื่องไหว้จะเป็นพวกขนมเข่ง ขนมเทียน เผือกเชื่อมน้ำตาล กระดาษเงินกระดาษทอง พร้อมทั้งมีการจุดประทัดเพื่อไล่สิ่งชั่วร้ายและเพื่อเป็นสิริมงคล
วันเที่ยว หรือ วันถือ คือวันขึ้นปีใหม่ เป็นวันที่หนึ่ง ( ชิวอิก) ของเดือนที่หนึ่งของปี วันนี้ชาวจีนจะถือธรรมเนียมโบราณที่ยังปฏิบัติสืบต่อกันมาถึงปัจจุบันคือ "ป้ายเจีย" เป็นการไหว้ขอพรและอวยพรจากญาติผู้ใหญ่และผู้ที่เคารพรัก โดยนำส้มสีทองไปมอบให้ เหตุที่ให้ส้มก็เพราะส้มออกเสียงภาษาแต้จิ๋วว่า "กิก" หรือ ภาษาฮกเกี้ยน "ก้าม" ซึ่งไปพ้องกับคำว่าความสุขหรือโชคลาภ เพราะฉะนั้นการให้ส้มจึงเหมือนนำความสุขหรือโชคลาภไปให้ จะมอบส้มจำนวน 4 ผล ห่อด้วยผ้าเช็ดหน้าของผู้ชาย เหตุที่เรียกวันนี้ว่าวันถือคือ เป็นวันที่ชาวจีนถือว่าเป็นสิริมงคล งดการทำบาป จะมีคติถือบางอย่าง เช่น ไม่พูดจาไม่ดีต่อกัน ไม่ทวงหนี้กัน ไม่จับไม้กวาด และจะแต่งกายด้วยเสื้อผ้าใหม่แล้วออกเยี่ยมอวยพรและพักผ่อนนอกบ้าน เป็นต้น
ตรุษจีนในภูเก็ต
ชาวภูเก็ตเชื้อสายจีน โดยส่วนมากเป็นชาวจีนฮกเกี้ยนบ้าบ๋า จะมีระยะวันตรุษจีนทั้งสิ้นรวม 9 วันนับตั้งแต่ขึ้นปีใหม่จะต่างกับชาวจีนแต้จิ๋ว ซึ่งวันตรุษจีนจะสิ้นสุดลงในวันที่ 7 โดยวันตรุษจีนของชาวภูเก็ตจะสิ้นสุดลงเมื่อหลังเที่ยงคืนของวันที่ 9 หรือ วันป่ายทีก้องไหว้เทวดา และ จะถือประเพณีปฏิบัติไหว้อยู่ 6 วัน ได้แก่ก่อนตรุษจีนไหว้ 2 วัน และ หลังตรุษจีนไหว้ 4 วัน คือ
วันส่งเทพเจ้าเตาไฟขึ้นสวรรค์
ในวันที่ 24 ค่ำ เดือน 12 จ้าวฮุ่นกงเสด็จขึ้นสวรรค์เพื่อเข้าเฝ้าหยกอ๋องซ่งเต้ เพื่อกราบทูลเรื่องราวต่างๆภายในหนึ่งปีของเจ้าบ้านทั้งดีและชั่วจามบัญชีที่ได้จดบันทึก
ภาคเช้า เจ้าบ้านเตรียมผลไม้ 3 -7 อย่าง เพื่อสักการะเทพเจ้าทั้งสามแห่งโดยเฉพาะหน้าเตาไฟในครัวเรือนจ้าวฮุ่นกง
วันไหว้บรรพชน
คือวันสุดท้ายของเดือน 12 บางตำนานกล่าวว่าเทพเจ้าทั้งปวงจะเสด็จลงมายังโลกมนุษย์ในช่วง วันที่ 28 -30 จะจัดเครื่องเซ่นไหว้ตามจุดดังนี่
ทีก้อง หรือ หยกอ๋องซ่งเต้ และเทพเจ้าทั้งบ้าน บ้านของคนจีนฮกเกี้ยนภูเก็ต จะมีป้ายและที่ปักธูปเทียนอยู่ทางซ้ายมือของหน้าบ้าน
เทพเจ้าประจำบ้าน หรือ เทพเจ้าประจำตระกูล ส่วนใหญ่จะอยู่ตรงห้องโถ่งของหน้าบ้าน เป็นเทพเจ้าประจำบ้านที่นับถือกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ
บรรพชน จ้อกง จ้อม่า จ้อกงโป๋ บรพพบุรุษที่ล่วงลับ
จ้าวอ๋อง หรือ จ้าวฮุ่นก้อง คือเ เทพเจ้าครัวหรือ เทพเจ้าเตาไฟ
โฮ่วเหี่ยวเต่ คือ ไหว้บรรดาวิญญาณผีไม่มีญาติ
หมึงสิน คือ ไหว้เทพเจ้าประจำประตูบ้าน หรือ ทวารบาล บ้าน
ช่วงเวลาจะเซ่นไหว้ มี 3 เวลาคือ
เวลาเช้า ประมาณ 7 - 8 นาฬิกา ไหว้ทีก้อง เทพเจ้าบ้าน และจ้าวฮุ่นก้อง
เวลา ประมาณ 11 นาฬิกา ถึง ก่อนเทียงวัน ไหว้บรรพบุรุษ จ้อกง จ้อม่า และบรรพชน
เวลา ประมาณ 15 -16 นาฬิกา ไหว้โฮ่งเฮี่ยวเต่ บรรดาผีไม่มีญาติ
เครื่องเซ่นไหว้ตามแบบของชาวจีนฮกเกี้ยน
เวลาเช้าไหว้ทั้ง 3 แห่งดั้งนี้
ทีก้อง *(นิยมไหว้ในค่ำคืน โช่ยแปะก่อนที่จะเข้าวันโช่ยเก้า)
หมูต้ม 1 ชิ้น
หมี่เหลืองดิบ
ปูต้ม
กุ้งต้ม
หมึกแห้ง
สุราขาวจีน
เทียนก้องกิม(กระดาษทองฮกเกี้ยนแผ่นใหญ่)
เทพเจ้าประจำบ้าน หรือ ประจำตระกูล
หัวหมู 1 หัว
หมี่เหลืองดิบ
ปูต้ม
กุ้งต้ม
หมึกแห้ง
สุราขาวจีน
ไก่ต้มมีหัว
เทพเจ้าเตาไฟ หรือ จ้าวฮุ่นก้อง
หมี่เหลืองดิบ
ปูต้ม
กุ้งต้ม
หมึกแห้ง
สุราขาวจีน
อาหารที่ไหว้เสร็จจากช่วงเช้าทุกชนิดนำไปประกอบอาหารเพื่อนไหว้ในช่วง บ่าย และเย็นต่อไป
เวลาบ่ายไหว้ จ้อกง จ้อม่า บรรพชน
ผลไม้ 3 - 7 ชนิด
องุ่น (ภาษาฮกเกี้ยน โป่โต๋)
แอปเปิล (ภาษาฮกเกี้ยน เป่งโก้)
สับปะรด (ภาษาฮกเกี้ยน อ่องหลาย)
ส้ม (ภาษาฮกเกี้ยน ก้าม)
เงาะ (ภาษาฮกเกี้ยน มอต่าน)
ลำไย (ภาษาฮกเกี้ยน เหล้งเต๋)
ขนมหวาน
ตี่โก้ย (ขนมเข่ง )
ฮวดโก้ย (ขนมถ้วยฟู)
อั้งกู้โก้ย (ขนมเต่า)
บีโก้ (ข้าวเหนียวดำกวน)
แป๊ะทงโก๊
ก่าวเตี่ยนโก้ย (ขนมชั้น)
อาหารคาว
ผัดบังกวน (ผัดมันแกว)
โอต้าว (หอยทอดฮกเกี้ยน หารับประทานได้ที่ภูเก็ต)
ผัดบีฮุยะ (ข้าวเหนียวผัดกับเลือดหมูและกุ้ยช่าย)
ปลาทดมีหัวมีหาง 1 ตัว
ต้าวอิ่วบ๊ะ (หมูผัดซีอิ๋ว)
ทึ่งบะกู๊ดเกี่ยมฉ่าย (ต้มจืดผักกาดดองซี่โคร่งหมู)
แกงเผ็ดไก้ใส่มันฝรั่ง
ผัดผัก ประกอบด้วย ซวนน่า กะหล่ำปลี ก่าเป๊ก
โปเปี๊ยะสด
โลบะ พร้อมน้ำจิ้ม
ซำเซ่ง;หง่อเซ่ง (เนื้อสัตว์ 3-5 ชนิด)
ข้าวสวย 5 ถ้วย พร้อมตะเกียบ
เต๋ (น้ำชา) 5 จอก
จุ๊ย (น้ำเปล่า) 1 แก้ว
สุราขาว 5 จอก
เวลาเย็นไหว้ โฮ่วเฮี่ยวเต่
องุ่น (ภาษาฮกเกี้ยน โป่โต๋)
แอปเปิล (ภาษาฮกเกี้ยน เป่งโก้)
สับปะรด (ภาษาฮกเกี้ยน อ่องหลาย)
ของไหว้จากช่วงเช้าแล้วแต่เจ้าบ้านจะนำไปทำเป็นอะไร
ไหว้วันขึ้นปีใหม่
วันที่ 1 ค่ำ เดือน 1 เป็นวันขึ้นปีใหม่ ช่วงเช้าเรียกว่า ป้ายเฉ่งเต๋ ด้วยการนำผลไม่มาไหว้เทพเจ้าประจำบ้าน
วันรับเสด็จจ้าวฮุ่นก้องเทพเจ้าเตาไฟ
ในที่ 4 ค่ำ เดือน 1 จะทำการ เชี้ยสิน เชิญพระจ้าวฮุ่นก้องกลับมาอยู่ยังบ้านในครัวเช่นเดิม โดยไหว้ตอนเช้า ของเซ่นไหว้ดังนี่
ผลไม้
เต่เหลี่ยว (จันอับ ของฮกเกี้ยนกับแต้จิ๋วจะมีเครื่องประกอบไม่เหมือนกัน)
โอต้าว (เพื่อเป็นกาวติดเงินติดทองที่จ้าวฮุ่นก้องนำมาให้จากสวรรค์)
น้ำชา
กระดาษไหว้เจ้า
วันป้ายจ่ายสินเอี๋ย หรือ วันไหว้เทพเจ้าไฉสิ่งเอี้ย
วันที่ 5 ค่ำ เดือน 1 เทพเจ้าแห่งโชคลาภจะเสด็จจากสวรรค์ตามฤกษ์ยามของแต่ละปี เพื่อลงมาประทานโชคลาภ
วันป้ายทีก้องแซ ไหว้เทวดา วันปรสูติหยกอ๋องซ่งเต้
วันไหว้เทวดา ซึ่งเป็นวันที่สืบเนื่องต่อจากวันตรุษจีนเพียง 8 วัน หรือที่ชาวจีนเรียกว่า เก้าโหง็ย-โช่ยเก้า ถี่ก้งแซ้ซ่ง ซึ่งชาวจีนถือว่าเป็นวันเกิดของ หยกอ๋องซ่งเต้ เทพผู้เป็นใหญ่บนสรวงสวรรค์ที่ชาวจีนให้ความเคารพบูชาซึ่งมีความสำคัญไม่แพ้ กัน โดยในวันไหว้เทวดาของชาวจีนจะนิยมถือปฏิบัติกันในวันขึ้น 9 ค่ำ และสิ่งที่ขาดมิได้ในวันนั้น คือเครื่องเซ่นไหว้ที่นำมาประกอบในพิธีบูชาเทวดา หยกอ๋องซ่งเต้ ซึ่งมีหลายรายการด้วยกันดังรายละเอียดต่อไปนี้
ประเพณีปฏิบัติ
สัญลักษณ์อย่างหนึ่งของตรุษจีน คือ อั่งเปา (ซองแดง) คือ ซองใส่เงินที่ผู้ใหญ่แล้วจะมอบให้ผู้น้อย และมีการแลกเปลี่ยนกันเอง หรือ หรือจะใช้คำว่า แต๊ะเอีย (ผูกเอว) ที่มาคือในสมัยก่อน เหรียญจะมีรูตรงกลาง ผู้ใหญ่จะร้อยด้วยเชือกสีแดงเป็นพวงๆ และนำมามอบให้เด็ก ๆ ซึ่งจะนำมาผูกเก็บไว้ที่เอว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น