วันจันทร์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

แคนตาลูป Cantaloupe

      
      แคนตาลูป เป็นพืชตระกูลแตง เป็นผลไม้โบราณชนิดหนึ่ง มีชื่อสามัญว่า Cantaloupe ชื่อนี้มีที่มาจากการนำแตงพันธุ์นี้เข้าไปปลูกในประเทศอิตาลีที่เมืองแคนตาลูโป (Cantalupu) ใกล้กับกรุงโรม ต่อมาพระเจ้าชาร์ลที่ 8 นำไปปลูกในฝรั่งเศส และเรียกผลไม้ลูกกลม ๆ รีๆ สีเหลืองนี้ว่า "แคนตาลูป" อังกฤษนำไปปลูกบ้าง เลยเรียกชื่อตามภาษาฝรั่งเศส ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cucumis melo var.cantalupensis แตงแคนตาลูปมีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย คนอินดียและแอฟริการู้จักกินแคนตาลูปมานานกว่า 4,000 ปีแล้วมีการนำแคนตาลูปเข้ามาปลูกในเมืองไทยตั้งแต่เมื่อปี พ.ศ, 2478 เมื่อก่อนเรียกว่า "แตงเทศ" หรือแตงฝรั่ง" ด้วยรูปร่างลักษณะคล้ายกับแตงไทย จึงทำให้บางคนเรียกแตงแคนตาลูปว่า "แตงไทยฝรั่ง" แต่ปลูกแล้วเป็นโรคจึงตายเป็นจำนวนมาก จากนั้นได้มีการพัฒนาการปลุกมาจนกระทั่งสามารถปลูกแตงแคนตาลูปได้ผลผลิตดีในปัจจุบันนี้


       แหล่งปลูกแคนตาลูปอยู่ที่อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี และอำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว เกษตรกรในอรัญประเทศเรียกแคนตาลูปของเขาว่า "แตงคุณหนู" เพราะจะต้องคอยประคบประหงมดูแลกันตลอด 60 วัน ฤดูที่มีผลผลิตออกตลาดอยูในช่วงเดือนเมษายน แคนตาลูปเป็นพืชล้มลุก อยู่ในตระกูลเดียวกับแตงไทย ต้นมีลักษณะเป็นไม้เถา ตามเถาและก้านใบมีขนนิ่ม ใบเหลี่ยมมน ดอกสีเหลืองเกสรตัวผู้และตัวเมียอยู่คนละดอก ผลกลมรี ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางผล 10-16 ซม. เปลือกนอกแข้ง เนื้อชุ่มน้ำ ผลดิบเนื้อกรอบ เมื่อสุกเนื้อนิ่ม หอมหวาน สีของเนื้อแคนตาลูปแตกต่างกันตามสายพันธุ์ สามารถแบ่งออกตามสีเนื้อได้ดังนี้

     เนื้อสีเขียวหรือเขียวขาว ซึ่งเป็นพันธุ์ลูกผสมต่างประเทศมีทั้งผิวเรียบและผิวลายตาข่าย ผลสุกเปลือกสีเขียวครีมเหลือง และเหลืองทอง เนื้อมีทั้งเนื้อกรอบและเนื้อนุ่มรสหวานและมีกลิ่นหอม เช่น พันธุ์เจดคิว ฮันนี่ดิว ฮันนี่เวิลด์ และวีนัสไฮบริด เป็นต้น
      เนื้อสีส้ม ผลมีทั้งผิวเรียบและผิวลายเป็นตาข่าย ผลสุกเปลือกสีครีมและสีเหลือง เนื้อมีที้งเนื้อกรอบและเนื้อนุ่ม รสหวานและมีกลิ่นหอมค่อนข้างแรง ได้แก่ พันธุ์ซันเลดี้ ท๊อบมาร์ค นิวเอ็มเมลลอน และนิวเซนต์จูรี เป็นต้น
       ผลแคนตาลูปยิ่งสุกกลิ่นยิ่งหอม รสชาติยิ่งหวานนำมากินเป็นผลไม้สด และทำเป็นน้ำผลไม้ การคัดเลือกแคนตาลูปที่สุกแล้วให้กินอร่อย ให้ชั่งน้ำหนักด้วยมือลูกหนึ่งควรจะมีน้ำหนักประมาณหนึ่งกิโลกรัมเศษ ๆ จึงเรียกกว่ากำลังดี ลองเขย่าดูถ้ามีเสียงน้ำอยู่ข้างใน แสดงว่าส้มและสุกเกินไปกินไม่อร่อย แคนตาลูปที่แก่ได้ที่ต้องผิวสวย ตึง ไม่เหี่ยวเป็นร่องเป็นหยัก สีเหลืองเหมือนสีเปลือกไข่ไก่ถึอว่ากำลังดี

คุณค่าอาหารและสรรพคุณ

     แคนตาลูป ประกอบด้วยน้ำตาล มีวิตามีนซีเล็กน้อย และวิตามินเอสูงมาก มีแคลเซียม ฟอสฟอรัส ช่วยบำรงกระดูกและฟัน เนื้อผลสุก เป็นยาขับปัสสาวะ ขับน้ำนม ขับเหงื่อ ดับพิษร้อน บำรุงธาตุและสอมง ช่วยบรรเทาอาการอักเสนของทางเดินปัสสาวะ แก้กระหาย สมัยก่อนฝรั่งเชื่อกันว่ากินแตงแคนตาลูปแล้วทำให้สายตาดี และมีสติ จะคิดจะทำสิ่งใดก็ได้ตามความมุ่งหมาย น้ำแคนตาลุป ช่วยลดไข้ เพราะเป็นผลไม้ที่มีคุณสมบัติเย็น ส่วนน้ำตาลและเอนไซม์ที่มีอยู่ในแคนตาลูปช่วยเคลือบกระเพาะอาหาร บรรเทาอาการอักเสบของลำไส้ และอาการปั่นป่วนในกระเพาะอาหารเนื่องจากินอาหารผิดสำแดง

วันพฤหัสบดีที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

สตรอเบอร์รี


สตรอเบอร์รี (อังกฤษ: strawberry) เป็นสกุลไม้ดอกในวงศ์กุหลาบ ผลสามารถรับประทานได้ ในอดีตปลูกเป็นพืชคลุมดินให้กับต้นไม้ปลูกเลี้ยงอื่น ซึ่งอาจเป็นที่มาของชื่อก็เป็นได้[2] มีมากกว่า 20 สปีชีส์ และมีลูกผสมมากมาย แต่สตรอเบอร์รีที่นิยมปลูกมากในปัจจุบันก็คือสตรอเบอร์รีสวน (Fragaria × ananassa) ผลของสตรอเบอร์รีมีรสชาติหลากหลายขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ มีตั้งแต่รสหวานจนถึงเปรี้ยว สตรอเบอร์รีเป็นผลไม้ทางการค้าที่สำคัญ มีปลูกกันเป็นวงกว้างหลายสภาพอากาศทั่วโลก

รูปลักษณะ


เป็นพืชล้มลุก แตกกิ่งก้านแผ่ปกคลุมดิน ใบจะรวมกันอยู่ 3 ใบใน 1 ก้าน ขอบใบมีรอยหยัก มีดอกสีขาว ผลมีก้านยาวเชื่อมกับต้น มีเสี้ยนเล็ก ๆ บาง ๆ กระจายอยู่ทั่วผล มีกลีบเลี้ยงบนขั้วของผล เมื่ออ่อนมีสีขาว เหลือง เมื่อสุกจะเป็นสีส้ม หรือแดง รสชาติอมเปรี้ยวถึงหวาน ขึ้นอยู่กับผลที่สุก

สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม

ไร่สตรอเบอร์รี

ผลสตรอเบอร์รีที่ยังไม่นำออกจากต้นพื้นที่ที่มีระดับความสูงจากน้ำทะเลตั้งแต่ 800 เมตรขึ้นไป

พื้นที่ที่มีอุณหภูมิ 10-25 องศาเซลเซียส (มีอากาศเย็นตลอดปี)

พื้นที่ที่มีดินอุดมสมบูรณ์ เช่น ดินแบบทุ่งหญ้าแพรรี หรือดินร่วนที่อุดมสมบูรณ์

 ฤดูกาล

เริ่มปลูกในช่วงเดือนมีนาคม

เริ่มเก็บเกี่ยวช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงช่วงเดือนเมษายนของปีถัดไป

 พันธุ์ที่นิยมปลูกในประเทศไทย

พันธุ์พระราชทาน 16

พันธุ์พระราชทาน 20

พันธุ์พระราชทาน 50 (เป็นพันธุ์ที่มูลนิธิโครงการหลวงส่งเสริมให้ปลูก) เป็นพันธุ์ที่เกิดจากการผสมในประเทศสหรัฐอเมริกา และนำเข้ามาคัดเลือกโดยการผสมตัวเองตั้งแต่ปี พ.ศ. 2536 เจริญเติบโตและให้ผลผลิตได้ดีในสภาพอากาศเย็นปานกลาง ทรงพุ่มปานกลางถึงค่อนข้างแน่น ผลผลิตมีคุณภาพดีโดยเฉพาะใกล้สุกเต็มที่ น้ำหนักต่อผล 12 -18 กรัม รูปร่างเป็นลิ่มสีแดงถึงสีแดงเข้มค่อนข้างแข็ง ไม่ต้านทานต่อไร แต่ต้านทานราแป้งได้ดี

พันธุ์พระราชทาน 70 (เป็นพันธุ์ที่มูลนิธิโครงการหลวงส่งเสริมให้ปลูก) เป็นสายพันธุ์จากประเทศญี่ปุ่น ใบมีลักษณะกลมใหญ่ และสีเขียวเข้มไม่ทนต่อราแป้ง แต่ทนต่อโรคเหี่ยว ให้ผลผลิตค่อนข้างสูง น้ำหนักต่อผล 11.5 - 13.0 กรัม ผลมีลักษณะทรงกลมหรือทรงกรวย สีแดงสดใสแต่ไม่สม่ำเสมอ เนื้อและผลค่อนข้างแข็ง มีกลิ่นหอม มีความฉ่ำและรสชาติหวาน เปอร์เซ็นต์ความหวาน 9.6° Brix

พันธุ์พระราชทาน 72 (เป็นพันธุ์ที่มูลนิธิโครงการหลวงส่งเสริมให้ปลูก) เป็นสายพันธุ์นำเข้ามาจากประเทศญี่ปุ่น ชื่อพันธุ์ TOCHIOTOME ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 น้ำหนักต่อผล 14 กรัม เนื้อผลแข็งกว่าพันธุ์พระราชทาน 70 แต่มีความหวานน้อยกว่าคือ 9.3° Brix มีกลิ่นหอมเมื่อเริ่มสุก เนื้อภายในผลมีสีขาว ผิวผลเมื่อสุกเต็มที่จะมีสีแดงถึงแดงจัด เงาเป็นมันที่ผิวผล ทนต่อการขนส่งมากกว่าพันธุ์อื่น

 สารอาหาร

สตรอเบอร์รีมีวิตามินเอ วิตามินบี และวิตามินซี

มีกรดโฟลิก (Folic acid)

มีเส้นใยอาหาร (Fiber)

Chocolate

ประวัติ


   ช็อกโกแลตถูกค้นพบมาตั้งแต่สองพันปีที่แล้ว หลังสมัยพระนางคลีโอพัตราแห่งอียิปต์ เป็นผลผลิตที่ได้จากเมล็ดของต้นคาเคา (cacao) ในป่าร้อนชื้นของทวีปอเมริกา จัดอยู่ในตระกูล Theobroma cacao แปลว่า "อาหารแห่งทวยเทพ"
     ชนกลุ่มแรกที่รู้จักทำช็อกโกแลตเป็นอารยธรรมโบราณที่อยู่ในเม็กซิโก และอเมริกากลาง ชนกลุ่มนี้ได้แก่ชาวมายา และชาวแอซเทค แห่งอารยธรรมเมโสอเมริกา คนเหล่านี้เอาเมล็ดคาเคามาบดแล้วผสมกับเครื่องปรุงหลายชนิดเพื่อทำเป็นเครื่องดื่มที่มีรสขมเฝื่อน นอกจากใช้ประกอบอาหารแล้วช็อกโกแลตยังเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตเชิงศาสนาและสังคมด้วย

     ชาวมายา (ค.ศ. 250-900) เป็นชนชาติแรกที่มีหลักฐานชัดเจนว่าได้ค้นพบความลับของต้นคาเคา โดยพวกเขาได้นำต้นคาเคามาจากป่าฝนและปลูกไว้ที่สวนหลังบ้าน พอออกฝักก็เก็บเอาเมล็ดมาหมักบ้าง คั่วบ้าง และยังบดเป็นเนื้อเหนียว อยากชงเป็นเครื่องดื่มก็เอามาผสมน้ำ โรยพริกไท แป้งข้าวโพด ก็จะได้เครื่องดื่มช็อกโกแลตรสซาบซ่ามีฟองฟ่อง
      ต่อมาราวคริสต์ศตวรรษที่ 14 อาณาจักรของชาวแอซเทคครอบครองพื้นที่ส่วนใหญ่ของอารยธรรมเมโสอเมริกา โดยมีเมืองหลวงตั้งอยู่ที่เมืองปัจจุบันเรียกว่า เม็กซิโก ซิตี้ ชาวแอซเทคได้ซื้อขายเมล็ดคาเคากับชาวมายาและชนชาติอื่น และยังเรียกเก็บค่าบรรณาการจากพลเมืองของตนและเชลยเป็นเมล็ดคาเคา โดยใช้แทนค่าเงิน ชาวแอซเทคนิยมดื่มช็อกโกแลตขมเช่นเดียวกับชาวมายายุคแรก โดยปรุงรสชาติให้ซู่ซ่าขึ้นด้วยเครื่องเทศ ชาวเมโสอเมริกาสมัยนั้นยังไม่มีใครปลูกอ้อยก็เลยไม่มีใครใส่น้ำตาลกันเล่ากันว่า คนมายายุคคลาสสิกชอบดื่มช็อกโกแลตกันในวาระพิเศษ ขณะที่บรรดาเชื้อพระวงศ์จะนิยมดื่มกันมาก ส่วนชาวแอซเทค บรรดาผู้ปกครองระดับสูง พระ ทหารยศสูง และพ่อค้าที่มีหน้ามีตาเท่านั้นที่มีสิทธิลิ้มรสเครื่องดื่มศักดิ์สิทธิ์นี้ ช็อกโกแลตมีบทบาทสำคัญในพิธีของราชวงศ์และศาสนา เพราะใช้เมล็ดคาเคาเป็นเครื่องสักการะเทพเจ้า และดื่มในพิธีสำคัญ
สำหรับที่มาของชื่อช็อกโกแลตนั้นยังไม่มีใครอธิบายได้แจ่มชัด แต่มีความเป็นไปได้สองทาง ทางแรกเป็นคำที่ผันมาจากคำว่า "ช็อคโกลัจ" ในภาษามายา ซึ่งหมายถึง มาดื่มช็อกโกแลตด้วยกัน อีกทางหนึ่งอธิบายว่าน่าจะมาจากภาษามายาเช่นกัน คือ " chocol" แปลว่า ร้อน ผสมกับคำว่า "atl" ของแอซเทคที่แปลว่า น้ำ พอมารวมกันจึงกลายเป็นคำว่า chocolatl และมาเป็น chocolate ต่อมาในยุโรป
โดยความเชื่อของชาวแอชเต็คส์ ประเทศเม็กซิโก "เมล็ดโกโก้เป็นอาหารที่เทพเจ้ามอบให้เพื่อเป็นใบเบิกทางไปสู่สวรรค์" เมื่อประมาณ 4,000 ปีมาแล้ว ซึ่งทำให้พวกเขานำเมล็ดโกโก้มาทำเป็นเครื่องดื่มนั่นก็คือ "น้ำช็อกโกแลต" ต่อมานายเออร์นัน คอร์เตช นักสำรวจชาวสเปนแล่นเรือมาพบกับชาวแอชเต็คส์ ซึ่งเขาได้อาศัยอยู่กับชาวแอชเต็คส์และร่วมดื่มน้ำช็อกโกแลตด้วยกัน และนายคอร์เตชได้นำเมล็ดโกโก้กลับประเทศเพื่อลองทำเครื่องดื่มดูบ้าง และแต่งเติมรสให้หวานขึ้นจนเป็นเครื่องดื่มที่นิยมกันในสเปน จนในมี่สุด นายคอนราด เจ แวนฮูเตนท์ ชาวดัชได้ค้นพบการทำช็อกโกแลตแบบแท่ง เม็ด และผง [ต้องการอ้างอิง]


ช็อกโกแลตในยุโรป

ก่อนหน้าคริสต์ศตวรรษที่ 15 คนยุโรปยังไม่มีใครรู้จักเครื่องดื่มชนิดนี้ สเปนเป็นประเทศแรกทีออกเดินทางแสวงหาความมั่งคั่งสู่ทวีปอเมริกา และได้พบกับเครื่องดื่มที่มีรสชาติอมตะของช็อกโกแลต

      หลังจากสเปนมีชัยเหนือชาวแอซเทคแล้ว พวกเขาได้นำเอาช็อกโกแลตกลับประเทศด้วย และกลายเป็นที่นิยมชมชอบในราชสำนักอย่างรวดเร็ว ภายในช่วงเวลา 100 ปี ความหลงใหลที่มีต่อช็อกโกแลตได้ขยายตัวลุกลามไปทั่วยุโรป  ก่อนหน้าที่เฮอร์นาน คอร์เตส ขุนพลของสเปนจะมีชัยเหนือเม็กซิโกในปี ค.ศ. 1521 อาจเคยมีนักสำรวจยุคแรกเคยเห็นต้นคาเคาในอเมริกากันมาบ้างแล้ว แต่สเปนกลับเป็นชาติแรกของยุโรปที่ค้นพบรสชาติที่เลิศล้ำของช็อกโกแลต การติดต่อกันระหว่างชาวสเปนและชาวแอซเทคได้เปิดประตูให้สองชาติได้แลกเปลี่ยนความคิดและเทคโนโลยีแก่กัน และตลาดยุโรปก็ได้รู้จักกับอาหารชนิดใหม่อย่างจากต้นคาเคา   สงครามในปี ค.ศ. 1521 คอร์เตสนำทหารเข้าสู้รบกับทหารของมอนเตซูมาจนได้รับชัยชนะ ทหารสเปนได้บังคับให้ขุนนางชาวแอซเทคนำทรัพย์สมบัติมาให้พวกตน ถ้ายังอยากมีชีวิตอยู่ คาเคา ซึ่งถือเป็นทรัพย์ และมีค่าใช้แทนเงินตราจึงกลายมาเป็นทรัพย์ที่ยึดจากเชลยศึก ทหารสเปนได้อ้างสิทธิครอบครองไร่คาเคาของชาวแอซเทค และรีดเอาจากประชาชนที่ส่งบรรณาการให้ชาวแอซเทค ในเวลาไม่นาน คาเคาและช็อกโกแลตได้ถูกส่งไปยังสเปน
ที่สเปน เครื่องดื่มช็อกโกแลตเป็นที่นิยมอย่างรวดเร็วจนไม่พอกับความต้องการ จึงต้องใช้แรงงานจำนวนนับล้านลงแรงเพาะปลูก เก็บเกี่ยว และแปรรูปน้ำตาลและคาเคา นับตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 16 จนถึงปลายศตวรรษที่ 18 แรงงานส่วนใหญ่ที่มีราคาถูกแสนถูกที่ทำไร่คาเคาเป็นพวกทาส และชนกลุ่มแรกที่ถูกใช้เป็นแรงงานทาสทำช็อกโกแลตคือชาวเมโสอเมริกา
      คนสเปนไม่ชอบรสชาติขมของช็อกโกแลต ทีแรกนายพลคอร์เตสกับเหล่าทหารของพวกเขาไม่ชอบรสชาติของช็อกโกแลตเลย แต่เพื่อให้ได้รสชาติถึงใจมากขึ้น พวกเขาเริ่มเอาช็อกโกแลตไปต้ม และใส่ส่วนผสมต่างๆ ลงไป
       ครั้นเมื่อช็อกโกแลตเข้ามายังยุโรป มีใครบางคนเกิดไอเดียที่จะเติมน้ำตาลลงไป ใส่ชินเนมอน และเครื่องเทศลงไป ในที่สุดเครื่องดื่มช็อกโกแลตร้อนรสหอมหวานก็ถือกำเนิดขึ้นมา อย่างไรก็ดี ชาวสเปนยังคงวิธีการเตรียมและกระบวนการทำช็อกโกแลตไว้เหมือนเดิม และยังคงใช้ชาวพื้นเมืองเก็บฝักและหมัก ตาก ทำความสะอาด และคั่วเมล็ดคาเคา สเปนยังได้ประดิษฐ์เครื่องมือชนิดใหม่สำหรับใช้ทำช็อกโกแลตด้วย ซึ่งก็คือ ไม้คนที่เรียกว่า โมลินีโอ เอาไว้คนให้ช็อกโกแลตเป็นโฟมละเอียดง่ายขึ้น

       เครื่องดื่มช็อกโกแลตนี้จะมีก็แต่ชาวสเปนผู้มั่งคั่ง และบาทหลวงเท่านั้นที่หาซื้อมาดื่มได้ พระสเปนได้แนะนำเครื่องดื่มช็อกโกแลตให้ราชสำนักได้ลิ้มลอง มีเรื่องเล่ากันว่า พระนิกายโดมินิกันนำคนพื้นเมืองเข้าเฝ้าเจ้าชายฟิลิปแห่งสเปน เชลยเหล่านี้ได้ปรุงเครื่องดื่มช็อกโกแลตให้เจ้าชายเสวย และในเวลาไม่นาน ชาวสำนักราชวังพากันเห่อดื่มช็อกโกแลตกันเป็นบ้าเป็นหลัง

       เนื่องจากสเปนยึดครองอเมริกาเป็นอาณานิคมในยุคแรก ทำให้สเปนผูกขาดค้าขายช็อกโกแลตอยู่เพียงลำพังหลายปี จะมีก็แต่ชาวสเปนที่ร่ำรวยมหาศาลกับคนที่มีเส้นสายดีเท่านั้นที่มีเงินซื้อช็อกโกแลตที่แสนแพงนี้ได้ ชาวสเปนยอมรับว่าช็อกโกแลตช่วยให้กระปรี้กระเปร่า และมีคุณค่าทางโภชนาการ คาเคามีแคลอรีสูงตามธรรมชาติ และยังมีกาเฟอีน และสารเคมีที่มีคุณสมบัติคล้ายกันเรียกว่า ธีโอโบรไมนด้วย
      ต่อมาในศตวรรษที่ 16 ช็อกโกแลตเริ่มเป็นเครื่องดื่มสำหรับพระที่ถือศีลอด และหลังจากถกเถียงกันมานาน ศาสนจักรคาทอลิกได้อนุญาตให้ประชาชนดื่มช็อกโกแลตเป็นอาหารทดแทนระหว่างถือศีลอด ซึ่งเป็นช่วงห้ามรับประทานอาหาร แต่ประเทศอื่นในยุโรปยังไม่มีโอกาสลิ้มรสช็อกโกแลตจนอีกร้อยปีต่อมา จะเป็นเพราะชาวสเปนพยายามเก็บช็อกโกแลตไว้แต่เพียงประเทศเดียวหรือไม่ และข่าวคราวเกี่ยวกับช็อกโกแลตแพร่งพรายออกไปได้อย่างไร ไม่มีใครรู้ชัด รู้กันแต่ว่าในที่สุดแล้ว ความลับเกี่ยวกับช็อกโกแลตได้แพร่งพรายออกไป และเริ่มเป็นที่นิยมในราชสำนักยุโรปอย่างรวดเร็ว และยืนยาวมาจนถึงยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมหลายประเทศยุโรปเริ่มนำเอาพันธุ์พืชคาเคาไปปลูกในประเทศอาณานิคม ไม่ว่าจะเป็นสหราชอาณาจักร เนเธอร์แลนด์ และฝรั่งเศส ต่างยึดเมืองแถบเส้นศูนย์สูตรเป็นอาณานิคม อังกฤษนำต้นคาเคามาปลูกบนเกาะซีลอน หรือศรีลังกา เนเธอร์แลนด์นำไปเพาะปลูกที่เวเนซุเอลา ชวา และสุมาตรา ส่วนฝรั่งเศสปลูกที่เวสท์อินดีส ผลผลิตจากต้นคาเคาใช้เวลาไม่นานก็สามารถออกฝักและเมล็ดส่งกลับมายังเจ้าอาณานิคมเหล่านี้จนยุโรปกลายเป็นทวีปแห่งช็อกโกแลต

     ชาวยุโรปบดเมล็ดคาเคาด้วยเครื่องโม่ทำให้บดได้คราวละจำนวนมาก เริ่มจากสมัยแรกใช้ครกตำแต่ต่อมาใช้กังหันลม บ้างก็ใช้โม่ที่อาศัยแรงงานม้าหมุนเครื่องบด คนยุโรปนิยมดื่มช็อกโกแลตกับน้ำตาล ซึ่งเป็นสินค้าราคาแพงอีกชนิดที่ต้องนำเข้ามาจากต่างประเทศ ช่วงปลายศตวรรษ 1600 เซอร์ ฮันส์ สโลน จากราชวิทยาลัยแพทย์เสนอช็อกโกแลตสูตรใหม่เป็นช็อกโกแลตใส่นมที่ให้รสชาติละเมียดขึ้น

      ในฝรั่งเศส ช็อกโกแลตเป็นสินค้าผูกขาด มีตำนานเล่าว่า พระราชินีแอนแห่งออสเตรียชอบดื่มช็อกโกแลตเข้าขั้นเสพติด จนราชสำนักฝรั่งเศสต้องปิดเรื่องนี้ไว้ ช็อกโกแลตเริ่มกลายเป็นสัญลักษณ์แห่งชนชั้น และมีพระราชบัญญัติห้ามไม่ให้ผู้ใด ยกเว้นสมาชิกของขุนนางฝรั่งเศสเท่านั้นที่ดื่มช็อกโกแลตได้ ต่างจากอังกฤษ ใครมีเงินซื้อก็ดื่มได้
      ร้านช็อกโกแลตแห่งแรกเปิดบริการในลอนดอนเมื่อปี ค.ศ. 1657 คล้ายกับร้านกาแฟ ซึ่งเป็นเครื่องดื่มที่ได้รับความนิยมมากกว่าในเวลาต่อมา ร้านช็อกโกแลตเป็นสถานที่ดื่มเครื่องดื่มร้อนเพื่อพักผ่อนหย่อนใจ ถกเรื่องการเมือง พบปะผู้คน และเล่นพนัน บางแห่งรับเฉพาะผู้ชาย แต่ก็หลายแห่งที่เปิดรับทุกเพศที่มีเงินจ่าย
     ขั้นตอนการทำช็อกโกแลตไม่เปลี่ยนแปลงมาหลายร้อยปี จนกลายศตวรรษ 1700 ซึ่งเป็นยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมอนาคตของช็อกโกแลตก็ถึงเวลาปฏิวัติเปลี่ยนแปลงเช่นกัน
     ก่อนหน้ายุคปฏิวัติอุตสาหกรรม ขั้นตอนการผลิตช็อกโกแลตต้องอาศัยแรงงานคนอย่างเดียว ซึ่งใช้เวลานาน และค่าใช้จ่ายสูง ทำให้ช็อกโกแลตหาซื้อได้เฉพาะคนร่ำรวยเท่านั้น เมื่อนักประดิษฐ์ได้สร้างเครื่องจักรไอน้ำสำเร็จการผลิตช็อกโกแลตจำนวนมากด้วยเวลาที่สั้นลงทำให้เส้นทางของช็อกโกแลตไม่อยู่เฉพาะเครื่องดื่มเท่านั้นแต่ยังวิวัฒนาการกลายเป็นขนมหวานที่ได้รับความนิยมกันทั่วโลกด้วย



History


The word "chocolate" originates in Mexico's Aztec cuisine, possibly derived from the Nahuatl word xocolatl.See also: History of chocolate

Theobroma cacao, native to Mexico, Central and South America, has been cultivated for at least three millennia in that region. Cocoa mass was used originally in Mesoamerica both as a beverage and as an ingredient in foods.

Chocolate has been used as a drink for nearly all of its history. The earliest record of using chocolate dates back before the Olmec. In November 2007, archaeologists reported finding evidence of the oldest known cultivation and use of cacao at a site in Puerto Escondido, Honduras, dating from about 1100 to 1400 BC.[ The residues found and the kind of vessel they were found in indicate that the initial use of cacao was not simply as a beverage, but the white pulp around the cacao beans was likely used as a source of fermentable sugars for an alcoholic drink. The Maya civilization grew cacao trees in their backyard,[8] and used the cacao seeds it produced to make a frothy, bitter drink. Documents in Maya hieroglyphs stated that chocolate was used for ceremonial purposes, in addition to everyday life. The chocolate residue found in an early ancient Maya pot in Río Azul, Guatemala, suggests that Maya were drinking chocolate around 400 AD. In the New World, chocolate was consumed in a bitter, spicy drink called xocoatl, and was often flavored with vanilla, chili pepper, and achiote (known today as annatto).Xocoatl was believed to fight fatigue, a belief that is probably attributable to the theobromine content. Chocolate was also an important luxury good throughout pre-Columbian Mesoamerica, and cacao beans were often used as currency. For example, the Aztecs used a system in which one turkey cost one hundred cacao beans and one fresh avocado was worth three beans. South American and European cultures have used cocoa to treat diarrhea for hundreds of years. All of the areas that were conquered by the Aztecs that grew cacao beans were ordered to pay them as a tax, or as the Aztecs called it, a "tribute".
Until the 16th century, no European had ever heard of the popular drink from the Central and South American peoples. It was not until the Spanish conquest of the Aztecs that chocolate could be imported to Europe. In Spain it quickly became a court favorite. In a century it had spread and become popular throughout the European continent.To keep up with the high demand for this new drink, Spanish armies began enslaving Mesoamericans to produce cacao. Even with cacao harvesting becoming a regular business, only royalty and the well-connected could afford to drink this expensive import.[18] Before long, the Spanish began growing cacao beans on plantations, and using an African workforce to help manage them.The situation was different in England. Put simply, anyone with money could buy it. The first chocolate house opened in London in 1657. In 1689, noted physician and collector Hans Sloane developed a milk chocolate drink in Jamaica which was initially used by apothecaries, but later sold to the Cadbury brothers in 1897.

Chocolate in its solid form was invented in 1847. Joseph Fry & Son discovered a way to mix some of the cocoa butter back into the dutched chocolate, and added sugar, creating a paste that could be moulded. The result was the first modern chocolate bar.
For hundreds of years, the chocolate making process remained unchanged. When the people saw the Industrial Revolution arrive, many changes occurred that brought about the food today in its modern form. A Dutch family's (van Houten) inventions made mass production of shiny, tasty chocolate bars and related products possible. In the 18th century, mechanical mills were created that squeezed out cocoa butter, which in turn helped to create hard, durable chocolate.But, it was not until the arrival of the Industrial Revolution that these mills were put to bigger use. Not long after the revolution cooled down, companies began advertising this new invention to sell many of the chocolate treats we see today. When new machines were produced, people began experiencing and consuming chocolate worldwide.


Types

Main article: Types of chocolate
A half beat of milk chocolate with salmiak filling by FazerSeveral types of chocolate can be distinguished. Pure, unsweetened chocolate contains primarily cocoa solids and cocoa butter in varying proportions. Much of the chocolate consumed today is in the form of sweet chocolate, combining chocolate with sugar. Milk chocolate is sweet chocolate that additionally contains milk powder or condensed milk. European rules specify a minimum of 25% total dry cocoa solids for Milk Chocolate. "White chocolate" contains cocoa butter, sugar, and milk but no cocoa solids. Chocolate contains alkaloids such as theobromine and phenethylamine, which have some physiological effects in humans, but the presence of theobromine renders it toxic to some animals, such as dogs and cats. It has been linked to serotonin levels in the brain. Dark chocolate has been promoted[who?] for its health benefits, as it seems to possess substantial amount of antioxidants that reduce the formation of free radicals.

White chocolate is formed from a mixture of sugar, cocoa butter and milk solids. Although its texture is similar to milk and dark chocolate, it does not contain any cocoa solids. Because of this, many countries do not consider white chocolate as chocolate at all.] Although first introduced by Hebert Candies in 1955, Mars, Incorporated was the first to produce white chocolate within the United States. Because it does not contain any cocoa solids, white chocolate does not contain any theobromine, meaning it can be consumed by animals.

Dark chocolate is produced by adding fat and sugar to the cacao mixture. The U.S. Government calls this "sweet chocolate", and requires a 15% concentration of chocolate liquor. European rules specify a minimum of 35% cocoa solids.] Dark chocolate, with its high cocoa content, is a rich source of epicatechin and gallic acid, which are thought to possess cardioprotective properties. Dark chocolate has also been said to reduce the possibility of a heart attack when consumed regularly in small amounts. Semisweet chocolate is a dark chocolate with a low sugar content. Bittersweet chocolate is chocolate liquor to which some sugar (typically a third), more cocoa butter, vanilla and sometimes lecithin have been added. It has less sugar and more liquor than semisweet chocolate, but the two are interchangeable in baking.
Unsweetened chocolate is pure chocolate liquor, also known as bitter or baking chocolate. It is unadulterated chocolate: the pure, ground, roasted chocolate beans impart a strong, deep chocolate flavor.