วันจันทร์ที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ยูโด

ท่านปรมาจารย์ จิโกโร คาโน

ท่าทุ่มในยูโดยูโด (ญี่ปุ่น: 柔道 judo ?) เป็นศิลปะการป้องกันตัวประเภทหนึ่งที่ถือกำเนิดจากประเทศญี่ปุ่น โดยศาสตราจารย์ จิโกโร คาโน ยูโดมีชื่อเต็มว่า โคโดกัน ยูโด (Kodokan Judo) เดิมเรียกว่า
ยูยิตสู (Jiujitsu) ซึ่งเป็นวิชาที่สามารถต่อสู้กับคู่ต่อสู้ที่มีอาวุธด้วยมือเปล่า
ประวัติ[แก้] ยูยิตสูในประเทศญี่ปุ่นสมัยโบราณ ซึ่งเชื่อว่าตนเองเป็นลูกพระอาทิตย์ มีถิ่นที่อยู่บนเกาะใหญ่น้อยทั้งหลาย ราวๆ 3,000-4,000 เกาะ ประชากรส่วนใหญ่มีความคิดเห็นไม่ตรงกันและไม่สามารถรวมกลุ่มกันได้ ทำให้เกิดการแย่งชิงอำนาจ ผู้ที่ได้รับชัยชนะก็พยายามซ่องสุมเสริมสร้างกำลังพลให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น ผู้ที่พ่ายแพ้ก็พยายามที่จะรวบรวมสมัครพรรคพวกที่พ่ายแพ้ขึ้นใหม่เพื่อรอจังหวะช่วงชิงอำนาจกลับคืนมา ในสมัยนั้นประเทศญี่ปุ่น มีแต่การทำสงคราม นักรบของแต่ละเมืองจะได้รับการฝึกฝนศิลปะการต่อสู้ที่ใช้ในสงครามหลายชนิด เช่น การฟันดาบ การยิงธนู การใช้หอก ทวน หลาว การขี่ม้า และ

ยูยิตสู ซึ่งเป็นการต่อสู้ที่ใช้มือเปล่าในระยะประชิดตัว ไม่สามารถที่จะใช้อาวุธได้ถนัด การต่อสู้แบบยูยิตสูมิได้มุ่งที่จะทำให้คู่ต่อสู้มีอันตรายถึงชีวิต แต่มีจุดประสงค์เพื่อให้คู่ต่อสู้ได้รับบาดเจ็บและยอมแพ้ ถ้าไม่ยอมแพ้ก็อาจทำให้พิการทุพพลภาพ โดยใช้วิธีจับมือหักข้อต่อส่วนต่างๆ ของร่างกาย



นักรบญี่ปุ่นในสมัยนั้นจะต้องฝึกการต่อสู้วิชายูยิตสูทุกคน และต้องฝึกสมาธิควบคู่ไปด้วย ทุกคนจะต้องมีความตั้งใจในการฝึก มิฉะนั้นจะเป็นอันตรายได้ การทำร้ายคู่ต่อสู้ ด้วย ยูยิตสูไม่คำนึงถึงความเมตตาและศีลธรรม และใช้เทคนิคคอยหาโอกาสซ้ำเติมคู่ต่อสู้ตลอดเวลา จึงทำให้อาจารย์ที่ตั้งสถานที่ฝึกอบรมวิชานี้ พยายามคิดค้นประดิษฐ์ท่าทางกลวิธีแตกต่างกันออกไปอย่างอิสระ สถานที่เปิดฝึกสอนหรือที่เรียกว่าโรงเรียนสำหรับสอนวิชายูยิตสูสมัยนั้นมีประมาณ 20 แห่ง



ส่วนการต่อสู้อีกประเภทหนึ่งซึ่งเกี่ยวข้องกับการพัฒนาวิชายูโดคือ ซูโม่ ซึ่งเป็นกีฬาอีกประเภทหนึ่งของญี่ปุ่นที่เป็นที่นิยมแพร่หลาย ซูโม่เป็นการต่อสู้ของคน 2 คน ใช้มือเปล่าและกำลังกายเข้าทำการต่อสู้กันมาแต่สมัยโบราณกว่า 2,500 ปีมาแล้ว นักประวัติศาสตร์ในวิชายูยิตสูได้สนใจซูโม่มาก จากหนังสือเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น ที่รวบรวมโดย Imperial Command ชื่อนิฮอนโซกิ (Nihon-Sho-Ki) ในปี พ.ศ. 1263 กล่าวถึงการแข่งขันในสมัยของจักรพรรด์ซุยนิน ก่อนคริสต์ศักราช 230 ปี (พ.ศ. 313) ยืนยันว่าเป็นการเริ่มต้นของวิชาซูโม่ ซึ่งแปลว่าการต่อสู้โดยใช้กำลังเข้าประลองกัน การต่อสู้ตามหลักวิชาซูโม่ บางท่าจะตรงกับวิชายูยิตสู เช่น การใช้สะโพกเป็นกำลังบังคับขากวาดเหวี่ยงคู่ต่อสู้ให้เสียหลักล้มลงซึ่งท่านี้วิชายูยิตสูเรียกว่า ฮาราย กุชิ (Harai Goshi) เป็นการยืนยันว่าวิชาซูโม่มีความสัมพันธ์กับวิชายูยิตสู



[แก้] การพัฒนาวิชายูยิตสูเป็นวิชายูโดในตอนปลายสมัย เซนโกกุ (Sengoku) วิชายูยิตสูได้มีการรวบรวมไว้เป็นแบบแผน ต่อมาเมื่อ ตระกูลโตกูกาวา (Tokugawa) ได้ทำการปราบปรามเจ้าผู้ครองนครตามหัวเมืองต่างๆ ให้สงบลงอย่างราบคาบและตั้งตนเป็น โชกุน ปกครองประเทศญี่ปุ่น ได้มีการปรับปรุงวิชาการรบของพวกซามูไร นอกจากวิชาการรบแล้ว ซามูไรต้องเรียนหนังสือเพื่อศึกษาวิชาการปกครอง การอบรมจิตใจให้มีศีลธรรม ยูยิตสูเป็นวิชาป้องกันตัวชนิดหนึ่งในสมัยนั้น จึงต้องมีการปรับปรุงวิธีการต่อสู้จากการไร้ศีลธรรมมาเป็นการป้องกัน การต่อสู้ด้วยกำลังกาย และกำลังใจอันประกอบด้วยคุณธรรม มีจรรยามารยาทที่สุภาพเรียบร้อยขึ้น เพื่อให้เหมาะสมกับคำว่า ยูยิตสู ซึ่งหมายความถึง ศิลปะแห่งความสุภาพ

เมื่อมีการปรับปรุงบทบัญญัติทางศีลธรรมของนักรบให้รัดกุมนี้เอง ทำให้ช่วง 50 ปีของสมัยกาไน บันจิ และคันม่ง (Kanei Banji and Kanmon พ.ศ. 2167-2216) ได้มีผู้เชี่ยวชาญวิชายูยิตสูขึ้นมามากมาย โดยมีวิชาที่เป็นแนวเดียวกับยูยิตสูแต่ใช้ชื่อต่างกันจำนวนมาก เช่น ไทจุซึ (Tai jutsu) วาจุซึ (Wajutsu) โคกุโซกุ (Kogusoku) เคนโป (Kenpo) เป็นต้น ซึ่งทั้งหมดเป็นการต่อสู้ที่ทำให้คู่ต่อสู้พ่ายแพ้โดยใช้มือเปล่า ทำให้วิชายูยิตสูเป็นที่นิยมมาตลอดสมัยโตกูกาวา

ต่อมาในสมัยเมจิ (Meji ปี พ.ศ. 2411) ญี่ปุ่นได้รับอารยธรรมตะวันตกเข้าสู่ประเทศญี่ปุ่น ทำให้วัฒนธรรมประเพณีของญี่ปุ่นหลายอย่างกลายมาเป็นสิ่งล้าสมัยของต่างชาติ และชาวญี่ปุ่นสมัยใหม่ ดังนั้น ในปี พ.ศ. 2414 จึงได้ออกกฎหมายห้ามนักรบใช้ซามูไรเป็นอาวุธ ห้ามพกหรือสะพายดาบซามูไร ยูยิตสูซึ่งเป็นวิชาที่นิยมเล่นกับซามูไร จึงถูกมองว่าเป็นสิ่งล้าสมัย เพราะทารุณ ป่าเถื่อน ฉะนั้นวิชายูยิตสูจึงได้รับการปรับปรุงและแก้ไขพร้อมกันหลายอย่างในสมัยเมจิ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ศิลปะการต่อสู้นานาชนิดรวมทั้งยูยิตสูต้องซบเซาลง สถาบันที่เปิดฝึกสอนยูยิตสู ซึ่งมีอยู่แพร่หลายได้รับกระทบกระเทือนถึงกับเลิกกิจการไปเป็นอันมาก

การกำเนิดวิชายูโด

หลังจากที่ญี่ปุ่นได้ปฏิวัติวัฒนธรรมในสมัยเมจิ ทำให้วิชายูยิตสูเสื่อมความนิยมลงจนหมด ต่อมาเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2403 ชาวญี่ปุ่นชื่อ จิโกโร คาโน (Jigoro Kano) ชาวเมืองชิโรโกะซึ่งได้อพยพครอบครัวมาอยู่ในกรุงโตเกียว เมื่อปี พ.ศ. 2414 ขณะเมื่ออายุ 18 ปี ได้เข้าทำการศึกษาที่มหาวิทยาลัยโตเกียว ในสาขาปรัชญาศาสตร์ (Philosophy) จนสำเร็จการศึกษา เมื่ออายุ 23 ปี ท่านจิโกโร คาโน เป็นมีความเห็นว่าวิชายูยิตสูนอกจากจะเป็นกีฬาสำหรับร่างกายและจิตใจแล้ว ยังมีหลักปรัชญาที่ว่าด้วยหลักแห่งความเป็นจริง
เมื่อท่านจิโกโร คาโนได้ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับวิชายูยิตสูอย่างละเอียดแล้วก็พบว่าผู้ฝึกวิชายูยิตสูจนมีความชำนาญดีแล้ว จะสามารถสู้กับคนที่รูปร่างใหญ่โตได้ หรือสู้กับคนที่มีอาวุธด้วยมือเปล่าได้ จากการค้นพบทำให้บังเกิดความศรัทธาอย่างแรงกล้า ท่านจึงได้เข้าศึกษายูยิตสูอย่างจริงจังจากอาจารย์ผู้สอนวิชายูยิตสูหลายท่านจากโรงเรียนเทนจิ ซิโย (Tenjin Shinyo) และโรงเรียนคิโต (Kito) ในปี พ.ศ. 2425 ท่านจิโกโร คาโน อายุได้ 29 ปี ได้ก่อตั้งโรงเรียนสำหรับวิชายูโดขึ้นเป็นครั้งแรกในบริเวณวัดพุทธศาสนา ชื่อวัดอิโชจิ (Eishoji) โดยตั้งชื่อสถาบันนี้ว่า โคโดกัน ยูโด โดยได้นำเอาศิลปะของการต่อสู้ด้วยการทุ่มจากสำนักเทนจิ ซิโย และการต่อสู้จากสำนักคิโตเข้ามาผสมผสานเป็นวิชายูโดและได้ปรับปรุงวิธีการยูโดให้เหมาะสม สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงในระบอบการปกครองและสังคมในขณะนั้น ได้สอดแทรกวิทยาศาสตร์ใหม่ๆ คณิตศาสตร์ประยุกต์ที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหว จิตศาสตร์ และจริยศาสตร์เข้าด้วยกัน โดยได้ตัดทอนยูยิตสู ซึ่งไม่เหมาะสมออก แล้วพยายามรวบรวมวิชายูยิตสูให้เป็นหมวดหมู่มีมาตรฐานเดียวกันตามความคิดของท่าน และได้ตั้งระบบใหม่เรียกว่า ยูโด (Judo)
ในยุคแรก ท่านจิโกโร คาโน ต้องต่อสู้กับบุคคลหลายๆ ฝ่ายเพื่อให้เกิดการยอมรับในวิชายูโด โดยเฉพาะจากบุคคลที่นิยมอารยธรรมตะวันตกบุคคลพวกนี้ไม่ยอมรับว่ายูโดดีกว่ายูยิตสู จนในปี พ.ศ. 2429 กรมตำรวจญี่ปุ่นได้จัดการแข่งขันระหว่างยูโดกับยูยิตสูขึ้น โดยแบ่งเป็นฝ่ายละ 15 คน ผลการแข่งขันปรากฏว่ายูโดชนะ 13 คน เสมอ 2 คน เมื่อผลปรากฏเช่นนี้ ทำให้ประชาชนเริ่มสนใจยูโดมากขึ้น ทำให้สถานที่สอนเดิมคับแคบจึงต้องมีการขยายห้องเรียน เพื่อต้อนรับผู้ที่สนใจ จนถึงปี พ.ศ. 2476 จึงได้ย้ายสถานที่ฝึกไปที่ ซูอิโดบาชิ (Suidobashi) และสถานที่นี้ในที่สุดก็เป็นศูนย์กลางของนักยูโดของโลกในปัจจุบัน

ในปี พ.ศ. 2455 ได้ก่อตั้งสหพันธ์ยูโดระหว่างประเทศขึ้น โดยมีประเทศต่างๆ ที่ร่วมก่อตั้งครั้งแรกประมาณ 20 ประเทศ และได้มีการตั้ง The Kodokun Cultural Society ในปี พ.ศ. 2465 ขึ้นหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ. 2499 สหพันธ์ยูโดระหว่างชาติได้จัดให้มีการแข่งขันเพื่อความชนะเลิศยูโดระหว่างชาติขึ้น โดยอยู่ในการอำนวยการของสหพันธ์ยูโดระหว่างประเทศโคโดกัน และหนังสือพิมพ์อาซาอิซัมบุน


เส้นเวลาของยูโด (Judo Timeline)

1.พ.ศ. 2425 ศาสตราจารย์จิโกโร คาโน ก่อตั้งสถาบันโคโดกัน สำหรับใช้ฝึกอบรมวิชายูโดที่ศาลาในบริเวณวัด เออิโซ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่นเมื่อเดือนมิถุนายน

2.พ.ศ. 2429 ตำรวจนครบาลแห่งโตเกียว จัดการแข่งขันระหว่างนักยูโดของโคโดกัน และนัก ยูยิตสูของสำนักต่าง ๆ จากการแข่งขัน 15 ครั้ง นักยูโดของสำนักโคโดกัน ชนะถึง 13 ครั้ง จึงทำให้ยูโดของโคโดกันได้รับการรับรองว่ามีประสิทธิภาพมากกว่ายูยิตสูของสำนักอื่น ๆ

3.พ.ศ. 2436 ย้ายสำนักโคโดกัน จากวัดเออิโซ ไปตั้งที่ ซิโมโทมิกาซา

4.พ.ศ. 2476 ย้ายจาก ซิโมโทมิกาซา ไปตั้งที่ถนนซุยโดมัดซีในกรุงโตเกียว

5.พ.ศ. 2485 ก่อตั้งสหพันธ์ยูโด (Judo Federation)

6.พ.ศ. 2499 ก่อตั้งสหพันธ์ยูโดระหว่างชาติ

1.จัดการแข่งขันเพื่อความชนะเลิศยูโดระหว่างประเทศขึ้นเป็นครั้งแรก

2.สร้างภาพยนตร์เรื่อง Master of judo

[แก้] วิชายูโดท่านจิโกโร่ คาโน่ พบว่าวิชายูยิตสูแบบดั้งเดิมนั้นไม่สามารถที่จะฝึกอย่างเต็มกำลังได้เนื่องเพราะว่าเทคนิคอันตรายต่างๆ เช่น การจิ้มตา การเตะหว่างขา การดึงผม และอื่นๆ อาจทำให้คู่ฝึกซ้อมบาดเจ็บสาหัสจากการฝึกได้ รวมทั้งการฝึกที่เรียกว่า กาต้า (KATA: การฝึกแบบเข้าคู่โดยทั้งสองฝ่ายรู้กันและฝึกตามท่าโดยที่ไม่มีการขัดขืนกัน ) แต่เพียงอย่างเดียวก็ยังไม่ได้ประสิทธิภาพที่เพียงพอ เพราะเราจะไม่สามารถคาดหวังได้ว่าศัตรูของเราจะให้ความร่วมมือในท่าที่เราฝึกมาโดยที่ไม่มีการขัดขืน

ท่านจึงปรับปรุงการฝึกส่วนใหญ่ในโรงเรียนของท่านให้เป็นแบบ รันโดริ (RANDORI) คือการฝึกซ้อมแบบจริง โดยใช้แนวความคิดว่า นักเรียนสองคนใช้เทคนิคต่างๆที่ตนเรียนรู้เพื่อการเอาชนะอย่างเต็มกำลัง ทั้งนี้นักเรียนจะคุ้นเคยกับความรู้สึกต่อต้าน ขัดขืนจากคู่ต่อสู้ การฝึกแบบนี้นักเรียนจะสามารถพัฒนา ร่างกาย จิตใจและความคล่องตัวได้ดีกว่า เพื่อทำให้การฝึกซ้อมแบบรันโดริมีประสิทธิภาพมากขึ้น ท่าน จิโกโร คาโน่ จำเป็นต้องเอาเทคนิครุนแรงที่ก่อให้เกิดอันตรายบางส่วนเช่น การชก เตะ หัวโขก ในจูจิสสุออกไป การล็อกสามารถกระทำได้เพียงแค่ข้อศอก ซึ่งปลอดภัยกว่าการล็อกสันหลัง คอ ข้อมือ หรือหัวไหล่ เขาเรียกการฝึกซ้อมแบบนี้ว่า ยูโด

ยูโดในปัจจุบันเป็นกีฬาสากลประเภทบุคคล มีหลักการและวัตถุประสงค์คือ มุ่งบริหารร่างกายและจิตใจให้มีประสิทธิภาพสูงสุด โดยใช้แรงให้น้อยที่สุด เพื่อสวัสดิภาพและประโยชน์สุขร่วมกัน การฝึกยูโดต้องมีการฝึกการต่อสู้และป้องกันตัว ก็เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกได้ออกแรง ซึ่งเป็นหนทางก่อให้เกิดสมรรถภาพทางกายตามอุดมคติของท่านจิโกโร คาโน (Jigoro kano) ผู้ให้กำเนิดกีฬาประเภทนี้ว่า "Maximum Efficiency with minimum Effort and Mutual Welfare and Benefit" คือยูโดใช้วิธีการโอนอ่อนผ่อนตาม หรือที่เรียกว่า "ทางแห่งความสุภาพ" "Gentleness or soft way" ทำให้ได้เปรียบแก่ผู้ที่มีกำลังมากกว่าเป็นวิธีการที่ทำให้คนตัวเล็กกว่าน้ำหนักน้อยกว่าและกำลังด้อยกว่า สามารถต่อสู้กับผู้ที่อยู่ในลักษณะเหนือกว่าได้ ยังทำให้สตรีที่อ่อนแอสามารถชนะบุรุษเพศที่เข้มแข็งได้ มีตัวอย่างที่นักยูโดหญิงสูงวัยประลองกับนักมวยไทยหนุ่มวัยฉกรรจ์ ฝ่ายหญิงใช้กลยุทธ์หลอกล่อฝ่ายชายแล้วเข้าไปจับกด ทั้งสองฝ่ายลองกำลังกันจนนักมวยไทยหมดแรงตกเป็นเบี้ยล่างโดนจับกดกับพื้น ฝ่ายหญิงยูโดรีบล็อคฝ่ายชายแล้วใช้มือเปล่าบีบหักชายโครงนักมวย ดึงข้อไขสันหลังฝ่ายชาย ก่อนที่จะดึงแขนเสื้อมารัดคอกระตุกเป็นจังหวะจนฝ่ายชายเกือบตาย หญิงยูโดสูงวัยมากประสบการณ์จึงจับมวยไทยชายเผด็จศึกด้วยการล็อคแล้วถ่างขานักมวยแล้วบิดกระจับหลายรอบเพื่อทำลายอวัยวะสืบพันธุ์ของนักมวย และด้วยเหตุนี้เองจึงนำเอาคำว่า ยู (Ju) ซึ่งหมายถึงการโอนอ่อนหรือให้ทางแห่งความสุภาพนำหน้าชื่อนี้



เทคนิคของวิชายูโด

เทคนิคของวิชายูโดแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่มดังนี้

1.นาเงวาซา Nagewaza เป็นเทคนิคเกี่ยวกับการทุ่ม (Throwing) มีท่าทุ่มที่เป็นพื้นฐานอยู่ 12 ท่า และแยกออกเป็นประเภทตามส่วนของร่างกายที่ใช้ทุ่มนั้นๆซึ่งได้แก่การทุ่มด้วยมือ การทุ่มด้วยสะโพก การปัดขา การทุ่มด้วยไหล่ การทุ่มด้วยสีข้างและหลัง

2.กาต้าเมวาซา (Katamawaza) เป็นเทคนิคเกี่ยวกับการกอดรัดเพื่อให้หายใจไม่ออก การจับยึดและการล็อกข้อต่อ (Choking, Holding and joint locking)เป็นเทคนิคที่ใช้ขณะอยู่กับพื้นเบาะ (tatami) เพื่อให้คู่ต้อสู้ยอมจำนน

3.อาเตมิวาซา Atemiwaza เป็นเทคนิคเกี่ยวกับการชกต่อย ทุบตี ถีบถอง (Striking) ส่วนต่างๆของร่างกายให้เกิดการบาดเจ็บ พิการ หรือถึงแก่ชีวิต ซึ่งวิธีการเหล่านี้จะใช้ในการต่อสู้ป้องกันตัวเท่านั้น และไม่เคยจัดการแข่งขัน

ระดับความสามารถของนักยูโด

สีของสายคาดเอวแสดงระดับของนักยูโด
ระดับความสามารถมาตรฐานของนักยูโดทั้งสองเพศ (ชาย-หญิง) ได้ถูกกำหนดขึ้นโดยมีสีของสายคาดเอวเป็นเครื่องหมาย ระดับความสามารถมาตรฐานดังกล่าวแบ่งออกได้เป็น 2 ระดับใหญ่ คือ

1.ระดับคิว (Kyu) คือระดับก่อนสายดำที่อาจเรียกว่า นักเรียน

2.ระดับดั้ง (Dan) คือระดับที่เรียกว่า ผู้นำ เป็นผู้ซึ่งมีความสามารถสูง ทั้งระดับนักเรียนและระดับผู้นำนี้ยังแบ่งออกเป็นระดับย่อยๆลงอีก โดยมีสีประจำแต่ละระดับไว้ซึ่งแต่ละประเทศกำหนดไม่เหมือนกัน

การกำหนดระดับของนักยูโดในประเทศไทยกำหนดไว้ดังนี้

1.รองสายดำ ชั้น 5 สาดคาดเอวสีขาว

2.รองสายดำ ชั้น 4 สายคาดเอวสีเขียว

3.รองสายดำ ชั้น 3 สาดคาดเอวสีฟ้า

4.รองสายดำ ชั้น 2 สายคาดเอวสีน้ำตาล

5.รองสายดำ ชั้น 1 สาดคาดเอวสีน้ำตาลปลายดำ

6.สายดำ ชั้น 1 สายคาดเอวสีดำ

7.สายดำ ชั้น 2 สายคาดเอวสีดำ

8.สายดำ ชั้น 3 สายคาดเอวสีดำ

9.สายดำ ชั้น 4 สายคาดเอวสีดำ

10.สายดำ ชั้น 5 สายคาดเอวสีดำ

11.สายดำ ชั้น 6 สายคาดเอวสีขาวสลับแดง หรือ สีดำ

12.สายดำ ชั้น 7 สายคาดเอวสีขาวสลับแดง หรือ สีดำ

13.สายดำ ชั้น 8 สายคาดเอวสีขาวสลับแดง หรือ สีดำ

14.สายดำ ชั้น 9 สายคาดเอวสีแดง หรือ สีดำ

15.สายดำ ชั้น 10 สายคาดเอวสีแดง หรือ สีดำ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น