วันจันทร์ที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

งานพืชสวนโลก

     
งานมหกรรมพืชสวนโลกเฉลิมพระเกียรติฯ ราชพฤกษ์ 2549 กำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน 2549- 31 มกราคม 2550 นี้ ณ ศูนย์วิจัยเกษตรหลวง ต.แม่เหียะ จ.เชียงใหม่ บนพื้นที่ 470 ไร่ เป็นงานที่รวบรวมสุดยอดความมหัศจรรย์แห่งพรรณไม้ ในพื้นที่เขตร้อนชื้นที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่มีความหลากหลายมากที่สุดของพรรณไม้กว่า 2,200 ชนิด กว่า 2.5 ล้านต้น

งานพืชสวนโลก ้ยังเป็นการประกาศศักยภาพการผลิตพืชผลทางการเกษตรของไทยด้าน พรรณไม้ดอกไม้ประดับ ไม้สมุนไพร พืชสวนครัว ไม้แปลกหายาก และ พืชผลทางการเกษตร สู่เวทีตลาดการค้าโลก ซึ่งงานครั้งนี้จัดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเฉลิมพระเกียรติ ฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในวโรกาสที่พระองค์ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี และฉลองพระชนมายุ 80 พรรษา เพื่อแสดงศักยภาพในการเพาะปลูกพันธุ์ไม้เขตร้อน และเทคโนโลยีนวัตกรรมด้านการเกษตรของประเทศไทย เพื่อส่งเสริมการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และเทคโนโลยีก้านพรรณไม้เขตร้อนทั่วโลก และเพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว กระตุ้นภาคเศรษฐกิจ สังคม และพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีด้านกาเกษตร ภายใต้ Theme ของงาน

“เพื่อนำความรักสู่มนุษยชาติ” (To Express the Love for Humanity)



การจัดงานสำคัญครั้งประวัติศาสตร์ในครั้งนี้ได้รับการรับรองในการจัดงานในระดับ A1 อย่างเป็นทางการจากสำนักงานมหกรรมโลก ( Bureau of International Exposition – BIE ) สมาคมพืชสวนระหว่างประเทศ ( Association of Horticulture Producers – AIPH )

และภายใต้การสนับสนุนจาก สมาพันธ์ดอกไม้โลก ( World Flower Council – WFS ) และสมาคมพืชสวนนานาชาติ ( International Society for Horticultural Science – ISHS ) ซึ่งแสดงให้เห็นถึงศักยภาพของความพร้อมในการเป็นเจ้าภาพในการจัดงานของประเทศไทยทุก ๆ ด้าน โดยเฉพาะความพร้อมนด้านขนาดพื้นที่ ระยะเวลาการจัดงาน สาระนำเสนอในระดับสากล และความหลากหลายของพืชพรรณไม้ที่นำมาจัดแสดง
 
ภายใน งานพืชสวนโลก ประกอบด้วยไฮไลท์หลัก 7 ส่วน ได้แก่


1. หอคำหลวง (Royal Pavillion)
หอคำหลวง คือพื้นที่จัดแสดงส่วนกลางที่โดดเด่นที่สุดของงาน ตั้งอยู่บนเนินดิน

เนื้อที่ประมาณ 3,000 ตารางเมตร บริเวณถนนทางเข้าตกแต่งด้วยซุ้มเฉลิมพระเกียรติ ฯ 30 ซุ้ม แต่ละซุ้มมีกรอบภาพพระบรมฉายาลักษณ์สี่ด้านติดกัน นำเสนอพระราชกรณียกิจและพระบรมราโชวาท ขนาบด้วยต้นราชพฤกษ์ตลอดสองข้างทาง ส้วนตัวอาคารเป็นเรือนไม้ครึ่งตึก 2 ชั้น ที่มีความงามสง่าและสวยงามด้วยสถาปัตยกรรมแบบล้านนา



คำว่า “หอคำ” หมายถึง พระตำหนักของกษัตริย์ในอาณาจักรล้านนา ส่วนคำว่า “หลวง” นั้นก็หมายถึง ใหญ่ นั่นเอง

2. สวนเฉลิมพระเกียรติ

แบ่งเป็น 2 ส่วน ได้แก่ นิทรรศการสวนนานาชาติ ซึ่งเป็นพื้นที่การจัดแสดงสวนของประเทศต่างๆ

ในนามของประมุข รัฐบาล และประชาชนของประเทศนั้นๆ การจัดสวนของแต่ละประเทศแสดงถึง

ความงดงามทางวัฒนธรรม และความสัมพันธ์อันดีระหว่างสองประเทศ โดยขณะนี้มีประเทศที่ตอบรับ

เข้าร่วมงานอย่างเป็นทางการ 33 ประเทศ จาก 5 ทวีปทั่วโลก

ส่วนที่ 2 คือ สวนเฉลิมพระเกียรติฯ ประเภทองค์กร ได้แก่ สวนเฉลิมพระเกียรติฯ จากองค์กรต่าง ๆ ในประเทศ ทั้งภาครัฐ และเอกชน เป็นการนำทฤษฎีการเกษตรของในหลวง มาเป็นแนวคิดการจัดสวน

3. นิทรรศการในอาคารและการประกวด (อาคารศูนย์การเรียนรู้ - Indoor Exhibition)

จัดแสดงนิทรรศการพรรณไม้ เทคโนโลยี และการประกวดพรรณไม้ ตลอดระยะเวลาการจัดงาน ได้แก่ นิทรรศการดอกไม้นานาชาติ, นิทรรศการอลังการจักรวาลดอกไม้, นิทรรศการไม้น้ำและบัว นิทรรศการพรรณไม้แปลกหายากและพันธุ์ใหม่ เป็นต้น

4. นิทรรศการและประกวดกล้วยไม้ (Orchid Pavilion)
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ร่วมมือกับสมาคมพืชสวน แห่งประเทศไทยและ สมาคม/ชมรมกล้วยไม้ต่างๆ รวมถึงหน่ายงานราชการ สถาบันการศึกษาที่เกี่ยวข้อง จัดสร้าง Orchid Pavilionขึ้น เพื่อจัดแสดงนิทรรศการและประกวดกล้วยไม้ บนพื้นที่ 4 ไร่

ภายใต้แนวคิด “Orchids of the World” เป็นครั้งแรกของประเทศไทยที่มีการจัดแสดงนิทรรศการ และการประกวดกล้วยไม้ที่ยิ่งใหญ่ และมีระยะเวลาการจัดงานที่ยาวนานที่สุดถึง 92 วัน

5. สวนพรรณไม้เขตร้อนชื้น(Fruit Hub)
เป็นพื้นที่จัดแสดงพันธุ์ไม้เขตร้อนชื้นที่มีความหลากหลาย และใหญ่ที่สุดในโลก ด้วยจำนวนพันธุ์ไม้มากกว่า 2,200 ชนิด รวมแล้วกว่า 2.5 ล้านต้น มาจัดแสดง เช่น ไม้ผล ผัก ไม้ทะเลทราย ไม้ในวรรณคดี ไม้พุทธประวัติ ไม้ในร่ม ไม้เลื้อย ไม้สะสม (กล้วยไม้, โป๊ยเซียน, โกสน, บอนไซ เป็นต้น)

6. ส่วนการแสดงพิเศษ
• สวนสมุนไพร เป็นส่วนจัดแสดงความหลากหลายของสมุนไพรไทยและการนำมาใช้ประโยชน์ ที่นำเสนอในรูปแบบของการจัดสวน ที่เน้นการจัดกลุ่มสมุนไพรตามลักษณะการใช้ประโยชน์ และการประชุม เป็นต้น

• การแสดงศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีทั้งในและต่างประเทศ เป็นการเปิดโอกาสให้ประเทศต่าง ๆ ได้แสดงถึงวัฒนธรรม ประเพณีอันงดงามเพื่อร่วมเฉลิมฉลอง ในช่วงระยะเวลา 92 วันของการจัดงาน ซึ่งการแสดงต่างๆ นั้นจะเกิดขึ้นใน 4 บริเวณ

ได้แก่ เวทีใหญ่ (Main Amphitheatre) เวทีในสวน (Mini Amphitheatre) เรือนไทย 4 ภาค (Thai Regional Houses) ถนนหน้าหอคำหลวง

• เรือนไทย 4 ภาคและอาคารชานพักเรือนไทย ลักษณะโดยรวมของอาคารเป็นเรือนหมู่เครื่องสับ (เรือนไม้) และมีเรือนเครื่องผูก (ใช้ไม้ไผ่และวัสดุในท้องถิ่น) โดยเนื้อหาของการจัดแสดงเป็นเรื่องเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรม การตั้งถิ่นฐาน ขนบธรรมเนียม

ประเพณี งานสถาปัตยกรรม ศิลปกรรมดนตรี นาฏศิลป์ การละเล่นและภูมิปัญญาท้องถิ่น

• ศูนย์การเรียนรู้โลกแมลง (Bug World) เป็นโลกแมลงเต็มรูปแบบในห้องปฏิบัติการมีชีวิตขนาดใหญ่ ด้วยแนวคิด “แมลงมีค่าล้ำ นำธรรมชาติสมดุล”

• กลุ่มอาคารเรือนกระจก เป็นอาคารเรือนกระจกควบคุมอุณหภูมิที่จัดแสดงด้านการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อที่ทันสมัย และนำเสนอเทคโนโลยีที่มีการคิดค้นขึ้นเอง

• หอความรู้ (หอเกียรติยศ) เป็นอาคารสดุดีบุคคลหรือองค์ที่มีส่วนพัฒนาพืชสวนไทยให้เป็นที่ยอมรับของนานาชาติ โดยมีวัตถุประสงค์แสดงความเป็นหนึ่งด้านพืชสวนในด้านศักยภาพพืชสวนไทยในระดับนานานาชาติ และเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านพืชสวนของบุคคลทั่วไป

7. การจัดประชุมวิชาการนานาชาติและสัมมนาเชิงปฏิบัติการนานาชาติ รายละเอียด...

นอกจากจะเป็นการจัดแสดงพันธุ์ไม้เขตร้อนที่ดีที่สุดในโลกงานหนึ่งแล้ว ยังได้จัดการเผยแพร่ความรู้วิชาการด้านพืชสวนเขตร้อน และเทคโนโลยีทางการเกษตรที่นักวิชาการของไทยมีความรู้ความสามารถในระดับนานาชาติ

ยูโด

ท่านปรมาจารย์ จิโกโร คาโน

ท่าทุ่มในยูโดยูโด (ญี่ปุ่น: 柔道 judo ?) เป็นศิลปะการป้องกันตัวประเภทหนึ่งที่ถือกำเนิดจากประเทศญี่ปุ่น โดยศาสตราจารย์ จิโกโร คาโน ยูโดมีชื่อเต็มว่า โคโดกัน ยูโด (Kodokan Judo) เดิมเรียกว่า
ยูยิตสู (Jiujitsu) ซึ่งเป็นวิชาที่สามารถต่อสู้กับคู่ต่อสู้ที่มีอาวุธด้วยมือเปล่า
ประวัติ[แก้] ยูยิตสูในประเทศญี่ปุ่นสมัยโบราณ ซึ่งเชื่อว่าตนเองเป็นลูกพระอาทิตย์ มีถิ่นที่อยู่บนเกาะใหญ่น้อยทั้งหลาย ราวๆ 3,000-4,000 เกาะ ประชากรส่วนใหญ่มีความคิดเห็นไม่ตรงกันและไม่สามารถรวมกลุ่มกันได้ ทำให้เกิดการแย่งชิงอำนาจ ผู้ที่ได้รับชัยชนะก็พยายามซ่องสุมเสริมสร้างกำลังพลให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น ผู้ที่พ่ายแพ้ก็พยายามที่จะรวบรวมสมัครพรรคพวกที่พ่ายแพ้ขึ้นใหม่เพื่อรอจังหวะช่วงชิงอำนาจกลับคืนมา ในสมัยนั้นประเทศญี่ปุ่น มีแต่การทำสงคราม นักรบของแต่ละเมืองจะได้รับการฝึกฝนศิลปะการต่อสู้ที่ใช้ในสงครามหลายชนิด เช่น การฟันดาบ การยิงธนู การใช้หอก ทวน หลาว การขี่ม้า และ

ยูยิตสู ซึ่งเป็นการต่อสู้ที่ใช้มือเปล่าในระยะประชิดตัว ไม่สามารถที่จะใช้อาวุธได้ถนัด การต่อสู้แบบยูยิตสูมิได้มุ่งที่จะทำให้คู่ต่อสู้มีอันตรายถึงชีวิต แต่มีจุดประสงค์เพื่อให้คู่ต่อสู้ได้รับบาดเจ็บและยอมแพ้ ถ้าไม่ยอมแพ้ก็อาจทำให้พิการทุพพลภาพ โดยใช้วิธีจับมือหักข้อต่อส่วนต่างๆ ของร่างกาย



นักรบญี่ปุ่นในสมัยนั้นจะต้องฝึกการต่อสู้วิชายูยิตสูทุกคน และต้องฝึกสมาธิควบคู่ไปด้วย ทุกคนจะต้องมีความตั้งใจในการฝึก มิฉะนั้นจะเป็นอันตรายได้ การทำร้ายคู่ต่อสู้ ด้วย ยูยิตสูไม่คำนึงถึงความเมตตาและศีลธรรม และใช้เทคนิคคอยหาโอกาสซ้ำเติมคู่ต่อสู้ตลอดเวลา จึงทำให้อาจารย์ที่ตั้งสถานที่ฝึกอบรมวิชานี้ พยายามคิดค้นประดิษฐ์ท่าทางกลวิธีแตกต่างกันออกไปอย่างอิสระ สถานที่เปิดฝึกสอนหรือที่เรียกว่าโรงเรียนสำหรับสอนวิชายูยิตสูสมัยนั้นมีประมาณ 20 แห่ง



ส่วนการต่อสู้อีกประเภทหนึ่งซึ่งเกี่ยวข้องกับการพัฒนาวิชายูโดคือ ซูโม่ ซึ่งเป็นกีฬาอีกประเภทหนึ่งของญี่ปุ่นที่เป็นที่นิยมแพร่หลาย ซูโม่เป็นการต่อสู้ของคน 2 คน ใช้มือเปล่าและกำลังกายเข้าทำการต่อสู้กันมาแต่สมัยโบราณกว่า 2,500 ปีมาแล้ว นักประวัติศาสตร์ในวิชายูยิตสูได้สนใจซูโม่มาก จากหนังสือเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น ที่รวบรวมโดย Imperial Command ชื่อนิฮอนโซกิ (Nihon-Sho-Ki) ในปี พ.ศ. 1263 กล่าวถึงการแข่งขันในสมัยของจักรพรรด์ซุยนิน ก่อนคริสต์ศักราช 230 ปี (พ.ศ. 313) ยืนยันว่าเป็นการเริ่มต้นของวิชาซูโม่ ซึ่งแปลว่าการต่อสู้โดยใช้กำลังเข้าประลองกัน การต่อสู้ตามหลักวิชาซูโม่ บางท่าจะตรงกับวิชายูยิตสู เช่น การใช้สะโพกเป็นกำลังบังคับขากวาดเหวี่ยงคู่ต่อสู้ให้เสียหลักล้มลงซึ่งท่านี้วิชายูยิตสูเรียกว่า ฮาราย กุชิ (Harai Goshi) เป็นการยืนยันว่าวิชาซูโม่มีความสัมพันธ์กับวิชายูยิตสู



[แก้] การพัฒนาวิชายูยิตสูเป็นวิชายูโดในตอนปลายสมัย เซนโกกุ (Sengoku) วิชายูยิตสูได้มีการรวบรวมไว้เป็นแบบแผน ต่อมาเมื่อ ตระกูลโตกูกาวา (Tokugawa) ได้ทำการปราบปรามเจ้าผู้ครองนครตามหัวเมืองต่างๆ ให้สงบลงอย่างราบคาบและตั้งตนเป็น โชกุน ปกครองประเทศญี่ปุ่น ได้มีการปรับปรุงวิชาการรบของพวกซามูไร นอกจากวิชาการรบแล้ว ซามูไรต้องเรียนหนังสือเพื่อศึกษาวิชาการปกครอง การอบรมจิตใจให้มีศีลธรรม ยูยิตสูเป็นวิชาป้องกันตัวชนิดหนึ่งในสมัยนั้น จึงต้องมีการปรับปรุงวิธีการต่อสู้จากการไร้ศีลธรรมมาเป็นการป้องกัน การต่อสู้ด้วยกำลังกาย และกำลังใจอันประกอบด้วยคุณธรรม มีจรรยามารยาทที่สุภาพเรียบร้อยขึ้น เพื่อให้เหมาะสมกับคำว่า ยูยิตสู ซึ่งหมายความถึง ศิลปะแห่งความสุภาพ

เมื่อมีการปรับปรุงบทบัญญัติทางศีลธรรมของนักรบให้รัดกุมนี้เอง ทำให้ช่วง 50 ปีของสมัยกาไน บันจิ และคันม่ง (Kanei Banji and Kanmon พ.ศ. 2167-2216) ได้มีผู้เชี่ยวชาญวิชายูยิตสูขึ้นมามากมาย โดยมีวิชาที่เป็นแนวเดียวกับยูยิตสูแต่ใช้ชื่อต่างกันจำนวนมาก เช่น ไทจุซึ (Tai jutsu) วาจุซึ (Wajutsu) โคกุโซกุ (Kogusoku) เคนโป (Kenpo) เป็นต้น ซึ่งทั้งหมดเป็นการต่อสู้ที่ทำให้คู่ต่อสู้พ่ายแพ้โดยใช้มือเปล่า ทำให้วิชายูยิตสูเป็นที่นิยมมาตลอดสมัยโตกูกาวา

ต่อมาในสมัยเมจิ (Meji ปี พ.ศ. 2411) ญี่ปุ่นได้รับอารยธรรมตะวันตกเข้าสู่ประเทศญี่ปุ่น ทำให้วัฒนธรรมประเพณีของญี่ปุ่นหลายอย่างกลายมาเป็นสิ่งล้าสมัยของต่างชาติ และชาวญี่ปุ่นสมัยใหม่ ดังนั้น ในปี พ.ศ. 2414 จึงได้ออกกฎหมายห้ามนักรบใช้ซามูไรเป็นอาวุธ ห้ามพกหรือสะพายดาบซามูไร ยูยิตสูซึ่งเป็นวิชาที่นิยมเล่นกับซามูไร จึงถูกมองว่าเป็นสิ่งล้าสมัย เพราะทารุณ ป่าเถื่อน ฉะนั้นวิชายูยิตสูจึงได้รับการปรับปรุงและแก้ไขพร้อมกันหลายอย่างในสมัยเมจิ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ศิลปะการต่อสู้นานาชนิดรวมทั้งยูยิตสูต้องซบเซาลง สถาบันที่เปิดฝึกสอนยูยิตสู ซึ่งมีอยู่แพร่หลายได้รับกระทบกระเทือนถึงกับเลิกกิจการไปเป็นอันมาก

การกำเนิดวิชายูโด

หลังจากที่ญี่ปุ่นได้ปฏิวัติวัฒนธรรมในสมัยเมจิ ทำให้วิชายูยิตสูเสื่อมความนิยมลงจนหมด ต่อมาเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2403 ชาวญี่ปุ่นชื่อ จิโกโร คาโน (Jigoro Kano) ชาวเมืองชิโรโกะซึ่งได้อพยพครอบครัวมาอยู่ในกรุงโตเกียว เมื่อปี พ.ศ. 2414 ขณะเมื่ออายุ 18 ปี ได้เข้าทำการศึกษาที่มหาวิทยาลัยโตเกียว ในสาขาปรัชญาศาสตร์ (Philosophy) จนสำเร็จการศึกษา เมื่ออายุ 23 ปี ท่านจิโกโร คาโน เป็นมีความเห็นว่าวิชายูยิตสูนอกจากจะเป็นกีฬาสำหรับร่างกายและจิตใจแล้ว ยังมีหลักปรัชญาที่ว่าด้วยหลักแห่งความเป็นจริง
เมื่อท่านจิโกโร คาโนได้ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับวิชายูยิตสูอย่างละเอียดแล้วก็พบว่าผู้ฝึกวิชายูยิตสูจนมีความชำนาญดีแล้ว จะสามารถสู้กับคนที่รูปร่างใหญ่โตได้ หรือสู้กับคนที่มีอาวุธด้วยมือเปล่าได้ จากการค้นพบทำให้บังเกิดความศรัทธาอย่างแรงกล้า ท่านจึงได้เข้าศึกษายูยิตสูอย่างจริงจังจากอาจารย์ผู้สอนวิชายูยิตสูหลายท่านจากโรงเรียนเทนจิ ซิโย (Tenjin Shinyo) และโรงเรียนคิโต (Kito) ในปี พ.ศ. 2425 ท่านจิโกโร คาโน อายุได้ 29 ปี ได้ก่อตั้งโรงเรียนสำหรับวิชายูโดขึ้นเป็นครั้งแรกในบริเวณวัดพุทธศาสนา ชื่อวัดอิโชจิ (Eishoji) โดยตั้งชื่อสถาบันนี้ว่า โคโดกัน ยูโด โดยได้นำเอาศิลปะของการต่อสู้ด้วยการทุ่มจากสำนักเทนจิ ซิโย และการต่อสู้จากสำนักคิโตเข้ามาผสมผสานเป็นวิชายูโดและได้ปรับปรุงวิธีการยูโดให้เหมาะสม สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงในระบอบการปกครองและสังคมในขณะนั้น ได้สอดแทรกวิทยาศาสตร์ใหม่ๆ คณิตศาสตร์ประยุกต์ที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหว จิตศาสตร์ และจริยศาสตร์เข้าด้วยกัน โดยได้ตัดทอนยูยิตสู ซึ่งไม่เหมาะสมออก แล้วพยายามรวบรวมวิชายูยิตสูให้เป็นหมวดหมู่มีมาตรฐานเดียวกันตามความคิดของท่าน และได้ตั้งระบบใหม่เรียกว่า ยูโด (Judo)
ในยุคแรก ท่านจิโกโร คาโน ต้องต่อสู้กับบุคคลหลายๆ ฝ่ายเพื่อให้เกิดการยอมรับในวิชายูโด โดยเฉพาะจากบุคคลที่นิยมอารยธรรมตะวันตกบุคคลพวกนี้ไม่ยอมรับว่ายูโดดีกว่ายูยิตสู จนในปี พ.ศ. 2429 กรมตำรวจญี่ปุ่นได้จัดการแข่งขันระหว่างยูโดกับยูยิตสูขึ้น โดยแบ่งเป็นฝ่ายละ 15 คน ผลการแข่งขันปรากฏว่ายูโดชนะ 13 คน เสมอ 2 คน เมื่อผลปรากฏเช่นนี้ ทำให้ประชาชนเริ่มสนใจยูโดมากขึ้น ทำให้สถานที่สอนเดิมคับแคบจึงต้องมีการขยายห้องเรียน เพื่อต้อนรับผู้ที่สนใจ จนถึงปี พ.ศ. 2476 จึงได้ย้ายสถานที่ฝึกไปที่ ซูอิโดบาชิ (Suidobashi) และสถานที่นี้ในที่สุดก็เป็นศูนย์กลางของนักยูโดของโลกในปัจจุบัน

ในปี พ.ศ. 2455 ได้ก่อตั้งสหพันธ์ยูโดระหว่างประเทศขึ้น โดยมีประเทศต่างๆ ที่ร่วมก่อตั้งครั้งแรกประมาณ 20 ประเทศ และได้มีการตั้ง The Kodokun Cultural Society ในปี พ.ศ. 2465 ขึ้นหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ. 2499 สหพันธ์ยูโดระหว่างชาติได้จัดให้มีการแข่งขันเพื่อความชนะเลิศยูโดระหว่างชาติขึ้น โดยอยู่ในการอำนวยการของสหพันธ์ยูโดระหว่างประเทศโคโดกัน และหนังสือพิมพ์อาซาอิซัมบุน


เส้นเวลาของยูโด (Judo Timeline)

1.พ.ศ. 2425 ศาสตราจารย์จิโกโร คาโน ก่อตั้งสถาบันโคโดกัน สำหรับใช้ฝึกอบรมวิชายูโดที่ศาลาในบริเวณวัด เออิโซ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่นเมื่อเดือนมิถุนายน

2.พ.ศ. 2429 ตำรวจนครบาลแห่งโตเกียว จัดการแข่งขันระหว่างนักยูโดของโคโดกัน และนัก ยูยิตสูของสำนักต่าง ๆ จากการแข่งขัน 15 ครั้ง นักยูโดของสำนักโคโดกัน ชนะถึง 13 ครั้ง จึงทำให้ยูโดของโคโดกันได้รับการรับรองว่ามีประสิทธิภาพมากกว่ายูยิตสูของสำนักอื่น ๆ

3.พ.ศ. 2436 ย้ายสำนักโคโดกัน จากวัดเออิโซ ไปตั้งที่ ซิโมโทมิกาซา

4.พ.ศ. 2476 ย้ายจาก ซิโมโทมิกาซา ไปตั้งที่ถนนซุยโดมัดซีในกรุงโตเกียว

5.พ.ศ. 2485 ก่อตั้งสหพันธ์ยูโด (Judo Federation)

6.พ.ศ. 2499 ก่อตั้งสหพันธ์ยูโดระหว่างชาติ

1.จัดการแข่งขันเพื่อความชนะเลิศยูโดระหว่างประเทศขึ้นเป็นครั้งแรก

2.สร้างภาพยนตร์เรื่อง Master of judo

[แก้] วิชายูโดท่านจิโกโร่ คาโน่ พบว่าวิชายูยิตสูแบบดั้งเดิมนั้นไม่สามารถที่จะฝึกอย่างเต็มกำลังได้เนื่องเพราะว่าเทคนิคอันตรายต่างๆ เช่น การจิ้มตา การเตะหว่างขา การดึงผม และอื่นๆ อาจทำให้คู่ฝึกซ้อมบาดเจ็บสาหัสจากการฝึกได้ รวมทั้งการฝึกที่เรียกว่า กาต้า (KATA: การฝึกแบบเข้าคู่โดยทั้งสองฝ่ายรู้กันและฝึกตามท่าโดยที่ไม่มีการขัดขืนกัน ) แต่เพียงอย่างเดียวก็ยังไม่ได้ประสิทธิภาพที่เพียงพอ เพราะเราจะไม่สามารถคาดหวังได้ว่าศัตรูของเราจะให้ความร่วมมือในท่าที่เราฝึกมาโดยที่ไม่มีการขัดขืน

ท่านจึงปรับปรุงการฝึกส่วนใหญ่ในโรงเรียนของท่านให้เป็นแบบ รันโดริ (RANDORI) คือการฝึกซ้อมแบบจริง โดยใช้แนวความคิดว่า นักเรียนสองคนใช้เทคนิคต่างๆที่ตนเรียนรู้เพื่อการเอาชนะอย่างเต็มกำลัง ทั้งนี้นักเรียนจะคุ้นเคยกับความรู้สึกต่อต้าน ขัดขืนจากคู่ต่อสู้ การฝึกแบบนี้นักเรียนจะสามารถพัฒนา ร่างกาย จิตใจและความคล่องตัวได้ดีกว่า เพื่อทำให้การฝึกซ้อมแบบรันโดริมีประสิทธิภาพมากขึ้น ท่าน จิโกโร คาโน่ จำเป็นต้องเอาเทคนิครุนแรงที่ก่อให้เกิดอันตรายบางส่วนเช่น การชก เตะ หัวโขก ในจูจิสสุออกไป การล็อกสามารถกระทำได้เพียงแค่ข้อศอก ซึ่งปลอดภัยกว่าการล็อกสันหลัง คอ ข้อมือ หรือหัวไหล่ เขาเรียกการฝึกซ้อมแบบนี้ว่า ยูโด

ยูโดในปัจจุบันเป็นกีฬาสากลประเภทบุคคล มีหลักการและวัตถุประสงค์คือ มุ่งบริหารร่างกายและจิตใจให้มีประสิทธิภาพสูงสุด โดยใช้แรงให้น้อยที่สุด เพื่อสวัสดิภาพและประโยชน์สุขร่วมกัน การฝึกยูโดต้องมีการฝึกการต่อสู้และป้องกันตัว ก็เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกได้ออกแรง ซึ่งเป็นหนทางก่อให้เกิดสมรรถภาพทางกายตามอุดมคติของท่านจิโกโร คาโน (Jigoro kano) ผู้ให้กำเนิดกีฬาประเภทนี้ว่า "Maximum Efficiency with minimum Effort and Mutual Welfare and Benefit" คือยูโดใช้วิธีการโอนอ่อนผ่อนตาม หรือที่เรียกว่า "ทางแห่งความสุภาพ" "Gentleness or soft way" ทำให้ได้เปรียบแก่ผู้ที่มีกำลังมากกว่าเป็นวิธีการที่ทำให้คนตัวเล็กกว่าน้ำหนักน้อยกว่าและกำลังด้อยกว่า สามารถต่อสู้กับผู้ที่อยู่ในลักษณะเหนือกว่าได้ ยังทำให้สตรีที่อ่อนแอสามารถชนะบุรุษเพศที่เข้มแข็งได้ มีตัวอย่างที่นักยูโดหญิงสูงวัยประลองกับนักมวยไทยหนุ่มวัยฉกรรจ์ ฝ่ายหญิงใช้กลยุทธ์หลอกล่อฝ่ายชายแล้วเข้าไปจับกด ทั้งสองฝ่ายลองกำลังกันจนนักมวยไทยหมดแรงตกเป็นเบี้ยล่างโดนจับกดกับพื้น ฝ่ายหญิงยูโดรีบล็อคฝ่ายชายแล้วใช้มือเปล่าบีบหักชายโครงนักมวย ดึงข้อไขสันหลังฝ่ายชาย ก่อนที่จะดึงแขนเสื้อมารัดคอกระตุกเป็นจังหวะจนฝ่ายชายเกือบตาย หญิงยูโดสูงวัยมากประสบการณ์จึงจับมวยไทยชายเผด็จศึกด้วยการล็อคแล้วถ่างขานักมวยแล้วบิดกระจับหลายรอบเพื่อทำลายอวัยวะสืบพันธุ์ของนักมวย และด้วยเหตุนี้เองจึงนำเอาคำว่า ยู (Ju) ซึ่งหมายถึงการโอนอ่อนหรือให้ทางแห่งความสุภาพนำหน้าชื่อนี้



เทคนิคของวิชายูโด

เทคนิคของวิชายูโดแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่มดังนี้

1.นาเงวาซา Nagewaza เป็นเทคนิคเกี่ยวกับการทุ่ม (Throwing) มีท่าทุ่มที่เป็นพื้นฐานอยู่ 12 ท่า และแยกออกเป็นประเภทตามส่วนของร่างกายที่ใช้ทุ่มนั้นๆซึ่งได้แก่การทุ่มด้วยมือ การทุ่มด้วยสะโพก การปัดขา การทุ่มด้วยไหล่ การทุ่มด้วยสีข้างและหลัง

2.กาต้าเมวาซา (Katamawaza) เป็นเทคนิคเกี่ยวกับการกอดรัดเพื่อให้หายใจไม่ออก การจับยึดและการล็อกข้อต่อ (Choking, Holding and joint locking)เป็นเทคนิคที่ใช้ขณะอยู่กับพื้นเบาะ (tatami) เพื่อให้คู่ต้อสู้ยอมจำนน

3.อาเตมิวาซา Atemiwaza เป็นเทคนิคเกี่ยวกับการชกต่อย ทุบตี ถีบถอง (Striking) ส่วนต่างๆของร่างกายให้เกิดการบาดเจ็บ พิการ หรือถึงแก่ชีวิต ซึ่งวิธีการเหล่านี้จะใช้ในการต่อสู้ป้องกันตัวเท่านั้น และไม่เคยจัดการแข่งขัน

ระดับความสามารถของนักยูโด

สีของสายคาดเอวแสดงระดับของนักยูโด
ระดับความสามารถมาตรฐานของนักยูโดทั้งสองเพศ (ชาย-หญิง) ได้ถูกกำหนดขึ้นโดยมีสีของสายคาดเอวเป็นเครื่องหมาย ระดับความสามารถมาตรฐานดังกล่าวแบ่งออกได้เป็น 2 ระดับใหญ่ คือ

1.ระดับคิว (Kyu) คือระดับก่อนสายดำที่อาจเรียกว่า นักเรียน

2.ระดับดั้ง (Dan) คือระดับที่เรียกว่า ผู้นำ เป็นผู้ซึ่งมีความสามารถสูง ทั้งระดับนักเรียนและระดับผู้นำนี้ยังแบ่งออกเป็นระดับย่อยๆลงอีก โดยมีสีประจำแต่ละระดับไว้ซึ่งแต่ละประเทศกำหนดไม่เหมือนกัน

การกำหนดระดับของนักยูโดในประเทศไทยกำหนดไว้ดังนี้

1.รองสายดำ ชั้น 5 สาดคาดเอวสีขาว

2.รองสายดำ ชั้น 4 สายคาดเอวสีเขียว

3.รองสายดำ ชั้น 3 สาดคาดเอวสีฟ้า

4.รองสายดำ ชั้น 2 สายคาดเอวสีน้ำตาล

5.รองสายดำ ชั้น 1 สาดคาดเอวสีน้ำตาลปลายดำ

6.สายดำ ชั้น 1 สายคาดเอวสีดำ

7.สายดำ ชั้น 2 สายคาดเอวสีดำ

8.สายดำ ชั้น 3 สายคาดเอวสีดำ

9.สายดำ ชั้น 4 สายคาดเอวสีดำ

10.สายดำ ชั้น 5 สายคาดเอวสีดำ

11.สายดำ ชั้น 6 สายคาดเอวสีขาวสลับแดง หรือ สีดำ

12.สายดำ ชั้น 7 สายคาดเอวสีขาวสลับแดง หรือ สีดำ

13.สายดำ ชั้น 8 สายคาดเอวสีขาวสลับแดง หรือ สีดำ

14.สายดำ ชั้น 9 สายคาดเอวสีแดง หรือ สีดำ

15.สายดำ ชั้น 10 สายคาดเอวสีแดง หรือ สีดำ

วันเสาร์ที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

Plumeria

Plumeria rubra
Plumeria (common name Frangipani) is a genus of flowering plants of the family which includes Dogbane: the Apocynaceae.It contains 7-8 species of mainly deciduous shrubs and small trees. They are native to Mexico, Central America, the Caribbean and South America as far south as Brazil[3] but have been spread throughout the world's tropics.



Description

Plumeria is related to the Oleander, Nerium oleander, and both possess poisonous, milky sap, rather similar to that of Euphorbia. Contact with the sap may irritate eyes and skin.[4] Each of the separate species of Plumeria bears differently shaped alternate leaves and their form and growth habits are also distinct. The leaves of P. alba are quite narrow and corrugated, while leaves of P. pudica have an elongated shape and glossy, dark green color. P. pudica is one of the everblooming types with non-deciduous, evergreen leaves. Another species that retains leaves and flowers in winter is P. obtusa; though its common name is "Singapore," it is originally from Colombia.


Plumeria flowers are most fragrant at night in order to lure sphinx moths to pollinate them. The flowers have no nectar, and simply dupe their pollinators. The moths inadvertently pollinate them by transferring pollen from flower to flower in their fruitless search for nectar.

Plumeria species may be easily propagated from cuttings of leafless stem tips in spring. Cuttings are allowed to dry at the base before planting in well drained soil. Cuttings are particularly susceptible to rot in moist soil. Propagation can also be by tissue culture from cuttings of freshly elongated stems or aseptically germinated seed. Pruning is best accomplished in the winter for deciduous varieties, or when cuttings are desired.
There are more than 300 named varieties of Plumeria



Etymology and common names

The genus, originally spelled Plumiera, is named in honor of the seventeenth-century French botanist Charles Plumier, who traveled to the New World documenting many plant and animal species. The common name "Frangipani" comes from an Italian noble family, a sixteenth-century marquess of which invented a plumeria-scented perfume. Many English speakers also simply use the generic name "plumeria". In Hawaii the name is "melia". In Sri Lanka it is referred to as araliya and (in English) as the Temple Tree.

วันจันทร์ที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

10 ของขวัญต้องห้าม

น้ำหอม
ไม่เชื่ออย่าลบหลู่ เพราะมีหลายคนที่เขาเชื่อ เขาแอบกระซิบบอกมาว่า ห้ามให้แฟนซื้อน้ำหอมให้เด็ดขาด เพราะความรักของคุณอาจจะจืดจางเหมือนกับกลิ่นของน้ำหอมที่จางหายไปตามกาลเวลา.
รองเท้า
ข้อนี้ยิ่งเด็ด เพราะมีประสบการณ์ตรงมาอ้างอิง โดยใครมีแฟนรีบเอาไปให้อ่านเลย เขาว่ากันว่าหากแฟนซื้อรองเท้าให้จะทำให้เลิกกัน เพราะรองเท้ามันต้องอยู่เป็นคู่ คนที่เป็นแฟนกันแต่ยังไม่ได้อยู่กันเป็นคู่ รองเท้าจึงเป็นอาถรรพ์ที่อาจจะทำให้เลิกกันได้ เรื่องนี้ขอบอกว่าเคยเกิดขึ้นกับหลายคนนะ ที่แฟนซื้อรองเท้าให้ตอนคบกัน 4 - 5 เดือน หลังจากนั้น 2 อาทิตย์ แฟนก็ขอเลิกเลย..

เสื้อผ้าชุดดำ
อันนี้น่ากลัวมากๆ เขาห้ามให้เสื้อผ้าชุดที่มีสีดำเป็นของขวัญโดยเด็ดขาด เพราะคนโบราณเขาถือ ไม่ว่าจะเป็นเสื้อ กางเกง กระโปรง ผ้าคลุม ผู้หลักผู้ใหญ่จะสอนอยู่เสมอว่า ถ้าเราให้ชุดดำใคร เราจะต้องได้ไปงานศพของคนนั้น..เวรกรรม..

นาฬิกา
อันนี้มาแนวถือเคล็ดซะมากกว่า เพราะหลายคนเชื่อหนักหนาว่า หากแฟนซื้อนาฬิกาให้ จะทำให้ระยะเวลาที่คบกัน อาจจะต้องหยุดลงเมื่อนาฬิกาเรือนนั้นหยุดเดิน ไม่ว่าสาเหตุมาจากอะไรก็ตาม..โอ้แม่เจ้า..

รูปถ่าย
อีกสิ่งหนึ่งที่ห้ามให้เด็ดขาดนั้นก็คือ รูปถ่ายเดี่ยวๆ ของตัวเอง เพราะมันเปรียบเสมือนการให้รูปที่ระลึกไว้ดูต่างหน้าเวลาจากกัน อาถรรพ์นี้หลายคนเจอมาแล้ว หากใครไม่อยากให้ประวัติศาสตร์ซ้ำรอย หลีกเลี่ยงเด็ดขาด..อะจึ๋ย..

ผ้าเช็ดหน้า
ความหมายตรงตัวมากๆ ผ้าเช็ดหน้าส่วนใหญ่เขาไว้ใช้ทำอะไร คนรับของขวัญก็จะต้องใช้ทำอย่างนั้นหละ..ซึ่งได้ข่าวมาว่า ผ้าเช็ดหน้า ส่วนใหญ่จะใช้เช็ดน้ำตาซะด้วย..ดังนั้นใครไม่อยากที่จะต้องเสียน้ำตา ต้องเลี่ยงให้ของขวัญเป็นผ้าเช็ดหน้านะครับ..

ของมีคม
อันนี้คงไม่เชิงความเชื่อ เพราะมีสิทธิ์เกิดขึ้นได้แน่นอน แต่เชื่อไว้ก็ไม่เสียหลายครับผม พวกของมีคม อาวุธ ดาบ ของเล่น โมเดลต่างๆที่มีคม อย่านำเป็นของขวัญ เพราะจะทำให้ผู้รับได้รับอันตราย มีภัย โชคร้าย ไปด้วย..

หวี
แฟน เพื่อน มิตรสหายทั้งหลายฟังทางนี้ เพราะถ้าเรามอบหวีให้กับแฟน หรือเพื่อนคนไหน จะทำให้ความสัมพันธ์ของเราและเขาต้องห่างกันเหมือนซี่ของหวีนั้นเอง..

เข็มกลัด
ภายนอกอาจจะดูสวย แต่ภายในแฝงไปด้วยความหมายที่น่าเจ็บปวด เพราะเชื่อว่าหากให้เข็มกลัดแก่ใคร จะเป็นการทิ่มแทงใจ สร้างความเจ็บปวด ขัดแย้งให้กับผู้รับคนนั้น..

เครื่องแก้วต่างๆ
ของขวัญชิ้นนี้ พี่ลาเต้ ให้บ่อยซะด้วย จนถือเป็นของเชยไปแล้ว เพราะตามความเชื่อว่าถ้าเกิดเครื่องแก้วนั้นแตกขึ้นมา นั่นก็หมายถึงความสัมพันธ์ของทั้งสองคนเป็นอันแตกหัก แตกสลายตามของอย่างแน่นอน..

แตงโม

แตงโม ชื่อวิทยาศาสตร์: Citrullus lanatus เป็นผลไม้ที่มีน้ำประกอบอยู่เป็นจำนวนมาก เป็นพืชล้มลุกเป็นเถา อายุสั้น เถาจะเลื้อยไปตามพื้นดิน ถิ่นกำเนิดอยู่ในทะเลทรายคาลาฮารี ชาวอียิปต์เป็นชาติแรกที่ปลูกแตงโมไว้รับประทานเมื่อสี่พันปีมาแล้ว ชาวจีนเริ่มปลูกแตงโมที่ซินเกียงสมัยราชวงศ์ถัง แตงโมต้องการดินที่มีความชุ่มชื้นพอเหมาะ น้ำไม่ขัง มักปลูกกันในดินร่วนปนทราย ในประเทศไทยมีการปลูกแตงโมทั่วทุกภูมิภาค และปลูกได้ทุกฤดู

การใช้ประโยชน์

แตงโมเป็นผลไม้ที่มีคุณสมบัติเย็น จะช่วยลดอาการไข้ คอแห้ง บรรเทาแผลในปาก เปลือกแตงโมนำไปต้มเดือด แล้วเติมน้ำตาลทราย ดื่มเพื่อป้องกันเจ็บคอ
สิ่งที่ได้จากการบำรุงผิวหน้าด้วยแตงโม คือ ความเย็นของแตงโมช่วยผ่อนคลายผิวด้านนอกให้สดชื่น สารสีแดงจากแตงโม ที่เรียกว่า ไลโคปีน ที่มีแอนตี้ออกซิเดนท์ นอกจากช่วยในการบำรุงหัวใจ รวมถึงมะเร็งแล้ว ยังสามารถดูดซับความมันบนใบหน้าได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้ ยังอุดมไปด้วยโพแทสเซียม ที่จะช่วยควบคุมระบบการไหลเวียนของโลหิตในบริเวณผิวหน้าให้เป็นปกติ ช่วยให้รูขุมขนมีความยืดหยุ่น ชุ่มชื่น อีกทั้งในน้ำแตงโม มีโมเลกุลของน้ำตาลอยู่พอประมาณ รวมทั้งกรดอะมิโนอีกเล็กน้อย ช่วยในการบำรุงผิวได้เป็นอย่างดี

Watermelon (Citrullus lanatus (Thunb.), family Cucurbitaceae) can be both the fruit and the plant of a vine-like (scrambler and trailer) plant originally from southern Africa, and is one of the most common types of melon. This flowering plant produces a special type of fruit known by botanists as a pepo, a berry which has a thick rind (exocarp) and fleshy center (mesocarp and endocarp); pepos are derived from an inferior ovary, and are characteristic of the Cucurbitaceae. The watermelon fruit, loosely considered a type of melon (although not in the genus Cucumis), has a smooth exterior rind (green, yellow and sometimes white) and a juicy, sweet interior flesh (usually pink, but sometimes orange, yellow, red and sometimes green if not ripe). It is also commonly used to make a variety of salads, most notably fruit salad

History

A close-up of a watermelon leaf
Watermelon is thought to have originated in southern Africa, where it is found growing wild, because it reaches maximum genetic diversity there, resulting in sweet, bland and bitter forms. Alphonse de Candolle, in 1882,[2] already considered the evidence sufficient to prove that watermelon was indigenous to tropical Africa.[3] Though Citrullus colocynthis is often considered to be a wild ancestor of watermelon and is now found native in north and west Africa, Fenny Dane and Jiarong Liu[4] suggest on the basis of chloroplast DNA investigations that the cultivated and wild watermelon appear to have diverged independently from a common ancestor, possibly C. ecirrhosus from Namibia.
It is not known when the plant was first cultivated, but Zohary and Hopf note evidence of its cultivation in the Nile Valley from at least as early as the second millennium BC. Although watermelon is not depicted in any Egyptian hieroglyphic text nor does any ancient writer mention it, finds of the characteristically large seed are reported in Twelfth dynasty sites; numerous watermelon seeds were recovered from the tomb of Pharaoh Tutankhamun.[5]
By the 10th century AD, watermelons were being cultivated in China, which is today the world's single largest watermelon producer. By the 13th century, Moorish invaders had introduced the fruit to Europe; according to John Mariani's The Dictionary of American Food and Drink, "watermelon" made its first appearance in an English dictionary in 1615.
Museums Online South Africa list watermelons as having been introduced to Native Americans in the 16th century. Early French explorers found Native Americans cultivating the fruit in the Mississippi Valley. Many sources list the watermelon as being introduced in Massachusetts as early as 1629. Southern food historian John Egerton has said he believes African slaves helped introduce the watermelon to the United States. Texas Agricultural Extension horticulturalist Jerry Parsons lists African slaves and European colonists as having distributed watermelons to many areas of the world. Parsons also mentions the crop being farmed by Native Americans in Florida (by 1664) and the Colorado River area (by 1799). Other early watermelon sightings include the Midwestern states (1673), Connecticut (1747) and the Illiana region (1822).
Watermelons on display by a roadside vendor in Delhi, India
Charles Fredric Andrus, a horticulturist at the USDA Vegetable Breeding Laboratory in Charleston, South Carolina, set out to produce a disease-resistant and wilt-resistant watermelon. The result was "that gray melon from Charleston." Its oblong shape and hard rind made it easy to stack and ship. Its adaptability meant it could be grown over a wide geographical area. It produced high yields and was resistant to the most serious watermelon diseases: anthracnose and fusarium wilt.
Today, farmers in approximately 44 states in the U.S. grow watermelon commercially, and almost all these varieties have some Charleston Gray in their lineage. Georgia, Florida, Texas, California and Arizona are the USA's largest watermelon producers.
This now-common watermelon is often large enough that groceries often sell half or quarter melons. There are also some smaller, spherical varieties of watermelon, both red- and yellow-fleshed, sometimes called "icebox melons."
Square watermelon from Japan
In Japan, farmers of the Zentsuji region found a way to grow cubic watermelons, by growing the fruits in glass boxes and letting them naturally assume the shape of the receptacle.[6] The square shape is designed to make the melons easier to stack and store, but the square watermelons are often more than double the price of normal ones. Pyramid shaped watermelons have also been developed and any polyhedral shape may potentially also be used.

Culture

For commercial plantings, one beehive per acre (4,000 m² per hive) is the minimum recommendation by the US Department of Agriculture for pollination of conventional, seeded varieties. Because seedless hybrids have sterile pollen, pollinizer rows of varieties with viable pollen must also be planted. Since the supply of viable pollen is reduced and pollination is much more critical in producing the seedless variety, the recommended number of hives per acre, or pollinator density, increases to three hives per acre (1,300 m² per hive).