วันจันทร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

วันวาเลนไทน์


วันนักบุญวาเลนไทน์ (อังกฤษ: Saint Valentine's Day) หรือที่เป็นที่รู้จักว่า วันวาเลนไทน์ (Valentine's Day) ตรงกับวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ของทุกปี เป็นวันประเพณีที่คู่รักบอกให้กันและกันทราบเกี่ยวกับความรักของพวกเขา โดยการส่งการ์ดวาเลนไทน์ ซึ่งโดยมากจะไม่ระบุชื่อ

ประวัติ

วันวาเลนไทน์นั้นมีมาตั้งแต่สมัยจักรวรรดิโรมัน ในกรุงโรมสมัยก่อนนั้น วันที่ 14 กุมภาพันธ์ จะเป็นวันเฉลิมฉลองของจูโนซึ่งเป็นราชินีแห่งเหล่าเทพและเทพธิดาของโรมัน ชาวโรมันรู้จักเธอในนามของเทพธิดาแห่ง อิสตรีและการแต่งงาน และในวันถัดมาคือวันที่ 15 กุมภาพันธ์ ก็จะเป็นวันเริ่มต้นงานเลี้ยงของ Lupercalia การดำเนินชีวิตของเด็กหนุ่มและเด็กสาวในสมัยนั้นจะถูกแยกจากกันอย่างเด็ดขาด แต่อย่างไรก็ตาม ยังมีประเพณี อย่างนึง ซึ่งเด็กหนุ่มสาวยังสืบทอดต่อกันมา คือ คืนก่อนวันเฉลิมฉลอง Lupercalia นั้นชื่อของเด็กสาวทุกคนจะถูกเขียนลงในเศษกระดาษเล็ก ๆ และจะใส่เอาไว้ในเหยือก เด็กหนุ่มแต่ละคนจะดึงชื่อของเด็กสาวออกจากเหยือก แล้วหลังจากนั้นก็จะจับคู่กันในงานเฉลิมฉลอง บางครั้งการจับคู่นี้ ท้ายที่สุดก็จะจบลงด้วยการที่เด็กหนุ่มและเด็กสาวทั้งสองนั้นได้ตกหลุมรักกันและแต่งงานกันในที่สุด




ในรัชสมัยของ จักรพรรดิคลอดิอัสที่ 2 (Emperor Claudius II) แห่งกรุงโรม พระองค์ทรงเป็นกษัตริย์ที่มีใจคอดุร้ายและทรงนิยมการทำสงครามนองเลือด ได้ทรงตระหนักว่าเหตุที่ ชายหนุ่มส่วนมากไม่ประสงค์จะเข้าร่วม ในกองทัพเนื่องจากไม่อยากจากคู่รัก และครอบครัวไป จึงทรงมีพระราชโอง การสั่งห้ามมิให้มีการจัดพิธีหมั้นและแต่งงานกันในโรมโดยเด็ดขาด ทำให้ ประชาชนทุกข์ใจเป็นอย่างยิ่ง และขณะนั้น มีนักบุญรูปหนึ่งนามว่า เซนต์วาเลนไทน์ หรือวาเลนตินัส ซึ่งอาศัยอยู่ในโรมได้ ร่วมมือกับเซนต์มาริอัสจัดพิธีแต่งงานให้กับ ชาวคริสต์หลายคู่ และด้วยความปรารถนา ดีนี้เองจึงทำให้วาเลนไทน์ถูกจับและระ หว่างนี้ก็ยังคงส่งคำอวยพรวาเลนไทน์ ของเขาเองขณะที่เขาเป็นนักโทษ เป็นความเชื่อว่าวาเลนไทน์ได้ตกหลุมรักหญิง สาวที่เป็นลูกสาวของผู้คุมที่ชื่อจูเลีย ซึ่งได้มาเยี่ยมเขาระหว่างที่ถูกคุมขัง ในคืนก่อนที่วาเลนไทน์จะสิ้นชีวิตโดยการถูกตัดศีรษะ เขาได้ส่งจดหมายฉบับ สุดท้ายถึงจูเลีย โดยลงท้ายว่า “From Your Valentine”



วันที่ 14 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 270 หลังจากนั้นศพของเขาได้ถูกเก็บไว้ที่โบสถ์พราซีเดส (Praxedes) ณ กรุงโรม จูเลียได้ปลูกต้นอามันต์ หรืออัลมอลต์สีชมพู ไว้ใกล้หลุมศพของวาเลนตินัส แด่ผู้เป็นที่รักของเธอ โดยในทุกวันนี้ ต้นอามันต์สีชมพูได้เป็นตัวแทนแห่งรักนิรันดรและมิตรภาพ อันสวยงาม และคำนี้ก็เป็นคำที่ใช้มาจนถึงปัจจุบัน ถึงแม้ว่าเบื้องหลังความเป็นจริงของวาเลนไทน์จะเป็นตำนานที่มืดมัว แต่เรื่องราวยังคงแสดงให้เห็นถึงความรู้สึกสงสาร ความกล้าหาญและที่สำคัญที่สุดเป็นเครื่องหมายของความโรแมนติค จึงไม่น่าประหลาดใจ เลยว่าในช่วงยุคกลางวาเลนไทน์เป็นนักบุญ ที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในอังกฤษและฝรั่งเศส ต่อมาพระในนิกายโรมันคาทอลิกจึงเลือกให้ วันที่ 14 กุมภาพันธ์ เป็นวันเฉลิมฉลองเทศกาลแห่งความรักและดูเหมือนว่ายัง คงเป็นธรรมเนียมที่ชายหนุ่มจะเลือกหญิงสาวที่ตนเองพึงใจในวันวาเลนไทน์ สืบต่อกันมาจนถึงทุกวันนี้



 นักบุญวาเลนไทน์

นักบุญวาเลนไทน์วันนักบุญวาเลนไทน์ (Saint Valentine's Day) หรือที่เป็นที่รู้จักว่า วันวาเลนไทน์ (Valentine's Day) ตรงกับวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ของทุกปี เป็นวันประเพณีที่คู่รักบอกให้กันและกันทราบเกี่ยวกับความรักของพวกเขา โดยการส่งการ์ดวาเลนไทน์ ซึ่งโดยมากจะไม่ระบุชื่อ วันนี้เริ่มเกี่ยวข้องกับความรักแบบชู้สาวในช่วงยุค High Middle Ages เรื่องของ วันวาเลนไทน์ นี้ มีมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 3 ณ กรุงโรม หรืออาณาจักรโรมัน ในยุคของจักรพรรดิคลอดิอุสที่สอง (Claudius II) โดยที่จักรพรรดิพระองค์นี้ มีนิสัยชอบกดขี่ข่มเหงผู้อื่น เขาได้สั่งให้ชาวโรมันทุกคน สักการะนับถือพระเจ้า 12 องค์ โดยผู้ที่ขัดขืนคำสั่งจะถูกทำโทษ รวมทั้งห้ามยุ่งเกี่ยวกับพวกคริสเตียนด้วย แต่นักบุณวาเลนตินุส (Valentinus) - valentine มีความเลื่อมใส ศรัทธาต่อพระคริสต์มาก เขาได้กล่าวไว้ว่า แม้กระทั่งความตายก็ไม่สามารถ เปลี่ยนความคิดของเขาได้ เขาจึงได้ถูกขังคุก



ช่วงอาทิตย์สุดท้ายในชีวิตของเขานั้นได้ มีสิ่งแปลกประหลาดเกิดขึ้น ขณะที่เขาถูกคุมขังอยู่นั้น ผู้คุมขังได้ขอให้วาเลนตินุส สอนลูกสาวเขาซึ่งตาบอดด้วย จูเลียเป็นคนสวยแต่น่าเสียดายที่เธอตาบอดตั้งแต่แรกเกิด วาเลนตินุสได้เล่าเรื่องประวัติศาสตร์ต่าง ๆ สอนเลข และเล่าเรื่องพระเจ้าให้เธอฟัง จูเลีย สามารถรับรู้สิ่งต่าง ๆ ในโลกนี้ได้ โดยคำบอกเล่าของ วาเลนตินุส เธอเชื่อใจเขาและเธอมีความสุขมากเมื่ออยู่กับเขา



วันหนึ่งจูเลียถามวาเลนตินุสว่า “ถ้าเราอธิษฐาน พระผู้เป็นเจ้าจะได้ยินเราไหม” เขาตอบ “พระองค์เจ้า จะได้ยินเราแน่นอน ท่านได้ยินเราทุกคน” จูเลียกล่าว “ท่านทราบหรือไม่ว่า ข้าอธิษฐานขออะไรทุก ๆ เช้า ทุก ๆ เย็น...ข้าหวังว่า ข้าจะได้มองเห็นโลก เห็น ทุก ๆ อย่างที่ท่านเล่าให้ข้าฟัง” วาเลนตินุสจึงบอก “พระเจ้ามอบแต่สิ่งที่ดีที่สุดให้แก่ทุกคน เพียงแค่เรามีความเชื่อมั่นในพระองค์ท่าน เท่านั้นเอง”



จูเลีย ผู้ซึ่งมีความเชื่อมั่นในพระผู้เป็นเจ้าจึงได้คุกเข่า กุมมืออธิษฐานพร้อมกับวาเลนตินุส และในขณะนั้นเอง ก็ได้มีแสงสว่างลอดเข้ามาในคุก และสิ่งมหัศจรรย์ก็ได้เกิดขึ้น จูเลียค่อย ๆ ลืมตา แล้วเธอก็มองเห็น เขาและเธอจึงกล่าวขอบคุณต่อพระเจ้า และเรื่องมหัศจรรย์เรื่องนี้ ได้แพร่หลายไปทั่วราชอาณาจักร



ในคืนก่อนที่วาเลนตินุสจะสิ้นชีวิต โดยการถูกตัดศีรษะเขาได้ส่งจดหมายฉบับสุดท้ายถึงจูเลีย โดยลงท้ายว่า - From Your Valentine - เขาสิ้นชีพในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 270 หลังจากนั้น ศพของเขาได้ถูกเก็บไว้ที่โบสถ์พราซีเดส (Praxedes) ณ กรุงโรม จูเลียได้ปลูกต้นอามันต์ หรืออัลมอลต์สีชมพู ไว้ใกล้หลุมศพของวาเลนตินุส แต่ผู้เป็นที่รักของเธอ โดยในทุกวันนี้ ต้นอามันต์สีชมพูได้เป็นตัวแทนแห่งรักนิรันดร์และมิตรภาพอันสวยงาม



[แก้] การส่งดอกไม้วันวาเลนไทน์มนุษย์ได้ใช้ดอกไม้เป็นสื่อในการแสดงความรักต่อกันมานานแล้ว เราคิดว่าดอกไม้เป็นสิ่งความรักของหนุ่มสาวเท่านั้น แต่แท้จริงแล้วดอกไม้ยังใช้สื่อความรักได้หลายรูปแบบ ทั้งยังไม่จำกัดอายุและเพศอีกด้วย



กุหลาบแดง (Red Rose) : จะใช้ในความหมายแทน ประโยคที่ว่า "ฉันรักเธอ"

กุหลาบขาว (White Rose) : กุหลาบขาวแทนความหมายแห่งความรักอันบริสุทธิ์

กุหลาบชมพู (Pink Rose) : มักถูกใช้แทนความรักแบบโรแมนติก และความเสน่หาต่อกัน

กุหลาบเหลือง (Yellow Rose) : สีเหลืองเป็นสีแห่งความสดใส แทนความรักแบบเพื่อน

โดยในการมอบดอกกุหลาบในวันวาเลนไทน์นั้นเชื่อกันว่า จำนวนดอกกุหลาบที่มอบแก่กันนั้น มีความหมายต่อความรักกันอีกด้วย โดยได้แก่



1 ดอก หมายถึง ความรักแบบ รับแรกพบ

2 ดอก หมายถึงการแสดงความยินดี

3 ดอก แทนคำบอกรักว่า ฉันรักเธอ

7 ดอก แทนคำพูดที่ว่า เธอทำให้ฉันหลงเสน่ห์

9 ดอก แทนความหมายที่ว่า ทั้งสองคนจะรักกันตลอดไป

10 ดอก แทนความหมายว่า เธอเป็นคนที่ดีเลิศที่สุด

11 ดอก แทนความหมายว่า การเป็นสิ่งที่มีค่าที่สุดของฉัน

12 ดอก แทนความหมายว่า การขอให้เธอเป็นคู่ฉัน

13 ดอก แทนความหมายว่า ความเป็นเพื่อนแท้เสมอ (ซึ่งอีกนัยหนึ่งคือ การบอกปฏิเสธด้วยความรักอย่างเพื่อน)

15 ดอก แทนความหมายว่า แทนความรู้สึกเสียใจจริง

20 ดอก แทนความหมายว่า ความจริงใจต่อกัน

21 ดอก แทนความหมายว่า ถึงการมอบชีวิตอุทิศให้

36 ดอก แทนความหมายว่า ความทรงจำที่แสนหวานที่ยังมีต่อกัน

40 ดอก แทนความหมายว่า ยืนยันว่าความรักเป็นรักแท้

99 ดอก แทนคำพูดที่ว่า ฉันรักเธอจนวันตาย

100 ดอก แทนคำพูดที่ว่า ฉันอุทิศชีวิตนี้เพื่อเธอ

101 ดอก แทนคำพูดที่ว่า ฉันมีเธอเพียงคนเดียวเท่านั้น

108 ดอก แทนความหมายถึงการขอแต่งงานแบบอ้อมๆ ที่ผู้ให้ไม่กล้าพูด

999 ดอก แทนคำพูดที่ว่า ฉันจะรักเธอจนวินาทีสุดท้าย

1,000 ดอก แทนคำพูดที่ว่า ฉันจะรักเธอจนวันตาย

9,999 ดอก แทนคำพูดที่ว่า ฉันจะรักเธอชั่วนิรันดร
 
 
Le jour de la Saint-Valentin, le 14 février, est considéré dans de nombreux pays comme la fête des amoureux et de l'amitié. Les couples en profitent pour échanger des mots doux et des cadeaux comme preuves d’amour ainsi que des roses rouges qui sont l’emblème de la passion.




À l’origine fête de l’Église catholique romaine, le jour de la Saint-Valentin n’aurait pas été associé avec l’amour romantique avant le haut Moyen Âge mais avec l'amour physique. La fête est maintenant associée plus étroitement à l’échange mutuel de « billets doux » ou de valentins illustrés de symboles tels qu’un cœur ou un Cupidon ailé.



À l’envoi de billets au XIXe siècle a succédé l’échange de cartes de vœux. On estime qu’environ un milliard de ces cartes sont expédiées chaque année à l’occasion de la Saint-Valentin[1] ; ce chiffre paraît plus que suspect, quand on considère que cette fête est limitée par de nombreux aspects, aussi bien géographiques (la saint-Valentin n'est pas fêtée partout à travers « le monde »), financière (le nombre de personnes dans le monde ayant les moyens de se payer des loisirs de ce type), culturelle (les fleurs et les chocolats semblent beaucoup plus prisés que les cartes de vœux), sociale (part de célibataires dans la société). Ce chiffre ne serait battu que par le nombre de cartes échangées lors des fêtes de Noël.



Cependant, en Amérique du Nord, les échanges de cartes ne se font pas selon la conception européenne où la carte de Saint-Valentin est envoyée à une personne « unique ». Il n'est pas rare qu'une personne y envoie une dizaine de cartes, et même que des élèves d'école primaire en envoient à leur maîtresse d'école. Les chiffres indiqués deviennent en ce cas plus vraisemblables

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น