ตรุษจีน หรือ เทศกาลฤดูใบไม้ผลิ (ตัวเต็ม: 春節, ตัวย่อ: 春节, พินอิน: Chūnjíe ชุนเจี๋ย) หรือ ขึ้นปีเพาะปลูกใหม่ (ตัวเต็ม: 農曆新年, ตัวย่อ: 农历新年, พินอิน: Nónglì Xīnnián หนงลี่ ซินเหนียน) และยังรู้จักกันในนาม วันขึ้นปีใหม่ทางจันทรคติ เป็นวันขึ้นปีใหม่ตามประเพณีของชาวจีนในจีนแผ่นดินใหญ่และชาวจีนโพ้นทะเลทั่วโลก เทศกาลนี้เริ่มต้นในวันที่ 1 เดือน 1 ของปีตามจันทรคติ (正月 พินอิน: zhèng yuè เจิ้งเยฺว่) และสิ้นสุดในวันที่ 15 ซึ่งจะเป็นเทศกาลโคมไฟ (ตัวเต็ม: 元宵節, ตัวย่อ: 元宵节, พินอิน: yuán xiāo jié หยวนเซียวเจี๋ย)
คืนก่อนวันตรุษจีน ตามภาษาจีนกลางเรียกว่า 除夕 (พินอิน: Chúxī ฉูซี่) หมายถึงการผลัดเปลี่ยนยามค่ำคืน
ในวันตรุษจีนจะมีการเฉลิมฉลองทั่วโลกโดยเฉพาะชุมชนเชื้อสายจีนขนาดใหญ่ และนับเป็นช่วงวันหยุดช่วงสำคัญช่วงหนึ่งของชาวจีน เทศกาลนี้ยังแผ่อิทธิพลไปยังชนชาติรายรอบ เช่น ญี่ปุ่น เกาหลี เมี่ยน ม้ง มองโกเลีย เวียดนาม ทิเบต เนปาล และภูฐาน ให้จัดงานขึ้นปีใหม่ทำนองเดียวกัน สำหรับวิธีเฉลิมฉลองตรุษจีนนั้นแตกต่างกันไปตามท้องถิ่น
ตรุษจีนในประเทศไทยชาวไทยเชื้อสายจีนจะถือประเพณีปฏิบัติอยู่ 3 วัน คือวันจ่าย วันไหว้ และวันเที่ยว
วันจ่าย คือวันก่อนวันสิ้นปี เป็นวันที่ชาวไทยเชื้อสายจีนจะต้องไปซื้ออาหารผลไม้และเครื่องเซ่นไหว้ต่างๆ ก่อนที่ร้านค้าทั้งหลายจะปิดร้านหยุดพักผ่อนยาว ไม่จำเป็นจะต้องมีการจุดธูปอัญเชิญเจ้าที่ (地主爺 / 地主爷 ตี่จู้เอี๊ย) ให้ลงมาจากสวรรค์เพื่อรับการสักการบูชาของเจ้าบ้าน หลังจากที่ได้ไหว้อัญเชิญขึ้นสวรรค์เมื่อ 4 วันที่แล้วเพราะว่าเจ้าที่ไม่ได้ไปไหนเมื่อสี่วันที่แล้ว ตัวเราส่งแต่ เจ้าซิ้ง หรือเจ้าเตา
วันไหว้
ตอนเช้ามืดจะไหว้ "ป้ายเล่าเอี๊ย" (拜老爺 / 拜老爷) เป็นการไหว้เทพเจ้าต่างๆ เครื่องไหว้คือ เนื้อสัตว์สามอย่าง (ซาแซ ซำเช้ง) ได้แก่ หมู เป็ด ไก่ หรือเพิ่มตับ ปลา เป็นเนื้อสัตว์ห้าอย่าง (โหงวแซ) เหล้า น้ำชา และกระดาษเงินกระดาษทอง
ตอนสาย จะไหว้ "ป้ายแป๋บ้อ" (拜父母) คือการไหว้บรรพบุรุษ พ่อแม่ญาติพี่น้องที่ถึงแก่กรรมไปแล้ว เป็นการแสดงความกตัญญูตามคติจีน การไหว้ครั้งนี้จะไหว้ไม่เกินเที่ยง เครื่องไหว้จะประกอบด้วย ซาแซ อาหารคาวหวาน (ส่วนมากจะทำตามที่ผู้ที่ล่วงลับเคยชอบ) รวมทั้งการเผากระดาษเงินกระดาษทอง เสื้อผ้ากระดาษเพื่ออุทิศแก่ผู้ล่วงลับ หลังจากนั้น ญาติพี่น้องจะมารวมกันรับประทานอาหารที่ได้เซ่นไหว้ไปเป็นสิริมงคล และถือเป็นเวลาที่ครอบครัวหรือวงศ์ตระกูลจะรวมตัวกันได้มากที่สุด จะแลกเปลี่ยนอั่งเปาหลังจากรับประทานอาหารร่วมกันแล้ว
ตอนบ่าย จะไหว้ "ป้ายฮ่อเฮียตี๋" (拜好兄弟) เป็นการไหว้ผีพี่น้องที่ล่วงลับไปแล้ว เครื่องไหว้จะเป็นพวกขนมเข่ง ขนมเทียน เผือกเชื่อมน้ำตาล กระดาษเงินกระดาษทอง พร้อมทั้งมีการจุดประทัดเพื่อไล่สิ่งชั่วร้ายและเพื่อเป็นสิริมงคล
วันเที่ยว หรือ วันถือ คือวันขึ้นปีใหม่ เป็นวันที่หนึ่ง (初一 ชิวอิก) ของเดือนที่หนึ่งของปี วันนี้ชาวจีนจะถือธรรมเนียมโบราณที่ยังปฏิบัติสืบต่อกันมาถึงปัจจุบันคือ "ป้ายเจีย" เป็นการไหว้ขอพรและอวยพรจากญาติผู้ใหญ่และผู้ที่เคารพรัก โดยนำส้มสีทองไปมอบให้ เหตุที่ให้ส้มก็เพราะส้มออกเสียงภาษาแต้จิ๋วว่า "กิก" หรือ ภาษาฮกเกี้ยน "ก้าม"(橘) ซึ่งไปพ้องกับคำว่าความสุขหรือโชคลาภ (吉) [1] เพราะฉะนั้นการให้ส้มจึงเหมือนนำความสุขหรือโชคลาภไปให้ จะมอบส้มจำนวน 4 ผล ห่อด้วยผ้าเช็ดหน้าของผู้ชาย เหตุที่เรียกวันนี้ว่าวันถือคือ เป็นวันที่ชาวจีนถือว่าเป็นสิริมงคล งดการทำบาป จะมีคติถือบางอย่าง เช่น ไม่พูดจาไม่ดีต่อกัน ไม่ทวงหนี้กัน ไม่จับไม้กวาด และจะแต่งกายด้วยเสื้อผ้าใหม่แล้วออกเยี่ยมอวยพรและพักผ่อนนอกบ้าน เป็นต้น
ตรุษจีนในประเทศไทย
ชาวไทยเชื้อสายจีนจะถือประเพณีปฏิบัติอยู่ 3 วัน คือวันจ่าย วันไหว้ และวันเที่ยว
วันจ่าย คือวันก่อนวันสิ้นปี เป็นวันที่ชาวไทยเชื้อสายจีนจะต้องไปซื้ออาหารผลไม้และเครื่องเซ่นไหว้ต่างๆ ก่อนที่ร้านค้าทั้งหลายจะปิดร้านหยุดพักผ่อนยาว ไม่จำเป็นจะต้องมีการจุดธูปอัญเชิญเจ้าที่ (地主爺 / 地主爷 ตี่จู้เอี๊ย) ให้ลงมาจากสวรรค์เพื่อรับการสักการบูชาของเจ้าบ้าน หลังจากที่ได้ไหว้อัญเชิญขึ้นสวรรค์เมื่อ 4 วันที่แล้วเพราะว่าเจ้าที่ไม่ได้ไปไหนเมื่อสี่วันที่แล้ว ตัวเราส่งแต่ เจ้าซิ้ง หรือเจ้าเตา
วันไหว้
ตอนเช้ามืดจะไหว้ "ป้ายเล่าเอี๊ย" (拜老爺 / 拜老爷) เป็นการไหว้เทพเจ้าต่างๆ เครื่องไหว้คือ เนื้อสัตว์สามอย่าง (ซาแซ ซำเช้ง) ได้แก่ หมู เป็ด ไก่ หรือเพิ่มตับ ปลา เป็นเนื้อสัตว์ห้าอย่าง (โหงวแซ) เหล้า น้ำชา และกระดาษเงินกระดาษทอง
ตอนสาย จะไหว้ "ป้ายแป๋บ้อ" (拜父母) คือการไหว้บรรพบุรุษ พ่อแม่ญาติพี่น้องที่ถึงแก่กรรมไปแล้ว เป็นการแสดงความกตัญญูตามคติจีน การไหว้ครั้งนี้จะไหว้ไม่เกินเที่ยง เครื่องไหว้จะประกอบด้วย ซาแซ อาหารคาวหวาน (ส่วนมากจะทำตามที่ผู้ที่ล่วงลับเคยชอบ) รวมทั้งการเผากระดาษเงินกระดาษทอง เสื้อผ้ากระดาษเพื่ออุทิศแก่ผู้ล่วงลับ หลังจากนั้น ญาติพี่น้องจะมารวมกันรับประทานอาหารที่ได้เซ่นไหว้ไปเป็นสิริมงคล และถือเป็นเวลาที่ครอบครัวหรือวงศ์ตระกูลจะรวมตัวกันได้มากที่สุด จะแลกเปลี่ยนอั่งเปาหลังจากรับประทานอาหารร่วมกันแล้ว
ตอนบ่าย จะไหว้ "ป้ายฮ่อเฮียตี๋" (拜好兄弟) เป็นการไหว้ผีพี่น้องที่ล่วงลับไปแล้ว เครื่องไหว้จะเป็นพวกขนมเข่ง ขนมเทียน เผือกเชื่อมน้ำตาล กระดาษเงินกระดาษทอง พร้อมทั้งมีการจุดประทัดเพื่อไล่สิ่งชั่วร้ายและเพื่อเป็นสิริมงคล
วันเที่ยว หรือ วันถือ คือวันขึ้นปีใหม่ เป็นวันที่หนึ่ง (初一 ชิวอิก) ของเดือนที่หนึ่งของปี วันนี้ชาวจีนจะถือธรรมเนียมโบราณที่ยังปฏิบัติสืบต่อกันมาถึงปัจจุบันคือ "ป้ายเจีย" เป็นการไหว้ขอพรและอวยพรจากญาติผู้ใหญ่และผู้ที่เคารพรัก โดยนำส้มสีทองไปมอบให้ เหตุที่ให้ส้มก็เพราะส้มออกเสียงภาษาแต้จิ๋วว่า "กิก" หรือ ภาษาฮกเกี้ยน "ก้าม"(橘) ซึ่งไปพ้องกับคำว่าความสุขหรือโชคลาภ (吉) [1] เพราะฉะนั้นการให้ส้มจึงเหมือนนำความสุขหรือโชคลาภไปให้ จะมอบส้มจำนวน 4 ผล ห่อด้วยผ้าเช็ดหน้าของผู้ชาย เหตุที่เรียกวันนี้ว่าวันถือคือ เป็นวันที่ชาวจีนถือว่าเป็นสิริมงคล งดการทำบาป จะมีคติถือบางอย่าง เช่น ไม่พูดจาไม่ดีต่อกัน ไม่ทวงหนี้กัน ไม่จับไม้กวาด และจะแต่งกายด้วยเสื้อผ้าใหม่แล้วออกเยี่ยมอวยพรและพักผ่อนนอกบ้าน เป็นต้น
Chinese New Year is the most important of the traditional Chinese holidays. In China, it is known as "Spring Festival," the literal translation of the Chinese name 春節 (Pinyin: Chūn Jié), since the spring season in Chinese calendar starts with lichun, the first solar term in a Chinese calendar year. It marks the end of the winter season, analogous to the Western carnival. The festival begins on the first day of the first month (Chinese: 正月; pinyin: Zhēng Yuè) in the traditional Chinese calendar and ends with Lantern Festival which is on the 15th day. Chinese New Year's Eve, a day where Chinese families gather for their annual reunion dinner, is known as Chú Xī (除夕) or "Eve of the Passing Year." Because the Chinese calendar is lunisolar, the Chinese New Year is often referred to as the "Lunar New Year".
Chinese New Year is the longest and most important festivity in the Chinese calendar. The origin of Chinese New Year is itself centuries old and gains significance because of several myths and traditions. Chinese New Year is celebrated in countries and territories with significant Chinese populations, such as Mainland China, Hong Kong,[2] Indonesia, Macau, Malaysia, Philippines, Singapore,[3] Taiwan, Thailand, and also in Chinatowns elsewhere. Chinese New Year is considered a major holiday for the Chinese and has had influence on the lunar new year celebrations of its geographic neighbors. These include Koreans (Seollal), Bhutanese (Losar), and Vietnamese cultures.
Within China, regional customs and traditions concerning the celebration of the Chinese new year vary widely. People will pour out their money to buy presents, decoration, material, food, and clothing. It is also the tradition that every family thoroughly cleans the house to sweep away any ill-fortune in hopes to make way for good incoming luck. Windows and doors will be decorated with red colour paper-cuts and couplets with popular themes of "good fortune" or "happiness", "wealth", and "longevity". On the Eve of Chinese New Year, supper is a feast with families. Food will include such items as pigs, ducks, chicken and sweet delicacies. The family will end the night with firecrackers. Early the next morning, children will greet their parents by wishing them a healthy and happy new year, and receive money in red paper envelopes. The Chinese New Year tradition is to reconcile, forget all grudges and sincerely wish peace and happiness for everyone.
Although the Chinese calendar traditionally does not use continuously numbered years, outside China its years are often numbered from the reign of the Yellow Emperor. But at least three different years numbered 1 are now used by various scholars, making the year beginning in 2012 AD the "Chinese Year" 4710, 4709, or 4649.[4]
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น