วันอังคารที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2554

โครงการหลวงด้านสิ่งแวดล้อม


"เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม"
พระปฐมบรมราชโองการในพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานเนื่องในโอกาสวันพระราชพิธีบรมราชาภิเษกเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2493 ยังคงตราตรึงอยู่ในหัวใจของพสกนิกรชาวไทยทุกคนอยู่เสมอ ถึงแม้เวลาจะผ่านมาเนิ่นนานเพียงใดก็ตาม พระเมตตาที่พระองค์ทรงมีต่อประชาชนนั้นยิ่งใหญ่เกินกว่าจะ บรรยายได้



นับตั้งแต่ทรงขึ้นเถลิงถวัลย์ราชสมบัติ ชาวไทยทุกคนต่างซาบซึ้งอย่างถ่องแท้ถึงพระมหากรุณาธิคุณที่ เปี่ยมด้วยความรักความ ผูกพันในพสกนิกรและแผ่นดินไทย ทรงร่วมทุกข์ร่วมสุขกับชาวไทยทั่วทั้งประเทศดุจดังทุกข์ ของแผ่นดินคือทุกข์ของพระองค์ พระจริยวัตรที่ทรงปฏิบัติเป็นประจำก็คือการเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมราษฎรทั่วทุกภูมิภาคอย่างใกล้ชิดด้วยมี พระราชประสงค์มุ่งแก้ไขปัญหาให้ประชาชนอยู่ดีกินดีขึ้น โดยใช้หลักการพัฒนาแบบเรียบง่ายประหยัด และสอดคล้องกับวิถีชีวิตดั้งเดิมของท้องถิ่นนั้น ๆ



การบริหารจัดการลุ่มน้ำเพื่อแก้ไขปัญหาดินเปรี้ยวและการป้องกันน้ำท่วมในเขตพื้นที่ภาคใต้ คือหนึ่งในโครงการอันเนื่องมาจาก พระราชดำริ ซึ่งล้วนก่อเกิดขึ้นจากน้ำพระราชหฤทัยที่ทรงทุ่งเทพระวรกาย ด้วยทรงต้องการเห็นสภาพชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของราษฎร



พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงตระหนักถึงปัญหาและความทุกข์ยากของประชาชน โดยเฉพาะเขตภาคใต้ที่ขาดแคลนพื้นที่เกษตรกรรม

โครงการขุดสระเก็บกักน้ำตามทฤษฎีใหม่


โครงการขุดสระเก็บกักน้ำตามทฤษฎีใหม่ ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ




เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2535 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระราชดำริ ให้พิจารณาจัดหาน้ำเพื่อสนับสนุนการเพาะปลูกของราษฎร โดยการดำเนินงานขุดสระเก็บกักน้ำตามทฤษฎีใหม่ ในบริเวณพื้นที่ที่ราษฎรน้อมเกล้าฯ ถวายจำนวน 13 ไร่ 3 งาน อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์ เมื่อวันที่ 30

พฤศจิกายน 2536 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีเสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรโครงการที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานพระราชดำริไว้ดังกล่าว ได้พระราชทานพระราชดำริให้ขยายผลการดำเนินงานของโครงการไปสู่ราษฎรในบริเวณใกล้ เคียงด้วย อีกทั้งต่อมา สมเด็จ

พระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จทอดพระเนตรโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ และเยี่ยมราษฎรในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้พระราชทานพระราชดำริ ให้พิจารณาช่วยเหลือราษฎรที่ประสบปัญหาขาดแคลนน้ำ โดยขุดสระเก็บกักน้ำประจำไร่นาตามทฤษฎีใหม่



หลังจากที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระราชดำริแล้ว สำนักงานกปร. ได้ประสานหน่วยงานราชการต่างๆ ร่วมกันดำเนินการพัฒนาพื้นที่ จำนวน 13ไร่ 3 งาน บ้านแดนสามัคคี ตำบลคุ้มเก่า อำเภอเขาวงจังหวัดกาฬสินธุ์เพื่อพัฒนาพื้นที่การเกษตรที่แห้งแล้งและขาดแคลนน้ำให้มีน้ำสำหรับใช้ทำการเกษตรได้อย่างเพียงพอตลอดปี โดยดำเนินงานในรูปแบทฤษฏีใหม่ ดังนี้



•ขุดสระเก็บกักน้ำประจำไร่นาตามทฤษฎีใหม่ จำนวน 3 ไร่ สามารถเก็บกักน้ำได้ประมาณ 12,000 ลูกบาศก์เมตร

•พื้นที่ทำนา ประมาณ 3 ไร่ มีการศึกษาทดลองปลูกข้าว และพืชไร่หลังนา

•พื้นที่ปลูกไม้ผล พืชไร่ และพืชผัก ประมาณ 6 ไร่

•พื้นที่อยู่อาศัย ถนนและสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ประมาณ 1 ไร่ 3 งาน

•บริเวณขอบสระทำโรงเลี้ยงหมูเหมยซาน และในสระน้ำมีการเลี้ยงปลา

จากการดำเนินงานการเกษตรตามแนวทางทฤษฎีใหม่ในพื้นที่ดังกล่าว ได้ผลงานแยกเป็นประเภทต่างๆ ดังนี้



•ข้าว : โดยวิธีหว่าน และปักดำได้ผลผลิตไว้สำหรับการบริโภค และเหลือขายบ้างบางส่วน



•พืชหลังนา : โดยหลังเก็บเกี่ยวข้าวในช่วงปลายเดือนพฤศจิกายนแล้ว ได้ทำการปลูกข้าวโพดหวานพิเศษ และพืชจำพวกถั่ว เพื่อไว้บริโภคและเหลือขาย รวมทั้ง เป็นการปรับปรุงบำรุงดินด้วย



•พืชสวนครัว : ได้มีการปลูกข่า ตะไคร้ กระเพา พริก ฯลฯ โดยอาศัยน้ำจากสระได้เจริญงอกงามมีผลผลิตดี สามารถเก็บขายได้เงินเป็นรายได้



•ไม้ดอก : ได้มีการปลูกมะลิ เยอบีร่า บานไม่รู้โรย ฯลฯ โดยอาศัยน้ำจากสระ ได้ผลผลิตที่สามารถเก็บขายได้ราคา

•ไม้ผล : ได้มีการปลูกไม้ผลพันธุ์ดี ได้แก่ กระท้อน ขนุน มะม่วง ละมุดน้อยหน่า ส้มโอ มะละกอ ฝรั่ง ฯลฯ โดยอาศัยน้ำจากสระได้เจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว และไม้ผลบางประเภท เช่น ฝรั่ง ละมุด มะละกอสามารถให้ผลผลิตเก็บขายเป็นรายได้ดี



•การเลี้ยงหมู : ได้เลี้ยงหมูเหมยซานเพศเมีย 2 ตัว โดยสร้างคอกบนขอบสระเก็บน้ำ สามารถตกลูกปีละ 2 คอก ๆ ละ 10-12 ตัว



•การเลี้ยงปลา : ได้ปล่อยปลานิล ปลาตะเพียนขาว ปลายี่สกเทศ และปลานวลจันทร์เทศ ลงในสระเก็บน้ำจำนวน 25,000 ตัว จะสามารถจับเป็นอาหารและขายเป็นรายได้ได้เงิน4,150 บาท

ประโยชน์ที่ราษฎรได้รับ

ราษฎรมีสระเก็บกักน้ำไว้ใช้เป็นของตนเอง และต่างให้ความสนใจในการพัฒนาการเกษตรและมีการใช้ประโยชน์จากพื้นที่มากขึ้น บริเวณขอบสระจะปลูกพืชผักสวนครัว ไม้ดอก ไม้ประดับ และ เลี้ยงปลาในสระน้ำ นอกจากนี้ ยังมีการสร้างคอกสัตว์แบบง่ายๆ เพื่อเลี้ยงสัตว์และในช่วงที่เกิดภาวะฝนทิ้งช่วงหรือฤดูแล้ง ราษฎรสามารถอาศัยน้ำจากสระที่เก็บสำรองไว้มาใช้เพาะปลูกกล้า หรือหล่อเลี้ยงต้นไม้ที่ปลูกไว้ได้ ราษฎรเจ้าของสระน้ำจะมีรายได้ที่มั่นคงและเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด เมื่อเทียบกับก่อนขุดสระ เก็บกักน้ำ สภาพชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้นมีงานทำตลอดปี และราษฎรในพื้นที่ต่างๆ ให้ความสนใจเป็นอย่างมากซึ่งสามารถพิสูจน์พระราชดำริเกี่ยวกับทฤษฎีใหม่ว่ามีความเหมาะสมสำหรับพื้นที่ ที่ขาดแคลนแหล่งน้ำในการเกษตรได้เป็นอย่างดี

เตยหอม


เตยหอม ชื่อวิทยาศาสตร์: Pandanus amaryllifolius เป็นไม้ยืนต้นพุ่มเล็ก ขึ้นเป็นกอ ลำต้นอยู่ใต้ดิน ใบเป็นใบเดี่ยว เรียงสลับเวียนเป็นเกลียวขึ้นไปจนถึงยอด ใบเป็นทางยาว สีเข้ม ค่อนข้างแข็ง เป็นมัน ขอบใบเรียบ ในใบมีกลิ่นหอมจากน้ำมันหอมระเหย Fragrant Screw Pine สีเขียวจากใบเป็นสีของคลอโรฟิลล์ ใช้แต่งสีขนมได้

วงศ์ PANDANACEAE


ชื่ออื่นๆ ภาคกลาง : เตยหอมใหญ่ (Toei-hom-yai) เตยหอมเล็ก (Toei-hom-lek)

มลายู : ปาแนะวองิง (Pa-nae-wo-nging)

ถิ่นกำเนิด ไทย มาเลเซีย

รูปลักษณะ ไม้น้ำ ต้นเล็กใบยาวแยกออกจากโคนต้น ใบเขียวเกลี้ยงไม่มีหนามริมใบ มีกลิ่นหอมมันๆ ต้นแก่มีรากอากาศขึ้นอยู่ตามชายคลองที่น้ำขี้นลงถึง



สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา

ต้นและราก-ใช้เป็นยาขับปัสสาวะกระษัย

ใบสด-ตำพอกรักษาโรคหัด โรคผิวหนัง ใช้เป็นยาบำรุงหัวใจให้ชุ่มชื้น โดยใช้น้ำใบเตยผสมอาหาร แต่งกลิ่น แต่งสีขนม




Pandanus amaryllifolius is a tropical plant in the screwpine genus which is known commonly as pandan and is used widely in Southeast Asian cooking as a flavoring. The plant is rare in the wild but is widely cultivated. It is an upright green plant with fan-shaped sprays of long, narrow, bladelike leaves and woody aerial roots. The plant is sterile, flowers only very rarely, and is propagated by cuttings.
Culinary useIn Bangladesh it is called Ketaki, along with the other variety of pandan there (Pandanus fascicularis), and is used to enhance the flavor of pulao, biryani and sweet coconut rice pudding, payesh. It is called pandan wangi in Indonesian, soon-mhway in Burmese, bai tooey in Thai, rampe in Sinhala, and lá dứa in Vietnamese.




The leaves are used either fresh or wilted, and are commercially available in frozen form in Asian grocery stores in nations where the plant does not grow. They have a nutty, botanical fragrance which enhances the flavor of Indonesian, Singaporean, Filipino, Malaysian, Thai, Bangladeshi, Vietnamese, Chinese, Sri Lankan, and Burmese foods, especially rice dishes and cakes.





Biriyanikaitha in Kerala, IndiaThe leaves are sometimes steeped in coconut milk, which is then added to the dish. They may be tied in a bunch and cooked with the food. They may also be woven into a basket which is used as a pot for cooking rice. Pandan chicken, or gai ob bai toey, is a Thai dish with chicken wrapped in pandan leaves and fried. The leaves are also used as a flavoring for desserts such as pandan cake and sweet beverages. Other than that, Filipinos use pandan as a flavoring in buko pandan salad.[1]



The characteristic aroma of pandan is caused by the aroma compound 2-acetyl-1-pyrroline which also gives white bread, jasmine rice and basmati rice (as well as Bread Flowers Vallaris glabra) their typical smell.[2] Bottled pandan extract is also available in shops, but often contains artificial green food coloring. The leaves also have a repellent effect on cockroaches