วันเสาร์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

นาฏศิลป์ญี่ปุ่น

นาฏศิลป์ญี่ปุ่นเกิดขึ้นจากสิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมตามยุคสมัยที่แตกต่างกัน นาฏศิลป์บางประเภทเกิดขึ้นจากความศรัทธาในศาสนา บางประเภทเกิดจากสถาบันครอบครัว ความต้องการของชาวบ้าน



นาฏศิลป์ญี่ปุ่นยุคโบราณมีความเชื่อในสิ่งศักดิ์สิทธิ์และศาสนา การแสดงพัฒนามาจากนาฏศิลป์ที่จัดแสดงในวัดจนเข้าไปในราชสำนัก เพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงอิทธิพลในด้านการแสดงนาฏศิลป์ของจีน จึงทำให้จักพรรดิญี่ปุ่นหันมาปลูกฝังให้ประชาชนตระหนักในคุณค่าของศิลปวัฒนธรรมประจำชาติ และพัฒนาปรับปรุงนาฏศิลป์ให้เป็นที่นิยมของชนรุ่oใหม่ นาฏศิลป์ของญี่ปุ่นที่เป็นวัฒนธรรมประจำชาติ ได้แก่ ละครคาบูกิ โนะ และเคียวเง็น



การแสดงละครคาบูกิ








คาบูกิ เป็นละครที่มีต้นกำเนิดมาจากละครโนะและละครหุ่นรากุชาผสมกัน เนื้อเรื่องเหมือนโขน ละครของไทย

ผู้ชมต้องการดูศิลปะในการแสดงมากกว่าติดตามเนื้อเรื่อง


1) ลักษณะการแสดงละครคาบูกิ ตัวละครมีทั้งพูดเอง หรือมีผู้พากย์แบบโขน ท่าทางที่แสดงมีแบบแผนเคร่งครัด

แม้แต่การแต่งหน้า จะกำหนดไว้เป็นแบบแผนว่าละครตัวไหนจะต้องแต่งหน้าอย่างไร มีการเขียนหน้าคล้ายงิ้วของจีน

ตัวร้ายจะแต่งหน้าแดง ตัวพระเอกจะแต่งหน้าข่าว เส้นทุกเส้นที่เขียนบอกอายุ ตำแหน่ง อารมณ์ของตัวละคร การต่อสู้

ในการแสดงจะแสดงแต่เฉพาะวิธีฟันโดยที่อาวุธจะไม่โดนกัน ผู้แสดงจะทราบว่าฟันแบบไหน แรงเท่าใด และฟันท่าไหนตัวละครถึงจะตาย การกินน้ำชาในเรื่องก็ทำท่าดื่มโดยไม่มีถ้วยชา ผู้แสดงเป็นชายทั้งหมด



2) ดนตรีประกอบการแสดง ได้แก่ ขลุ่ย ซามิเซน กลองเล็ก ฆ้อง ไม้เคาะ หรือเรียกว่า "กรับ" ผู้เคาะไม้จะกำกับ

การเปิด ปิดม่าน เริ่มตีด้วยจังหวะช้าแล้วรัวถี่ขึ้น เมื่อตัวละครออกมาจะเคาะ 1 ที

กล้วยไม้สกุลแคทลียา Cattleya

แคทลียาเป็นกล้วยไม้ที่ได้รับความนิยมปลูกเลี้ยงอย่างกว้างขวางในหลายประเทศ เนื่องจากแคทลียาเป็นกล้วยไม้ที่มีดอกขนาดใหญ่ที่สุดและสีสวยงามที่สุด บางชนิดมีกลิ่นหอม และถือกันว่าแคทลียาเป็น ราชินีแห่งกล้วยไม้ และเป็นสัญลักษณ์สากลของกล้วยไม้ทั่วไป





แคทลียาเป็นกล้วยไม้ที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในเขตร้อนแถบอเมริกากลางและอเมริกาใต้ตอนเหนือ เป็นกล้วยไม้ที่เจริญเติบโตและมีรูปทรงแบบซิมโพเดี้ยล คือมีเหง้าแนบไปตามเครื่องปลูก เหง้าอาจจะมีทั้งยาวและสั้น มีรากงอกเจริญจากเหง้า ไม่มีรากแขนง เป็นระบบรากกึ่งอากาศดูดอาหารจากอากาศและเครื่องปลูก แคทลียาเป็นกล้วยไม้ที่มีลำลูกกล้วย มีหลายลักษณะ บางชนิดลำลูกกล้วยเป็นข้อปล้อง รูปทรงของลำป่องตรงกลางหรือค่อนไปข้างบนของลำเล็กน้อย มีหน้าที่เก็บสะสมอาหาร เหนือข้อที่โคนลำจะมีตา 2 ตา คือตาซ้าย และตาขวา เป็นตาแตกลำใหม่ง่ายที่สุด บางชนิดที่ลำลูกกล้วยอ้วนป้อม บางชนิดเป็นรูปทรงกระบอกหรือบิดเป็นเกลียวเล็กน้อย ผิวพื้นของลำอาจเกลี้ยงหรือเป็นร่องตามความยาวของลำ เมื่อกล้วยไม้เจริญเติบโต ลำที่ 1 หรือเรียกว่าลำหลัง จะแตกตาออกแล้วเจริญเป็นลำที่ 2 หรือเรียกว่าลำหน้า เมื่อลำที่ 2 เจริญดีแล้วก็จะแตกตาออกเป็นลำที่ 3 และที่ 4 ออกไปเรื่อยๆ บางครั้งตาแตกออกเป็น 2 ทางเรียกว่า ไม้ 2 หน้า จึงทำให้ดูเป็นกอใหญ่ โดยมีเหง้าเป็นส่วนที่เชื่อมโยงของลำลูกกล้วยลำต่อลำ และเป็นส่วนของลำที่เจริญออกจากลำเดิม





แคทลียามีใบเกิดที่ส่วนปลายลำลูกกล้วยเท่านั้น ในลำใหม่ที่กำลังเจริญใบส่วนมากแบน แต่บางชนิดใบกลมรูปทรงกระบอก ใบอาจมีหรือไม่มีกาบ รูปลักษณะค่อนข้างหนาแข็ง แต่ไม่เปราะ ลำลูกกล้วยลำหนึ่งอาจจะมีใบเพียงใบเดียวหรือสองใบก็ได้ ลักษณะของใบใช้ในการแบ่งประเภทของกล้วยไม้สกุลแคทลียา โดยแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

•ประเภทใบเดี่ยว เป็นแคทลียาประเภทที่ปลายลำลูกกล้วยมีใบเพียงใบเดียวเท่านั้น แคทลียาประเภทนี้มักออกดอกน้อย ช่อหนึ่งอาจมีเพียง 1 หรือ 2 ดอกเท่านั้น ลักษณะดอกใหญ่ ช่อดอกสั้น

•ประเภทใบคู่ เป็นแคทลียาประเภทที่ลำลูกกล้วยมี 2 ใบ อาจจะมีใบถึง 3 ใบก็ได้ แคทลียาประเภทนี้จะออกดอกเป็นช่อ ช่อหนึ่งมีหลายดอก ดอกเล็กช่อยาว


แคทลียาออกดอกที่ปลายลำลูกกล้วย เมื่อออกดอกจะออกลำหน้าซึ่งเมื่อมีลำหน้าหลายลำเวลาออกดอกจะออกดอกทีละมากๆ บางครั้งอาจมีถึง 10 ช่อ การออกดอกในแต่ละช่อ ช่อดอกหนึ่งๆ อาจมีดอกเพียง 1 ดอก, 2 ดอก, 3 ดอก หรือบางชนิดอาจมีถึง 10 ดอกก็ได้ ลักษณะของกลีบดอกมีกลีบนอก 3 กลีบ อยู่ข้างบน 1 กลีบ ข้างล่าง 2 กลีบ ขนาดเท่าๆ กัน กลีบในมี 3 กลีบ กลีบใน 2 กลีบบนมีรูปร่างเหมือนกัน โดยปกติมีขนาดใหญ่กว่ากลีบนอก กลีบในที่ 3 อยู่ที่ตอนล่างมีรูปร่างไม่เหมือนกับกลีบในบน กลีบจะม้วนทั้ง 2 ข้างเรียกว่า ปาก หรือ กระเป๋า ปากมีหูกว้าง ริมปากหยักเป็นคลื่นและมีสีเข้มกว่าส่วนอื่นๆ ภายในปากมีเส้นเกสรค่อนข้างยาวและโค้งเล็กน้อยยื่นออกมา แคทลียามีเกสรตัวผู้อยู่ตอนปลายเส้าเกสรเป็นคู่มี 2 คู่ เกสรตัวเมียอยู่ตอนล่าง เส้าเกสรนี้เป็นที่รวมของอวัยวะตัวเมียซึ่งมีรังไข่อยู่ติดกับเส้าเกสรด้านล่างเห็นเป็นลักษณะคอดเล็กยาวชัดเจนเมื่อติดฝัก ซึ่งฝักนี้จะมีเมล็ดเป็นผงเล็กมากอยู่ภายในเป็นจำนวนมาก เมื่อแก่จัดฝักก็จะแตกและเมล็ดจะแพร่กระจายปลิวไปตกยังที่ต่างๆ เมื่อมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมก็จะงอกเจริญเป็นต้นใหม่และขยายพันธุ์ต่อไปตามวงจรชีวิตธรรมชาติ






แคทลียาลูกผสม เป็นกล้วยไม้ที่เกิดจากการผสมข้ามสกุลระหว่างกล้วยไม้สกุลแคทลียากับกล้วยไม้สกุลใกล้เคียงอื่นๆ เช่น

•กล้วยไม้สกุลลีเลีย (Laelia)

•กล้วยไม้สกุลบรัสซาโวลา (Brassavola)

•กล้วยไม้สกุลโซโฟไนตีส (Sophronitis)

•กล้วยไม้สกุลเอพิเดนดรัม (Epidendrum)

•กล้วยไม้สกุลชอมบูเกีย (Schomburgkia)

แคทลียาลูกผสม 2 สกุล

เป็นกล้วยไม้ลูกผสมที่เกิดจากกล้วยไม้สกุลแคทลียาแท้ผสมกับกล้วยไม้สกุลต่างๆ เกิดเป็นแคทลียาลูกผสม 2 สกุล เช่น



•ลีลิโอแคทลียา (Laeliocattleya) เป็นกล้วยไม้ลูกผสมที่เกิดจากสกุลแคทลียาผสมข้ามสกุลกับลีเลีย

•บรัสโซแคทลียา (Brassocattleya) เป็นกล้วยไม้ลูกผสมที่เกิดจากสกุลแคทลียาผสมข้ามสกุลกับบรัสซาโวลา

•โซโฟรแคทลียา (Sophrocattleya) เป็นกล้วยไม้ลูกผสมที่เกิดจากสกุลแคทลียาผสมข้ามสกุลกับโซโฟรไนตีส

•เอพิแคทลียา (Epicattleya) เป็นกล้วยไม้ลูกผสมที่เกิดจากสกุลแคทลียาผสมข้ามสกุลกับเอพิเดนดรัม

•ชอมบูแคทลียา (Schombocattleya) เป็นกล้วยไม้ลูกผสมที่เกิดจากสกุลแคทลียาผสมข้ามสกุลกับชอมบูเกีย





แคทลียาลูกผสม 3 สกุล

เป็นกล้วยไม้ลูกผสมที่เกิดจากกล้วยไม้แคทลียาลูกผสมที่ผสมแล้ว 2 สกุลผสมข้ามกับอีกสกุลหนึ่ง เกิดเป็นแคทลียาลูกผสม 3 สกุล เช่น



•บรัสโซลีลิโอแคทลียา (Brassolaeliocattleya) เป็นกล้วยไม้ลูกผสมที่เกิดจากกล้วยไม้บรัสโซแคทลียาผสมกับกล้วยไม้สกุลลีเลีย (สกุลแคทลียาผสมกับสกุลบรัสซาโวลาผสมกับสกุลลีเลีย)

•เอพิลีลิโอแคทลียา (Epilaeliocattleya) เป็นกล้วยไม้ลูกผสมที่เกิดจากกล้วยไม้ลีลิโอแคทลียาผสมกับกล้วยไม้สกุลเอพิเดนดรัม (สกุลแคทลียาผสมกับสกุลลีเลียผสมกับสกุลเอพิเดนดรัม)

•เอพิคาโทเนีย (Epicatonia) เป็นกล้วยไม้ลูกผสมที่เกิดจากกล้วยไม้เอพิแคทลียาผสมกับกล้วยไม้สกุลสกุลบรัสซาโวลา (สกุลแคทลียาผสมกับสกุลเอพิเดนดรัมผสมกับสกุลบรัสซาโวลา)

•ดีเคนสารา (Dekensara) เป็นกล้วยไม้ลูกผสมที่เกิดจากกล้วยไม้บรัสโซแคทลียาผสมกับกล้วยไม้สกุลชอมบูเกีย (สกุลแคทลียาผสมกับสกุลบรัสซาโวลาผสมกับสกุลชอมบูเกีย)

แคทลียาลูกผสม 4 สกุล

เป็นกล้วยไม้ลูกผสมที่เกิดจากกล้วยไม้แคทลียาลูกผสมที่ผสมแล้ว 3 สกุลกับอีกสกุลหนึ่งเกิดเป็นแคทลียาลูกผสม 4 สกุล เช่น



•ยามาดารา (Yamadara) เป็นลูกผสมกล้วยไม้ที่เกิดจากกล้วยไม้บรัสโซเลลิโอแคทลียาผสมข้ามกับสกุลเอพิเดนดรัม

•โพตินารา (Potinara) เป็นลูกผสมกล้วยไม้ที่เกิดจากกล้วยไม้บรัสโซเลลิโอแคทลียาผสมข้ามกับสกุลโซโฟรไนตีส

วันพฤหัสบดีที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

วันมาฆบูชา (Magha Puja)

     
  วันมาฆบูชา (บาลี: มาฆปูชา; อังกฤษ: Magha Puja) เป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาของชาวพุทธเถรวาทและวันหยุดราชการในประเทศไทย[1] "มาฆบูชา" ย่อมาจาก "มาฆปูรณมีบูชา" หมายถึงการบูชาในวันเพ็ญกลางเดือนมาฆะ ตามปฏิทินของอินเดีย หรือเดือน 3 ตามปฏิทินจันทรคติของไทย (มักอยู่ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ หรือเดือนมีนาคม) ถ้าในปีใดมีเดือน อธิกมาส คือมีเดือน 8 สองหน (ปีอธิกมาส) ก็เลื่อนไปทำในวันเพ็ญเดือน 3 หลัง (วันเพ็ญเดือน 4)


      วันมาฆบูชา ได้รับการยกย่องเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาเนื่องจากเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นเมื่อ 2,500 กว่าปีก่อน องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงโอวาทปาฏิโมกข์ท่ามกลางที่ประชุมมหาสังฆสันนิบาตครั้งใหญ่ในพระพุทธศาสนา โดยมีเหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้นพร้อมกัน 4 ประการ คือ พระสงฆ์สาวกที่มาประชุมพร้อมกันทั้ง 1,250 รูปนั้นได้มาประชุมกันยังวัดเวฬุวันโดยมิได้นัดหมาย, พระสงฆ์ที่มาประชุมทั้งหมดต่างล้วนเป็น "เอหิภิกขุอุปสัมปทา" หรือผู้ได้รับการอุปสมบทจากพระพุทธเจ้าโดยตรง, พระสงฆ์ทั้งหมดที่มาประชุมล้วนเป็นพระอรหันต์ผู้ทรงอภิญญา 6, และวันดังกล่าวตรงกับวันเพ็ญมาฆปุรณมีดิถี ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 ดังนั้นจึงมีคำเรียกวันนี้อีกคำหนึ่งว่า "วันจาตุรงคสันนิบาต" หรือ วันที่มีการประชุมพร้อมด้วยองค์ 4[3][4]

      เดิมนั้นไม่มีการประกอบพิธีมาฆบูชาในประเทศพุทธเถรวาท จนมาในสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) พระองค์ได้ทรงปรารภถึงเหตุการณ์ครั้งพุทธกาลในวันเพ็ญเดือน 3 ดังกล่าวว่า เป็นวันที่เกิดเหตุการณ์สำคัญยิ่ง ควรมีการประกอบพิธีทางพระพุทธศาสนาเพื่อเป็นที่ตั้งแห่งความศรัทธาเลื่อมใส จึงมีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้จัดการพระราชกุศลมาฆบูชาขึ้น[5] โดยการประกอบพระราชพิธีคงคล้ายกับวันวิสาขบูชา คือมีการบำเพ็ญพระราชกุศลต่าง ๆ มีการพระราชทานจุดเทียนตามประทีปเป็นพุทธบูชาในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม และพระอารามหลวงต่าง ๆ เป็นต้น โดยในช่วงแรกพิธีมาฆบูชาคงเป็นการพระราชพิธีภายใน ยังไม่แพร่หลายทั่วไป จนต่อมาความนิยมจัดพิธีมาฆบูชาจึงได้ขยายออกไปทั่วราชอาณาจักร

      ปัจจุบันวันมาฆบูชาได้รับการประกาศให้เป็นวันหยุดราชการในประเทศไทย[1] โดยพุทธศาสนิกชนทั้งพระบรมวงศานุวงศ์[6] พระสงฆ์ และประชาชน จะมีการประกอบพิธีต่าง ๆ เช่น การตักบาตร การฟังพระธรรมเทศนา การเวียนเทียน เป็นต้น เพื่อเป็นการบูชารำลึกถึงพระรัตนตรัยและเหตุการณ์สำคัญดังกล่าว ที่ถือได้ว่าเป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงประทานโอวาทปาฏิโมกข์[7] ซึ่งกล่าวถึงหลักคำสอนอันเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา ได้แก่ การไม่ทำความชั่วทั้งปวง การบำเพ็ญความดีให้ถึงพร้อม และการทำจิตของตนให้ผ่องใส เพื่อเป็นหลักปฏิบัติของพุทธศาสนิกชนทั้งมวล

      นอกจากนี้ ในปี พ.ศ. 2549 รัฐบาลไทยได้ประกาศให้วันมาฆบูชา ให้เป็น "วันกตัญญูแห่งชาติ" เนื่องจากปัจจุบันสังคมไทยวัยรุ่นสาวมักจะเสียตัวในวันวาเลนไทน์หลายหน่วยงานจึงพยายามรณรงค์ให้วันมาฆบูชาเป็นวันแห่งความรัก (อันบริสุทธิ์) แทน

สำหรับในปี พ.ศ. 2554 นี้ วันมาฆบูชาจะตรงกับ วันศุกร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ ตามปฏิทินสุริยคติ

Magha Puja


Māgha Pūjā or Makha Bucha (Lao: ມະຄະບູຊາ; Thai: มาฆบูชา (Pronunciation); Khmer: ​មាឃបូជា) is an important religious festival celebrated by Buddhists in Thailand, Cambodia, and Laos on the full moon day of the third lunar month (this usually falls in February). The third lunar month is known in the Thai language as Makha (Pali: Māgha); Bucha is also a Thai word (Pali: Pūjā), meaning "to venerate" or "to honor". As such, Makha Bucha Day is for the veneration of Buddha and his teachings on the full moon day of the third lunar month.


The spiritual aims of the day are: not to commit any kind of sins; do only good; purify one's mind.

Māgha Pūjā is a public holiday in Thailand, Laos and Cambodia - and is an occasion when Buddhists tend to go to the temple to perform merit-making activities.
Origin of Māgha Pūjā DayMāgha Pūjā day marks the four auspicious occasions, which happened nine months after the Enlightenment of the Buddha at Veḷuvana Bamboo Grove, near Rājagaha in Northern India. On that occasion, as recorded in the commentary to the Mahāsamayasutta, DN-Comm 20) four marvellous events occurred:


There were 1,250 Sangha followers, that came to see the Buddha that evening without any schedule.

All of them were Arhantas, the Enlightened One, and all of them were ordained by the Buddha himself.

The Buddha gave those Arhantas principles of the Buddhism, called "The ovadhapatimokha". Those principles are: - To cease from all evil,- To do what is good,- To cleanse one's mind;

it was the full-moon day.

The Buddha gave an important teaching to the assembled monks on that day 2,500 years ago called the 'Ovādapātimokha'[1] which laid down the principles of the Buddhist teachings. In Thailand, this teaching has been dubbed the 'Heart of Buddhism'.