วันศุกร์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

แม่น้ำบางปะกง (The winter.)


ลำน้ำบางปะกงมีต้นกำเนิดจากทิวเขาสันกำแพงบนที่ราบสูงโคราช ไหลผ่านจังหวัดปราจีนบุรี (เรียกว่าแม่น้ำปราจีนบุรี) ผ่านอำเภอบางน้ำเปรี้ยว (เรียกว่าแม่น้ำแปดริ้ว) ผ่านอำเภอบางคล้า อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา และออกสู่อ่าวไทยที่อำเภอบางปะกง ระยะทาง 230 กิโลเมตร การท่องเที่ยวทางเรือในลำน้ำบางปะกง เริ่มจากตัวเมืองฉะเชิงเทราเพื่อชมธรรมชาติ สองฝั่งน้ำชมบ้านเรือน ซึ่งยังคงสภาพความเป็นอยู่อย่างไทย ผ่านสถานที่น่าสนใจ เช่น อาคารตำหนักกรมขุนมรุพงษ์ศิริวัฒน์ ป้อมและกำแพงเมืองโบราณ อาคารศาลากลางหลังเก่า กลุ่มเรือนแพสมัยเก่า วัดวาอาราม ทั้งวัดไทย จีน ฝรั่ง เช่น วัดเมือง วัดสัมปทวน วัดแหลมใต้ วัดสายชล วัดเซ็นต์ปอล ไปขึ้นฝั่งที่วัดโพธิ์บางคล้า เพื่อชมค้างคาวแม่ไก่ ระยะทางประมาณ 25 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทาง 3 ชั่วโมง สามารถติดต่อเช่าเรือได้ที่ท่าน้ำวัดโสธรวรารามวรวิหาร หรือที่ท่าน้ำหน้าตลาดในตัวเมือง


The winter
Winter river originates from hills of Chiang Mai on the Korat Plateau. Through Prachinburi. (Also known as River City) Bangnampreaw district. (Called the river wanted) Bangkhla district. Muang Chachoengsao. And into the Gulf of Thailand, the district plan within 230 kilometers of river boat cruises in the winter. From Chachoengsao town to enjoy the nature. Both sides of a house visit. This remains as one of Thailand. Through attractions such as Tower, Palace of Khun Pong Mru Sirivat. Fort and the ancient city walls. The Old Capitol Building. The houseboat and old temples such as Wat Thai Temple in Chinese, repeated measurements of the signal at the Cape, South St. Paul's to measure hydraulics line ashore at Wat Pho Bangkhla. To watch the bats hens. Distance of 25 km trip takes 3 hours to contact the boat at Pier Sothon Ram third. Or at the waterfront in the downtown market.



ดอกเลา คำเปรียบเทียบคนล้านนา


ดอกเลา คำเปรียบเทียบคนล้านนา ผะหญาการสังเกตดอกไม้ธรรมชาติ

สีผมของคนเรามันเปลี่ยนแปรไปตามธรรมชาติจากสีดำดกเข้มขำ หลายๆคนเปลี่ยนไปเป็นสีดอกเลา ดอกเลามันเป็นอย่างไร เด็กๆสมัยนี้เคยเห็นเคยรู้กันบ้างไหม หรือแม้แต่ผู้หย่งผู้ใหญ่บางคนยังไม่เคยเห็นดอกเลาแต่ก็ว่าตามเขาได้สบายปาก แถมผมบนหัวตัวเองยังเปลี่ยนจากสีดำเป็นสีดอกเลาให้เขาได้เห็น

วันนี้ได้นำกล้องถ่ายภาพคู่ชีพออกจากบ้านไปเที่ยวตามลำน้ำ เห็นวิถีชีวิตของผู้คนในลุ่มน้ำปิงอย่างหลากหลาย บ้างทอดแห บ้างขุดทรายจากพื้นน้ำขึ้นใส่ในลำเรือ แต่ที่แน่ๆ สองฟากฝั่งมีดอกเลาสีขาวเต็มไปหมด ทำให้นึกถึงคำกล่าวของคนล้านนาที่ว่า "ผมขาวเหมือนดอกเลา"

ลุงอิ่นแสง ที่เป็นชาวสวนใกล้ลำน้ำปิงได้เล่าว่า "ต้นอ้อ ต้นแขม หรือต้นเลามันขึ้นมากมายตามฝั่งลำน้ำแม่ปิง ที่จริงไม้พวกนี้มันมีประโยชน์มากมายต่อฝั่งน้ำ เพราะมันมีรากเหง้าที่ลึกและดกหนา แผ่กระจายไปกว้างจับเกาะตามหน้าดินซึ่งเป็นฝั่งน้ำให้เนื้อดินติดกันแน่น ไม่พังไปกับสายน้ำได้ง่ายๆ"

พูดถึงดอกเลาหรือดอกแขมมักจะออกดอกให้ผู้คนได้เห็นเมื่อยามเข้าสู่หน้าหนาว ขณะที่กระแสน้ำปิงเริ่มลดลาฝั่ง ยามที่ลมหนาวโชยกระแสพาเอาความหนาวเย็นมาสู่ผู้คน ดอกเลาเริ่มแทงยอดอวดสีขาวบริสุทธิ์ให้ผู้คนได้รับรู้ว่าฤดูกาลทำสวนริมฝั่งน้ำเริ่มต้นได้แล้ว

เมื่อเห็นดอกเลา ชาวสวนสองฝั่งปิงจะลงมือถากถางขุดแต่งพื้นดินให้เป็นร่องเป็นแปลงเพื่อปลูกพืชสวนตามปกติ ในยามนี้เองเราจะเห็นกลุ่มควันที่เผาไหม้จากกอหญ้า กอพืชที่ไม่ต้องการลอยเคว้งคว้างผ่านปลายยอดดอกเลาดูสวยงามยิ่งนัก ในขณะที่มองไปบนท้องฟ้าเห็นสีครามกว้างไกล

บางครั้งสายลมหนาวพลิ้วพัดจอยพาความเย็นมาสัมผัสผิวกายทำให้เกิดความสุขอย่างสมบูรณ์อารมณ์ในขณะที่อยู่ริมสายน้ำ สายลมพลิ้วคราวครั้งหนึ่งอาจพัดเอาละอองเกสร กลีบดอกเลาปลิวไปตามสายลมพลัดพรากจากถิ่นที่เคยอยู่ไปตกหล่นพลัดถิ่นในที่ไกล แต่ดอกเลายังคงสีขาวซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของมันอย่างเข้มข้นทำให้ผู้คนต่างใช้ความสังเกตสีของดอกเลาเอามาเปรียบเทียบกับสีของเส้นผมจากสีดำเป็นสีขาวตามอายุขัยวัยที่แปรเปลี่ยนเช่นกัน

ผมสีดอกเลาจึงเป็นเสมือนเครื่องเตือนผู้คนให้พิจารณาตนเอง พิจารณาสังขาร วัยอันเปลี่ยนไปตามธรรมชาติที่ไม่สามารถยับยั้งไว้ได้ ดังคำกล่าวที่ว่า อันที่อยากให้มันหยุดมันก็ไม่หยุด นั่นเอง



Grayish metaphor Lanna. For permission to observe the course of natural flowers.


It's changing hair color, natural color and black and really dark. Many people turn to a grayish color. It is grayish. Kids these days do not know what to do. Even some adults who have not seen Hieg grayish, but that he was comfortable with her. I was on my head also turns from black to grayish, he has seen.

This is the indispensable camera out of the house to the river. The lifestyle of people in a variety of Ping River Basin, some sand casting some of the ground water in the hull sides, but certainly filled with a grayish white. Makes me think of a million words in it. "I like a grayish-white."

He was a farmer near the river of light that Ping has said, "I was at the meeting it แkm or more of the Mae Ping River. This actually is not that there are many benefits to the water. It has deep roots and thick head. Spread wide, the island soil, the soil adjacent to the water-tight. Not simply fall to the river. "

To grayish or flowers are blooming แkm people see when entering the winter. While the reduction in the Ping river. When the wind gently brought the cold to the people. The bet's off grayish white people do not realize that the season has already started the waterfront.



When you see the grayish Ping will begin cutting along both sides of gardeners digging the ground a groove is converted to a regular garden soil. This is when we see the smoke from burning grass clump. Gore does not want to drift aimlessly through the plant's flowers are very beautiful property. While looking at the sky to see the blue range.

Sometimes the wind blows cold flutter touch the cold I'll make my body feel perfectly at the edge of the river. Flutter wind may blow it this time pollen. Petals blown by the wind, lost property of residents who are displaced far to fall. Grayish-white, but still a strong identity of its people to take notice of a grayish color with the color of my hair from black to white by changing his life as well.

Grayish hair is warning people to consider their own virtual machines. The body. It changes according to their nature, can not stop them. As the saying. I want to make it stop it stop it.

วันพุธที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

แม่น้ำท่าจีน (Tha Chin)


Tha Chin est une rivière qui s'est séparée de la rivière Chao Phraya à Tambon Tha Sung du district d'Uthai Thani province sur le côté ouest de la Chante district Wat. Chai Nat. Flux à travers la province de Chai Nat. Province de Suphan Buri. Province de Nakhon Pathom. Threads. Avant qu'il ne se jette dans le golfe de Thaïlande à Tambon Bang Phraek Ya. District Est. Threads. Il ya environ 325 kilomètres de long, la rivière Tha Chin est appelé plusieurs noms comme il traverse la province de Chai Nat. «Mon Old Man River" à la province de Suphan Buri, appelé «fleuve de Suphan" lorsqu'il est appelé par l'intermédiaire de Nakorn Pathom. «Le long de la rivière" qui traverse la province de l'Est et se jette dans le golfe de Thaïlande connue. "Tha Chin."

แม่น้ำท่าจีน เป็นแม่น้ำที่แยกตัวออกจากแม่น้ำเจ้าพระยาที่ตำบลท่าซุง อำเภอเมือง จังหวัดอุทัยธานี กับ ฝั่งตะวันตกที่อำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท ไหลผ่านจังหวัดชัยนาท จังหวัดสุพรรณบุรี จังหวัดนครปฐม จังหวัดสมุทรสาคร ก่อนจะไหลออกสู่อ่าวไทยที่ตำบลบางหญ้าแพรก อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร มีความยาวทั้งสิ้นประมาณ 325 กิโลเมตร แม่น้ำท่าจีนมีชื่อเรียกหลายชื่อ ดังนี้ ตอนที่ไหลผ่านจังหวัดชัยนาทเรียกว่า "แม่น้ำมะขามเฒ่า" ตอนที่ผ่านจังหวัดสุพรรณบุรี เรียกว่า "แม่น้ำสุพรรณบุรี" ตอนที่ผ่านจังหวัดนครปฐมเรียกว่า "แม่น้ำนครชัยศรี" ส่วนตอนที่ไหลผ่านจังหวัดสมุทรสาครและไหลลงสู่อ่าวไทยเรียกว่า "แม่น้ำท่าจีน"



ลำน้ำสาขาจังหวัดสมุทรสาคร

คลองพิทยาลงกรณ์ หรือ คลองสรรพสามิต เป็นคลองเชื่อมกับแม่น้ำเจ้าพระยา ปากคลองจะอยู่บริเวณฝั่งตะวันออกของแม่น้ำท่าจีนที่ตำบลบางหญ้าแพรก อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร ไหลผ่านเขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร ออกสู่แม่น้ำเจ้าพระยาที่อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ

คลองมหาชัย หรือ คลองสนามชัย ปากคลองจะอยู่บริเวณฝั่้งตะวันออกของแม่น้ำท่าจีนที่ตำบลมหาชัย อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร ไหลผ่านเขตบางขุนเทียน ออกสู่คลองด่าน (คลองบางหลวงน้อย) ที่เขตจอมทอง กรุงเทพมหานคร เชื่อมแม่น้ำเจ้าพระยา

คลองสุนัขหอน หรือ คลองแม่กลอง ปากคลองจะอยู่บริเวณฝั่งตะวันตกของแม่น้ำท่าจีนที่ตำบลท่าจีน อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร ไหลผ่านอำเภอบ้านแพ้ว ออกสู่แม่น้ำแม่กลองที่อำเภอเมืองสมุทรสงคราม จังหวัดสมุทรสงคราม

คลองดำเนินสะดวก ปากคลองจะอยู่บริเวณฝั่งตะวันตกของแม่น้ำท่าจีนที่อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร ไหลผ่านอำเภอบ้านแพ้ว อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี ก่อนเชื่อมแม่น้ำแม่กลองที่ประตูน้ำบางนกแขวก อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม

คลองบางยาง ปากคลองจะอยู่บริเวณฝั่งตะวันตกของแม่น้ำท่าจีนที่อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร ก่อนเชื่อมคลองดำเนินสะดวกที่ อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร

คลองภาษีเจริญ ปากคลองจะอยู่บริเวณฝั่งตะวันออกของแม่น้ำท่าจีนที่ตำบลดอนไก่ดี อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร ไหลผ่านอำเภอกระทุ่มแบน เขตหนองแขม เขตบางแค เขตภาษีเจริญ ออกสู่คลองบางกอกใหญ่ และคลองบางขุนศรี ที่เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร เชื่อมแม่น้ำเจ้าพระยา

จังหวัดนครปฐม
คลองบางแก้ว เป็นคลองธรรมชาติ อยู่ทางฝั่งซ้ายของแม่น้ำนครชัยศรี มีสองสาขาคือ แยกซ้ายไปเชื่อมกับห้วยหลายสายจนถึงแม่น้ำแม่กลอง มีลำรางสระอ้อ เป็นทางเชื่อม ต่อมจากนั้นจึงเป็นคลองบางระกำ และต่อกับลำห้วยต่างๆ จนถึงแม่น้ำแม่กลอง ส่วนแยกขวาไปรวมกับคลองเจดีย์บูชา

คลองมหาสวัสดิ์ อยู่ทางฝั่งขวาของแม่น้ำนครชัยศรี เป็นคลองที่ขุดในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เชื่อมแม่น้ำนครชัยศรี กับคลองบางกอกน้อย ที่บริเวณวัดชัยพฤกษ์มาลา เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร มีความยาว 30 กิโลเมตร กว้าง 10 วา ขนานไปกับทางรถไฟสายใต้

คลองเจดีย์บูชา อยู่ทางฝั่งซ้ายของแม่น้ำนครชัยศรี เป็นคลองขุดในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ปากคลองอยู่เหนือตลาดท่านาเล็กน้อย ยาวประมาณ 12 กิโลเมตร จากอำเภอนครชัยศรี ถึงอำเภอเมืองนครปฐม ขนานกับทางรถไฟสายใต้ คลองบางช่วงมีลำรางอยู่ก่อนแก้ว มีคลองบางแก้วมาบรรจบช่วงใกล้ถึงองค์พระปฐมเจดีย์

คลองบางพระ อยู่ทางฝั่งซ้ายของแม่น้ำนครชัยศรี เป็นคลองธรรมชาติ ไหลผ่านหลายตำบล เชื่อมต่อแม่น้ำแม่กลองกับแม่น้ำนครชัยศรี เดิมปากคลองบางพระจะไหลไปบรรจบแม่น้ำแม่กลอง ที่บริเวณอำเภอท่าเรือ จังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งเป็นเส้นทางสัญจรที่สำคัญในสมัยโบราณ แต่ปัจจุบันปากคลองถูกตัดขาด และเปิดให้รับน้ำจากคลองประปาที่ไหลมาจากเขื่อนวชิราลงกรณ์

คลองพิสมัย อยู่ทางฝั่งขวาของแม่น้ำนครชัยศรี ระหว่างตำบลบางหลวง อำเภอนครชัยศรี กับอำเภอบางเลน เป็นคลองขุดยาวประมาณ 4 กิโลเมตร พระองค์เจ้าพิสมัยทรงริเริ่มให้ขุด ใช้ประโยชน์ในทางการเกษตร

คลองทวีวัฒนา หรือคลองนราภิรมย์ อยู่ฝั่งขวาของแม่น้ำนครชัยศรี ปากคลองอยู่ที่ตำบลนราภิรมย์ อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม ไหลผ่านฝั่งซ้ายอำเภอบางเลน และอำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม กับฝั่งขวาที่อำเภอไทรน้อย อำเภอบางใหญ่ และอำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี เข้าเขตกรุงเทพมหานครที่เขตทวีวัฒนา ก่อนออกสู่คลองภาษีเจริญที่เขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร

คลองท่าสาร-บางปลา เป็นคลองธรรมชาติ อยู่ทางฝั่งซ้ายของแม่น้ำนครชัยศรี บริเวณหน้าวัดบางปลา หมู่ที่ 6 ตำบลบางปลา อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม ผ่านอำเภอดอนตูม อำเภอกำแพงแสน เข้าเขตจังหวัดกาญจนบุรี ก่อนจะออกสู่แม่น้ำแม่กลองที่อ่าวท่าสาร บริเวณบ้านท่าเรือตำบลตะคร้ำเอน อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี คาดว่ามีมาตั้งแต่สมัยทวาราวดี ชาวบ้านใช้ลำคลองเป็นเส้นทางสัญจรทางน้ำ เป็นเส้นทางการรบในอดีต และเป็นแหล่งน้ำสำหรับการดำเนินชีวิตของชาวชุมชนทั้งบอุปโภค-บริโภคและประกอบอาชีพเกษตกรรมเป็นหลัก ทั้งนี้ เมื่อคลองทอดผ่านหมู่บ้านใดนักเรียกชื่อตามหมู่บ้านนั้น เช่น จากอ่าวท่าสารมาเป็นคลองท่าสาร เมื่อมาถึงบ้านหมอสอเรียกว่า ลำหมอสอ ถึงบ้านห้วยปลากดเรียกว่า ห้วยปลากด ถึงบ้านรางเกตุเรียกว่า รางตาบุญ บ้านบ้านยางขาคีมเรียกว่าห้วยยาง ผ่านบ้านยางเรียกว่า คลองบ้านยาง ผ่านแหลมกระเจาเรียกว่า คลองแหลมกะเจา ผ่านลาดสะแกและบ้านเกาะแรดเรียกว่า คลองลาดสะแก

คลองบางภาษี อยู่ฝั่งขวาของแม่น้ำท่าจีน บริเวณวัดบางภาษี ตำบลคลองนกกระทุง อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม ซึ่งเดิมเป็นเขตตำบลบางภาษี อำเภอบางปลา ก่อนแบ่งออกเป็นสองตำบล และเปลี่ยนจากอำเภอบางปลาเป็นอำเภอบางเลนในปัจจุบัน ก่อนจะขนานไปกับเส้นแบ่งเขตการปกครองระหว่างฝั่งซ้าย อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม กับฝั่งขวา อำเภอไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี และอำเภอลาดบัวหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ก่อนจะออกสู่คลองพระยาบันลือ

คลองพระพิมลราชา เป็นคลองชลประทาน อยู่ฝั่งขวาของแม่น้ำท่าจีน ปากคลองอยู่ที่ประตูน้ำพระพิมล ตำบลบางเลน อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม ผ่านคลองบางภาษี เข้าเขตจังหวัดนนทบุรีที่ตำบลขุนศรี อำเภอไทรน้อย ก่อนจะออกสู่คลองบางบัวทองที่ประตูน้ำบางบัวทอง ตำบลบางบัวทอง อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี ซึ่งฝั่งขวาของคลองจะออกสู่แม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณรอยต่อระหว่างตำบลท่าอิฐและตำบลอ้อมเกร็ด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี

จังหวัดสุพรรณบุรี

คลองพระยาบันลือ เป็นคลองชลประทาน อยู่ฝั่งขวาของแม่น้ำสุพรรณบุรี ปากคลองอยู่ที่ประตูระบายน้ำพระยาบรรลือ ตำบลบางตาเถร อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี บางช่วงขนานไปกับฝั่งทิศเหนือ ตำบลหลักชัย อำเภอลาดบัวหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา กับฝั่งทิศใต้อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม ซึ่งเป็นเส้นแบ่งเขตการปกครอง ก่อนจะเข้าเขตจังหวัดพระนครศรีอยุธยาโดยตรงที่ปากคลองบางภาษี ตำบลสามเมือง และออกสู่แม่น้ำเจ้าพระยาที่ประตูน้ำสิงหนาถ ตำบลไม้ตรา อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

[แก้] การนำน้ำผลิตน้ำประปาแม่น้ำท่าจีนเป็นแหล่งผลิตน้ำประปาสำคัญของบริษัท น้ำประปาไทย จำกัด (มหาชน) ซึ่งจำหน่ายน้ำประปาให้กับการประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.) ในพื้นที่อำเภอนครชัยศรี อำเภอสามพราน และอำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม กับอำเภอเมืองสมุทรสาคร และอำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร โดยใช้แหล่งน้ำดิบบริเวณที่ตั้งของโรงผลิตน้ำประปาบางเลน หมู่ที่ 9 ตำบลบางระกำ อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม ก่อนจะส่งจ่ายน้ำประปาที่ผ่านการผลิตไปยังสถานีจ่ายน้ำพุทธมณฑล ตำบลไร่ขิง อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม และสถานีจ่ายน้ำมหาชัย ตำบลนาดี อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร ก่อนจะจ่ายน้ำไปยังผู้ใช้ต่อไป

น้ำในแม่น้ำท่าจีนไม่ได้นำมาใช้ผลิตน้ำประปาสำหรับใช้ในเขตกรุงเทพมหานคร แต่การประปานครหลวงได้ก่อสร้างคลองประปาตะวันตก หรือคลองส่งน้ำดิบฝั่งตะวันตก เพื่อผันน้ำจากแม่น้ำแม่กลอง บริเวณเขื่อนวชิราลงกรณ์ อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี ไปยังโรงงานผลิตน้ำมหาสวัสดิ์ อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี ระยะทาง 106 กิโลเมตร ซึ่งช่วงก่อนถึงแม่น้ำท่าจีนได้ก่อสร้างเป็นอุโมงค์ลอดแม่น้ำเพื่อไม่ให้คุณภาพน้ำจากจุดรับน้ำดิบเปลี่ยนแปลง ก่อนจะเข้าสู่สถานีสูบน้ำดิบบางเลน ตำบลบางเลน อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม ไปยังโรงงานผลิตน้ำมหาสวัสดิ์ต่อไป



สะพานข้อมูลบางส่วนตั้งแต่จังหวัดสมุทรสาคร ถึงจังหวัดนครปฐม (เรียงจากปากแม่น้ำท่าจีน)

สะพานท่าจีน 1 ถนนพระรามที่ 2 ตำบลท่าจีน อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร เปิดใช้เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2516 พร้อมทางหลวงสายธนบุรี-ปากท่อ

สะพานท่าจีน 3 ทางหลวงชนบท สค.4019 ตำบลบ้านเกาะ อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร เปิดใช้เมื่อปี พ.ศ. 2540

สะพานพุทธมณฑลสาคร ต่อทางหลวงชนบท สค.4016-บ้านอำแพง ตำบลอำแพง อำเภอบ้านแพ้ว และตำบลท่าเสา อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร เปิดใช้เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2554

สะพานท่าจีน 2 ถนนสุคนธวิท และทางหลวงชนบท สค.4011 ตำบลสวนส้ม อำเภอบ้านแพ้ว และ ตำบลตลาดกระทุ่มแบน อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร เปิดใช้เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2534

สะพานบางยางรุ่งสินพัฒนา ตำบลบางยาง อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร เปิดใช้เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

สะพานท่าจีน 4 ทางหลวงชนบท สค.4014 (ซอยวิรุณราษฎร์) ตำบลหนองนกไข่ และตำบลท่าเสา อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร เปิดใช้เมื่อปี พ.ศ.2542

สะพานบุญรัฐประชานุวัฒน์ ตำบลสามพรานและตำบลท่าข้าม อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม เปิดใช้เมื่อวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2547

สะพานโพธิ์แก้ว ถนนเพชรเกษม ตำบลโพธิ์แก้ว อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม

สะพานมงคลรัฐประชานุกูล (วัดไร่ขิง) ตำบลไร่ขิง อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม เปิดใช้เมื่อปี 2545

สะพานหลังวัดทรงคนอง ตำบลทรงคนอง อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม

สะพานข้ามแม่น้ำท่าจีน ถนนบรมราชชนนี ตำบลหอมเกร็ด อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม

สะพานหลวงพ่อย้อยอนุสรณ์ ตำบลขุนแก้ว และตำบลไทยาวาส อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม

สะพานข้ามแม่น้ำท่าจีน ทางหลวงชนบท นฐ.4047 ตำบลนครชัยศรีและตำบลไทยาวาส อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม

สะพานรวมเมฆ ทางหลวงชนบท นฐ.4006 (ถนนนครชัยศรี-ศาลายา) ตำบลนครชัยศรี อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม เปิดใช้เมื่อปี 2532

สะพานเสาวภา ทางรถไฟสายใต้ ตำบลวัดแค และตำบลไทยาวาส อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม

สะพานสำโรง-ลานตากฟ้า ประชาร่วมใจ ตำบลวัดสำโรง และตำบลลานตากฟ้า อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม เปิดใช้เมื่อปี พ.ศ. 2550

สะพานข้ามแม่น้ำท่าจีน (วัดห้วยพลู) ตำบลห้วยพลู อำเภอนครชัยศรี จ.นครปฐม

สะพานหลวงพ่อเปิ่น ทางหลวงชนบท นฐ.4014 ตำบลบางพระ อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม

สะพานอุดมประชานารถวัฒนา ตำบลบางระกำ อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม เปิดใช้เมื่อปี พ.ศ.2542

สะพานแขวนข้ามแม่น้ำท่าจีน ตำบลลำพญา อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม

สะพานบางเลน ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 346 ตำบลบางเลน อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม

สะพานข้ามแม่น้ำท่าจีน ตำบลบางหลวง อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม

สะพานข้ามแม่น้ำท่าจีน ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3422 ตำบลบางตาเถร อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี

แม่น้ำตาปี


แม่น้ำตาปี ช่วงที่ไหลผ่านเมืองสุราษฎร์ธานีแม่น้ำตาปี เป็นแม่น้ำสายใหญ่ที่สุดในภาคใต้ของประเทศไทย มีต้นน้ำอยู่ที่เทือกเขาหลวง จังหวัดนครศรีธรรมราช และไหลสู่อ่าวไทยที่อ่าวบ้านดอน อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี ปโตเลมี นักปราชญ์ชาวกรีก ได้กล่าวถึง แม่น้ำอัตตาบาส์ หมายถึง แม่น้ำตาปี


ประวัติแม่น้ำตาปีเป็นชื่อที่ พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทาน เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2458 และได้กระทำคำสั่งประกาศเป็นทางการโดยมี มหาอำมาตย์โท พระยามหาอำมาตยาธิบดี เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ลงนามในประกาศ ณ วันที่ 29 สิงหาคม 2458



เดิมแม่น้ำตาปี มีชื่อว่า " แม่น้ำหลวง" เพราะต้นกำเนิดของแม่น้ำสายที่อยู่ที่ภูเขาหลวงซึ่งเป็นยอดเขาที่สูงที่สุดของทิวเขานครศรีธรรมราช อยู่ในเขตพื้นที่ อำเภอพิปูน จังหวัดนครศรีธรรมราช ไหลผ่านอำเภอฉวาง อำเภอทุ่งใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช ผ่านอำเภอพระแสง อำเภอบ้านนาสาร อำเภอเคียนซา อำเภอพุนพิน และไหลออกสู่อ่าวไทยที่อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นแม่น้ำสายยาวที่สุดของภาคใต้



เนื่องจากแม่น้ำหลวง มีความยาวมาก ชาวพื้นเมือง จึงเรียกชื่อแม่น้ำสายนี้ต่างกันออกไปตามตำบลที่ไหลผ่าน เช่น เมื่อผ่านอำเภอพุนพิน เรียกแม่น้ำท่าข้าม ประกอบกับแม่น้ำสายนี้เป็นแม่น้ำที่ใหญ่กว่าแม่น้ำใด ๆ ในพระราชอาณาจักรมณฑลปักษ์ใต้ ท่องที่ลุ่มแม่น้ำสายนี้เป็นพื้นที่อุดม มีความสำคัญแก่การเพาะปลูก มีความสำคัญทั้งแก่การเพาะปลูก และค้าขาย นับเป็นแม่น้ำสำคัญมากสายหนึ่งของอาณาจักรสยาม ด้วยเหตุที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินไปประทับที่พระตำหนักสวนสราญรมย์ ที่ตำบลท่าข้าม จังหวัดสุราษฎร์ธานี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าพระราชทานชื่อเมืองไชยาใหม่ (ที่บ้านดอน) เป็นเมืองสุราษฎร์ธานี เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2458 จึงมีพระราชดำรับว่า เห็นสมควรจะให้มีชื่อไว้เป็นหลักฐานตลอดทั้งลำน้ำ เพื่อให้เป็นการสะดวก แก่ประชาชน และวิชาภูมิศาสตร์สืบไป จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯพระราชทานชื่อแม่น้ำสายนี้ว่าแม่น้ำตาปีโดยนับตั้งแต่ปากน้ำออกทะเล ถึงเกาะปราบ ขึ้นไปถึงเมืองสุราษฎร์ธานี ถึงปากแม่น้ำพุมดวง (ที่อำเภอพุนพิน ตรงบริเวณตอนเหนือของสะพานรถไฟพระจุลจอมเกล้าไปเล็กน้อย) แต่ปากแม่น้ำพุมดวงขึ้นไปถึงปากคลองสินปุน ตั้ง ตั้งแต่ปากคลองสินปุนไปถึงคลองกะเปียด ตั้งแต่คลองกะเปียดขึ้นไปถึงสำนักบันได สามขั้นบนสันเขาหลวงซึ่งเป็นต้นน้ำ



การตั้งชื่อเมือง และแม่น้ำนี้ คล้ายกับชื่อแม่น้ำ ตาปติ และเมือง สุรัฎฐ (สุราษฎร์) ในประเทศอินเดีย ซึ่งแม่น้ำตาปติตั้งต้นจากภูเขาสัตตปุระ ไหลลงสู่มหาสมุทรอินเดียทางอ่าวแคมเบย์ และริมฝั่งซ้ายของปากแม่น้ำนี้มีเมืองชื่อว่า สุรัฎฐ์ ตั้งอยู่ สภาพของเมืองทั้งสองคล้ายคลึงกัน ประกอบกับทรงทราบว่า ชาวเมืองสุราษฎร์เป็นผู้มีคุณธรรม ยึดมั่นในหลักพระพุทธศาสนาสอดคล้องกับ ความหมายของสุราษฎร์ธานี พร้อมกันนี้ ได้ทรงพระราชทานนามพระตำหนักที่ชาวเมืองสร้างถวายเป็นที่ประทับบนควนท่าข้ามว่า สวนสราญรมย์ ซึ่งปัจจุบัน เป็นที่ตั้งของโรงพยาบาล



คลองสาขาแม่น้ำตาปี เกิดจากเทือกเขาหลวงในอำเภอพิปูน จังหวัดนครศรีธรรมราชไหลผ่านอำเภอฉวาง อำเภอทุ่งใหญ่ ไหลผ่านอำเภอบ้านนาสาร อำเภอเวียงสระ อำเภอพระแสง อำเภอพุนพิน และอำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี ไหลออกสู่ทะเลที่อ่าวบ้านดอน แม่น้ำตาปี ยาวประมาณ 232 กิโลเมตร มีคลองสาขาที่สำคัญ 6 สาย ได้แก่



คลองสินปุน ต้นน้ำอยู่ในเขตจังหวัดกระบี่ ไหลมารวมกับแม่น้ำตาปี ทางฝั่งซ้ายในตำบลสินปุน อำเภอพระแสง

คลองอิปัน ตันน้ำมาจากกอำเภอทับปุด จังหวัดพังงา ไหลมารวมกับแม่น้ำตาปีทางฝั่งซ้ายในตำบลสินปุน อำเภอพระแสง

คลองพุนพิน แยกจากฝั่งซ้ายของแม่น้ำตาปี ใกล้สะพานรถไฟพระจุลจอมเกล้า ตำบลท่าข้าม อำเภอพุนพิน ไปออกทะเลที่อ่าวบ้านดอน

คลองท่ากูบ ต้นน้ำมาจากบ้านขุนทะเล ไหลมารวมกับแม่น้ำตาปีทางฝั่งขวา

คลองมะขามเตี้ย ต้นน้ำมากจากบึงขุนทะเล ไหลมารวมกับแม่น้ำตาปี ทางฝั่งขวาใกล้ตลาดบ้านดอน อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี

คลองขวาง แยกจากฝั่งซ้ายตรงกันข้ามกับหน้าตลาดบ้านดอน อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี ไปบรรจบกับคลองพุนพิน ที่ตำบลลิเล็ด อำเภอพุนพิน

นอกจากนี้ ยังมีคลองอื่น ๆ เช่น คลองศก ซึ่งมีต้นกำเนิดมาจากอุทยานแห่งชาติเขาสก คลองยัน ซึ่งมีต้นกำเนิดจากพื้นที่อุทยานแห่งชาติแก่งกรุง และคลองพุมดวง เป็นต้น



ความสำคัญทางประวัติศาสตร์ใน ราว ค.ศ. 100 - ราว ค.ศ. 178 ปโตเลมี นักปราชญ์ชาวกรีก ได้กล่าวถึง แม่น้ำอัตตาบาส์ หมายถึง แม่น้ำตาปี เป็นเส้นทางเดินทางและเมืองท่าสำคัญ ในหนังสือดาราศาสตร์และภูมิศาสตร์



จากคลองสาขาที่มาจากจังหวัดกระบี่ และจังหวัดพังงา เป็นเส้นทางสำคัญในยุคอาณาจักรศรีวิชัย ที่ชาวต่างชาติใช้เป็นเส้นทางในการลำเลียงสินค้าจากทะเลอันดามัน มหาสมุทรอินเดีย ขึ้นฝั่งยังบริเวณอำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา มาสู่อ่าวไทยที่บริเวณปากแม่น้ำพุมเรียง อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยมีเส้นทางที่สำคัญอย่างน้อย 4 เส้นทาง คือ



1.จากทุ่งตึกผ่านทางคลองเหล ผ่านมาทางเขาสก เข้าคลองพุมดวง เข้าแม่น้ำตาปี และมาออกที่อ่าวบ้านดอน

2.จากคณะมะรุ่ยผ่านทางคลองชะอุ่น คลองสก คลองพุมดวง แม่น้ำตาปี แล้วออกทางอ่าวบ้านดอน

3.จากคลองปกาสัย ผ่านคลองโตรม คลองอิปัน ออกแม่น้ำตาปี แล้วต่อมาออกอ่าวบ้านดอน

4.จากคลองท่อมผ่านคลองสินปุน ออกแม่น้ำตาปี และอ่าวบ้านดอน

 การใช้ประโยชน์ปัจจุบัน แม่น้ำตาปี ได้ถูกนำมาใช้ประโยชน์ในหลายด้าน ทั้งการอุปโภค บริโภค และการนันทนาการท่องเที่ยว



เขื่อนรัชชประภา

เป็นเขื่อนผลิตพลังงานไฟฟ้า กั้นแม่น้ำตาปีบริเวณต้นน้ำคลองศก ระดับน้ำในเขื่อนสูงสุดที่ 100 เมตร นำน้ำที่เก็บไว้สำหรับการผลิตไฟฟ้า และการชลประทานสำหรับพื้นที่อำเภอพนม และอำเภอคีรีรัฐนิคม



ล่องแก่งคลองยัน-คลองศก

ในอุทยานแห่งชาติแก่งกรุง ได้จัดกิจกรรมล่องแก่งชมธรรมชาติสองข้างทางของคลองยันที่ไหลผ่านบริเวณพื้นที่อุทยาน และในบริเวณอุทยานแห่งชาติเขาสก มีเอกชนจ้ดกิจกรรมล่องห่วงยางไปตามลำน้ำคลองสก เป็นกิจกรรมนันทนาการท่องเที่ยวในพื้นที่



การอุปโภคบริโภค

โดยนำน้ำจากแม่น้ำตาปี เป็นแหล่งน้ำดิบสำหรับผลิตน้ำประปา นอกจากนี้ยังมีโรงงานที่ตั้งขึ้นสองฝั่งแม่น้ำที่ใช้น้ำจากแม่น้ำตาปี ในการอุปโภคและบริโภคจำนวนมาก



Tapi River,


Waterfront in Surat ThaniThe Tapi (or Tapee) river (Thai: แม่น้ำตาปี, RTGS: Maenam Tapi, Thai pronunciation: [mɛ̂ːnáːm tāːpīː]) is the longest river in southern Thailand. The river originates at the Khao Luang, and has a wide estuary into the Gulf of Thailand at Bandon Bay near the town of Surat Thani. It has a length of 230 km.


The river drains an area of 5460 km² and in 1997 had an annual discharge of 135.4 m³/s or 4.3 km³ per year. The Phum Duang River (or Khiri Rat River), which drains another 6,125 km² west of the Tapi watershed, joins the estuary 15 km west of Surat Thani in Amphoe Phunphin.


The river was named in August 1915 after the river Tapi in India, shortly after the town of Surat Thani was named after the town Surat.


The island of Ko Lamphu (เกาะลำพู) is located in the Tapi River, about 9 km from its mouth, right by the Surat Thani town center.


In 1975 an area of 29.6 km² of swamp land on the east bank of the river in the district Khian Sa was declared the Nong Thung Thong non-hunting area.




ประชากรโลก

สหประชาชาติ 12 มี.ค. – รายงานสหประชาชาติประเมินว่า จำนวนประชากรโลกจะเพิ่มขึ้นเป็น 7,000 ล้านคนในต้นปี 2555 และจะถึง 9,000 ล้านคนในปี 2593 โดยส่วนใหญ่เป็นการเพิ่มขึ้นของประชากรในประเทศกำลังพัฒนาแถบเอเชียและแอฟริกา




รายงานระบุว่า การประเมินตัวเลขประชากรโลกล่าสุดนี้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากจากเมื่อปี 2549 แต่ยังมีการคาดหมายเช่นเดิมว่า ในปี 2593 ประชากรโลกจะเพิ่มขึ้นเป็น 9,100 ล้านคน ตัวเลขดังกล่าวมาจากสมมติฐานที่ว่าอัตราการเจริญพันธุ์ของโลกจะลดลงจากในปัจจุบัน คือ จากจำนวนเด็ก 2.56 คนต่อสตรี 1 คน มาเป็นจำนวนเด็ก 2.02 คนต่อสตรี 1 คน แต่ถ้าอัตราการเจริญพันธุ์ยังคงเท่าปัจจุบันต่อไป จำนวนประชากรโลก จะเพิ่มขึ้นเป็น 10,500 ล้านคน ในปี 2593



รายงานระบุด้วยว่า การขยายตัวของประชากรโลกจะยังคงหนาแน่นในประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลก โดยครึ่งหนึ่งของประชากรที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นอยู่ใน 9 ประเทศ ได้แก่ อินเดีย ปากีสถาน ไนจีเรีย เอธิโอเปีย สหรัฐ คองโก แทนซาเนีย จีน และบังกลาเทศ ส่วนประเทศที่คาดว่าจะมีประชากรลดลงอย่างน้อยร้อยละ 10 มีถึง 45 ประเทศ/ภูมิภาค ได้แก่ ญี่ปุ่น อิตาลี และอีกหลายประเทศที่เคยเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพโซเวียต รายงานระบุว่า สหรัฐจะมีผู้อพยพเข้าเมืองมากที่สุด โดยมีจำนวนปีละ 1.1 ล้านคน ในช่วงระหว่างปี 2553-2593.