วันศุกร์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

มัทนะพาธา

มัทนะพาธา เป็นบทละครพูดคำฉันท์ 5 องค์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์ขึ้น เมื่อ พ.ศ. 2466 เล่าเรื่องว่าด้วยตำนานเกี่ยวกับดอกกุหลาบ


เนื้อเรื่องย่อ

         จอมเทพสุเทษณ์เป็นเทพผู้ใหญ่บนสรวงสวรรค์ เป็นทุกข์อยู่ด้วยความลุ่มหลงเทพธิดามัทนา แม้จิตระรถผู้สารถีคู่บารมีจะนำรูปของเทพเทวีผู้เลอโฉมหลายต่อหลายองค์มาถวายให้เลือกชม สุเทษณ์ก็มิสนใจไยดี จิตระรถจึงนำมายาวินวิทยาธรมาเฝ้า สุเทษณ์ให้มายาวินใช้เวทมนตร์เรียกนางมัทนามาหา เมื่อมาแล้วนางมัทนาก็เหม่อลอยมิมีสติสมบูรณ์เพราะตกอยู่ในฤทธิ์มนตรา สุเทษณ์มิต้องการได้นางด้วยวิธีเยี่ยงนั้น จึงให้มายาวินคลายมนตร์ แต่ครั้นได้สติแล้ว นางมัทนาก็ปฏิเสธว่ามิมีจิตเสน่หาตอบด้วยมิว่าสุเทษณ์จะเกี้ยวพาและรำพันรักอย่างไร สุเทษณ์โกรธนักจึงจะสาปมัทนาให้ไปเกิดในโลกมนุษย์


          มัทนาขอให้นางได้ไปเกิดเป็นดอกไม้มีกลิ่นหอมเพื่อให้มีประโยชน์บ้าง สุเทษณ์จึงสาปมัทนาให้ไปเกิดเป็นดอกกุหลาบที่งามทั้งกลิ่นทั้งรูป และมีแต่เฉพาะบนสวรรค์ยังไม่เคยมีบนโลกมนุษย์ โดยที่ในทุกๆ 1 เดือน นางมัทนาจะกลายร่างเป็นคนได้ชั่ว 1 วัน 1 คืน ในเฉพาะวันเพ็ญของแต่ละเดือนเท่านั้น และถ้านางมีความรักเมื่อใด นางก็จะมิต้องคืนรูปเป็นกุหลาบอีก แต่นางจะได้รับความทุกข์ทรมานเพราะความรักจนมิอาจทนอยู่ได้ และเมือนั้นถ้านางอ้อนวอนขอความช่วยเหลือ ตนจึงจะงดโทษทัณฑ์นี้ให้แก่นาง

            นางมัทนาไปจุติเป็นกุหลาบงามอยู่ในป่าหิมะวัน บรรดาศิษย์ของฤษีนามกาละทรรศินมาพบเข้าจึงนำความไปบอกพระอาจารย์ กาละทรรศินจึงให้ขุดไปปลูกในบริเวณอาศรมของตน ในขณะที่จะทำการขุดก็มีเสียงผู้หญิงร้อง กาละทรรศินเล็งญาณดูก็รู้ว่าเป็นเทพธิดามาจุติ จึงได้เอ่ยเชิญและสัญญาว่าจะคอยดูแลปกป้องสืบไป เมื่อนั้นการจึงสำเร็จด้วยดี
            วันเพ็ญในเดือนหนึ่งท้าวชัยเสนกษัตริย์แห่งหัสตินาปุระได้เสด็จออกล่าสัตว์ในป่าหิมะวันและได้แวะมาพักที่อาศรมพระฤๅษี ครั้นได้เห็นนางมัทนาในโฉมของนารีผู้งดงามก็ถึงกับตะลึงและตกหลุมรัก จนถึงกับรับสั่งให้มหาดเล็กปลูกพลับพลาพักแรมไว้ใกล้อาศรมนั้นทันที

            ท้าวชัยเสนรำพันถึงความรักลึกซึ้งที่มีต่อนางมัทนา ครั้นเมื่อนางมัทนาออกมาที่ลานหน้าอาศรมก็มิเห็นผู้ใด ด้วยเพราะท้าวชัยเสนหลบไปแฝงอยู่หลังกอไม้ นางมัทนาได้พรรณาถึงความรักที่เกิดขึ้นในใจอย่างท่วมท้น ท้าวชัยเสนได้สดับฟังทุกถ้อยความจึงเผยตัวออกมาทั้งสองจึงกล่าวถึงความรู้สึกอันล้ำลึกในใจที่ตรงกันจนเข้าใจในรักที่มีต่อกัน จากค่ำคืนถึงยามรุ่งอรุณ ท้าวชัยเสนจึงทรงประกาศหมั้นและคำสัญญารัก ณ ริมฝั่งลำธารใกล้อาศรมนั้น
           เมื่อมีความรักแล้ว นางมัทนาก็ยังคงรูปเป็นนารีผู้งดงาม มิต้องกลายรูปเป็นกุหลาบอีก ท้าวชัยเสนได้ทูลขอนางมัทนา พระฤษีก็ยกให้โดยให้จัดพิธีบูชาทวยเทพและพิธีวิวาหมงคลในป่านั้นเสียก่อน

           ท้าวชัยเสนเสด็จกลับวังหลายเพลาแล้วแต่ก็มิได้เสด็จไปยังพระตำหนักข้างในด้วยว่ายังทรงประทับอยู่แต่ในอุทยาน พระนางจัณฑี มเหสีให้นางกำนัลมาสืบดูจนรู้ว่าพระสวามีนำสาวชาวป่ามาด้วย จึงตามมาพบท้าวชัยเสนกำลังอยู่กับนางมัทนาพอดี เมื่อพระนางจัณฑีเจรจาค่อนขอดดูหมิ่นนางมัทนา ท้าวชัยเสนก็กริ้วและทรงดุด่าว่าเป็นมเหสีผู้ริษยา
           พระนางจัณฑีแค้นใจนัก ให้คนไปทูลฟ้องพระบิดาผู้เป็นเจ้าแห่งมคธนครให้ยกทัพมาทำศึกกับท้าวชัยเสน จากนั้นก็คบคิดกับนางค่อมอราลีและวิทูรพราหมณ์หมอเสน่ห์ ทำอุบายกลั่นแกล้งนางมัทนาโดยส่งหนังสือไปทูลท้าวชัยเสนว่านางมัทนาป่วย ครั้นเมื่อท้าวชัยเสนรีบเสด็จกลับมาเยี่ยมนางมัทนา ก็กลับพบหมอพราหมณ์กำลังทำพิธีอยู่ใกล้ๆต้นกุหลาบ วิทูรกับนางเกศินีข้าหลวงของนางจัณฑีจึงทูลใส่ความว่านางมัทนาให้ทำเสน่ห์เพื่อให้ได้ร่วมชื่นชูสมสู่กับศุภางค์ ท้าวชัยเสนกริ้วนัก รับสั่งให้ศุภางค์ประหารนางมัทนาแต่ศุภางค์ไม่ยอม ท้าวชัยเสนจึงสั่งประหารทั้งคู่
          พระนางจัณฑีได้ช่องรีบเข้ามาทูลว่าตนจะอาสาออกไปห้ามศึกพระบิดาซึ่งคงเข้าใจผิดว่านางกับท้าวชัยเสนนั้นบาดหมางกัน แต่ท้าวชัยเสนตรัสว่าทรงรู้ทันอุบายของนางที่คิดก่อศึกแล้วจะห้ามศึกเอง พระองค์จะขอออกทำศึกอีกคราแล้วตัดหัวกษัตริย์มคธพ่อตาเอามาให้นางผู้ขบถต่อสวามีตนเอง
          ขณะตั้งค่ายรบอยู่ที่นอกเมือง วิทูรพรหมณ์เฒ่าได้มาขอเข้าเฝ้าท้าวชัยเสนเพื่อสารภาพความทั้งปวงว่าพระนางจัณฑีเป็นผู้วางแผนการร้าย ซึ่งในที่สุดแล้วตนสำนึกผิดและละอายต่อบาปที่เป้นเหตุให้คนบริสุทธิ์ต้องได้รับโทษประหาร ท้าวชัยเสนทราบความจริงแล้วคั่งแค้นจนดำริจะแทงตนเองให้ตาย แต่อำมาตย์นันทิวรรธนะเข้าห้ามไว้ทันและสารภาพว่าในคืนเกิดเหตุนั้นตนละเมิดคำสั่ง มิได้ประหารศุภางค์และนางมัทนา หากแต่ได้ปล่อยเข้าป่าไป ซึ่งนางมัทนานั้นได้โสมะทัตศิษญ์เอกของฤษีกาละทรรศินนำพากลับสู่อาศรมเดิม แต่ศุภางค์นั้นแฝงกลับเข้าไปร่วมกับกองทัพแล้วออกต่อสู้กับข้าสึกจนตัวตาย ท้าวชัยเสนจึงรับสั่งให้ประหารท้าวมคธที่ถูกจับมาเป็นเชลยไว้ก่อนหน้านั้นแล้ว ส่วนพระนางจัณฑีมเหสีนั้นทรงให้เนรเทศออกนอกพระนคร ด้วยทรงเห็นว่าอันนารีผู้มีใจมุ่งร้ายต่อผู้เป็นสามีก็คงต้องแพ้ภัยตนเอง มิอาจอยู่เป็นสุขได้นานแน่


          ฝ่ายนางมัทนานั้นได้ทำพิธีบูชาเทพและวอนขอร้องให้สุเทษณ์จอมเทพช่วยนางด้วย สุเทษณ์นั้นก็ยินดีจะแก้คำสาปและรับนางเป็นมเหสี แต่นางมัทนาก็ยังคงปฏิเสธและว่าอันนารีจะมีสองสามีได้อย่างไร สุเทษณ์เห็นว่านางมัทนายังคงปฏิเสธความรักของตนจึงกริ้วนักสาปส่งให้นางมัทนาเป็นดอกกุหลาบไปตลอดกาล มิอาจกลายร่างเป็นมนุษย์ได้อีกต่อไป
เมื่อท้าวชัยเสนตามมาถึงในป่า นางปริยัมวะทาที่ตามมาปรนนิบัติดูแลนางมัทนาด้วยก็ทูลเล่าความทั้งสิ้นให้ทรงทราบ ท้าวชัยเสนจึงร้องร่ำให้ด้วยความอาลัยรักแล้วขอให้พระฤษีช่วย โดยใช้มนตราและกล่าวเชิญนางมัทนาให้ยินยอมกลับเข้าไปยังเวียงวังกับตนอีกครา
เมื่อพระฤษีทำพิธีแล้ว ท้าวชัยเสนก็รำพันถึงความหลงผิดและความรักที่มีต่อนางมัทนาให้ต้นกุหลาบได้รับรู้ จากนั้นจึงสามารถขุดต้นกุหลาบได้สำเร็จ ท้าวชัยเสนได้นำต้นกุหลาบขึ้นวอทองเพื่อนำกลับไปปลูกในอุทยาน และขอให้ฤๅษีกาละทรรศินให้พรวิเศษว่ากุหลาบจะยังคงงดงามมิโรยราตราบจนกว่าตัวพระองค์เองจะสิ้นอายุขัย พระฤษีก็อวยพรให้ดังใจ และประสิทธิประสาทพรให้กุหลาบนั้นดำรงอยู่คู่โลกนี้มิมีสูญพันธ์ อีกทั้งยังเป็นไม้ดอกที่กลิ่นอันหอมหวานสามารถช่วยดับทุกข์ในใจคนและดลบันดาลให้จิตใจเบิกบานเป็นสุขได้ ชาย-หญิงเมื่อมีรักก็จักใช้ดอกกุหลาบเป็นสัญญลักษณ์แห่งความรักแท้สืบต่อไป

วันภาษาไทยแห่งชาติ

วันภาษาไทยแห่งชาติ ตรงกับวันที่ ๒๙ กรกฎาคม ของทุกปี เพื่อระลึกถึงเหตุการณ์ในวันที่ ๒๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๐๕ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดำเนินไปทรงอภิปรายเรื่อง “ปัญหาการใช้คำไทย” ร่วมกับผู้ทรงคุณวุฒิที่ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


ที่มาและความสำคัญ
       ๒๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๐๕ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเป็นประธานและทรงอภิปรายเรื่อง “ ปัญหาการใช้คำไทย ” ร่วมกับผู้ทรงคุณวุฒิในการประชุมทางวิชาการของชุมนุมภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งทรงแสดงพระปรีชาสามารถและความสนพระราชหฤทัยห่วงใยในภาษาไทย จนเป็นที่ประทับใจผู้ร่วมประชุมครั้งนั้นเป็นอย่างยิ่ง   พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสตอนหนึ่งความว่า


" เรามีโชคดีที่มีภาษาของตนเองแต่โบราณกาล จึงสมควรอย่างยิ่งที่จะรักษาไว้ ปัญหาเฉพาะในด้านรักษาภาษานี้ก็มีหลายประการ อย่างหนึ่งต้องรักษาให้บริสุทธิ์ในทางออกเสียง คือ ให้ออกเสียงให้ถูกต้องชัดเจน อีกอย่างหนึ่งต้องรักษาให้บริสุทธิ์ในวิธีใช้ หมายความว่า วิธีใช้คำมาประกอบประโยค นับเป็นปัญหาที่สำคัญ ปัญหาที่สาม คือ ความร่ำรวยในคำของภาษาไทย ซึ่งพวกเรานึกว่าไม่ร่ำรวยพอ จึงต้องมีการบัญญัติศัพท์ใหม่มาใช้...สำหรับคำใหม่ที่ตั้งขึ้นมีความจำเป็นในทางวิชาการไม่น้อย แต่บางคำที่ง่ายๆก็ควรจะมี ควรจะใช้คำเก่าๆที่เรามีอยู่แล้ว ไม่ควรจะมาตั้งศัพท์ใหม่ให้ยุ่งยาก "

รัฐบาลได้ประกาศให้วันนี้เป็นวันสำคัญ ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๔๒

วัตถุประสงค์

คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันอังคารที่ ๑๓ กรกฎาคม ๒๕๔๒ เห็นชอบให้วันที่ ๒๙ กรกฎาคม ของทุกปีเป็นวันภาษาไทยแห่งชาติ โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้ [3]




๑. เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ผู้ทรงเป็นนักปราชญ์ และนักภาษาไทย รวมทั้งเพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ที่ได้ทรงแสดงความห่วงใย และพระราชทานแนวคิดต่างๆ เกี่ยวกับการใช้ภาษาไทย



๒. เพื่อร่วมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในมหามงคลสมัยเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ในวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๒



๓. เพื่อกระตุ้นและปลุกจิตสำนึกของคนไทยทั้งชาติให้ตระหนักถึงความสำคัญและคุณค่าของภาษาไทย ตลอดจนร่วมมือร่วมใจกันทำนุบำรุงส่งเสริม และอนุรักษ์ภาษาไทย ซึ่งเป็นเอกลักษณ์และเป็นสมบัติวัฒนธรรมอันล้ำค่าของชาติให้คงอยู่คู่ชาติไทยตลอดไป



๔. เพื่อเพิ่มพูนประสิทธิภาพในการใช้ภาษาไทย ทั้งในวงวิชาการและวิชาชีพ รวมทั้งเพื่อยกมาตรฐานการเรียนการสอนภาษาไทยในสถานศึกษาทุกระดับให้สัมฤทธิผลยิ่งขึ้น



๕. เพื่อเปิดโอกาสให้หน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐบาลและเอกชนทั่วประเทศมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมที่หลากหลาย เพื่อเผยแพร่ความรู้ภาษาไทยในรูปแบบต่างๆ ไปสู่สาธารณชนทั้งในฐานะที่เป็นภาษาประจำชาติ และในฐานะที่เป็นภาษาเพื่อการสื่อสารของทุกคนในชาติ

วันศุกร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

The Rue de Siam ( ถนนสยาม )

    
       ถนนสยาม (ฝรั่งเศส: Rue de Siam) คือ ถนนที่สร้างเป็นอนุสรณ์ เนื่องในโอกาสที่สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงส่งคณะทูตไทย ในวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2229 ไปเจริญสัมพันธไมตรีกับ พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ที่พระราชวังแวร์ซายส์


ถนนตั้งอยู่ที่เมืองแบร็สต์ แคว้นเบรอตาญ ประเทศฝรั่งเศส



      The Rue de Siam (or Siam Street) is the main arterial street of Brest. Its name comes from the arrival of three ambassadors led by Kosa Pan, sent by the King of Siam on the 29th of June 1686 to meet Louis XIV in Versailles. They went with six mandarins, three translators, two secretaries and a retinue of servants, loaded with presents. They traveled on the boats l'Oiseau and La Maligne.


They crossed Saint-Pierre Street to go to the hostel of the same name. The inhabitants were so amazed that they renamed the street. The street was quite narrow before World War II.  The Rue de Siam is quoted by Jacques Prévert in his poem Barbara.

      LocationFrom the Place de la Liberté, in the centre of Brest, the Rue de Siam runs southwest to the Recouvrance Bridge, spanning the river Penfeld. Recouvrance is a working-class district, from old Brest, in contrast to the Rue de Siam where there were all the chic stores and cafés of Brest, in the years 1950-60.

There used to be l’Épée Café on the right and Les Antilles Restaurant on the left. Midshipmen and officers from all nationalities used to have an aperitif at l’Épée and then, cross the Rue de Siam to have supper at Les Antilles.
See alsoFrance-Thailand relations

 ReferencesThis article incorporates information from this version of the equivalent article on the French Wikipedia.

External links
Wikimedia Commons has media related to: Streets of Brest

Rue de Siam in 1900

panoramic view of the Rue de Siam

เหลืองปรีดียาธร (Tabebuia aurea )

    
     เหลืองปรีดียาธร (Silver trumpet tree, Tree of gold,Paraguayan silver trumpet tree) มีถิ่นกำเนิดในอเมริกากลางและหมู่เกาะอินดีสตะวันตก


 ลักษณะทางพฤกศาสตร์เหลืองปรีดียาธรเป็นไม้ยืนต้น ใบเป็นใบประกอบแบบนิ้วมือที่มี 5 ใบย่อย เรียงตัวแบบตรงข้ามสลับตั้งฉาก ใบรูปรี ขอบใบเรียบ มีช่อดอกแบบช่อกระจุก สมบูรณ์เพศ สมมาตรด้านข้าง กลีบเลี้ยง 5 กลีบ เชื่อมติดกันปลาย แยกเป็นแฉก กลีบดอก 5 กลีบ เชื่อมติดกันเป็นรูประฆัง สีเหลือง ปลายกลีบแยกเป็นรูปปากเปิด ส่วนที่อยู่ด้านบนมี 2 กลีบ เกสรเพศผู้มี 4 อัน เป็นแบบ 2 คู่ยาวไม่เท่ากัน เกสรเพศเมีย 1 อัน ยอดเกสรเพศเมียแยกเป็น 2 แฉก รังไข่เหนือวงกลีบ ผลแห้งแตก เป็นฝัก สีเทามีเส้นสีดำตามแนวยาว ออกดอกเดือนกุมภาพันธุ์-มีนาคม



     Tabebuia aurea is a species of Tabebuia native to South America in Suriname, Brazil, eastern Bolivia, Peru, Paraguay, and northern Argentina. The common English name Caribbean Trumpet Tree is misleading, as it is not native to the Caribbean. It is a small dry season-deciduous tree growing to 8 m tall. The leaves are palmately compound, with five or seven leaflets, each leaflet 6–18 cm long, green with silvery scales both above and below. The flowers are bright yellow, up to 6.5 cm diameter, produced several together in a loose panicle. The fruit is a slender 10 cm long capsule.


It is a popular ornamental tree in subtropical and tropical regions, grown for its spectacular flower display on leafless shoots at the end of the dry season.

This species is a crucial resource for Spix's Macaw (Cyanopsitta spixii), which is presently extinct in the wild with fewer than 100 birds remaining in captivity. Any future reintroduction would have to provide sufficient T. aurea for nesting and other purposes - while the tree is not considered threatened on a global scale, locally it has declined due to unsustainable use for timber



        Tabebuia aurea est une espèce d'arbre appartenant à la famille des Bignoniaceae, originaire d'Amérique du Sud (Suriname, Brésil, est de la Bolivie, Pérou, Paraguay et nord de l'Argentine).


Il s'agit d'un arbre à feuilles caduques qui atteint 8 mètres de haut.

Les feuilles, palmées et composées de 5 à 7 folioles, chacune faisant 6 à 18 cm de long, sont vertes avec des reflets argentés sur les deux faces.

Les fleurs jaunes, de 6,5 cm de diamètre, forment un panicule pendentif. Le fruit est une capsule de 10 cm de longueur.

C'est une plante d'ornement très appréciée dans les régions tropicales et subtropicales pour ses fleurs spectaculaires produites à la fin de la saison sèche.

วันเสาร์ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

การครอบครู

การไหว้ครูและครอบครูของผู้ศึกษาเครื่องสายและ คีตศิลป์ ครูผู้กระทำพิธีจะทำการครอบด้วยฉิ่งที่ศีรษะ และครอบเพียงครั้งเดียว ส่วนการไหว้ครูและครอบครูสำหรับปี่พาทย์นั้นจะมีพิธีการขั้นตอนละเอียด เนื่องจากผู้เรียนปี่พาทย์จะต้อ งเรียนเพลงเถา และเพลงหน้าพาทย์ ดัง นั้นการครอบครู จึงมีพิธีการไว้เป็นระดับ ๆ ดังนี้



ขั้นที่1 การเรียนเบื้องต้น ผู้เรียนจะต้องเรียนเพลงชุดโหมโรงเย็น ที่ขึ้นต้นด้วยยเพลงสาธุการ ครูผู้ทำพิธี จะครอบด้วยการจับมือให้ตีฆ้องวงใหญ่ เพลงสาธุการ





ขั้นที่ 2 ครูผู้ครอบจะครอบด ้วยการจับมือให้ตีฆ้องวงใหญ่ เพลงตระโหมโรง แล้วให้เรียนเพลงต่างๆ ในชุดโหมโรงเย็นจนจบ





ขั้นที่3 ครูผู้ครอบจะทำพิธีด้วยการจับมือให้ตีฆ้องวงใหญ่ เพลงตระบองกัน แล้วจึง ให้เรียนเพลงต่างๆในชุดโหมโรงกลางวันจนจบ





ขั้นที่4 ครูผู้ครอบจะครอบด้วยการจับมือให้ตีฆ้องวงใหญ่ เพลงบาทสกุณี ต่อจากนั้นในขั้นนี้ ผู้เรียนจ ะต้องเรียนในเรื่องเพลงที่เป็นเพลงหน้าพาทย์ชั้นสูงทุกเพลงจนจบ





ขั้นที่5 ผู้เรียนจะต้องศึกษาเพลง หน้าพาทย์องค์พระพิราพเป็นขั้นสุดท้าย ซึ่งนับเป็นเพลงที่อยู่ในระดับสูงสุด และถือเป็นการนำความสิริมงคลมาสู่ ผู้ครอบ และผู้ประกอบ พิธีครอบในระหว่างประกอบพิธี ทั้งผู้ครอบและผู้ทำการครอบต้องถือเป็นเรื่องสำคัญ สูงสุดและควรระมัดระวัง และต้องปฏิบัติดังนี้









คุณสมบัติของผู้เข้ารับการครอบในขั้นนี้





1.ผู้นั้นจะต้องผ่านการครอบขั้นต้นมาแล้ว 4 ขั้นดังกล่าวแล้ว ซึ่งหมายถึงผู้เข้ารับการครอบต้องได้เรียนเพลงหน้าพาทย์ในแต่ละขั้นตอนของพิธีครอบขั้นต้นครบถ้วนแล้ว

2.ผู้เข้ารับการครอบในขั้นที่ 5 นี้ ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 30 ปี

3. จะต้องอุปสมบทมาแล้ว 1 พรรษา (หมายถึงได้บวชเรียนแล้ว)

4.หรือผู้นี้ได ้รับพระบรมราชานุญาตจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว





เมื่อผ่านพิธีการครอบอย่างถูก ต้องสมบูรณ์มีคุณสมบัติดีแล้ว จึงให้ปฏิบัติในการเรียนเพลงองค์พระพิราพดังนี้





1.จุดธูปเทียน และดอกไม้เพื่อบูชาองค์พระพิราพก่อนที่จะเริ่มต้นเพลง

2.ครูผู้กระทำพิธีจับมือศิษย์ให้ตีฆ้องวงใหญ่ทำนองเพลงตอนขึ้นต้นองค์พระ 3 ครั้ ง

3.ควรต่อเพลงหรือทบทวนเพลงในวันพฤหัสบดี



เพื่อความเป็นสิริมงคลของทั้งผู้กระทำพิธี และผู้เข้าร่วมในพิธี จะต้องปฏิบัติตามขั้นตอนต่างๆ และต้องระลึกถึงความศักดิ์สิทธิ์ ของพิธีการโดยเคร่งครัดด้วย



ครอบครูวันพฤหัสบดี ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ.2554
ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรั กรุงเทพมหานคร