วันพุธที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2553
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอิศรสุนทรฯ พระพุทธเลิศหล้านภาลัย (พ.ศ. 2310-พ.ศ. 2367 ครองราชย์ พ.ศ. 2352 - พ.ศ. 2367) รัชกาลที่ 2 แห่งราชวงศ์จักรี
พระนามที่ปรากฏ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยนั้น เพิ่งถวายพระนามเรียกเมื่อสมัยรัชกาลที่ 3 เนื่องจากพระปรมาภิไธยที่จารึกในพระสุพรรณบัฏ ของรัชกาลที่ 1 และรัชกาลที่ 2 จะเหมือนกันทุกตัวอักษร เพราะในเวลานั้นยังไม่มีธรรมเนียมที่จะต้องมีพระปรมาภิไธยแตกต่างกันในแต่ละพระองค์ จนถึงรัชกาลที่ 4 เป็นต้นมา จึงทรงได้พระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้บัญญัติไว้ว่า ในแต่ละรัชกาลจะต้องมีพระปรมาภิไธยแตกต่างกัน เว้นแต่สร้อยพระปรมาภิไธยเท่านั้นที่อณุโลมให้ซ้ำกันได้บ้าง ส่วนคำนำหน้าพระนาม รัชกาลที่ 4 ก็ได้ทรงบัญญัติให้ใช้คำว่า พระบาทสมเด็จพระปรมินทร์ หรือ ปรเมนทร์ เป็นคำนำทั้งนี้ขึ้นอยู่กับลำดับรัชกาลว่าจะเป็นเลขคี่หรือเลขคู่เดิมทีเดียวคนสมัยก่อนมักเรียกรัชกาลที่ 1 ว่า แผ่นดินต้น และเรียกรัชกาลที่ 2 ว่า แผ่นดินกลาง เหตุเพราะพระนามในพระสุพรรณบัฎเหมือนกัน รัชกาลที่ 3 จึงไม่โปรดให้ใช้ตามอย่างรัชกาลที่ 1 และ 2 เพราะเหตุเช่นนั้นจะทำให้ประชาชนสมัยนั้นเรียกว่าแผ่นดินปลาย ซึ่งดูไม่เป็นมงคล
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงมีพระนามเดิมว่า ฉิม (สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร) พระราชสมภพเมื่อ วันพุธ ขึ้น 7 ค่ำ เดือน 4 ปีกุน เวลาเช้า 5 ยาม ซึ่งตรงกับวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2310 เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 4 ของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก เสวยราชสมบัติ เมื่อปีมะเส็ง ปีพ.ศ. 2352 - 2367 ขณะมีพระชนมายุได้ 42 พรรษา รวมสิริดำรงราชสมบัติ 16 ปี พระราชโอรส-ราชธิดา รวมทั้งสิ้น 73 พระองค์
พระปรีชาสามารถ
พระราชลัญจกรประจำพระองค์พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงพระปรีชาสามารถในศิลปกรรมด้านต่างๆ หลายสาขา ดังจะขอยกตัวอย่างต่อไปนี้
ด้านกวีนิพนธ์
ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้รับการยกย่องว่า เป็นยุคทองของวรรณคดีสมัยหนึ่งเลยทีเดียว ด้านกาพย์กลอนเจริญสูงสุด จนมีคำกล่าวว่า "ในรัชกาลที่ 2 นั้น ใครเป็นกวีก็เป็นคนโปรด" กวีที่มีชื่อเสียงนอกจากพระองค์เองแล้ว ยังมีกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ (รัชกาลที่ 3) สมเด็จกรมพระปรมานุชิตชิโนรส สุนทรภู่ พระยาตรัง และนายนรินทรธิเบศร์ (อิน) เป็นต้น พระองค์มีพระราชนิพนธ์ที่เป็นบทกลอนมากมาย ทรงเป็นยอดกวีด้านการแต่งบทละครทั้งละครในและละครนอก มีหลายเรื่องที่มีอยู่เดิมและทรงนำมาแต่งใหม่เพื่อให้ใช้ในการแสดงได้ เช่น รามเกียรติ์ อุณรุท และอิเหนา โดยเรื่องอิเหนานี้ เรื่องเดิมมีความยาวมาก ได้ทรงพระราชนิพนธ์ใหม่ตั้งแต่ต้นจนจบ เป็นเรื่องยาวที่สุดของพระองค์ วรรณคดีสโมสรในรัชกาลที่ 6 ได้ยกย่องให้เป็นยอดบทละครรำที่แต่งดี ยอดเยี่ยมทั้งเนื้อความ ทำนองกลอนและกระบวนการเล่นทั้งร้องและรำ นอกจากนี้ยังมีละครนอกอื่นๆ เช่น ไกรทอง สังข์ทอง ไชยเชษฐ์ คาวี มณีพิชัย ได้ทรงเลือกเอาของเก่ามาทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นใหม่บางตอน และยังทรงพระราชนิพนธ์บทพากย์โขนอีกหลายชุด เช่น ชุดนางลอย ชุดนาคบาศ และชุดพรหมาสตร์ ซึ่งล้วนมีความไพเราะซาบซึ้งเป็นอมตะใช้แสดงมาจนทุกวันนี้
ด้านปฏิมากรรม /ประติมากรรม
นอกจากจะทรงส่งเสริมงานช่างด้านหล่อพระพุทธรูปแล้ว พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยยังได้ทรงพระราชอุตสาหะปั้นหุ่นพระพักตร์ของพระพุทธธรรมิศรราชโลกธาตุดิลก พระประธานในพระอุโบสถวัดอรุณราชวราราม อันเป็นพระพุทธรูปที่สำคัญยิ่งองค์หนึ่งไทยด้วยพระองค์เอง ซึ่งลักษณะและทรวดทรงของพระพุทธรูปองค์นี้เป็นแบบอย่างที่ประดิษฐ์คิดค้นขึ้นใหม่ในรัชกาลที่ 2 นี้เอง ส่วนด้านการช่างฝีมือและการแกะสลักลวดลายในรัชกาลของพระองค์ได้มีความเจริญก้าวหน้าไปอย่างมาก และพระองค์เองก็ทรงเป็นช่างทั้งการปั้นและการแกะสลักที่เชี่ยวชาญยิ่งพระองค์หนึ่งอย่างยากที่จะหาผู้ใดทัดเทียมได้ นอกจากฝีพระหัตถ์ในการปั้นพระพักตร์พระพุทธธรรมิศรราชโลกธาตุดิลกแล้ว ยังทรงแกะสลักบานประตูพระวิหารพระศรีศากยมุนี วัดสุทัศนเทพวราราม คู่หน้าด้วยพระองค์เองร่วมกับกรมหมื่นจิตรภักดี และทรงแกะหน้าหุ่นหน้าพระใหญ่และพระน้อยที่ทำจากไม้รักคู่หนึ่งที่เรียกว่าพระยารักใหญ่ และพระยารักน้อยไว้ด้วย
ด้านดนตรี
กล่าวได้ว่า พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงมีพระปรีชาสามารถในด้านนี้ไม่น้อยไปกว่าด้านละครและฟ้อนรำ เครื่องดนตรีที่ทรงถนัดและโปรดปรานคือ ซอสามสาย ซึ่งซอคู่พระหัตถ์ที่สำคัญได้พระราชทานนามว่า "ซอสายฟ้าฟาด" และเพลงพระราชนิพนธ์ที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันดีคือ "เพลงบุหลันลอยเลื่อน" หรือ "บุหลัน (เลื่อน) ลอยฟ้า" แต่ต่อมามักจะเรียกว่า "เพลงทรงพระสุบิน" เพราะเพลงมีนี้มีกำเนิดมาจากพระสุบิน (ฝัน) ของพระองค์เอง โดยเล่ากันว่าคืนหนึ่งหลังจากได้ทรงซอสามสายจนดึก ก็เสด็จเข้าที่บรรทมแล้วทรงพระสุบินว่า ได้เสด็จไปยังดินแดนที่สวยงามดุจสวรรค์ ณ ที่นั่น มีพระจันทร์อันกระจ่างได้ลอยมาใกล้พระองค์ พร้อมกับมีเสียงทิพยดนตรีอันไพเราะยิ่ง ประทับแน่นในพระราชหฤทัย ครั้นทรงตื่นบรรทมก็ยังทรงจดจำเพลงนั้นได้ จึงได้เรียกพนักงานดนตรีมาต่อเพลงนั้นไว้ และทรงอนุญาตให้นำออกเผยแพร่ได้ เพลงนี้จึงเป็นที่แพร่หลายและรู้จักกันกว้างขวางมาจนทุกวันนี้
Buddha Loetla Nabhalai
Phra Bat Somdet Phra Poramenthramaha Isarasundhorn Phra Buddha Loetla Nabhalai (Thai: พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอิศรสุนทรฯ พระพุทธเลิศหล้านภาลัย; RTGS: —Itsarasunthon Phra Phuttha Loet La Naphalai), or Rama II (24 February 1767 – 21 July 1824), was the second monarch of Siam under the House of Chakri, ruling from 1809-1824. In 1809, Isarasundhorn succeeded his father Buddha Yodfa Chulaloke, the founder of Chakri dynasty, as Buddha Loetla Nabhalai the King of Siam. His reign was largely peaceful, devoid of major conflicts. His reign was known as the "Golden Age of Rattanakosin Literature" as Buddha Loetla Nabhalai was patron to a number of poets in his court and the King himself was a renowned poet and artist. The most notable poet in his employ was the illustrious Sunthorn Phu, the author of Phra Aphai Mani.
Ascension
As the eldest surviving legitimate son of Buddha Yodfa Chulaloke, Prince Isarasundhorn succeeded to throne when Buddha Yotfa Chulaloke died in 1809. No royal naming system was established at the time Rama II was crowned. He was later named by his son Jetsadabodin as Buddha Loetla Nabhalai and, by convention, he was usually called Rama II. His consort, Princess Bunrod, was raised to Queen Sri Suriyendra.
As soon as Buddha Loetla Nabhalai ascended the throne, Prince Kshatranichit, the surviving son of Taksin, began the rebellion to reclaim his legitimacy. Buddha Loetla Nabhalai had his son Prince Tub crushed the rebellion, in which Prince Tub managed to do so effectively. Prince Tub gained the King's favor as he was proved to be competent and was trusted to handle some of the state affairs. He served as a superintendent in the Ministry of Foreign affairs and Trade
King Bodawpaya of Burma, seeing that Buddha Yodfa Chulaloke was dead, marched an army into Chumporn and conquered Thalang (Phuket) in the same year. Buddha Loetla Nabhalai sent his brother Maha Senanurak the Front Palace to recapture Thalang, which had been razed to the ground. This "Thalang campaign" was the last invasion by the Burmese into Siamese territory.
Culture and Literature
Chakri Monarchs
Buddha Yodfa Chulaloke
Buddha Loetla Nabhalai
Jessadabodindra
Mongkut
Chulalongkorn
Vajiravudh
Prajadhipok
Ananda Mahidol
Bhumibol Adulyadej
v • d • e
It was said that during Rama II's reign, if one could write a refined piece of poetry, then one would be able to become a royal favorite, as Buddha Loetla Nabhalai himself was a poet. The reign was a cultural renaissance after the massive wars that plague the First Reign; particularly in the fields of arts and literature. Poets employed by Rama II included Sunthorn Phu the drunken writer (Phra Aphai Mani) and Narin Dhibet (Nirat Narin). His sons, Prince Jessadabodindra and Prince Poramanuchit, were encouraged to excel in poetry. Prince Poramanuchit later became a Sangharaj (Buddhist hierophant) and was well-known for his religious works.
Rama II's reign saw the reconstruction of Siamese culture and royal traditions. In 1811, the Grand Royal Funeral was held for King Buddha Yodfa Chulaloke. In the same year, a cholera epidemic broke out in Bangkok. Buddha Loetla Nabhalai ordered the "Apat Pinat" or sickness-repelling ceremonies to be performed. He also established the education and the examination system of Buddhism, by dividing it into nine levels. In 1817, the Vesak festival was restored.
Foreign Relations
In 1810, the first Rattanakosin-to-China mission was sent to the Jiaqing Emperor of the Qing Dynasty.
Since the Revolution of 1688, Western presence in Siam had been reduced to a small scale as the Siamese Kings ceased to encourage foreign influence, this coupled with the Napoleonic Wars meant there was little contact between Siam and foreigners.
However, the wars caused many subsequent changes, which were observed in Southeast Asia. The British interest in Malaya increased as their trade with China increased. The Sultan of Kedah, a Siamese vassal, gave Penang off to the British without consulting Siam in 1786, followed by the British acquisition of Province Wellesley. Soon the British replaced the Dutch as the dominating naval power south of Siam.
The mission of the Portuguese governor of Macau in 1818 was the first formal Western contact in Siam since the Ayutthaya times. The British founded Singapore in 1819 and Jaslis, the missionary from Rangoon, introduced the printing press to Siam in the same year. The Portuguese established the first western consulate in Siam in 1820. The first renewed formal British visit was made by Sir John Crawfurd in 1822.
ผลไม้แปลก"สตรอเบอรี่สีขาว"
สตรอเบอรี่สีขาว จริงๆ แล้วมีชื่อจริงว่า “พายเบอรี่” (Pineberry) เป็นผลไม้ที่มีอยู่จริง โดยมีรายละเอียดดังนี้
พายเบอรี่ (Pineberry) เป็นชื่อที่มีที่มาจาก การนำชื่อผลไม้สองชนิดมารวมกันก็คือ สับปะรด (PINEapple) กับ สตรอเบอรี่ (strawBERRY)
พายเบอรี่ (Pineberry)
■โดยมีรูปทรงคล้ายผล สตรอเบอรี่ แต่แทนที่จะมีสีแดง กับมีสีขาว แต่ยังคงมีเมล็ดสีแดงสด แทรกอยู่บนผิว
■ในช่วงแรกก่อนที่ผล พายเบอรี่ จะสุกพวกมันจะมีผิวสีเขียว เมื่อเริ่มสุกจะค่อยๆ กลายเป็นสีขาวขึ้นเรื่อยๆ
■พาย เบอรี่มีรสชาด และกลิ่น เหมือน สับปะรด
■พายเบอรี่ ไม่ใช่ผลไม้พันธุ์ใหม่ ในทางตรงกันข้าม พวกมันเป็นผลไม้ป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ ของทางอเมริกาเหนือ
■พายเบอรี่มีให้กินอยู่เพียง เดือนกว่าในช่วงเดือน มีนาคม ถึง เมษายน ถิ่นกำเนิดของพายเบอร์รี่นั้น มาจากอเมริกาใต้ เริ่มนำมาขายในท้องตลาดชุมชนเมื่อ 7 ปีที่ผ่านมา โดยชาวนาเชื้อสายดัตช์ พายเบอร์รี่ถูกนำมาวางขายในซูเปอร์มาเก็ตเจ้าใหญ่ในประเทศอังกฤษ ข่าวระบุว่า พนักงานแบ่งขายกระจาดละ 125 กรัม สนนราคาอยู่ที่ 2.99 ปอนด์ (ราว 148 บาท)
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)