วันพุธที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

โขน


โขน เป็นศิลปะการแสดงอย่างหนึ่งของไทย มีประวัติที่เก่าแก่ยาวนานมาก เชื่อว่ามีความเก่าแก่อย่างน้อยย้อนไปถึงสมัยอยุธยามีการสันนิษฐานว่าเป็นการแสดงที่พัฒนามาจากการแสดงชักนาคดึกดำบรรพ์ กระบี่กระบอง และการแสดงหนังใหญ่ ดังนั้นการแสดงโขนจึงเป็นการรวมศิลปะการแสดงหลายชนิดเข้าด้วยกัน เป็นการแสดงที่อาศัยท่าเต้นเป็นการแสดงออกทางอารมณ์เป็นสำคัญ ตัวละครมีทั้งแบบสวมมงกุฎบนศีรษะ และสวมหน้ากาก โดยการแสดงเป็นเรื่องราว มีทั้งบทเจรจา และบทร้อง สำหรับเนื้อเรื่องที่นำมาแสดงโขนนั้นเดิมมีทั้งเรื่องอุณรุท และรามเกียรติ์ แต่ในปัจจุบันนิยมเล่นแต่เรื่องรามเกียรติ์เท่านั้น


ความหมายของโขน


โขนเป็นนาฏกรรมที่มีศิลปะเป็นแบบฉบับ ของตนเอง คำว่า "โขน" ไม่ทราบแน่ชัดว่ามีมาตั้งแต่สมัยใด ซึ่งได้มีกล่าวไว้ในลิลิตพระลอเล่าถึงงานมหรสพในงานพระศพของพระลอและพระ เพื่อนพระแพงว่า "ขยายโรงโขนโรงรำ ทำระทาราวเทียน" คำว่า "โขน" มีกล่าวไว้ในหนังสือของชาวต่างประเทศ เป็นการกล่าวถึงศิลปะแห่งการเล่นของไทยในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ซึ่งเป็นที่นิยมและยึดถือเป็นแบบแผนกันมานาน มีข้อสันนิษฐานว่าโขนน่าจะมาจากคำในภาษาต่าง ๆ ดังนี้

ภาษาเบงกาลี ซึ่งมีคำว่า "โขละ หรือโขล" ซึ่งเป็นชื่อของเครื่องดนตรีประเภทหนัง ชนิดหนึ่งของฮินดู โดยตัวรูปร่างคล้ายมฤทังคะ (ตะโพน) ส่วนใหญ่เป็นเครื่องดนตรีที่พวกไวษณพนิกายในแคว้นแบงกอลนิยมใช้ประกอบการ เล่นชนิดหนึ่งที่เรียกว่า "ยาตรา" ซึ่งหมายถึง ละครเร่ และหากเครื่องดนตรีชนิดนี้ได้เคยนำเข้ามาในดินแดนไทยแล้วนำมาใช้ประกอบการ เล่นนาฏกรรมชนิดหนึ่ง เราจึงเรียกการแสดงชุดนั้นว่า "โขล" ตามชื่อเครื่องดนตรี

ภาษาทมิฬ เริ่มจากคำว่า โขล มีคำเพียงใกล้เคียงกับ "โกล หรือ โกลัม" ในภาษาทมิฬ ซึ่งหมายถึงเพศ หรือการแต่งตัวหรือการประดับตกแต่งตัวตามลักษณะของเพศ

ภาษาอิหร่าน มาจากคำว่า "ษูรัต ควาน" (Surat khwan) ซึ่งษูรัตแปลว่าตุ๊กตาหรือหุ่น ซึ่งผู้อ่านหรือผู้ขับร้องแทนตุ๊กตาหรือหุ่นเรียกว่า "ควาน" หรือโขน (Khon) ซึ่งคล้าย ๆ กับผู้พากย์และผู้เจรจาอย่างโขน

ภาษาเขมร ในพจนานุกรมภาษาเขมร มีคำว่า "ละคร" แต่เขียนเป็นอักษรว่า "ละโขน" ซึ่งหมายถึงมหรสพอย่างหนึ่งเล่นเรื่องต่าง ๆ กับมีคำว่า "โขล" อธิบายไว้ในพจนานุกรมเขมรว่า "โขล ละคอนชายเล่นเรื่องรามเกียรติ์"

หากที่มาของโขนมา จากคำในภาษาเบงคาลี ภาษาทมิฬและภาษาอิหร่าน ก็คงจะมาจากพวกพ่อค้าวาณิช และศาสนาจารย์ของชาวพื้นเมืองประเทศนั้น ๆ แพร่มาสู่ดินแดนในหมู่เกาะชวา มาลายูและแหลมอินโดจีน

จากข้อสันนิษฐานต่างๆ ยังมิอาจสรุปได้แน่นอนว่า "โขน" เป็นคำมาจากภาษาใด แต่เมื่อเปิดพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ซึ่งใช้กันในยุคสมัยนี้ก็จะพบว่า โขน หมายถึง การเล่นอย่างหนึ่งคล้ายละครรำ แต่เล่นเฉพาะในเรื่องรามเกียรติ์ โดยผู้แสดงสวมหัวจำลองต่าง ๆ ที่เรียกว่า หัวโขน หรืออีกความหมายหนึ่งหมายถึง ไม้ที่ต่อเสริมหัวเรือท้ายเรือให้งอนเชิดขึ้นไป เรียกว่า "โขนเรือ" เรียกเรือชนิดหนึ่งที่มีโขนว่า เรือโขน เช่น เรือโขนขนาดใหญ่น้อย เหลือหลาย (ลิลิตพยุหยาตรา) หรือส่วนสุดทั้ง 2 ข้างของรางระนาดหรือฆ้องวง ที่งอนขึ้นก็เรียกว่า "โขน"

วิวัฒนาการของโขน


      การแสดงโขนในขั้นแรกน่าจะแสดงกลางสนามกว้าง ๆ เหมือนกับการแสดงชักนาคดึกดำบรรพ์ ต่อมาการแสดงก็เจริญก้าวหน้ามากขึ้น มีการปลูกโรงไว้ใช้แสดง จนมีฉากประกอบตามท้องเรื่อง จากนั้นโขนก็มีการวิวัฒนาการดัดแปลงการเล่นด้วยวิธีการต่าง ๆ เราจึงเรียกแยกประเภทของโขนตามลักษณะการแสดงนั้น ๆ ได้แก่


1. โขนกลางแปลง

2. โขนโรงนอก หรือโขนนั่งราว

3. โขนหน้าจอ

4. โขนโรงใน

5. โขนฉาก

เรื่องที่ใช้แสดงโขน


        เรื่องที่ใช้แสดงโขนที่รู้จักกันแพร่หลายคือเรื่องรามเกียรติ์ ซึ่งมีทั้งหมดหลายสำนวนด้วยกัน ต้นกำเนิดของเรื่องรามเกียรติ์นี้คือมหากาพย์รามายณะของประเทศอินเดีย แต่งโดยพระฤๅษีวาลมิกิ ซึ่งชาวอินเดียสมัยโบราณเชื่อว่าถ้าได้ฟังหรืออ่านเรื่องนี้ก็สามารถล้างบาปได้

        รามเกียรติ์เป็นเรื่องราวของพระนารายณ์อวตารลงมาเป็นพระรามเพื่อคอยปราบอสูร สงครามระหว่างพระรามกับทศกัณฐ์ผู้ซึ่งเป็นพญายักษ์นั้น เกิดจากทศกัณฐ์ไปลักพาตัวนางสีดามเหสีของพระรามมาเป็นชายาของตนเอง พระรามและพระลักษมณ์จึงออกติดตาม ได้พญาวานรสุครีพและมหาชมพูมาเป็นบริวาร รวมถึงหนุมานเป็นทหารเอก เพื่อทำศึกกับทศกัณฐ์จนได้รับชัยชนะ

รามเกียรติ์ฉบับของไทยได้มีการแต่งเป็นตอน ๆ เพื่อใช้ในการแสดงต่าง ๆ ในยุคสมัยที่ต่างกันดังนี้

บทละครรามเกียรติ์สมัยกรุงศรีอยุธยา บทรามเกียรติ์ที่แต่งขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยามีเพียงสามฉบับเท่านั้น ได้แก่

1. รามเกียรติ์คำฉันท์

2. รามเกียรติ์คำพากย์

3. รามเกียรติ์บทละครครั้งกรุงเก่า

บทละครรามเกียรติ์สมัยกรุงธนบุรี

บทละครรามเกียรติ์สมัยกรุงรัตนโกสินทร์บทรามเกียรติ์ที่แต่งขึ้นในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์มีทั้งหมด 4 ฉบับ ได้แก่

1. บทละครรามเกียรติ์ในรัชกาลที่ 1

2. บทละครรามเกียรติ์ในรัชกาลที่ 2

3. บทละครรามเกียรติ์ในรัชกาลที่ 4

4. บทร้อง และบทพากย์รามเกียรติ์ในรัชกาลที่ 6

ลักษณะบทโขน


ลักษณะบทโขน ประกอบด้วย

บทร้อง ซึ่งบรรจุเพลงไว้ตามอารมณ์ของเรื่อง บทร้องแต่งเป็นกลอนบทละครเป็นส่วนใหญ่ อาจมีคำประพันธ์ชนิดอื่นบ้างแต่ไม่นิยม บทร้องนี้จะมีเฉพาะโขนโรงในและโขนฉากเท่านั้น

บทพากย์ การแสดงโขนโดยทั่วไปจะเดินเรื่องด้วยบทพากย์ ซึ่งแต่งเป็นคำประพันธ์ชนิดกาพย์ฉบัง 16 หรือกาพย์ยานี 11 บทมีชื่อเรียกต่าง ๆ ดังนี้

พากย์เมือง หรือพากย์พลับพลา คือบทตัวเอก เช่น ทศกัณฐ์หรือพระรามประทับในปราสาทหรือพลับพลา

พากย์รถ เป็นบทชมพาหนะและกระบวนทัพ ไม่ว่าจะเป็นรถ ม้า ช้าง หรืออื่นใดก็ได้ ตลอดจนชมไพร่พลด้วย

พากย์โอ้ เป็นบทโศกเศร้า รำพัน คร่ำครวญ ซึ่งตอนต้นเป็นพากย์ แต่ตอนท้ายเป็นทำนองร้องเพลงโอ้ปี่ ให้ปี่พาทย์รับ

พากย์ชมดง เป็นบทตอนชมป่าเขา ลำเนาไพร ทำนองตอนต้นเป็นทำนองร้อง เพลงชมดงใน ตอนท้ายเป็นทำนองพากย์ธรรมดา

พากย์บรรยาย เป็นบทขยายความเป็นมา ความเป็นไป หรือพากย์รำพึงรำพันใดๆ เช่น พากย์บรรยายตำนานรัตนธนู

พากย์เบ็ดเตล็ด เป็นบทที่ใช้ในโอกาสทั่วๆ ไป เป็นเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ที่ไม่เข้าประเภทใด เช่นกล่าวว่า ใครทำอะไร หรือพูดกับใคร ว่าอย่างไร

บทเจรจา เป็นบทกวีที่แต่งเป็นร่ายยาว ส่งและรับสัมผัสกันไปเรื่อยๆ ใช้ได้ทุกโอกาส สมัยโบราณเป็นบทที่คิดขึ้นสดๆ เป็นความสามารถของคนพากย์ คนเจรจา ที่จะใช้ปฏิภาณคิดขึ้นโดยปัจจุบัน ให้ได้ถ้อยคำสละสลวย มีสัมผัสแนบเนียน และได้เนื้อถ้อยกระทงความถูกต้องตามเนื้อเรื่อง ผู้พากย์เจรจาที่เก่งๆ ยังสามารถใช้ถ้อยคำคมคาย เหน็บแนมเสียดสี บางครั้งก็เผ็ดร้อน โต้ตอบกันน่าฟังมาก ปัจจุบันนี้ บทเจรจาได้แต่งไว้เรียบร้อยแล้ว ผู้พากย์เจรจาก็ว่าตามบทให้เกิดอารมณ์คล้อยตามถ้อยคำ โดยใช้เสียงและลีลาในการเจรจา ผู้พากย์และเจรจาต้องทำสุ้มเสียงให้เหมาะกับตัวโขน และใส่ความรู้สึกให้เหมาะกับอารมณ์ในเรื่อง

คนพากย์และเจรจานี้ใช้ผู้ชาย คนหนึ่งต้องทำหน้าที่ทั้งพากย์และเจรจา และต้องมีไม่น้อยกว่า 2 คน จะได้โต้ตอบกันทันท่วงที เมื่อพากย์หรือเจรจาจบกระบวนความแล้ว ต้องการจะให้ปี่พาทย์ทำเพลงอะไรก็ร้องบอกไป เรียกว่า "บอกหน้าพาทย์" และถ้าการแสดงโขนนั้นมีขับร้อง คนพากย์และเจรจายังจะต้องทำหน้าที่บอกบทด้วย การบอกบทจะต้องบอกให้ถูกจังหวะ



 

ผลไม้เพื่อสุขภาพ (Slim Up)

แอปเปิ้ล ผลไม้เพื่อสุขภาพ (Slim Up)


การจำกัดปริมาณอาหารเพื่อควบคุมน้ำหนักนั้น เป็นเรื่องยากสำหรับคุณผู้หญิง เพราะไหนจะต้องทนต่อความหิวจนกว่าจะผอม แต่พอผอมสมใจกลับโดนทักว่าทำไมดูซีดเซียว ไม่สดชื่น อวบอั๋นเหมือนตอนก่อนลดน้ำหนัก

การรับประทานผลไม้จึงเป็นวิธีหนึ่ง ที่ช่วยแก้ปัญหาได้ทั้งการลดน้ำหนัก และการมีสุขภาพที่สดใส เพราะผลไม้ประกอบไปด้วยเส้นใยอาหาร (Fiber) ที่ช่วยให้รู้สึกอิ่มท้องมีน้ำตาลธรรมชาติที่ร่างกายสามารถดูดซึมได้เร็ว และนำไปใช้งานได้ทันที นอกจากนี้ ผลไม้ยังอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุอีกนับไม่ถ้วน ช่วยให้ร่างกายรู้สึกสดชื่น ไม่ทรุดโทรม จึงเหมาะสำหรับสาว ๆ ที่ต้องการควบคุมน้ำหนักเป็นที่สุด

เมื่อถามคนใกล้ตัวว่า "อยากลดน้ำหนักจะทานผลไม้อะไรดี?" เชื่อว่าคงได้คำตอบกว่าครึ่งเป็นผลไม้รูปร่างอวบอัดที่ชื่อว่า "แอปเปิ้ล" แน่ ๆ เพราะแอปเปิ้ลเป็นผลไม้ที่มีสีสันชวนรับประทาน เนื้อสัมผัสกรอบ รสชาติอร่อย กลิ่นหอม มีคุณค่าทางโภชนาการสูง หาทานได้ง่าย ราคาไม่แพง และที่สำคัญคือไม่ทำให้อ้วน แอปเปิ้ลจึงได้ชื่อว่าเป็น "ราชาแห่งผลไม้ลดน้ำหนัก"

กินแอปเปิ้ลวันละ 1 ผล ร่างกายแข็งแรง

แอปเปิ้ลให้สารอาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรตและวิตามินซีเป็นหลัก ซึ่งปริมาณวิตามินซีจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ ช่วงเวลาเก็บเกี่ยว และความสด เนื้อแอปเปิ้ล 100 กรัม มีวิตามินซีประมาณ 6 มิลลิกรัม และให้พลังงานราว 59 แคลอรี ไม่ทำให้อ้วน แต่แอปเปิ้ลก็มีสารอาหารที่มีประโยชน์ชนิดอื่นทดแทน แบบที่เรียกได้ว่าไม่น้อยหน้าผลไม้อื่นแต่อย่างใด

พลังงานที่ได้จากแอปเปิ้ลมีลักษณะพิเศษที่น่าสนใจคือ แอปเปิ้ลจะให้พลังงานค่อนข้างต่ำและค่อยเป็นค่อยไป เพราะแหล่งพลังงานของแอปเปิ้ลคือ น้ำตาลฟรักโทสซึ่งเป็นน้ำตาลที่เปลี่ยนรูปเป็นพลังงานอย่างช้า ๆ ในร่างกายช่วยให้ไม่รู้สึกหิว อิ่มนาน ผลที่ตามมาคือ ระดับน้ำตาลในกระแสเลือดจะค่อย ๆ เพิ่มขึ้นอย่างสม่ำเสมอ ไม่สูงเร็วเหมือนกินขนมหวาน จึงเหมาะกับคนไข้เบาหวานด้วยเช่นกัน

เปลือกและเนื้อของแอปเปิ้ลมีเส้นใยอาหารที่ชื่อว่า "เพคติน" ที่มีคุณสมบัติพองตัวได้มาก ช่วยเพิ่มกากในทางเดินอาหาร ทำให้อวัยวะในทางเดินอาหารมีการทำงานเป็นปกติ เพิ่มประสิทธิภาพในการขับถ่าย ซึ่งเป็นการช่วยป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ และยังช่วยจับคอเลสเตอรอลไม่ให้ถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย ป้องกันโรคคอเลสเตอรอลในเลือดสูง โรคหัวใจ และความดันโลหิตสูง

นอกจากนี้ แอปเปิ้ลยังอุดมไปด้วยวิตามิน เกลือแร่และสารอาหารที่มีประโยชน์อีกหลายชนิด ทั้งวิตามินเอ บี 1 บี 2 บี 6 ไบโอติน กรดโฟลิก กรดแพนโทเธอนิค เกลือแร่ คลอไรด์ เหล็ก ทองแดง แมกกานีส แคลเซียม ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม โซเดียม ซิลิคอน และยังมีกรดอินทรีย์ 2 ชนิด คือ กรดมาลิคและกรดทาร์ทาริก ซึ่งช่วยในการย่อยอาหารจำพวกโปรตีนและไขมัน สารอาหารเหล่านี้ มีประโยชน์ต่อสุขภาพในหลายด้าน โดยเฉพาะวิตามินซี และสารในกลุ่มฟลาโวนอยด์ ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่พบมากในแอปเปิ้ล จะช่วยป้องกันโรคหัวใจในผู้ที่รับประทานเป็นประจำ

แอปเปิ้ลเขียว หรือแอปเปิ้ลแดง ที่มีประโยชน์มากกว่ากัน
เมื่อวิเคราะห์จากคุณค่าสารอาหารต่าง ๆ เปรียบเทียบระหว่างแอปเปิ้ลเขียวและแอปเปิ้ลแดง พบว่าไม่มีความแตกต่างกันมากนัก แต่สิ่งที่แอปเปิ้ลแดงมีเหนือกว่าเล็กน้อยคือ ปริมาณของสารแอนโทไซยานิน ซึ่งมีฤทธิ์เป็นสารต้านอนุมูลอิสระในกลุ่มฟลาโวนอยด์นั่นเอง

ดื่มน้ำแอปเปิ้ล ก็ได้ประโยชน์เท่ากินทั้งลูก?
จากที่กล่าวมาแล้วข้างต้น จะพบว่าประโยชน์ของแอปเปิ้ลมาจากองค์ประกอบ 3 ตัวด้วยกันคือ จากเส้นใยอาหาร สารต้านอนุมูลอิสระที่มีมากบริเวณเปลือก และจากน้ำตาลฟรักโทสที่มีมากในเนื้อแอปเปิ้ล ดังนั้นหากต้องการดื่มน้ำแอปเปิ้ล ควรเลือกวิธีการปั่นทั้งผล โดยไม่ต้องปอกเปลือก เพราะหากใช้วิธีคั้นน้ำ จะทำให้ได้เฉพาะน้ำตาลและสารต้านอนุมูลอิสระอีกเล็กน้อย ซึ่งอาจทำให้อ้วนได้มากกว่าเดิม และไม่ได้รับประโยชน์ทั้งหมดจากแอปเปิ้ลอย่างครบถ้วน

กินแอปเปิ้ลอย่างไรให้ได้ประโยชน์

ในแง่โภชนาการ แอปเปิ้ลไม่ใช่ผลไม้ที่มีวิตามินหรือแร่ธาตุในปริมาณสูงมากนัก เมื่อเทียบกับกล้วย ฝรั่งหรือส้ม แต่หากทานแอปเปิ้ลวันละ 2-4 ลูก โดยไม่ปอกเปลือกก็จะได้รับเส้นใยอาหารและสารอาหารต่าง ๆ ในปริมาณที่พอเหมาะ

ในปัจจุบันมีการกล่าวอ้างสรรพคุณของแอปเปิ้ลมากมาย เช่น บำรุงหัวใจ ลดคอเลสเตอรอล ลดความดัน ควบคุมปริมาณน้ำตาลในเลือด ลดความอยากอาหาร ช่วยกระตุ้นการทำงานของสารต้านอนุมูลอิสระ ชะลอความแก่และฆ่าเชื้อไวรัส ซึ่งหากต้องการจะรับประทานแอปเปิ้ลสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อควบคุมน้ำหนักแล้ว ก็ควรต้องทานเนื้อสัตว์ไม่ติดมัน และผักผลไม้อื่น ๆ ร่วมด้วย เพื่อป้องกันการขาดสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย

วันอังคารที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

อาหารเพื่อสุขภาพ

กุ้งกระเทียมผัดพริกขี้หนู

พริกขี้หนู เป็นพริกเม็ดเล็กๆ แต่เวลานำเอามาปรุงเป็นอาหาร จะมีรสชาติและกลิ่นหอม
มากกว่าพริกเม็ดใหญ่ๆ ยิ่งเม็ดเล็กก็ยิ่งมีรสและกลิ่นมากขึ้น จึงกลายมาเป็นคำเปรียบเทียบว่า
ถึงเล็กก็เล็กพริกขี้หนู ยิ่งเอามาผัดคู่กับกระเทียมด้วยแล้ว กลิ่นรสยิ่งชวนชิมมากขึ้น
อาหารที่กินคู่กับข้าวกล้องวันนี้ก็เลยเป็นกุ้งกระเทียมผัดพริกขี้หนู

ส่วนผสม

1. กุ้งชีแฮ้ย่างไฟพอสุก 2 ขีด
2. เห็ดหอมสด 1 ขีด
3. กระเทียมบุบพอแตก 10 กลีบ
4. พริกขี้หนูบุบพอแตก 10 เม็ด
5. น้ำปลา 1 ช้อนโต๊ะ
6. น้ำตาลทรายแดง 2 ช้อนชา
7. น้ำเปล่า 2 ช้อนโต๊ะ
8. น้ำมันสำหรับผัด 2 ช้อนโต๊ะ

วิธีทำ

1. แกะเปลือกกุ้งที่ย่างแล้ว ฉีกเป็นชิ้นพอคำ แล้วพักไว้ เห็ดหอมสดผ่าครึ่ง ล้างให้สะอาด
2. เจียวกระเทียมและพริกขี้หนูในน้ำมันพอหอม ใส่กุ้งและเห็ดหอมลงผัด
เติมน้ำปลาและน้ำตาลทรายแดง เติมน้ำเปล่า ลงผัดให้เข้ากัน คนอีกครั้ง ตักขึ้นใส่จาน
กินกับข้าวกล้องร้อนๆ

กุ้งผัดกระเทียมจานนี้จะมีกลิ่นหอมมากกว่าธรรมดา เพราะว่าเราใช้กุ้งย่างแทนกุ้งสด

สรรพคุณ


กระเทียม - ช่วยลดคอเลสเตอรอล ฆ่าเชื้อไวรัสและแบคทีเรีย
พริกขี้หนู - มีสารเบต้าแคโรทีน ช่วยขับเหงื่อ ปัสสาวะ เจริญอาหาร ทำให้หลอดเลือดอ่อนตัว
ช่วยป้องกันโรคหัวใจ เลือดไหลหมุนเวียนดี ลดความดันเลือด
เห็ดหอม - สามารถยับยั้งโรคมะเร็ง
กุ้ง - เพิ่มน้ำนม
ข้าวกล้อง - มีวิตามินบี 1 บี 2 ป้องกันเหน็บชา

วันเสาร์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ประวัติศาสตร์ของประเทศอิตาลี



ประวัติศาสตร์
ยุคก่อนประวัติศาสตร์จนถึงยุคจักรวรรดิโรมัน

สนามกีฬาโคลอสเซียม สถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมในกรุงโรมคาบสมุทรอิตาลีมีมนุษย์อาศัยตั้งแต่ยุคหินเก่า ดินแดนลุ่มแม่น้ำไทเบอร์เป็นที่ตั้งถิ่นฐานของมนุษย์นีแอนเดอร์ทัลตั้งแต่เมื่อประมาณ 5 หมื่นปีที่แล้ว และด้วยอิตาลีนั้นตั้งอยู่บนคาบสมุทรในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนซึ่งมีอารยธรรมโบราณกล่าวคือ อารยธรรมมิโนนและไมซีเนียน อารยธรรมที่เกี่ยวพันกับอารยธรรมกรีกโบราณ อิตาลีเป็นประเทศที่มีอารยธรรมมาช้านานและแผ่ขยายดินแดนอื่น ๆ ในทวีปยุโรป

ในช่วง 1,600 ปีก่อนคริต์ศักราช พวกอีทรัสคัน จากเอเชียไมเนอร์ก็ได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานในบริเวณที่เป็นแคว้นตอสกานาในปัจจุบัน พร้อมกับนำอารยธรรมกรีกเข้ามาเผยแพร่ ส่วนพวกกรีกเองก็ได้เดินทางมาตั้งอาณานิคมชื่อว่า “แมกนากราเซีย” (อิตาลี: Magna Graecia) ในตอนใต้ของอิตาลีใน 800 ปีก่อนคริสต์ศักราช มีพื้นที่ครอบคลุมบริเวณตั้งแต่เมืองนาโปลี จนถึงเกาะซิชิเลีย

ในคริสต์ศตวรรษที่ 6 ก่อนคริสต์ศักราช พวกอีตรัสกันได้มีอำนาจปกครองดินแดนตั้งแต่บริเวณชายฝั่งตะวันตกของคาบสมุทรอิตาลีตั้งแต่หุบเขาโป จนถึงบริเวณเมืองนาโปลี และดินแดนรอบ ๆ กรุงโรม ขณะเดียวกันชนเผ่าอื่น ๆ ที่อาศัยอยู่ในคาบสมุทรอิตาลีก็รวมตัวกันจัดตั้งเป็นนครรัฐขึ้น เพื่อต่อต้านการขยายตัวและอำนาจของพวกอีตรัสกันและกรีก ชนเผ่าที่สำคัญในการต่อต้านอำนาจเหล่านี้ได้แก่พวกละติน หรือโรมัน ซึ่งเมื่อถึง 200 ปีก่อนคริสต์ศักราช พวกละตินก็ได้มีอำนาจเหนือดินแดนอิตาลี เกาะซาร์ดิเนียและซิซิเลีย ทั้งหมดแล้ว

ใน 27 ปีก่อนคริสต์ศักราช โรมได้เปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองจากสาธารณรัฐเป็นระบอบจักรวรรดิ โดยมีจักรพรรดิออกเตเวียน เป็นจักรพรรดิพระองค์แรก นครหลวงแห่งนี้ได้เจริญถึงขีดสุดและสามารถขยายอำนาจปกครองอิทธิพลไปทั่วทั้งยุโรป และบริเวณรายรอบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน อีกทั้งยังเป็นศูนย์กลางของการค้าและความเจริญในด้านวัฒนธรรมและศิลปวิทยาการแขนงต่างๆ แทนอารยธรรมกรีกที่เสื่อมถอยลง ระหว่างปี ค.ศ. 96 – 180 เป็นช่วงระยะเวลาแห่งความเจริญรุ่งเรืองของจักรพรรดิที่ปกครอง 5 พระองค์ แต่หลังจากนั้น โรมต้องประสบปัญหาทั้งในทุก ๆ ด้าน รวมไปถึงการรุกรานของพวกอนารยชน รวมทั้งการเสื่อมโทรมทางศีลธรรมจรรยา ใน ค.ศ. 312 จักรพรรดิคอนสแตนตินทรงยอมรับคริสต์ศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ ซึ่งมีผลให้คริสต์ศาสนามีโอกาสได้เผยแพร่ไปทั่วดินแดนที่อยู่ใต้อาณัติของโรม และทรงแบ่งจักรวรรดิโรมันออกเป็นสองส่วน คือ จักรวรรดิโรมันตะวันตก และจักรวรรดิไบแซนไทน์

ในคริสต์คริสต์ศตวรรษที่ 5 จักรวรรดิโรมันตะวันตกและกรุงโรมได้ถูกพวกอนารยชนชาวเยอรมันเข้าปล้นสะดม ซึ่งต่อมาในปี ค.ศ. 476 จักรพรรดิโรมันพระองค์สุดท้ายก็ถูกพวกอนารยชนขับออกจากบัลลังก์ คาบสมุทรอิตาลีถูกแบ่งออกเป็นนครรัฐทั้งหลายซึ่งมีอิสระต่อกันกว่า 14 รัฐ

ยุคกลาง

แผ่นดินอิตาลีในยุคกลางตอนต้นในช่วงต้นของยุคกลาง ดินแดนต่าง ๆ ในยุโรปได้ตกอยู่ในสภาวะระส่ำระส่ายที่บ้านเมืองขาดผู้นำ ระบบการเมือง เศรษฐกิจและสังคมถูกทำลาย แต่ในขณะเดียวกันบิชอบแห่งโรม ก็ได้สามารถสถาปนาอำนาจสูงสุดในคริสตจักรซึ่งต่อมาคือ“สันตะปาปา” และสามารถจัดตั้งรัฐสันตะปาปา อีกทั้งยังเป็นผู้สืบทอดอารยธรรมโรมันที่ยังหลงเหลือให้คงอยู่ต่อไป อย่างไรก็ดี แม้นครรัฐต่าง ๆ ในคาบสมุทรอิตาลีจะขาดเอกภาพทางการเมือง แต่นครรัฐเหล่านั้นยังเป็นศูนย์กลางของความเจริญมั่งคั่งและการฟื้นตัวของศิลปะและวัฒนธรรมของยุโรป

ในกลางคริสต์คริสต์ศตวรรษที่ 14 อิตาลีได้ประสบความสำเร็จในการฟื้นฟูศิลปวิทยาการของอารยธรรมกรีกและโรมัน โดยเรียกว่า ยุคเรอเนซองส์ และเป็นผู้นำของลัทธิมนุษยนิยม ในขณะที่ประเทศต่าง ๆ ในยุโรปยังตกอยู่ภายใต้การปกครองแบบศักดินา แต่เมื่อเข้าปลายคริสต์คริสต์ศตวรรษที่ 15 อิตาลีได้ตกเป็นสมรภูมิแย่งชิงอำนาจระหว่างฝรั่งเศส สเปน และออสเตรีย กล่าวคือ เมื่อปี ค.ศ. 1494 พระเจ้าชาร์ลที่ 8 แห่งฝรั่งเศสได้เปิดการโจมตีคาบสมุทร ซึ่งได้ดำเนินเรื่อยมาถึงกลางคริสต์คริสต์ศตวรรษที่ 16 และการโจมตีเพื่อแย่งการเป็นเจ้า ระหว่างฝรั่งเศสและสเปน

ราชอาณาจักรอิตาลี (ค.ศ. 1861-1946)

เบนิโต มุสโสลินี (ซ้าย) กับอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ (ขวา) ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2ดูบทความหลักที่ ราชอาณาจักรอิตาลี (ค.ศ. 1861-1946)
ในกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 ได้มีการชุมนุมของขบวนการชาตินิยม เพื่อต้องการรวมอิตาลีจนเป็นผลสำเร็จ โดยการนำของพระเจ้าวิคเตอร์เอมมานูเอลที่ 2 นับแต่นั้นมา อิตาลีจึงอยู่ภายใต้การปกครองระบอบกษัตริย์ เรื่อยมาจนกระทั่งในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ซึ่งเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมากในอิตาลี เมื่อมีการประกาศยกเลิกความเป็นพันธมิตรกับเยอรมนีและจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี และเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง จนได้รับสมญานามว่าเป็น 1 ใน 4 มหาอำนาจ (The Big Four) ต่อมาสงครามได้ยุติลงด้วยชัยชนะของสัมพันธมิตร อิตาลีจึงได้ดินแดนบางส่วนของออสเตรียมาครอบครอง

ต่อมาในปี ค.ศ. 1922 ระบบเผด็จการฟาสซิสต์ ถูกนำมาใช้ในประเทศอิตาลีกว่า 20 ปี โดยการนำของเบนิโต มุสโสลินี ถึงแม้ว่าจะมีกษัตริย์ทรงเป็นประมุข แต่ก็เป็นเพียงในนามเท่านั้น จนกระทั่งเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่สอง อิตาลีเข้าร่วมกับฝ่ายอักษะ เมื่อฝ่ายสัมพันธมิตรยึดเกาะซิซิลีได้ มุสโสลินีจึงถูกปลดออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และแต่งตั้งปีเอโตร บาโดลโย ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีแทน และประกาศสงครามกับนาซีเยอรมนี จนได้รับชัยชนะ โดยมุสโสลินีถูกกลุ่มต่อต้านฟาสซิสต์จับกุม และถูกสังหารที่เมืองมิลาน[3]

สาธารณรัฐอิตาลี
เมื่อสงครามโลกครั้งที่สอง สิ้นสุดลง อิตาลียังคงมีพระเจ้าวิคเตอร์ เอ็มมานูเอลที่ 3 เป็นประมุขอยู่ ต่อมาพระองค์สละราชสมบัติให้กับพระเจ้าอุมแบร์โตที่ 2 ขึ้นครองราชย์แทน แต่ครองราชย์ได้เพียง 1 เดือนเท่านั้น ประชาชนต่างลงประชามติให้อิตาลีเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบบกษัตริย์มาเป็นระบบสาธารณรัฐในระบอบประชาธิปไตย เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน ค.ศ. 1946 โดยมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญในปี ค.ศ. 1948 จนถึงปัจจุบัน[3]

ภูมิศาสตร์

ภาพถ่ายดาวเทียมประเทศอิตาลี
ยอดเขามงบล็อง ภูเขาที่สูงที่สุดในอิตาลีและยุโรปตะวันตกภูมิประเทศ
ประเทศอิตาลีตั้งอยู่บนคาบสมุทรอิตาลี ถูกล้อมรอบด้วยทะเลในทุกๆ ด้านยกเว้นด้านเหนือ อาณาเขตทางทิศเหนือติดต่อกับประเทศฝรั่งเศส สวิตเซอร์แลนด์และออสเตรียโดยมีเทือกเขาแอลป์กั้นแบ่ง โดยในเทือกเขามีภูเขาที่สูงที่สุดในทวีปยุโรป คือภูเขามอนต์ บรานซ์ (อิตาลี: Monte Bianco) ซึ่งตั้งอยู่ในประเทศอิตาลี เทือกเขาที่สำคัญอีกอันคือ เทือกเขาแอพเพนไนน์ (อิตาลี: Appennini) พาดผ่านตอนกลางและตอนใต้ของประเทศ มีแม่น้ำที่ยาวที่สุดในอิตาลีคือแม่น้ำโป (Po) และแม่น้ำไทเบอร์ที่ไหลผ่านกรุงโรม อิตาลีมีดินแดนที่ราบลุ่มริมแม่น้ำราว 25 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ทั้งประเทศ[4] โดยที่ราบลุ่มแม่น้ำโป ทางตะวันออกเฉียงเหนือเป็นบริเวณพื้นที่ราบที่กว้างใหญ่ที่สุด อิตาลีมีเกาะมากมาย แต่เกาะที่มีขนาดใหญ่ที่สุดคือเกาะซิซิลีและซาร์เดนญา สามารถเดินทางได้โดยเรือและเครื่องบิน

ทางตอนเหนือของอิตาลีมีทะเลสาบที่มีขนาดใหญ่มากมาย เช่น ทะเลสาบการ์ดา โกโม แมกกิโอเร และทะเลสาบอีเซโอ เนื่องจากประเทศอิตาลีถูกล้อมรอบด้วยทะเล ดังนั้นจึงมีชายฝั่งทะเลยาวหลายพันกิโลเมตร ดึงดูดนักท่องเที่ยวจากทั่วโลก และนักท่องเที่ยวก็นิยมเที่ยวสถานที่ทางประวัติศาสตร์ของอิตาลีอีกด้วย ประเทศอิตาลีมีทะเลสาบปล่องภูเขาไฟมากอันดับหนึ่งของโลก เมืองหลวงของประเทศอิตาลีคือกรุงโรม และเมืองสำคัญอื่นๆ เช่นเมืองมิลาน ตูริน ฟลอเรนซ์ เนเปิลส์ และเวนิซ และภายในประเทศอิตาลียังมีประเทศแทรกอยู่ 2 ประเทศ ได้แก่ ประเทศซานมารีโนและนครรัฐวาติกัน

ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญของประเทศ คือ ปรอท โพแทช (โพแทสเซียมคาร์บอเนต) หินอ่อน กำมะถัน แก๊สธรรมชาติ น้ำมันดิบ ปลาและถ่านหิน

อิตาลีมีปัญหาด้านสภาพแวดล้อม เช่น มลภาวะเป็นพิษจากอุตสาหกรรมและการสันดาบ ชายฝั่งแม่น้ำเน่าเสียจากอุตสาหกรรม และสารตกค้างจากการเกษตร ฝนกรด การขาดการดูแลบำบัดของเสียจากอุตสาหกรรมอย่างเพียงพอ และปัญหาด้านภัยธรรมชาติ เช่น แผ่นดินไหว ดินและโคลนถล่ม ภูเขาไฟระเบิด น้ำท่วม รวมถึงปัญหาแผ่นดินทรุดตัวในเวนิส

ภูมิอากาศ
ประเทศอิตาลีมีลักษณะอากาศหลากหลายแบบ และอาจมีความแตกต่างจากภูมิอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียนตามลักษณะพื้นที่ตั้ง พื้นที่ส่วนใหญ่ทางตอนเหนือของประเทศ เช่นเมืองตูริน มิลาน และโบโลญญา มีลักษณะแบบอากาศภาคพื้นทวีปที่ค่อนข้างร้อนชึ้น (การแบ่งลักษณะภูมิอากาศแบบเคิปเปน: Cfa) พื้นที่ชายฝั่งติดกับทะเลของแคว้นลิกูเรียและส่วนใหญ่ของคาบสมุทรที่อยู่ใต้ลงไปจากฟลอเรนซ์เป็นภูมิอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียน (การแบ่งลักษณะภูมิอากาศแบบเคิปเปน: Csa) คือมีอากาศอบอุ่นตลอดทั้งปี โดยมีลมจากแอฟริกาพัดเอาความร้อนและความชี้นเข้ามา พื้นที่ชายฝั่งของคาบสมุทรอิตาลีสามารถมีความแตกต่างกันได้มากจากระดับความสูงของภูเขาและหุบเขา โดยเฉพาะเมื่อถึงฤดูหนาวในที่สูงก็จะมีอากาศหนาว ชื้น และมักจะมีหิมะตก ภูมิภาคริมทะเลมีอากาศไม่รุนแรงในฤดูหนาว อากาศอุ่นและมักจะแห้งในฤดูร้อน และพื้นที่ต่ำกลางหุบเขามีอากาศค่อนข้างร้อนในฤดูร้อน

ประเทศอิตาลีมีฤดู 4 ฤดู ได้แก่ ฤดูหนาว ฤดูใบไม้ผลิ ฤดูร้อน และฤดูใบไม้ร่วง

Histoire
La plus ancienne inscription qui porte le mot Italie sous la forme ITALIA apparaît pour la première fois sur une monnaie datant du Ier siècle av. J.-C., retrouvée à Corfinio dans les Abruzzes, l'ancienne Corfinium, capitale de la Confédération italique. Elle avait été frappée par la confédération des peuples italiques en guerre contre Rome pour obtenir la citoyenneté romaine (Guerre Sociale).

Le terme même d’Italia évolue pendant l'antiquité. Pour les Grecs, il s'agissait seulement du royaume voisin d'Italos. Une origine populaire rapproche l'étymologie à un épisode de la mythologie grecque des travaux d'Héraclès. En effet, après avoir volé les 115 bœufs de Géryon, le héros mena le troupeau le long des côtes italiennes, lorsqu'un taureau s'échappa jusqu'en Sicile. Héraclès l'y retrouva et appela le pays Italia (de italos qui en dialecte grec local signifiait « taureau »). Une autre version grecque emploie les termes Ouitalia et Ouitalios, en les rapprochant du grec étalon (anciennement Wetalon) signifiant : « veau ».

Une autre étymologie est proposée, sur le rapprochement de it- et de aithô, en grec : ce verbe signifie « brûler », et on le retrouverait dans le radical du nom du volcan Etna. Sa présence serait justifiée du fait que, « Italie » étant un nom donné par les Grecs, venant de l'est, ils voient le soleil couchant rougeoyer et brûler l'horizon à l'endroit de la péninsule. On trouve le terme aithalia également utilisé à l'époque antique pour les îles de Lemnos (sans doute du fait de son activité métallurgique) et d'Elbe, pour la même raison qu'« Italie ». Son usage pour l'Etna ou Aithna est transparent. Le nom d’aithalia aurait été donné en premier lieu aux côtes sud de la Botte, là où les Grecs ont accosté en premier, sur le continent.

L'Italie avant et pendant Rome [modifier]
Avant le développement de Rome, l'Italie était composée de plusieurs cultures et civilisations, pour la plupart indo-européennes (Italiotes ou italiques), sur un substrat ligure du Néolithique. Sur ces cultures qualifiées d'autochtones, empiétaient :

au sud, les florissantes colonies grecques de la Grande-Grèce, à partir du VIIIe siècle av. J.-C. ;
au centre, des peuples italiques, venus d'Europe centrale à l'âge du bronze, proches des Celtes : Osques, Sabins, Samnites, Latins, Ombriens etc. ;
la civilisation étrusque, non-indo-européenne, qui, selon les sources, serait autochtone ou venue d'Asie Mineure ;
au nord, les Vénètes, les Ligures et les Celtes, ces derniers arrivés plus tardivement de Bohême, occupent la plaine du Pô, appelée ensuite Gaule cisalpine.
Sous la République romaine, la limite nord de l'Italie s'arrête à la Gaule cisalpine, au niveau des fleuves Aesis - puis en -59 le Rubicon - et Magra. En -42, la Cisalpine est réunie à l'Italie qui s'arrête désormais aux Alpes. Cette dernière limite est fixée au trophée des Alpes mais est ensuite déplacée. Rome attribue la citoyenneté romaine à l'ensemble des Italiens dès -89, elle ne l'étend à tout l'Empire que trois siècles plus tard (édit de Caracalla, 211-212)

Rome et son empire

Romulus et Rémus nourris par la louve, mythe fondateur de la civilisation romaine.À l'origine la louve était représentée seule, c'est seulement lors de la renaissance que les jumeaux Rémus et Romulus ont été ajoutés

La fondation de Rome est due, selon la légende, à Romulus et Rémus au milieu du VIIIe siècle av. J.-C.. La civilisation de Rome connut une première phase d'expansion sous le gouvernement des rois de Rome, qui sont également les fondateurs symboliques de nombreuses institutions romaines. L'unification de la péninsule est conduite à l'époque de la République. Après la victoire de Rome contre Carthage lors de la première Guerre punique, les principales îles de la Méditerranée occidentale passèrent également sous le contrôle de Rome. Les deuxième et troisième guerres puniques lui assurèrent le contrôle de tout le pourtour du bassin occidental de la Méditerranée.

Au Ier siècle, Rome dominait tout le bassin méditerranéen, mais après la mort de Jules César, le 15 mars 44, la république sombra dans la guerre civile. Son successeur Octave (futur empereur Auguste) après avoir vaincu Marc-Antoine et la reine Cléopâtre en Égypte changera la République de Rome en Empire et mettra fin ainsi à de longues années d'instabilités politiques. Le gouvernement des territoires contrôlés par Rome se caractérisa par le respect des cultures locales et par le développement économique, favorisé par la réalisation de grandes infrastructures.

L'empire était composé de l'Italie (métropole de l'empire) et des provinces romaines (territoires situés à l'extérieur de la péninsule). Juridiquement le territoire de l'Italie était assimilé à celui de la ville de Rome, ses habitants libres étaient tous citoyens romains grâce au droit du sol (jus soli). Les citoyens romains pouvaient servir dans les légions mais avaient aussi beaucoup de privilèges sociaux par rapport aux non-citoyens. Le programme politique des empereurs était d'intégrer de plus en plus les provinces à la civilisation romaine, ceci, au fil des siècles, a eu comme conséquence une perte progressive de l'hégémonie de l'Italie sur les provinces. Au IIIe et IVe siècle l'Empire romain se transforme, de facto, d'un empire colonial à un empire universel où tous les hommes libres étaient citoyens d'une même nation. À cette époque les légionnaires sont principalement recrutés parmi les citoyens romains issus des provinces, notamment d'Illyrie et de Thrace. En mars 293[4], la première Tétrarchie est officiellement mise en place, l'empire est donc divisé en deux pour être mieux gouverné (Empire romain d'Occident et Empire romain d'Orient ou Empire byzantin). Milan devient la capitale de l'Empire romain d'Occident.

En 313 l'empereur Constantin promulgue l'Édit de Milan qui met fin aux persécutions contre les chrétiens et garantit à tous les citoyens la liberté de culte. Le Christianisme se propage en Italie surtout à partir de la ville de Rome, cité cosmopolite dans laquelle vivaient de nombreux immigrés originaires des provinces d'orient, où le christianisme était plus répandu. L'église romaine récupère un certain nombre de traditions païennes et les assimile dans sa liturgie. Les cultes polythéistes sont ainsi transformés en vénération des saints et de la Vierge Marie. Par exemple, beaucoup de temples dédiés à Vénus se transforment en églises consacrées à la mère de Jésus et dans les petites villes les cérémonies dédiées à un un dieu protecteur deviennent des fêtes patronales en l'honneur d'un saint que l'imaginaire populaire associe au dieu précédent: protecteur des malades, de l'agriculture, de la chasse, des soldats, des marins etc... Par cette politique l'église romaine arrive à mieux faire accepter aux italiens, très attachés à leurs traditions, le passage au christianisme, le même processus aura lieu dans les provinces. En 380 l'empereur Théodose élève le christianisme au rang de religion d'état.

Au Ve siècle, la ville de Ravenne (nord-est de l'Italie) devient capitale de l'empire d'occident, elle sera la dernière. A cette époque, l’empire fut confronté à une longue série d'invasions barbares : les Wisigoths, les Huns les Ostrogoths les Vandales les Francs. Sous le coup de ces invasions, l'Empire romain d'Occident s'effondra rapidement. Les barbares qui avaient été accueillis en tant que fédérés à l'intérieur des limes, forment des royaumes qui sont de plus en plus autonomes par rapport au pouvoir impérial. En 476 Odoacre, un patricien d'origine germanique, renonce à assumer le titre d'empereur et à gouverner les provinces, il s'autoproclame simplement roi d'Italie, cette date marque la fin de l'Empire romain d'Occident. L'Empire romain d’Orient, résistera encore un millénaire.

Vers l'unification

Les États italiens en 1843.Du XIVe au XVIIIe siècle, c'est la Renaissance en Italie avec des artistes tels que Michel-Ange ou Raphaël, et des scientifiques comme Galilée( les illuminatus) qui font littéralement « renaître » l'art et la science, d'abord dans la péninsule puis dans l'Europe tout entière. À l'époque de Léonard de Vinci, l'Italie reste très morcelée sur le plan politique. Elle est constituée d'une mosaïque de principautés (duchés, cités-États, …). Les princes italiens organisent chacun leur propre cour et se livrent souvent à des guerres sanglantes avec de multiples interventions extérieures, notamment de la France et de l'Espagne (guerres d'Italie). Les guerres incessantes du XVIe siècle dues aux ingérences des grands états européens ainsi que la montée en puissance de l'Autriche et des principautés allemandes expliquent en partie le déclin des principautés italiennes du XVIIe au XIXe siècle.


Façade de la cathédrale de Sienne.Les campagnes napoléoniennes ont pour conséquence de bouleverser l'ordre établi. Le souhait d'unifier la péninsule s'appuie alors sur le Risorgimento, aboutissant à la proclamation du Royaume d'Italie, à partir du royaume de Sardaigne, sous l'impulsion du roi Victor-Emmanuel II de Savoie, complétée en 1870 par l'annexion de Rome qui devient la capitale du royaume unifié.

Après les campagnes napoléoniennes, des poussées nationalistes appuyées par la Savoie, qui voient là une occasion d'agrandir le Royaume de Sardaigne, conduisent à une série de guerres d’indépendance contre l'Empire Austro-Hongrois, deux d'entre elles avec l'appui extérieur de la France. Les grands protagonistes du Risorgimento sont Victor-Emmanuel II de Savoie, Giuseppe Garibaldi, Giuseppe Mazzini et Camillo Benso, comte de Cavour.

Suite à la seconde guerre d'indépendance, qui, avec l'expédition des Mille au sud et la descente subséquente des Piémontais du nord, réussit à unifier, sous la bannière des états de Savoie, une grande partie de la péninsule (à l'exclusion de Rome et de Venise) et à provoquer la proclamation du royaume d'Italie en 1861, ayant comme capitale Turin, puis Florence à partir de 1865.

En 1866, Venise est annexée au royaume d'Italie, suivie par Rome, en 1870. Ceci provoque le début d'une fracture entre l'État italien et l'Église qui durera jusqu'aux Accords du Latran, en 1929. La forme de gouvernement proclamée est celle d'une monarchie constitutionnelle, avec un parlement élu au suffrage restreint. Rome devient officiellement capitale de l'Italie en 1870.

En même temps, dans le Nord de la péninsule, se développe une puissante industrialisation liée aux capitaux d'une agriculture modernisée dans la plaine du Pô, les ressources hydroélectriques des Alpes et la délocalisations des industries du sud notamment textile vers le nord [5]. Cette industrialisation se concentre essentiellement sur le « Triangle d'Or », Turin, Milan et Gênes. Le Sud reste dominé par la production agricole mais aussi par des structures agraires quasi féodales : c'est le système des latifundia, grandes exploitations aux propriétaires absentéistes et routiniers, aux ouvriers agricoles sous-payés et des microfundia, minuscules propriétés destinées principalement à l'auto-consommation. Cette situation économique conduit au développement du brigantaggio (it), mouvement insurrectionnel politique et social de l'Italie méridionale, violemment réprimé et donnera naissance au début de l'immigration méridionale.