วันจันทร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2555

วิตามินอี


วิตามินอี เป็นวิตามินที่ช่วยในการทำงานของระบบต่างๆ ในร่างกายหลายระบบ และเป็นแอนติออกซิแดนท์ที่ช่วยให้เซลล์ต่างๆ รอดอันตรายจากท็อกซิน ช่วยชะลอความแก่ได้




ประโยชน์
 
เป็นตัวแอนติออกซิแดนท์ คือทำให้เกิดการเผาผลาญโดยมีออกซิเจนเป็นตัวการสำคัญทำให้ร่างกายเผาผลาญได้ดี


เป็นตัวช่วยไขกระดูกในการสร้างเลือด ช่วยขยายเส้นเลือด ต้านการแข็งตัวของเลือด ลดความสามารถในการจับตัวเป็นลิ่มเลือด และลดอัตราเสี่ยงของโรคที่เกี่ยวกับหลอดเลือดสมองและหัวใจ

บำรุงตับซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวกับเลือดมาก

ช่วยในระบบสืบพันธุ์ เซลล์ประสาท และกล้ามเนื้อให้ทำงานได้ตามปกติ

ช่วยให้ผิวพรรณสดใส และช่วยสมานแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวกให้หายเร็วขึ้น

ช่วยให้ปอดทำงานดีขึ้นและไม่อ่อนเพลียง่าย

แหล่งวิตามินอีวิตามินอีมีมากในน้ำมันจากธัญพืชและถั่วประเภทเปลือกแข็ง การเก็บรักษาให้วิตามินอีควรเก็บให้พ้นจากความร้อนแสงแดด รวมทั้งออกซิเจนในอากาศ การขัดสี การบด จะทำให้ญพืชสูญเสียวิตามินอีไปจำนวนมาก


ร่างกายคนเราต้องการวิตามินอีอยู่ที่วันละ 10-15 IU
แหล่งวิตามินในธรรมชาติ จำนวน ปริมาณสารอาหารที่ได้รับ

น้ำมันเมล็ดฝ้าย น้ำหนัก 100 กรัม 40 IU

น้ำมันดอกคำฝอย น้ำหนัก 100 กรัม 31.5 IU

น้ำมันข้าวโพด น้ำหนัก 100 กรัม 19 IU

น้ำมันถั่วเหลือง น้ำหนัก 100 กรัม 14.4 IU

กะหล่ำปลี น้ำหนัก 100 กรัม 6.4 IU

จมูกข้าวสาลี 1 ช้อนโต๊ะ 11-14 IU

เมล็ดทานตะวัน น้ำหนัก 100 กรัม 25 IU

ถั่วเปลือกแข็งประเภทอัลมอนด์ น้ำหนัก 100 กรัม 13.5 IU

มันเทศ น้ำหนัก 100 กรัม 6 IU

เมล็ดมะม่วงหิมพานต์ น้ำหนัก 100 กรัม 4.6 IU

อะโวคาโด (เฉพาะเนื้อ) น้ำหนัก 100 กรัม 4.5 IU

ปวยเล้ง น้ำหนัก 100 กรัม 3 IU


อันตรายจากการขาดวิตามินอี
 
โรคหัวใจกำเริบ วิตามินอีมีหน้าที่ในการจับสารที่เข้ามาทำลายภูมิคุ้มกันของร่างกาย การขาดวิตามินอีทำให้สารเหล่านี้เข้าไปทำปฏิกิริยากับไขมันในเลือดทำให้เนื้อเยื่อต่างๆ เสื่อมสภาพเร็วยิ่งขึ้น นำไปสู่ภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง ก่อให้เกิดก้อนเลือดและที่สุดทำให้เกิดโรคหัวใจกำเริบได้


ระบบประสาทมีปัญหา ในกรณีของคนที่ร่างกายมีปัญหาในการดูดซึมไขมันและในเด็กทารกที่คลอดก่อนกำหนด การได้รับวิตามินอีต่ำกว่าปริมาณที่กำหนดอาจทำให้เกิดความเสียหายต่อระบบประสาทและเป็นโรคโลหิตจางได้ เนื่องจากเซลล์เม็ดเลือดแดงในร่างกายถูกทำลาย

อันตรายจากการได้รับวิตามินอีมากเกินไป หรือรับประทานเป็นประจำการได้รับวิตามินอีมากเกินไปจะทำให้รู้สึกปวดศีรษะ กล้ามเนื้ออ่อนล้า ตาพร่ามัว อ่อนเพลีย มีอาการอึดอัดในช่องท้อง ท้องร่วง หากร่างกายได้รับวิตามินอีสูงมากอาจขัดขวางการดูดซึมวิตามินเอซึ่งส่งผลให้เลือดแข็งตัวช้า อย่างไรก็ตามผลการศึกษาระยะยาวในเพศชายวัยกลางคน กลับพบว่า การรับประทานวิตามิน อี (400 IU วันเว้นวัน) หรือวิตามิน ซี (500 mg ต่อวัน) ไม่ช่วยให้ความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งต่อมลูกหมากหรือมะเร็งชนิดอื่นๆ ลดลงแต่อย่างใด Physicians’ Health Study II Randomized Controlled Trial มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงประสิทธิภาพของวิตามิน อี, ซี, และวิตามินรวม ในการป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจ โรคมะเร็ง และโรคตา(ที่สัมพันธ์กับอายุ) รวมถึงผลข้างเคียงที่เกิดขึ้น การศึกษานี้เริ่มต้นในปี พ.ศ. 2541 และสิ้นสุดลงเมื่อสิงหาคม พ.ศ. 2551 (เฉพาะในส่วนของวิตามิน อี และ ซี) มีผู้เข้าร่วมในการศึกษาคือแพทย์ผู้ชาย ในประเทศสหรัฐอเมริกา อายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป จำนวนทั้งสิ้น 14,641 คน ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มคือ กลุ่มที่ได้รับวิตามิน อี 400 IU วันเว้นวัน (n=3,659) กลุ่มที่ได้รับวิตามิน ซี 500 mg วันละครั้ง (n=3,673) กลุ่มที่ได้รับวิตามินเสริมทั้งสองชนิด (n=3,656) และกลุ่มที่ได้รับยาหลอก (n=3,653) จากการติดตามผลระยะยาวเป็นเวลา 8 ปี (117,711 person-years) ตรวจพบมะเร็งโดยรวมทุกชนิด 1,943 ราย แต่เป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก 1,008 ราย มีผู้เสียชีวิตระหว่างการศึกษา 1,661 ราย ในกลุ่มที่ได้รับวิตามิน อี และยาหลอก อัตราการเกิดมะเร็งต่อมลูกหมาก เท่ากับ 9.1 และ 9.5 [Hazard Ratio=0.97; 95%CI 0.85-1.09; P=.41] ส่วนอัตราการเกิดมะเร็งโดยรวมเท่ากับ 17.8 และ 17.3 ต่อ 1,000 person-years ตามลำดับ [Hazard Ratio=1.04; 95%CI 0.95-1.13; P=.41] ในกลุ่มที่ได้รับวิตามิน ซี เมื่อเปรียบเทียบกับยาหลอก พบว่า อัตราการเกิดมะเร็งต่อมลูกหมาก เท่ากับ 9.4 และ 9.2 [Hazard Ratio=1.02; 95%CI 0.90-1.15; P=.80] ส่วนอัตราการเกิดมะเร็งโดยรวมเท่ากับ 17.6 และ 17.5 ต่อ 1,000 person-years ตามลำดับ [Hazard Ratio=1.01; 95%CI 0.92-1.10; P=.86] นอกจากนี้ ยังพบว่าการรับประทานวิตามิน อี หรือ ซี ไม่เกี่ยวข้องกันกับการเกิดมะเร็งเฉพาะที่ (site-specific cancers) เช่น มะเร็งลำไส้ มะเร็งปอด และไม่มีผลต่ออาการข้างเคียงต่างๆ เช่น minor bleeding, GI symptoms, fatigue, drowsiness อย่างมีนัยสำคัญ




Vitamin E refers to a group of eight fat-soluble compounds that include both tocopherols and tocotrienols There are many different forms of vitamin E, of which γ-tocopherol is the most common in the North American diet. γ-Tocopherol can be found in corn oil, soybean oil, margarine and dressings. α-Tocopherol, the most biologically active form of vitamin E, is the second most common form of vitamin E in the North American diet. This variant of vitamin E can be found most abundantly in wheat germ oil, sunflower, and safflower oils.It is a fat-soluble antioxidant that stops the production of reactive oxygen species formed when fat undergoes oxidation


Health effectsWhile it was initially hoped that vitamin E supplementation would have a positive effect on health, research has not supported these conclusions. Vitamin E does not decrease mortality in adults, even at large doses, and may slightly increase it. It does not improve blood sugar control in an unselected group of people with diabetes mellitus or decrease the risk of stroke. Daily supplementation of vitamin E does not decrease the risk of prostate cancer and may increase it. Studies on its role in age related macular degeneration are ongoing as, even though it is of a combination of dietary antioxidants used to treat the condition, it may increase the risk. A Japanese study in 2012 found that vitamin E may contribute to osteoporosis





DeficiencyMain article: Vitamin E deficiency

Vitamin E deficiency can cause:



spinocerebellar ataxia[
myopathies
peripheral neuropathy
ataxia
skeletal myopathy
retinopathy
impairment of the immune response
erythrocyte hemolysis






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น